การนั่งทํางาน

มนุษย์ออฟฟิศหรือคนที่ต้องทำงานหน้าจอคอมตลอดเวลา หรือคนที่นั่งดูซีรีส์ ซึ่งบางทีอาจจะนานกว่านั่งทำงาน ต้องเจอกับปัญหาปวดคอ ปวดหลัง แต่จะไม่ให้นั่งหน้าจอคอมนานๆ ก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นมานั่งให้ถูกต้องตามหลัก Ergonomics ด้วยการให้สรีระในร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะได้ไม่ปวดหลัง จนลุกลามไปเป็น Office Syndrome

การนั่งทํางาน

ศีรษะ

มองหน้าจอด้วยหน้าตรง ไม่ก้มหรือแหงนจนเกินไป ควรวางหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา ห่างออกไประมาณ 2.5 ฟุต 

คอ

เมื่อมองหน้าจอแบบหน้าตรงแล้ว คอก็จะตั้งตรงไปเอง ไม่ควรวางหน้าจอให้ต้องนั่งเอียงคอหรือเอี้ยว หัน ไปด้านใดด้านหนึ่ง

หลัง

หลังควรจะมีอะไรซัพพอร์ตอยู่ตลอด โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง ดังนั้นถ้าต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ควรเลือกเก้าอี้ดีๆ ที่เหมาะสำหรับการนั่งทำงานและสามารถปรับระดับได้ การนั่งที่ถูกต้องคือนั่งพิงพนักเก้าอี้ โดยเอนไปด้านหลังเล็กน้อย ไม่แอ่นหรืองอหลัง พร้อมปล่อยช่วงไหลให้ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง

แขนและข้อศอก

เมื่อนั่งหลังพิงเก้าอี้แล้ว ให้แนบต้นแขนชิดกับลำตัว วางแขนทำมุม 90 องศากับต้นแขน ถ้ารู้สึกเมื่อยให้วางราบไปกับโต๊ะ หรือที่วางแขนเก้าอี้ได้เลย ส่วนข้อศอกและข้อมือควรอยู่ในระนาบเดียวกัน ขณะพิมพ์ไม่ควรยกข้อมือหรือแขนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เมื่อยล้า สามารถใช้ที่รองข้อมือมารองขณะพิมพ์หรือจับเมาส์ได้

ขา

บางคนอาจจะติดการนั่งไขว่ห้าง ยกขาขึ้นมา หรือนั่งขัดสมาธิ แต่ถ้านั่งนานๆ นอกจากจะทำให้เมื่อยแล้วยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อด้วย การนั่งที่ถูกต้องคือ วางต้นขาแนบไปกับที่นั่ง และปล่อยขาลงไปให้เท้าแนบพื้น 

เข่า

เมื่อเท้าวางราบไปกับพื้นแล้วก็ควรจะให้ข้อพับขาชิดกับที่นั่ง ทำมุม 90 องศา เพื่อให้เข่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ต้องนั่งจนวดขาปวดเข่า

เท้า

วางกับพื้นให้เต็มฝ่าเท้า ถ้าหากเท้าไม่ถึงพื้นให้หาอะไรมารองเท้า หรือปรับเก้าอี้ลง

นอกจากการนั่งยังมีวิธีอื่น

การนั่งที่ถูกวิธีอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะถ้านั่งเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานก็ต้องมีปวดหลัง ปวดตา เมื่อยล้ากันบ้าง ลองใช้วิธีอื่นๆ ดังนี้ ควบคู่กับการนั่งให้ถูกวิธี แล้วจะรู้สึกดีกับการนั่งทำงานขึ้นเยอะ

  • เปลี่ยนอิริยาบถทุก 45-50 นาที ด้วยการลุกไปเข้าห้องน้ำ ไปหยิบขนมกิน หรือเดินไปเม้าท์มอยกับเพื่อนบ้าง
  • พักสายตาจากหน้าจอบ้าง การจ้องหน้าจอนานๆ ทำให้ตาแห้ง ลองกระพริบตาถี่ๆ หรือหลับตาสักพักให้มีน้ำมาหล่อเลี้ยงดวงตา อาจจะมองออกไปในระยะไกลเพื่อพักสายตาก็ได้
  • ยืดเส้นยืดสาย คลายกล้ามเนื้อ นั่งไปนานๆ กล้ามเนื้ออาจเกร็งโดยไม่รู้ตัว ให้ยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณคอ แขน ไหล่ ขา 

ที่มา brandthink, medium

การนั่งทํางาน

เลือกใช้เก้าอี้ดีๆ ที่เหมาะสำหรับการนั่งทำงาน ป้องกัน Office Syndrome -> เก้าอี้ทำงานตามหลักสรีรศาสตร์

ช้อนคู่กับส้อมฉันใด ออฟฟิศซินโดรมก็คู่กับมนุษย์เงินเดือนฉันนั้น เพราะมนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานบริษัทส่วนใหญ่มักต้องนั่งหลังคดหลังแข็งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าการนั่งติดต่อกันนานหลายชั่วโมงนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกับหลัง ไหล่ และคอที่เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการปวด และหากไม่ได้รับการรักษา ปล่อยไว้จนเรื้อรัง อาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? ทำไมถึงต้องรีบรักษา

การนั่งทํางาน

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออาการปวดกล้ามเนื้อที่มีสาเหตุมาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่นการนั่งอยู่ท่าเดิมนานๆ โดยไม่ขยับหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งนอกจากอาการปวดแล้ว ยังทำให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณแขนหรือมือ เพราะเส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง แม้อาการในระยะแรกจะไม่รุนแรงมาก ดูเหมือนเป็นการปวดหลังธรรมดาทั่วไป แต่หากปล่อยไว้นานๆ โดยไม่รักษาอาการอาจรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคปวดหลังเรื้อรัง และยังเสี่ยงต่อการเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและโรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) ได้อีกด้วย ดังนั้นใครที่กำลังมีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ รวมถึงปวดหัวมานาน และสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างถูกต้อง แต่ถ้าหากใครที่เพิ่งเริ่มมีอาการหรืออยากป้องกันตัวเองจากออฟฟิศซินโดรม ก็สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยตัวเองดังวิธีต่อไปนี้ค่ะ

2 ข้อต้องทำ ถ้าไม่อยากเป็นออฟฟิศซินโดรม

1.ปรับจากท่านั่ง นั่งยังไงให้ห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม

การนั่งทํางาน

การนั่งทำงานที่ถูกต้อง จะต้องนั่งหลังตรง ไม่โก่งหรือค่อม และนั่งเต็มก้น ให้สะโพกและหลังชิดกับพนักพิงเก้าอี้ และวางเท้าให้ราบไปกับพื้นทั้งสองข้าง ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะการนั่งไขว่ห้างจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก นอกจากท่านั่ง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ก็ควรปรับให้หน้าจออยู่ในระดับสายตา ไม่ต้องเงยหรือก้มขณะที่มองหน้าจอ รวมถึงแป้นพิมพ์ควรอยู่ในระดับความสูงที่พอดีกับข้อศอกและข้อมือ จะช่วยลดอาการตึงหรือเมื่อยล้ากล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ได้ เทคนิคเล็กๆ อีกอย่างสำหรับท่านั่งพิมพ์งานคือ ให้เก็บข้อศอกเอาไว้ใกล้ตัว จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อช่วงหัวไหล่และแขนได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันนานๆ ควรลุกขึ้นเดินหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสายทุกๆ 45 นาที ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดอาการปวดเกร็งลงได้

2.เปลี่ยนเก้าอี้ใหม่แก้ไขอาการออฟฟิศซินโดรม

นอกจากท่านั่งที่ต้องนั่งให้ถูก เก้าอี้สำหรับนั่งทำงานหรือเก้าอี้สำนักงานก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เรานั่งได้สบายและไม่ปวดคอหรือหลัง หากเลือกเก้าอี้ผิด ไม่เหมาะสมกับสรีระ อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น การปวดเมื่อยคอและหลัง โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รวมถึงอาการออฟฟิศซินโดรม 

ปัจจุบันเก้าอี้สำนักงานมีให้เลือกซื้อเลือกใช้มากมายหลายแบบ การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานให้เหมาะสม ควรพิจารณาจากคุณสมบัติเหล่านี้

เก้าอี้ต้องมีที่พักแขน

การนั่งทํางาน

เก้าอี้หลายรุ่นออกแบบมาโดยไม่มีที่พักแขน ซึ่งอาจเหมาะกับการเป็นเก้าอี้สำหรับวางตกแต่งห้องเพื่อความสวยงาม มินิมอล แต่ไม่เหมาะสำหรับการเป็นเก้าอี้นั่งทำงาน เก้าอี้นั่งทำงานที่ดีจะต้องมีที่พักแขน และที่พักแขนควรปรับระดับความสูงต่ำได้ เพื่อปรับให้อยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน เมื่อการวางพักแขนบนเก้าอี้เป็นไปอย่างธรรมชาติและสบาย จะช่วยลดการเกร็งช่วงไหล่ แขน และข้อพับได้

เก้าอี้ต้องมีพนักพิง

การนั่งทํางาน

ข้อห้ามสำคัญในการเลือกซื้อเก้าอี้สำนักงาน คือ ห้ามซื้อเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงโดยเด็ดขาด และพนักพิงนั้นต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม เก้าอี้ทำงานที่ดีควรมีพนักพิงที่เอนไปด้านหลังเล็กน้อย ประมาณ 100-130 องศา ซึ่งเป็นมุมเอนที่พอดีไม่ดันช่วงหลังของผู้นั่งมากเกินไป และส่วนสูงของพนักพิงที่เหมาะสม ไม่ควรสูงเกินไหล่ของผู้นั่งแต่อาจต่ำกว่าไหล่เพียงเล็กน้อยได้  

สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้

  • การนั่งทํางาน
  • การนั่งทํางาน

เนื่องจากส่วนสูงของแต่ละคนไม่เท่ากัน เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้จึงตอบโจทย์การเป็นเก้าอี้ที่ดีสำหรับใช้ในสำนักงานมากกว่า โดยทั่วไปความสูงของเก้าที่เหมาะสมกับการนั่งทำงานจะอยู่ที่ประมาณ 16-21 นิ้ว แต่เพื่อความชัวร์ ก่อนเลือกซื้อเก้าอี้ให้ลองนั่งและปรับระดับความสูงให้อยู่ในระดับที่สามารถวางแขนบนโต๊ะทำงานได้อย่างสบาย เท้ายังติดพื้น และเข่าสูงกว่าสะโพกเพียงเล็กน้อย

เบาะต้องไม่นุ่มเกินจนเป็นแอ่ง

การนั่งทํางาน

เก้าอี้ที่เบาะนุ่มเกินไป เมื่อต้องนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน จะส่งผลให้กระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกรานผิดรูปได้ เบาะเก้าอี้ควรนุ่มแต่พอดีเพื่อรองรับแรงกดทับในขณะนั่ง เพื่อไม่ให้เจ็บแผ่นหลังเวลาต้องนั่งนานๆ ขนาดความกว้างของเบาะก็ไม่ควรแคบจนผู้นั่งอึดอัดไม่สามารถขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถได้ 

การนั่งทํางาน
เก้าอี้เพื่อสุขภาพ Ergonomic เฟอร์ราเดค William

เสริมด้วยหมอนหรือเบาะหนุนหลัง

  • การนั่งทํางาน
  • การนั่งทํางาน
เบาะรองหลัง บีเวลล์ เมมโมรี่โฟมแท้ 100% บรรเทาออฟฟิศซินโดรม  

สำหรับคนเป็นพนักงาน หลายคนอาจประสบปัญหากับเก้าอี้ไม่พอดีกับสรีระ และก็ไม่สามารถไปเลือกซื้อเก้าอี้มาใช้เองได้ ถ้าหากไม่สามารถหาเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสม ให้หาหมอนหรือเบาะหนุนหลังมาใช้แทน เบาะหนุนหลังจะช่วยรับน้ำหนักบริเวณกระดูกหลังส่วนล่าง ลดอาการบาดเจ็บจากการนั่งนานๆ ได้ เก้าอี้ที่ควรมีเบาะหนุนหลังมาเสริม ให้ลองนั่งตัวตรงหลังพิงชิดพนักเก้าอี้ หากยังมีช่องว่างระหว่างหลังและพนักพิงอยู่ ควรรีบหาเบาะรองหลังดีๆ ซักอันมาใช้ ก่อนจะต้องเผชิญกับอาการปวดหลังจนสายเกินแก้

ช้อปเก้าอี้เพื่อสุขภาพ เก้าอี้สำนักงาน เก้าอี้ผู้บริหาร และเก้าอี้รูปแบบอื่นๆ ได้เลยที่เว็บไซต์ Officemate