เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือหลักการในการดัดแปลงเสิ้อผ้า.
ก.  เลือกใช้วิธีการให้เหมาะสม    ข.  ออกแบบให้เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้สวมใส่
ค.  เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งให้เหมาะกับเนื้อผ้า  คำนึงถึงความคุ้มค่า
ง.  เตรียมอุปกรณ์ตกแต่งและเครื่องมือให้พร้อมก่อนลงมือปฏิบัติดัดแปลงเสื้อผ้า
เฉลยข้อ  ง
2.  การดัดแปลงเสื้อผ้าโดยออกแบบติดลูกไม้  จีบ  ระบาย  แขนพองทำโบติดที่คอเสื้อหรือ
ทำโบผูกที่เอวหมายถึงการออกแบบเสื้อในวัยใด.
ก.  วัยทารก    ข.  วัยเด็ก    ค.  วัยรุ่น    ง.  วัยผู้ใหญ่   จ.  วัยผู้สูงอายุ    เฉลยข้อ  ข
3.  ในการดัดแปลงเสื้อผ้าต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในเรื่องใดบ้าง.
ก.  คุ้มค่ากับเวลา    ข.  คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย    ค.  แรงงานที่ต้องเสียไป   ง.  ถูกทุกข้อ
4.  การดัดแปลงเสื้อผ้ามีประโยชน์ในข้อใดบ้าง.
ก.  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าใหม่แทนตัวเก่าที่คับ  สีซีดจางชำรุด
ข.  ช่วยยืดระยะเวลายาวนานของเสื้อผ้าซึ่งเป็นแบบเดิมที่ล้าสมัยให้ทันสมัย
ค.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์นอกจากจะฝึกทักษะออกแบบยังได้เสื้อผ้าแปลกใหม่ใช้งาน
และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานเมื่อดัดแปลงเสื้อผ้าได้สวยงามจะรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง     ง.  ถูกทุกข้อ      เฉลยข้อ  ง
5.  ข้อใดคือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดัดแปลงเสื้อผ้า.
ก.  สายวัด  ไม้บรรทัด    ข.  ไม้โค้งเอนกประสงค์  ชอล์เขียนผ้า  กรรไกร  เข็มหมุด  เข็มมือ
ค.  ด้าย  เตารีด  ที่รองรีด  น้ำยารีด    ง.  ถูกทุกข้อ    เฉลยข้อ  ง
6.  ข้อใดคือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้า.
ก.  โบ   ข.  ผ้าลูกไม้  เศษผ้า     ค.   ผ้ากุ๊น      ง.  ถุกทุกข้อ    เฉลยข้อ   ง
7.  ใช้ตกแค่งริมผ้าหมายถึงข้อใด. (ใช้ตัวเลือกข้อ  6) เฉลยข้อ  ค.  ผ้าากุ๊น
8.  ใช้ตกแต่งปกเสื้อ  ชายเสื้อ  ชายแขนเสื้อ  ชายกระโปรง  หมายถึงข้อใด. เฉลย  ผ้าลูกไม้
9.  นอกจากอุปกรณ์ตกแต่งที่ใช้ในข้อ  6 นักเรียนคิดว่ายังมีอุปกรณ์ตกแต่งเสื้อผ้าในข้อใด.
ก.  กระดุม  กระดุมแปีบ   ข.  ตะขอเกี่ยว  ซิป   ค.   ยางยืด  ยางรัดและสีย้อมผ้า  ง.  ถูกทุกข้อ
10. ใช้เย้บติดเสื้อผ้าที่ต้องการดัดแปลงเป็นกระเป๋าถือหรือกระเป่๋าสะพายหมาายถึง
วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งในข้อใใด. (เฉลย  ซิป)
11. ใช้เป้นเครื่องเกาะเกี่่ยวผ้า  2  ชิ้นให้ติดกันหมายถึงข้อใด.  (เฉลยตะขอเกี่่ยว  กระดุมแป๊บ)
12. ใช้สำหรับทำผ้ามัดย้อมโดยเมื้อมัดยางของผ้าบริเวณที่จะย้อมแน่นๆ สีย้อมจะไม่วึมผ่าน
ทำให้เกิดลวดลายได้หมายถึงวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งในข้อใด.
ก.  เศษผ้า   ข.  ผ้ากุ๊น     ค.  ยางยืด   ง.  ยางรัดและสีย้อมผ้า   เฉลยข้อ  ง
13. การดัดแปลงเสื้อผ้าให้ขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงจากลักษณะเดิมหมายถึงวิธีการดัดแปลง
เสื้อผ้าในข้อใด.
ก.  การดัดแปลงขนาดของเสื้อผ้า    ข.  การดัดแปลงรูปทรงหรือรูปแบบของเสื้อผ้า
ค.  การดัดแปลงสีและลวลายของเสื้อผ้า   ง.  ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
14. เป็นการดัดแปลงเสื้อผ้าเก่าสีพื้นสีอ่อนสีขาวที่ดูหมองให้มีสีสันสดขึ้นด้วยการย้อมสีผ้า
อาจย้อมทั้งตัวหรือมัดผ้าย้อมเพื่อให้เกิดลวดลายหรือใช้การทำผ้าบาติกหมายถึงข้อใดง
(ใช้ตัวเลือกข้อ  13) เฉลยข้อ  ค.  การดัดแปลงสีและลวดลายของเสื้อผ้า
15. เป็นการดัดแปลงเสื้อผ้าให้มีรูปทรงและรูปแบบใหม่ที่ไม่ซ่ำกับแบบเดิมดัดแปงผ้าที่ดูล้าสมัยผู้สวมใส่รู้สึกเบื่อยหมายถึงข้อใด. (ใช้ตัวเลือกข้อ  13)  เฉลยข้อ    การดัดแปลงรูปทรง
16. ผ้าบติกที่หนุ่มสาวในเกาะชวา  ประเทศอินโดนีเซียใช้กันมี  3  ชนิดคือข้อใด.
ก.  โสร่ง  คือผ้านุ่งที่ใช้พันรอบตัว     ข.  สลินดังแแเป็นผ้าที่ใช้นุ่งทับกางเกง
ค.  อุเดด็จ  เป็นผ้าคลุมศรีษะ      ง.  ถูกทุกข้อ

    

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

การซ่อมแซม การตกแต่งและดัดแปลงเสื้อผ้าของตนเองและครอบครัว
     เป็นการประหยัดทรัพยากร และสร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเอง และสมาชิกในครอบครัวได้เป็นอย่างดี ซึ่งการซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้า ต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ มากมาย และมีขั้นตอนวิธีการต่างๆ เหมาะสมกับประโยชน์ การใช้สอยดังนี้

1.อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซม ตกแต่ง ดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
      เครื่องมืออุปกรณ์ ลักษณะ ประโยชน์ใช้สอย

สายวัด
     ใช้วัดตัว เพื่อทราบขนาดสัดส่วน และใช้ในการสร้างแบบที่จะดัดแปลง

ไม้บรรทัด
     ใช้ขีดเส้น เมื่อต้องการออกแบบดัดแปลง

ไม้โค้งอเนกประสงค์
     ใช้ในการออกแบบสร้างแบบส่วนโค้งต่างๆ เช่น สะโพง วงแขน ชายเสื้อหัวแขน และส่วนอื่นๆ

ดินสอ
      ใช้ขีดเส้น และทำเครื่องหมายที่ต้องการออกแบบ

ยางลบ 
     ใช้ลบปรับเส้น ตามแบบที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

กระดาษกดรอย
     ใช้ลอกแบบบนลงผ้า

ชอล์กเขียนผ้า
     ใช้ขีดทำเครื่องหมายลงบนผ้า

กรรไกร
     ใช้ตัดส่วนที่ต้องการในงานซ่อมแซม ดัดแปลง ตกแต่งเสื้อผ้า

ที่เลาะผ้า
     ใช้เลาะเสื้อผ้าอุปกรณ์ ตกแต่งในส่วนที่ต้องแก้ไข

ลูกกลิ้ง
     ใช้กลิ้งทับเส้นแบบ เพื่อให้เห็นรอย หรือใช้กดรอยลงบนกระดาษ หรือผ้า เพื่อทำเครื่องหมาย

เข็มสอย
     ใช้เนาสอย เย็บติดอุปกรณ์วัสดุตกแต่ง และถักรังดุม

เข็มหมุด
     ใช้ตรึงแบบให้ติดกับผ้า หรือตรึงผ้าสองชิ้นให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการเนาเย็บ

เข็มจักร
     เป็นส่วนประกอบของจักรในการเย็บชิ้นส่วน และตะเข็บที่ต้องการ

ด้ายเย็บผ้า
     ใช้เย็บผ้า หรือชิ้นส่วนที่ต้องการให้ติดกัน

ปลอกนิ้ว
     ใช้สวมนิ้วกลาง เพื่อรองนิ้วขณะเย็บด้วยมือ เพื่อไม่ให้เข็มตำนิ้วมือ และช่วยดักเข็ม

หมอนเข็ม
     ใช้ปัก และเก็บเข็มชนิดต่างๆ

เตารีด
     ใช้รีดผ้าก่อนตัดตะเข็บ ขณะตัด และหลังตัดตะเข็บต่างๆเสร็จ

ที่รองรีด
     ใช้รองรีดผ้า

หมอนรองรีด
     ใช้รองรีดส่วนโค้งส่วนเว้า

2.สิ่งที่ใช้ตกแต่งเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
     2.1 โบ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปโบเสมอไป ในบางครั้งโบเป็นเครื่องตกแต่ง และในบางครั้งโบจะเป็นสิ่งที่ปิดรอยต่อเสื้อผ้า
      2.2 กระดุม จะต้องดูว่าเหมาะสมกับเสื้อผ้าหรือไม่ และจะต้องคำนึงถึงขนาดลักษณะ และสีของเนื้อผ้าเป็นสิ่งสำคัญ
      2.3 ลูกไม้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เสื้อผ้าสวยงาม ดูบอบบาง ละเอียด เหมาะสมกับผู้หญิง แต่ลูกไม้มีหลายลักษณะ จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับแบบเสื้อผ้า และสีของเสื้อผ้า
      2.4 การปัก ช่วยให้เสื้อผ้ามีค่าขึ้นอีกมาก จะต้องดูสี ลวดลาย   และวัสดุที่ปักให้เหมาะสมด้วย การออกแบบ จะต้องเว้นที่ไว้ สำหรับปักให้เหมาะสม และแน่นอน
      2.5 กระเป๋า ช่วยให้เสื้อมีจุดเด่นขึ้น ไม่ใช้เป็นการตกแต่งโดยเฉพาะ
      2.6 ตะเข็บพิเศษ เช่น เกล็ดขนาดต่างๆ กัน ให้ได้แบบเสื้อที่มีลวดลายพิเศษขึ้น และเกล็ดจะต้องมีช่วงจังหวะที่ดี
      2.7 ระบาย การมีระบายบนตัวเสื้อ ช่วยให้แบบเสื้อมีความอ่อนวัยน่ารักขึ้น แต่ถ้าใช้มากจะเพิ่มความรุงรัง ไม่ควรใช้ระบายกับผ้าที่มีลวดลาย
      2.8 เข็มขัด เพิ่มความเก๋ให้แบบเสื้อ เข็มขัดไม่จำเป็นต้องใช้เป็นเส้นคาด บางครั้งอาจใช้เป็นหัวเข็มขัดก็ได้ แล้วแต่สมัยนิยม จะอยู่ใต้อก เอว สะโพกก็ได้ ถ้าคนช่วงตัวยาวควรคาดให้สูงขึ้นจากเอว ถ้าคนช่วงตัวสั้น ควรใช้ต่ำกว่าเอวถึงระยะสะโพก

3.ขั้นตอนในการซ่อมแซม ตกแต่ง ดัดแปลง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
     3.1 สำรวจเสื้อผ้าเก่า ได้แก่ เสื้อผ้าที่ใส่แล้วไม่พอดีตัว แบบสีล้าสมัยไม่เหมาะกับกิจกรรม และอาชีพ สั้น และแคบเกินไป มีรอยชำรุด ซักรีดยาก ต้องดูแลเป็นพิเศษ
      3.2 จำแนกประเภทเสื้อผ้า เพื่อนำไปซ่อมแซม ดัดแปลง การจำแนกประเภทเสื้อผ้า สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภทได้ดังนี้
           3.2.1 ประเภทที่ซ่อมแซมได้ หรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น ซ่อมแซมซิปติดกระดุม หรือเปลี่ยนกระดุมใหม่ ขยาย หรือ พับชายใหม่ ปรับขนาดตัวตามส่วนของร่างกายที่ลด หรือ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
           3.2.2 ประเภทที่ดัดแปลงเป็นของใหม่ ทั้งนี้เพราะไม่สามารถซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กๆน้อยๆได้ จำเป็นต้องคิดหาวิธีออกแบบ ดัดแปลง ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนสภาพไปเกือบทั้งหมด และก่อนที่จะดัดแปลงเสื้อผ้าให้ได้ดี จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิควิธีการต่างๆ ตลอดจนเลือกวัสดุมาใช้อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างที่ 1 การดัดแปลงผ้าเป็นชุดนอน
     1. นำชุดนอนชุดเก่า มาเป็นแบบจัดผ้าตามแนวชุดเก่า ด้านบนคือส่วนคอ
      2. เย็บขอบด้านหน้า อาจเย็บยางยืดเข้าไปเพื่อให้ดูยืดหยุ่นขึ้น
      3. ด้านหลัง นำสายยาว 2 เส้น เย็บติดจากด้านหลัง ความกว้างของผ้าเท่ากันทั้งหน้า และหลัง ด้านหลังจะใส่ยางยืด ส่วนด้านหลัง จะเย็บจับจีบไปเลย
      4. ใส่ลูกเล่นโดยติดกระดุม หรือดอกไม้ที่ทำจากผ้าเย็บติดผ้าส่วนหน้าอกสองมุมข้างๆ ไว้เชื่อมจากสายผ้าด้านหลังมาติดกระดุม
      5. ส่วนหน้าอกตกแต่ง โดยหาผ้าที่เป็นลายดอกไม้ หรือแกะออกมาจากเสื้อตัวเก่า
      6. ชายกระโปรงจะเย็บเก็บขึ้นไป หรือจะตกแต่งด้วยลายลูกไม้ก็ได้

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=praewahome&group=16&page=4

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=praewahome&group=16&page=4

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=praewahome&group=16&page=4

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=praewahome&group=16&page=4


ตัวอย่างที่ 2 ที่รัดผมจากเศษผ้า
       วัสดุ อุปกรณ์ เข็ม / ด้าย/กรรไกร / สายยืด ยาว 7 นิ้ว / เศษผ้ากว้าง 2 นิ้ว ยาว 14 นิ้ว

วิธีทำ

      1. เย็บผ้าติดกันตามแนวยาว
      2. กลับด้านผ้า
      3. ใช้เข็มปลายตัดเล่มใหญ่ สอดสายยืดเข้าไป แล้วสอดเข้าไปในช่องผ้านั้นจนโผล่อีกด้าน

หมายเหตุ สายยืด จะสั้นกว่าผ้าเมื่อสอดไปครึ่งหนึ่ง แล้วใช้เข็มมุดกลัดส่วนก้นไว้

      4. ผูกปลายทั้ง 2 ด้านให้ติดกัน
      5. เย็บปลายผ้าทั้ง 2 ด้านให้ติดกัน
      6. ตกแต่งด้วยลูกปัดเล็ก เพิ่มให้ดูสวยงามขึ้น ทำต่อกันไปเรื่อยๆ จนหมดรอบ

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=praewahome&group=16&page=4

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=praewahome&group=16&page=4

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=praewahome&group=16&page=4

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง

http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=1228

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเอง