ทํางานวันหยุดนักขัตฤกษ์ รายวัน

กรณีพนักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติของวันทำงาน เช่น เวลางานปกติกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้แล้วเสร็จจึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงานครับ

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ได้รับค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*1.5*3

สรุป นาย ก. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 187.50 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*1.5*3

สรุป นาย ข. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันทำงานจำนวน 196.87 บาท

ค่าตอบแทนกรณีทำล่วงเวลาในวันหยุด

กรณีพนักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติในวันหยุด เช่น เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้แล้วเสร็จจึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงานครับ(วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น)

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันหยุดกรณีพนักงานรายเดือน

นาย ก. ค่าจ้าง  10,000 บาทต่อเดือน ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันหยุดจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อเดือน หาร สามสิบ หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 3 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(10,000 / 30 / 8)*3*3

สรุปนาย ก. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุดจำนวน 375 บาท

ตัวอย่างการคำนวณค่าล่วงเวลาในวันหยุดกรณีพนักงานรายวัน

นาย ข. ค่าจ้าง  350 บาทต่อวัน ทำล่วงเวลาหลังเลิกงานในวันหยุดจำนวน 3 ชั่วโมง

สูตรการคำนวณ    = (ค่าจ้างต่อวัน หาร ชั่วโมงงานปกติ) คูณ 3 เท่า คูณ ชั่วโมงที่ทำโอที

วิธีการคำนวณ      =(350 / 8)*3*3

สรุป นาย ข. ได้รับเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุดจำนวน 393.75 บาท

ค่าตอบแทนกรณีทำงานในวันหยุด

กรณีพนักงานมาทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุด เช่น เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. กรณีเช่นนี้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น) โดยอัตราการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

1. สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า

2. สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ก่อนอื่นต้องตีความคำว่า “ลูกจ้าง” ว่าหมายถึงใครบ้าง โดยกฎหมายแรงงานกำหนดความหมายของคำนี้ไว้ครอบคลุมทั้งลูกจ้างรายเดือน รายวัน และรายเหมา ดั้งนั้นมาตราต่าง ๆ ใน พรบ.คุ้มครองแรงงานจึงมีผลบังคับใช้กับลูกจ้างทุกประเภท ถ้าไม่ได้ระบุให้ยกเว้นไว้ครับ

1.จาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2551 มาตราที่ 56 ได้กำหนดเรื่องการของการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันหยุดไว้ ดังนี้

1.1. สำหรับลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือจ้างตามผลงานนายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าจ้างเฉพาะวันหยุดประจำสัปดาห์เท่านั้น ม.56 (1)

1.2. สำหรับวันหยุดตามประเพณี (13 วัน) และ วันหยุดพักร้อน (6 วัน) กฎหมายไม่ได้ระบุข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นจึงต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือจ้างตามผลงานในว้นหยุดดังกล่าวด้วย ม.56 (2) (3)

2. ลาป่วย (มี 2 มาตราที่เกี่ยวข้อง)

“มาตรา 32 ให้ ลูกจ้าง มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ ลูกจ้าง แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบและมาตรา 57 ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างจากนายจ้างกรณีลาป่วยได้ไม่น้อยกว่า 30 วันในรอบ 1 ปีการทำงาน”

จากทั้ง

2 มาตรา สรุปได้ว่า ลูกจ้างรายวันมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ แต่ไม่เกิน 30 วัน ต่อปีครับ

3. ลาพักร้อน (มาตรา 30)

มาตรา 30 กำหนดไว้ว่าลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี แล้วมีสิทธิที่จะลาพักผ่อนประจำปี (พักร้อน) ได้ไม่น้อยกว่า 6 วัน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดให้ หรือตามตกลงกัน ดังนั้นลูกจ้างรายวันที่ทำงานครบ 1 ปี นายจ้างต้องกำหนดวันพักร้อนให้กับลูกจ้าง 6 วันครับ

กรณีที่ลูกจ้างลาออก หรือหมดสัญญา แล้วสิทธิการลาพักร้อนไม่ได้ใช้ก็ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินให้ด้วยครับ

4. ลากิจ – กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นจะจัดให้ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ โดยปกติจะระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับพนักงานอย่างชัดเจน

ในทางปฏิบัติ

แต่ในทางปฏิบัติแล้ว นายจ้างเหมาช่วงส่วนใหญ่ก็จะไม่กำหนด หรือไม่บอกสิทธิเรื่องวันหยุดประเพณี การลาป่วย หรือพักร้อนให้แก่ลูกจ้างทราบครับ หรือให้สิทธิน้อยกว่ากฎหมาย ตามความคิดผมอาจเป็นเพราะว่าลูกจ้างรายวันต้องการแค่เงินเดือนที่นายจ้างให้ถูกต้อง และตรงเวลา แค่นั้นเค้าก็พอใจแล้วครับ หรือการให้สิทธิที่น้อยกว่ากฎหมายก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้ลูกจ้างรายวันพอใจ เพราะคิดว่านายจ้างให้สิทธิแก่ตนแล้ว จะเห็นว่าเคสที่เกิดขึ้น จะไม่ค่อยเห็นประเด็นเรื่องการลาเท่าใดนัก จะเป็นประเด็นเรื่องการจ่ายเงินเดือนไม่ครบ หรือไม่จ่ายเป็นส่วนใหญ่ครับ จึงไม่มีใคร

ทํางานในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ได้กี่แรง

ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่ ...

วันหยุดนักขัตฤกษ์ได้โอทีกี่เท่า

ส่วนค่าตอบในกรณีที่คุณต้องมาทำงานในวันหยุดจะมีวิธีคำนวณ ดังต่อไปนี้ 1. ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า สูตรการคำนวณ >> (เงินเดือนหารสามสิบวัน หารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงการทำงาน วิธีการคำนวณ>> (15,000 / 30 /8)*1*8.

พนักงานรายวันได้เงินวันหยุดนักขัตฤกษ์ไหม

4. วันหยุดนักขัตฤกษ์ ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิได้รับการพักงานตามวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยได้รับเงินเดือน หรือค่าจ้างแรงงานตามปกติ ถ้าวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตรงกับวันหยุดประจาสัปดาห์ให้มีการหยุดชดเชยแทน

ค่าทํางานในวันหยุด กี่เท่า

ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย