ทำไมต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

15 ตุลาคม 2562

ทำไมต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คำสั้นๆได้ใจความ...คำว่า “หนี้” ได้ยินเพียงเบาๆ ก็สะเทือนใจ หลายคนคงอยากจะหนีให้ห่างไกลกับคำนี้ และเมื่อเป็นหนี้แล้วคงไม่มีใครที่อยากกลับไปเป็นหนี้อีกแน่นอน เพราะกว่าที่จะปลดหนี้ได้ ต้องใช้ทั้งกำลังใจ และความพยายามอย่างมาก

ปลดหนี้ว่ายากแล้ว แต่ที่ยากกว่าก็คือ ทำอย่างไร ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้อีก วันนี้เราขอแนะนำวิธีการที่ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ โดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
 

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร ?

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ในทางสายกลางและความพอเพียง ซึ่ง “ความพอเพียง” ในมุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง ได้แก่ :
 

ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ

ความพอประมาณในความหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หลักการนี้สามารถนำมาใช้กับการใช้เงินของคุณได้ครับ ถ้าไม่อยากกลับไปเป็นหนี้ก็ควรใช้จ่ายให้พอดีกับความต้องการ เช่น ซื้อรถที่พอดีกับการใช้งาน กินแต่พอดี

หรืออาจนำมาใช้ในเรื่องการออมเงินก็ได้ โดยตามหลักการนี้คุณควรที่จะออมพอดี หรือออมแบบทางสายกลาง ไม่มากไป ไม่น้อยไป เพราะถ้าคุณออมน้อยไป เมื่อคุณต้องการใช้เงิน แล้วคุณไม่มีเงินออม คุณก็อาจกลับไปเป็นหนี้อีก หรือถ้าออมมากเกินไป คุณก็จะมีเงินไม่พอใช้ และไม่มีความสุข เพราะฉะนั้นออมแบบพอดีๆ จะช่วยให้คุณมีเงินเหลือกินเหลือใช้และเหลือเก็บนั่นเอง
 

ห่วงที่ 2 มีเหตุผล

การตัดสินใจในเรื่องการเงินนั้นต้องตั้งอยู่บนความพอดี และความพอดีนั้นต้องมีเหตุผลด้วย โดยก่อนจะทำอะไรควรมองปัจจัยต่างๆให้รอบด้าน และลองคิดดูว่าการกระทำนั้นจะส่งผลอะไรบ้างในอนาคต เช่น ก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ ควรหยุดคิดก่อนว่า เราเป็นหนี้เพราะอะไร มันจำเป็นจริงเหรอ และหนี้จะส่งผลอย่างไรกับเราในอนาคต หรือถ้าเป็นเรื่องการลงทุน ก่อนลงทุนก็ควรวิเคราะห์ให้รอบด้าน ไม่ควรรีบร้อน เพราะทุกการลงทุนมักมีความเสี่ยง

ดังนั้นแนะนำว่า ก่อนที่จะทำอะไรที่เกี่ยวกับเงินๆทองๆ อยากให้ใจเย็นๆก่อนนะครับ ลองนั่งคิดทบทวนเหตุผลให้ดีๆ ว่าจะส่งผลยังไงในอนาคต เพราะถ้าคุณมีเหตุผลในการใช้เงินแล้ว โอกาสที่คุณจะกลับไปเป็นหนี้ก็จะไม่มีอีกเลย..
 

ห่วงที่ 3 ภูมิคุ้มกัน

การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมพร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลง โดยคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการมีภูมิคุ้มกันนั้นจะเป็นเกราะป้องกัน ที่จะทำให้คุณไม่กลับไปเป็นหนี้อีก โดยภูมิคุ้มกันในที่นี้ก็คือ ภูมิคุ้มกันด้านการเงิน ซึ่งได้แก่ :
 
ทำไมต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทำไมต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากหลักสำคัญ 3 ห่วงที่กล่าวไปแล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังมี เงื่อนไข ที่ช่วยให้การตัดสินใจ และให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับที่พอเพียง โดยเงื่อนไขมี 2 ประการดังนี้ :
 

เงื่อนไข ความรู้

ก่อนที่จะทำอะไร ควรมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นให้รอบด้านเสียก่อน เพราะการตัดสินใจด้วย เงื่อนไขความรู้ จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

เรื่องการเงินก็เช่นกัน การมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆ จะช่วยให้คุณตัดสินใจในเรื่องการเงินไม่ผิดพลาด และไม่โดนคนอื่นมาเอาเปรียบ นอกจากนี้เงื่อนไขความรู้ยังรวมถึงการพัฒนาความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพอีกด้วย เพราะความรู้จะช่วยให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้น และเลี้ยงตัวเองได้
 

เงื่อนไข คุณธรรม

เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่จะต้องเสริมสร้าง โดยจะประกอบด้วย การมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รวมถึงอดออมอยู่เสมอ และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ การแบ่งปัน และช่วยเหลือผู้อื่น การมีเงื่อนไขข้อนี้จะทำให้คุณใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข หลังจากที่ไม่มีหนี้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยคุณไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ได้ แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ว่าคุณได้นำไปปรับใช้หรือเปล่า และไม่ใช่แค่เรื่องหนี้กับเรื่องการเงินเท่านั้น คุณสามารถนำหลักการนี้ไปใช้กับเรื่องอื่นๆในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

หลังจากที่คุณปลดหนี้ได้แล้ว ลองใช้ชีวิตแบบพอเพียงดู แล้วคุณจะพบกับความสุขที่แท้จริง..

ท่านและผม เป็นคนไทยที่โชคดีที่สุดในโลกนี้แล้ว เพราะเรามีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ท่านรักประชาชนของท่าน โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน พระองค์ท่านต้องทำงานมาตลอดเพื่อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขของราษฎรของท่าน ผมได้รับการศึกษามามากพอสมควร มีโอกาสใรการเรียนรู้ต่างๆมากกว่าคนอื่นๆในเรื่องที่พระองค์ท่าน ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ที่เรารับรู้ได้อย่างชัดเจนก็คือเรื่องของ"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"  

และผมก็เป็นหนึ่งของคนไทยมากกว่า 60 ล้านคน ที่ได้เรียนรู้ทฤษฎีนี้ เรารู้อย่างเดียวนั้นจะไม่สามารถทำให้เกิดประโยชนย?ต่อตนเองและประเทศชาติเลย เราต้องน้อมนำแนว"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการงานของตนเองให้มากที่สุด ก่อนอื่นผมอยากนำบทความต่างๆที่เป็นความรู้มาแบ่งปันให้คนไทยได้อ่าน จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น

"..ผมคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สิ่งที่พระราชทานมา และบอกให้เราปิดบ้านตัวเองนะ อย่าไปคบกับใคร ไม่ใช่บอกให้เราบอกว่า จนไว้ดี อย่าไปรวย ไม่ใช่ แต่ผมคิดว่าพื้นฐานจริงๆ แล้วก็คือ ต้องมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องอดทน ต้องขยันหมั่นเพียร และอันสุดท้าย ต้องมีวิชาการ วิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม..”
        นั่นเป็นการกล่าวทิ้งท้ายของน.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในการแสดงปาฐกถาพิเศษ ในพิธีเปิด ‘ชมรมเศรษฐธรรม’ ของสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 ณ วังเทวเวสม์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
       

ในปาฐกถาครั้งนั้น องคมนตรีท่านนี้ก็ได้กล่าวในตอนต้นว่า ยังมีคนที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
        “หลายคนหาว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่ออ่านปั๊บ...ไม่อยากให้คนรวย อยากให้คนจนไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่เลย หรือเข้าใจว่าเหมาะสำหรับชาวไร่ ชาวนา เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่อีกเหมือน กัน” น.พ.เกษม กล่าวย้ำ
       

จะเห็นได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาเป็น หลักเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิตของคนทุกระดับชั้น และการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนทุก ระดับทุกขนาด         นั่นคือใช้กับคนในสังคม และวงการธุรกิจ แม้ไม่ใช่คน ร่ำรวยก็สามารถดำเนินชีวิตด้วย‘ทางสายกลาง’ ที่มีความมั่นคงได้ หรือเป็นผู้มั่งคั่ง ก็ร่ำรวยอย่างมีสติ รวยอย่างมีคุณค่า มีประโยชน์สำหรับสังคม และประเทศชาติ

ทำไมต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3 ห่วง 2 เงื่อนไข
        เพราะหลักการของ ‘ความพอเพียง’ ที่ยึดหลัก พอประมาณมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันความไม่แน่นอน 3 หลักที่ว่านี้ เสมือนห่วงสัญลักษณ์ ที่เราเคยเห็นในกีฬาโอลิมปิก 3 ห่วงที่ต้องสอดคล้องกันไป
        ขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนของ 3 ห่วงดังกล่าว ก็มีเงื่อนไขความรู้ (คือ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (คือ ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)
        เมื่อเป็นดังนี้ได้ก็จะนำไปสู่การมีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูงที่มีการแข่งขันสูง

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญ

อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"

ทำไมต้องใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ประกอบไปด้วย ๓ หลักการ คือ

๑. ความพอประมาณ คือ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

๒. ความมีเหตุผล คือ การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

๓. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว

ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต และ เงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร

จุดเริ่มต้นของแนวคิดปรัชญาความพอเพียง มาจากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “หลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ” ซึ่งพระองค์ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเสมอมา และได้ทรงพระราชทานเป็นแนวทางให้กับพสกนิกร อาทิ “ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ” โดยศึกษารายละเอียดครบถ้วนอย่างเป็นระบบ ทั้งจากเอกสารและสอบถามผู้รู้, “ทำตามลำดับขั้น” โดยเริ่มต้นทำงานจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อน โดยเรื่องความพอเพียงนั้นปรากฏอยู่ใน ๓ หลักการ คือ

๑. การพึ่งตนเอง คือ การอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้

๒. พออยู่พอกิน คือ การมีชีวิตอยู่ในขั้นของความพอดี

๓. เศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยความพอประมาณและความมีเหตุผล

ซึ่งอาจจดจำง่ายๆ ในชื่อ ๓ พ. คือ “พึ่งตนเอง” “พออยู่พอกิน” “พอเพียง”

๓ หลักการสั้นๆ ง่ายๆ แห่งความพอเพียง ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ที่ไม่ได้มีเพียงเรื่องของหลักการด้านงานเกษตร อาทิ การทำไร่นาสวนผสม หรือการพัฒนาชุมชนเพียงเท่านั้น แต่หลักการ ๓ พ. ยังเป็นแนวทางที่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกเรื่อง และเข้าถึงผู้คนทุกกลุ่ม ซึ่งการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง พออยู่พอกิน และพอเพียง ตามรอยที่พ่อนำทางไว้ ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติตามได้พบกับความสุขที่แท้จริง และไม่หวาดหวั่นกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เพราะเมื่อเข้าใจถึงแก่นแท้ของคำว่าพอแล้ว ไม่ว่าโลกจะโลกาภิวัตน์ไปมากเพียงใด ก็ไม่ได้ทำให้ความมั่นคงผาสุก ลดน้อยลง

เอนทรีนี้เป็นการให้ความรู้ เพื่อให้เกิดแนวคิดกับเราให้มากขึ้น ขอให้ท่านพยาอ่านแล้วทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ความรู้ทำให้เรามีสติ มีปัญญา จะเป็นเครื่องมือช่วยให้เราเกิดความไม่ประมาท 

ผมหวังว่าผู้ที่แวะเข้ามาอ่านจะเกิดปัญญา มีสติ ด้วยการน้อมนำแนว"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการงาน