ทํางานวันแรงงาน

การทำงานในวันแรงงาน

เริ่มโดย samrann, พฤษภาคม 04, 2008, 01:33:46 PM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

  • samrann

  • บุคคลทั่วไป
  • บันทึกการเข้า

อยากทราบว่า   นาย ก. เป็นพนักงานลานจ่ายก๊าซปิโตรเลี่ยม ที่คลังก๊าซแห่งหนึ่ง  ลักษณะงานคืองานบริการจ่ายก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลวทางรถยนต์ให้กลับลูกค้า สามกะ เป็นงานบริการตลอด 24 ชั่วโมง ผู้จัดการคลังก๊าซให้ นาย ก. มาทำงาน ในวันแรงงาน   คำถาม 1. นายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในวันแรงงาน ผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ  2. ถ้าผิด ผิดอย่างไร มีโทษอย่างไร และลูกจ้างจะมีขั้นตอนขอความเป็นธรรมอย่างไรบ้าง และจากหน่วยงานไหน 3.ถ้าไม่ผิด ไม่ผิดอย่างไร ในลักษณะงานเช่นไดบ้าง และได้ค่าแรงเป็นกี่เท่าถ้าทำในวันแรงงาน  ขอความกระจ่างแจ้งแก่คนหาเช้ากินค่าด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ


  • anocha

  • บุคคลทั่วไป
  • บันทึกการเข้า

จากคำถามมีข้อมูลให้ศึกษา ดังนี้
        กระทรวงแรงงานประกาศ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างหยุดงานพร้อมจ่ายค่าจ้างในวันแรงงานแห่งชาติ
กระทรวงแรงงานประกาศให้ลูกจ้างหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน กรณีให้ลูกจ้างทำงานในวันแรงงานแห่งชาติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้าง และกรณีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันแรงงานแห่งชาติ นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้าง   นางสาวเจียระไน เกตุวงษ์ นักวิชาการแรงงาน 7 ว ปฏิบัติราชการแทน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพะเยา แจ้งว่า กระทรวงแรงงานได้ออกประกาศเรื่อง ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน กรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดงานได้ เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่เป็นงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล สถานบริการท่องเที่ยว เป็นต้น ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่า จะหยุดในวันอื่นชดเชย หรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้
กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันแรงงานแห่งชาติ ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่ลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้าง ต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงาน และกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันแรงงานแห่งชาติ ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโทงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงาน.
ข่าวโดย  บุษรา สุขวิบูลย์   
หน่วยงาน ส.ปชส. พะเยา
จาก http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnews.php?ID=080429140211

กระทรวงแรงงาน ประกาศเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานวันแรงงานแห่งชาติ และจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเท่ากับวันทำงาน หากฝ่าฝืนจะดำเนินคดีทุกราย นายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  เปิดเผยว่า ด้วยในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี  เป็นวันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day) ทั้งนี้เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน และให้ผู้ใช้แรงงานได้ร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 ได้กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบ เป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย กระทรวงแรงงานจึงขอชี้แจงการปฏิบัติเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ดังนี้ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ และจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดงานได้ เนื่องจากมีลักษณะงานที่จำเป็น หรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน เช่น งานในกิจการโรงแรม ร้านขายอาหาร สถานพยาบาล งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง เป็นต้น ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่า จะให้หยุดชดเชยวันอื่นแทน หรือจะจ่าย ค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง ในกรณีที่ตกลงกันว่าจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดนั้นนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่ าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ สำหรับกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันแรงงานแห่งชา ติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตร าค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำ
                    อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กล่าวเพิ่มว่า นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากนายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โทร.0 2246 8994 หรือ 0 2246 3192 หรือกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ทุกพื้นที่ ในส่วนภูมิภาคติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแ รงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสายด่วนเพื่อผู้ใช้แรงงาน 1546
   จาก http://122.154.5.7/lmi-ne/forumweb/forum/forum_posts.asp?TID=394
การร้องทุกข์ของลูกจ้าง
1.   ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิของตนอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน ของนายจ้างได้โดย
•   ลูกจ้างนำคดีไปฟ้องศาลแรงงาน
•   ลูกจ้างยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน
2.   การยื่นคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาท
•   ยื่นคำร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
•   ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือที่นายจ้าง มีภูมิลำเนา หรือท้องที่ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้
3.   การพิจจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน
•   เร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ลูกจ้าง และพยานโดยเร็ว รวมทั้งการรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย
•   เมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน หรือยกคำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง
•   การรวบรวมข้อเท็จจริง และการมีคำสั่ง ต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการ
•   ถ้าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ให้ขอขยายระยะเวลา ต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 30 วัน
4.   การยุติข้อร้องทุกข์ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง
•   ลูกจ้างสละสิทธิการเรียกร้องทั้งหมด
•   ลูกจ้างสละสิทธิเรียกร้องแต่บางส่วน โดยนายจ้างยินยอมจ่ายเงินบางส่วน แก่ลูกจ้าง
http://www.labour.go.th/duty/index.html