ทำไมประจำเดือนมากระปริบกระปอย

ทำไมประจำเดือนมากระปริบกระปอย

ผู้หญิงส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการปวดประจำเดือน แต่หากปวดมากขึ้นกว่าที่เคยปวดจนเป็นเหตุให้ต้องนอนหยุดพัก ไปทำงานไม่ได้ หรือใช้ชีวิตประจำวันไม่ไหว ก็ควรหาโอกาสไปตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ยิ่งหากมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ก็ต้องรีบเลย

อาการแบบนี้ที่ชวนสงสัยว่าไม่ใช่ปวดประจำเดือนธรรมดา

  • ปวดจนต้องนอนพัก หยุดงาน หรือต้องกินยาแก้ปวดเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม จากที่เคยกินยาแก้ปวดเม็ดเดียวแล้วหายก็ต้องกินเพิ่มหรือกินบ่อยขึ้น
  • ขณะมีเพศสัมพันธ์รู้สึกเจ็บหรือปวดทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือเคยเป็นแต่ไม่มากเท่าปัจจุบัน
  • ประจำเดือนมามาก มาหลายวันกว่าปกติ
  • มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซีด
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น และในตอนกลางคืนต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้ง
  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือปวดมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนอิริยาบถไปนอนหรือนั่งในบางท่า
หากมีอาการต่างๆ ที่ว่ามานี้ โปรดอย่าอยู่เฉย เพราะนั่นอาจหมายถึงกำลังเริ่มมีอาการของโรคเหล่านี้

1. โรคเนื้องอกมดลูก

นับเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดสำหรับโรคทางนรีเวช เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติจนเป็นก้อนและแทรกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ แม้จะไม่ใช่โรคร้ายเพราะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ในบางรายก็อาจจะมีอาการปวดทรมานรุนแรง หรือลุกลามส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญอื่นๆ ในร่างกาย ซึ่งอาการที่แสดงออกจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น เช่น...
  • เนื้องอกที่เกิดใต้เยื่อบุโพรงมดลูก จะทำให้ประจำเดือนมากขึ้นและนานหลายวันขึ้น
  • เนื้องอกที่เกิดด้านหน้าใต้กระเพาะปัสสาวะจะกดกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ต้องปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่สุด
  • เนื้องอกที่เกิดด้านหลัง จะกดลำไส้ใหญ่ส่งผลให้มีอาการท้องผูก
  • เนื้องอกที่ขยายไปทางด้านข้าง อาจจะไปกดท่อไต ทำให้การทำงานของไตเสียหายได้
  • เนื้องอกที่เกิดด้านบนของมดลูก ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ จึงมักตรวจพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่แล้ว

2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และช็อกโกแลตซีสต์

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดนั้นเกิดกับประชากรหญิงประมาณ 10% เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จึงทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน ต่อมาจะเกิดเป็นถุงน้ำเล็กๆ ที่มีของเหลวเหมือนช็อกโกแลต ซึ่งจะค่อยๆ เบียดเนื้อรังไข่ และขยายใหญ่ขึ้นจนเป็นถุงน้ำช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) ภาวะนี้จะเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้สตรีมีบุตรยาก แต่อาการสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องที่ควรใส่ใจมากกว่า คือ....
  • ปวดประจำเดือนมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น สังเกตได้จากต้องกินยาเพิ่มมากขึ้นจึงบรรเทาอาการปวดได้
  • มีอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดเรื้อรัง ปวดทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด หรือมีลำไส้แปรปรวนร่วมด้วย

3. ถุงน้ำหรือซีสต์ที่รังไข่ (Ovarian Cyst)

ถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์มีหลายแบบ ถ้าเป็นถุงน้ำตามธรรมชาติที่เกิดตามรอบเดือน โดยธรรมชาติแล้วก็จะยุบไปเองตามรอบเดือน หรือถ้าตกค้างอยู่ ภายใน 2-3 เดือนก็จะยุบเองได้เช่นกัน แต่หากเกิดความผิดปกติคือถุงน้ำไม่ยุบแต่กลับโตขึ้น ก็จำเป็นต้องรักษา ซึ่งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยอาการทั่วไปของการมีถุงน้ำรังไข่เจริญขึ้นจนเป็นปัญหา มักมีดังนี้...
  • ประจำเดือนผิดปกติ คือ มามาก มากระปริดกระปรอย ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน
  • มีอาการปวดท้องน้อย และถ้าปวดสัมพันธ์กับรอบเดือนก็อาจสงสัยว่าจะมีช็อกโกแลตซีสต์
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากซีสต์โตพอสมควรและไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้พื้นที่กระเพาะปัสสาวะเล็กลง
  • มีอาการหน่วงๆ ท้องน้อยบ่อยๆ
  • ไม่มีอาการ แต่กลับมีหน้าท้องโตขึ้น หลายคนจึงคิดว่าเกิดจากที่อ้วนขึ้น
  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ซึ่งมีสาเหตุจากขั้วถุงน้ำรังไข่บิด หรือถุงน้ำรังไข่แตก ซึ่งต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

4. โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis)

โรคนี้เกิดจากการที่มีเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก ซึ่งปกติแล้วเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญและสลายตามรอบระดู แต่เมื่อเกิดการอักเสบขึ้นและมีการเจริญในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ก็จะทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว เกิดพังผืด เมื่อเกิดซ้ำๆ หลายๆ รอบประจำเดือนจึงทำให้มดลูกโตขึ้น โดยสังเกตอาการได้ดังนี้
  • ประจำเดือนมามากและนานผิดปกติ
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดหน่วง
  • ปวดคล้ายเป็ประจำเดือนแต่เป็นเกือบทุกวันในขณะที่ไม่ได้มีประจำเดือน
  • หมดประจำเดือนแล้ว แต่มีเลือดออกมาทางช่องคลอด
  • สตรีที่มีบุตรยากที่มีประจำเดือนมาน้อยมาก
  • มีภาวะแท้งบุตร แท้งซ้ำ
  • ตรวจพบเนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็คือโรคทางนรีเวชที่พบได้บ่อย แต่หากผู้หญิงได้รับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี ก็จะสามารถพบสาเหตุหรือแนวโน้มของการเกิดโรคได้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เริ่มรักษาได้เร็วขึ้น ผลการรักษาก็ย่อมจะดีกว่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการลุกลาม

สุภาพสตรีที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุ แต่ถ้าแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุของเลือดออกผิดปกติที่แน่ชัดได้ ก็อาจจำเป็นต้องขอส่งตรวจวิธีพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจอัลตราซาวด์ หรือ หากจำเป็นจริง ๆ แพทย์ก็อาจขอขูดมดลูกเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยหาเซลล์มะเร็งต่อไป


‣วิธีการป้องกัน ไม่ให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

- หันมาใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน โดยทานอาหารให้ครบ5หมู่

- ไม่กินยาใดๆ โดยไม่จำเป็น

- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

- รักษาอารมณ์ให้แจ่มใส

- สุภาพสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือ ผู้หญิงโสดที่มีอายุเกินกว่า 35 ปี ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อรับการตรวจภายในประจำปี และ ตรวจหามะเร็งปากมดลูก แม้ว่าจะยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม

การตรวจภายในประจำปี และตรวจหามะเร็งปากมดลูก จะต้องเลือกไปพบแพทย์ในวันที่ไม่มีประจำเดือน งดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 7 วัน

การตรวจภายในประจำทุกปี ในขณะที่คุณผู้หญิงยังไม่มีอาการผิดปกตินับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็งในสตรี เนื่องจากแพทย์จะสามารถตรวจหาโรคในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการและสามารถรักษาให้หายได้ทัน ก่อนอาการจะรุนแรง

ประจำเดือนมาวันเดียวเกิดจากอะไร

ประจำเดือนมาวันเดียว เป็นปัญหาสุขภาพหญิงที่พบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เช่น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น การควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ การพักผ่อนให้มากขึ้น การดื่มน้ำให้เพียงพอ อาจช่วยปรับระดับ ...

รอบเดือนมาเร็วผิดปกติไหม

เป็นภาวะที่ประจำเดือนมาเร็วกว่ากำหนดเป็นเวลา 7 วันขึ้นไป ติดต่อกัน 2 รอบ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะชี่พร่อง ระบบชงเริ่นไม่แข็งแรง หรือร่างกายมีภาวะร้อนกระทบระบบชงเริ่น ทำให้มดลูกเก็บกักเลือดไว้ไม่ได้ตามปกติ

ประจำเดือนมาเร็วสุดกี่วัน

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ประจำเดือนมาวันเดียวจะท้องไหม

เมนส์มาวันเดียว ท้องไหม? เมนส์มามาก หรือมาน้อย จะมาวันเดียว หรือมาหลายวัน ไม่ได้บอกว่าอาจจะมีโอกาสตั้งครรภ์นะคะ แต่อาจจะหมายถึงความผิดปกติทางสุขภาพได้ หากพบว่าประจำเดือนมาน้อยเกินกว่าปกติที่เคยเป็น ควรหาโอกาสไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาค่ะ