เหตุใดจึงเรียกว่าเงินถุงแดง

เงินถุงแดง เงินใช้ในยามฉุกเฉิน เงินของพระมหากษัตริย์ ที่ช่วยให้ไทยไม่เสียเอกราชแก่ ฝรั่งเศล..

เงินถุงแดง   เงินใช้ในยามฉุกเฉิน   เงินของพระมหากษัตริย์  ที่ช่วยให้ไทยไม่เสียเอกราชแก่ ฝรั่งเศล..

เงินที่เรียกกันมาว่า “เงินถุงแดง”  นั้นเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้จากการค้าสำเภาส่วนพระองค์ แล้วทรงเก็บสะสมเอาไว้ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์โปรดฯ ให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ข้างพระแท่นบรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่”  คำว่า “พระคลังข้างที่” ในเวลาต่อมาก็เนื่องมาจากเงินข้างพระแท่นบรรทมนี้

ในสมัยก่อนโน้นการค้าขายไปมาระหว่างประเทศ อาศัยเรือสำเภา และตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ การค้าขายส่วนใหญ่ของไทยเป็นการติดต่อค้าขายกับจีนเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ก็มีแขกเช่น อินเดีย มะละกา ชวา (เมืองยักกะตรา) แขกมัวร์ ฯลฯ

สำเภาที่ส่งออกไปค้าขายเมืองจีน เมืองแขกนั้น ส่วนใหญ่เป็นสำเภาของหลวงหรือทางราชการ แต่ไม่ได้ห้ามหวงเอกชน ดังนั้น นอกจากพ่อค้าจีนแล้ว ผู้ใดมีทุนรอนก็แต่งสำเภาออกไปค้าขายได้ ซึ่งส่วนมากเป็นของเจ้านายสูงศักดิ์ หรือของเสนาบดี ขุนทางสูงศักดิ์

ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงกำกับกรมท่า (พาณิชย์และต่างประเทศในปัจจุบัน) ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นหัวแรงสำคัญในการจัดการค้าสำเภาหลวง และยังทรงแต่งสำเภาเป็นส่วนของพระองค์ออกไปด้วย ในส่วนของพระองค์เองนั้น ก็ทรงถวายให้สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงใช้สอยมิให้ขาดแคลนเหมือนเมื่อต้นๆ รัชกาล ซึ่ง

“เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระราชทรัพย์ขัดสน เงินท้องพระคลังจะแจกข้าราชการไม่พอ ต้องลดกึ่งและแบ่ง ๓ แต่ให้ ๒ แทบทุกปี เงินไม่มีต้องเอาผ้าตีให้ก็มีบ้าง มีบัญชีแต่ว่าไปขอยืมเงินในพระบวรราชวังมาแจกเบี้ยหวัด แล้วจึงเก็บเงินค้างใช้คืน เพราะครั้งนั้นพระบวรราชวังค้าสำเภามีกำไรมาก” (จากชุมนุมพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ ๔)

พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงทำให้กิจการค้าขายได้ผลดี ทั้งสำเภาหลวงและในส่วนของพระองค์เอง ปรากฎว่า สมเด็จบรมชนกนาถโปรดปรานอย่างยิ่ง ตรัสเรียกสัพยอกอยู่เสมอว่า “เจ๊สัว” (เจ้าสัว)

ครั้นเมื่อขึ้นแผ่นดินของพระองค์ เพราะทรงพระปรีชาสามารถในการค้าขายกับต่างประเทศอยู่แล้ว ในรัชกาลนี้จึงปรากฎว่า การค้าขายขยายวงกว้างออกไป และมีการปรับปรุงเก็บภาษีอากรเป็นแบบให้เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดรับผิดชอบ เพราะการเก็บแบบเดิมนั้นกระจัดกระจายไปตามบรรดาข้าราชการต่างๆ มักขาดหายไปไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สำหรับการค้าขายนั้น โปรดฯ ให้ทำสัญญาซื้อขายกับอังกฤษและอเมริกาที่ขอเข้ามาอยู่ จนกระทั่ง ร้อยเอก เฮนี่ เบอร์นี่ (หรือกะปิตันหันตรี บารนี) กลับไปถูกผู้ว่าราชการเมืองสิงคโปร์ (หรือสมัยนั้นเรียกว่าเมืองใหม่) ตำหนิเอา

สำหรับเงินถุงแดงข้างพระที่นั้น ก็ยังทรงเก็บไว้ และคงจะเพิ่มมากขึ้นเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ นอกจากเงินในท้องพระคลังหลวง หรือพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นรายได้จากการเก็บภาษีอากรและ จากการค้าขายของหลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จะว่าเงินถุงแดงของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ และยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” จริงๆ ตามที่ทรงมีพระราชปรารภทรงมองเห็นการณ์ไกลเอาไว้นั้น คือเมื่อรบกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒

ประการแรก ฝรั่งเศส “ไม่เคยเรียกร้อง” ให้ไทยยกดินแดน เพราะฝรั่งเศสใช้เล่ห์เหลี่ยม ตั้งประเด็นต่อสู้กับสยาม ตามข้อเรียกร้องที่ โอกุสต์ ปาวี ยื่นคำขาดในวันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ.112 ว่า ไทยไม่เคยมีกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนลาว หากแต่ผืนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นกรรมสิทธิ์ของญวนมาตั้งแต่ต้นต่างหาก ดังนั้นความพิพาทที่เกิดขึ้น ฝรั่งเศสอ้างว่ามาจากการที่ไทยล่วงล้ำอธิปไตยประเทศราชของดินแดนอาณานิคมฝรั่งเศส

ประการต่อมา ฝรั่งเศสไม่ได้เรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงิน 3 ล้านฟรังค์ และเงินดังกล่าวเป็นเงินวางมัดจำเพื่อยุติข้อพิพาท ซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องของ โอกุสต์ ปาวี โดยให้รัฐบาลสยามวางหลักประกันเป็นเงินเหรียญ จำนวน 3 ล้านฟรังค์ เพื่อค้ำประกันในการที่ไทยจะต้องจ่ายค่าทำขวัญทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และหากไม่จ่ายเงินมัดจำ สยามจะต้องยอมยกสิทธิการเก็บภาษีในเมืองพระตะบองและเสียมราฐแทน

โดยรัฐบาลสยามต้องยอมรับข้อเรียกร้องทั้งหมดของฝรั่งเศสภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งทางรัฐบาลได้มีการตอบรับเรียบร้อย หากแต่ก็ได้มีการเจรจายืดเวลา เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดข้อเรียกร้อง ออกไปจนถึงเดือนสิงหาคม

ดังนั้น การจ่ายเงิน 3 ล้านฟรังค์ จึงเป็นการ “วางเงินประกันให้แก่ฝรั่งเศส” ส่วนค่าปฏิกรรมสงคราม จะถูกแยกออกต่างหากเป็นจำนวนเงิน 2 ล้านฟรังค์

ในด้านเอกสาร หนังสือพิมพ์ Le Monde illustré วันที่ 18 พฤศจิกายน 1893 ได้ลงรายละเอียดว่าไทยจ่ายเงินมัดจำแก่ฝรั่งเศส 3 ล้านฟรังค์ เป็นจำนวนเหรียญ 801,282 เหรียญ ซึ่งสอดคล้องตรงกับเอกสารทางราชการของไทย ที่ระบุถึงการจ่ายเงินจากท้องพระคลังเป็นจำนวน 801,282 เหรียญดอลลาร์ กับอีก 50 เซนต์ และสอดคล้องกับหนังสือ The People and Politics of the Far East 1895 ที่ระบุว่าไทยจ่ายเป็นเงินดอลล่าร์(Silver Dollar) จำนวน 2.5 ล้านฟรังค์ และออกเป็นเช็คสั่งจ่าย 5 แสนฟรังค์

สำหรับเอกสารราชการของไทย กรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลถึงรายละเอียดการจ่ายเงินมัดจำ ณ เรืออาลูเอตต์ วันที่ 20สิงหาคม ร.ศ.112 ว่าเป็นการจ่ายเงินจากท้องพระคลัง (ไม่ใช่พระคลังข้างที่) จำนวน801,282.05 เหรียญ หรือเท่ากับ 1,335,470 บาท 05 อัฐ มูลค่าเท่ากับ 2.5 ล้านฟรังค์

ส่วนเงินที่เหลือ 160,256.41 เหรียญ หรือเท่ากับ 267,094 บาท 01 อัฐ มูลค่าเท่ากับ 5แสนฟรังค์ จ่ายเป็นเช็คสั่งจ่ายธนาคาร HSBC สาขาไซ่ง่อน โดยเสียค่าส่ง 1% คิดเป็นเงิน1,620.56 เหรียญ หรือ 2,670 บาท 60 อัฐ รวมเงินทั้งหมดที่จ่ายไป 963,141.02 เหรียญ หรือเท่ากับ 1,605,235 บาท 02 อัฐ

ดังนั้น ข้อเท็จจริงสำหรับการจ่ายค่าปรับ ไม่จำเป็นต้องไปคำนวนหรือเทียบเคียง เพราะเอกสารราชการฝ่ายไทย มีระบุไว้ชัดเจน ส่วนเอกสารการรับเงิน ก็ไม่ต้องไปค้นในบันทึกกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสให้เสียเวลา เพราะเรืออาลูเอตต์ ออกจากสยามมุ่งหน้าไปเทียบท่าที่ไซ่ง่อน และทางสยามสั่งจ่ายเช็คไปที่ธนาคาร HSBC สาขาไซ่ง่อน

นั่นหมายความว่า เงินส่วนนี้ไม่ได้วิ่งไปที่ฝรั่งเศส หากแต่ควรจะนำไปใช้จ่ายในกิจการดินแดนอาณานิคมอินโดจีนนั่นเอง

เงินถุงแดงใช้ทำอะไร

พระราชทานให้ไว้ใช้เป็นเงินแผ่นดินลองมาเปิด ปรากฏนับเงินถุงแดง คือเปิดนับมาได้แต่ว่าเงินที่เปิดมายังไม่พอ บรรดาเจ้านายขุนนางคหบดีที่มีเงินมีทองทั้งหลาย ก็นำข้าวของ เงินทองไปขายแลกเงินเหรียญ รวมกันแล้วมาถวายสมทบทุนแล้วก็ส่งไปเป็นค่าประกัน ประเทศชาติจึงรอดมาถือว่าได้ช่วยในยามวิกฤติ

ข้อใด หมายถึง พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ หรือ "เงินถุงแดง"

เงินถุงแดงคือเงินที่ที่ ร.3 หรือ รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งสำเภาสินค้าไปค้าขายกับทางเมืองจีนแล้วพระองค์ก็เก็บเงินใส่ในถุงแดงตั้งไว้ข้างพระที่(ข้างที่นอนของพระองค์)แล้วทรงตรัสแต่ขุนนางว่านี่จะเป็นเงินไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง

เงินข้างคืออะไร

- จึงได้ทรงเก็บสะสมกำไรที่ได้จากการค้าสำเภา - ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ - ไว้ในถุงผ้าสีแดงซึ่งเรียกกันว่า “เงินถุงแดง” - ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม เรียกว่า “เงินข้างที่”

เงินถุงแดงในสมัยรัชกาลที่ 3 มีความสําคัญต่อชาติไทยอย่างไร

ส่วนหนึ่งของเงินถุงแดงนี้ ทรงเก็บไว้เพื่อสร้างและทะนุบำรุงวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในพระนครและภายนอก อีกส่วนหนึ่งก็ทรงยกให้แผ่นดิน มีพระราชดำรัสว่า "เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง" หมายถึงว่า ถ้าต้องเพลี่ยงพล้ำกับข้าศึกศัตรูแล้ว จะได้นำเงินนี้ออกมาใช้กอบกู้บ้านเมือง