ว จ ยในช นเร ยนพ ฒนาการเร ยนร คำศ พท ม.ปลาย

เผยแพร่: 3 ธ.ค. 2556 22:53 โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - “จรัมพร” สรุปความคืบหน้าแนวทางการสืบสวนคลี่คลายคดีความวุ่นวายหน้ารามคำแหง จนเป็นเหตุให้ นศ.รามเสียชีวิต แบ่งเป็น 6 คดี ผู้เสียยชีวิต 5 ราย เผยหลักฐานพบปลอกกระสุนหลายขนาดตกในที่เกิดเหตุ 34 ปลอก

เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (3 ธ.ค.) ที่ สน.วังทองหลาง พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา สบ 10 พล.ต.ต.นัย วัฒน์ผะเดิมชิต ผบก.น.4 พ.ต.อ.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ ผกก.สส.3 บก.สส.บช.น. พนักงานสอบสวน ได้ประชุมติดตามความคืบหน้ากรณีมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหงปะทะกับกลุ่ม นปช. และกรณีมีการเผารถตู้และรถบัสจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต

พล.ต.อ.จรัมพรกล่าวว่า เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5 รายแบ่งเป็น 6 คดี คือ 1. คดีการเสียชีวิตของนายทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง 2. คดีการเสียชีวิตของนายวิษณุ เภาพู่ ผู้ชุมนุม 3. คดีการเสียชีวิตของนายวิโรจน์ เข็มนาค ผู้ชุมนุม 4. คดีการเสียชีวิตของพลทหารสนิท เวียงคํา 5. คดีการเสียชีวิตของนายสุรเดช คําแปงใจ ซึ่งถูกเผาในรถบัส ทะเบียน 30-0170 กําแพงเพชร ซึ่งอาจรวมเป็นคดีเดียวกับคดีที่ 5 นั่นคือคดีการเผารถบัสคันดังกล่าว ซึ่งทําให้เสียทรัพย์และเป็นเหตุให้มีผู้อื่นเสียชีวิต และ 6. คดีเผารถตู้ซึ่งเป็นเหตุทําให้เสียทรัพย์

ส่วนคดีการเผารถบัสจนเป็นเหตุให้พบโครงกระดูก ซึ่งภายหลังนางนฤมล คําพยัคฆ์ มายืนยันว่าโครงกระดูกดังกล่าวเป็นนายสุรเดช ลูกชายนั้น เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้มีการนําดีเอ็นเอของนางนฤมลไปตรวจสอบแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. คาดว่าผลน่าจะออกมาภายใน 1 สัปดาห์

ด้าน พล.ต.ต.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต ผบก.น. 4 กล่าวว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.30 น.วันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ตํารวจ สน.โชคชัย ได้ทําการจับกุม นายศรชัย หรือชัย อนงค์ อายุ 24 ปี พร้อมนายมาโนชญ์ หรือโนชญ์ เถื่อนแพ อายุ 22 ปี และเยาวชนอายุ 17-18 ปี จํานวน 3 ราย โดยขณะที่เจ้าหน้าที่ตั้งด่านตรวจภายในซอยลาดพร้าว 93 ถ.ลาดพร้าว แขวงและเขตวังทองหลาง กทม.

จากการตรวจสอบพบอาวุธมีดปลายแหลมจํานวน 2 เล่ม ใบกระท่อม 72 ใบ บัตรแขวนระบุเจ้าหน้าที่การ์ด กปปส. นอกจากนี้ นายศรชัยมีหมายจับเลข ที่ 317/52 ลงวันที่30 มิ.ย. 52 สภ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ในข้อหาข่มขืน โดยมีลักษณะโทรมหญิง จากนั้นจึงได้นําตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.โชคชัย ดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา (สบ10) กล่าวถึงการตรวจพิสูจน์หลักฐานเหตุการณ์ความรุนแรงที่ ม.รามคำแหง ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิสูจน์ทราบผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะศพผู้ที่เสียชีวิตในรถบัสที่ถูกเผา แม้ทางญาติจะยืนยันด้วยแหวน กุญแจ โทรศัพท์ ที่พบในตัวศพแต่ทางพนักงานสอบสวนต้องยืนยันด้วยดีเอ็นเอ จากการตรวจที่เกิดเหตุพบทั้งลูกกระสุน ปลอกกระสุน และหัวกระสุน สำหรับปลอกกระสุนที่พบ จำนวน 34 ปลอก มีทั้งขนาด .45 และ.38 .380 .25 .22 ลองไรเฟิล ส่วนถูกยิงมาจากอาวุธปืนกระบอกใด อยู่ระหว่างการเปรียบเทียบ เบื้องต้นพบว่ามีการใช้อาวุธ 6 ชนิด ทั้งปืนสั้น ปืนยาว ส่วนลูกกระสุนและปลอกกระสุนจะมีการเก็บเพิ่มเติมอีก

จากการตรวจสถานที่เกิดเหตุคือมีการยิงกันไป ยิงกันมา ยืนยันว่าไม่น่าจะมี สไนเปอร์ อย่างกรณีของนักศึกษารามคำแหงที่ถูกยิงเสียชีวิต เป็นการยิงเฉพาะหน้าในแนวราบ ระยะใกล้ 2-3 เมตร ไม่ใช่ระยะประชิด โดยถูกยิงด้วยอาวุธปืนสั้นขนาด 11 มม. ขณะที่ในจุดเกิดเหตุก็พบปลอกกระสุนชนิดเดียวกันตกอยู่ ส่วนปืนยาวที่พบว่าน่าจะมีการใช้ก็เป็นปืนลูกกรด กระสุนขนาด 7.22 ทั้งนี้ ในเรื่องของสไนเปอร์นั้น จะมีการสอบปากคำพยานบุคคลด้วย

รองนายกฯ วอนคนเห็นใจ ทำวิจัยให้ใช้ได้ทันที "ยาก"

เผยแพร่: 19 พ.ย. 2557 14:13 โดย: MGR Online

รองนายกฯ วอนคนเห็นใจ ทำวิจัยให้ได้ผลและใช้ทันทีเป็นเรื่อง "ยาก" ชี้สังคมต้องให้เวลาเพราะการทำงานวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อน เผยระหว่างเปิดตัวนักวิจัยหัวกะทิความหวังของชาติ ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศด้วยงานวิจัย

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าสังคมมักคาดหวังต่อนักวิจัยค่อนข้างสูง ว่างานวิจัยเมื่อทำออกมาแล้วต้องใช้ได้ทันทีและเสร็จทุกกระบวนการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคนในแวดวงวิทยาศาสตร์ที่คลุกคลีกับการวิจัยทุกคนจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ยาก" เพราะการจะทำงานวิจัยแต่ละชิ้นให้ออกมาได้สำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน เพื่อให้ได้ผลวิจัยที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องที่สุด

"ขั้นตอนทั้งหมดจำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ การแพทย์ ชีววิทยาหรือการวิเคราะห์ต่างๆ แต่ก็มีผลงานวิจัยบางแขนงที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพัฒนาแอปพลิชั่น หรืองานทางด้านเทคโนโลยี จึงอยากให้คนในสังคมเห็นใจ และให้กำลังใจนักวิจัยมากกว่า ซึ่งในส่วนของนักวิจัยเองก็ควรศึกษาก่อนการวิจัยด้วยว่างานวิจัยของตนจะสามารถต่อยอด และสร้างประโยชน์ให้สังคมได้อย่างไร เพื่อเป็นการนอบแทนสังคมและแสดงให้เห็นว่านักวิจัยใช้ทุนวิจัยเพื่อสร้างประโยชน์ตอบแทนสังคมอย่างแท้จริง โดยการสร้างผลงานแบบตอบโจทย์ตามความต้องการ หรือตอบโจทย์ปัญหาสังคมซึ่งก็คือการตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนที่ตรงจุดที่สุด" รองนายกฯ กล่าว

ทั้งนี้ เป็นการใช้ความเห็นระหว่างการเสวนาเรื่อง "ความคาดหวังของสังคมต่อศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นและเมธีวิจัยอาวุโส สกว." ภายในงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี 2557 เมื่อวันพุธที่ 19 พ.ย. 57 ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ทางด้าน ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เป็นทุนสูงสุดของ สกว.ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสระดับศาสตราจารย์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นให้มีโอกาสพัฒนาและผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นทุนแบบหวังผลที่ต้องการนำผลจากการวิจัยกลับมาใช้พัฒนาประเทศ ซึ่งผลจากงานวิจัยจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีผลกระทบทางวิชาการสูง หรือมีศักยภาพสูงมากในการนำไปประยุกต์เพื่อให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ

"งานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแก่นักวิจัยที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นประโยชน์ของประเทศ เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นคุณค่าของงานวิจัยทั้งงานวิจัยแบบประยุกต์ และงานวิจัยระดับพื้นฐาน ที่สังคมมักมองว่าเป็นงานวิจัยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งผมขอโต้แย้งแทนว่างานวิจัยพื้นฐานยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญและจะเป็นไปไม่ได้เลยที่งานวิจัยประยุกต์หรือหาองค์ความรู้ใหม่ๆ จะสำเร็จได้ หากปราศจากพื้นฐานที่ดี การสนับสนุนโดยการให้ทุนนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพโดย สกว. จึงเป็นการกระตุ้นการพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่ง เพราะเป็นการมอบทุนแบบมุ่งเป้าเพื่อให้ผลของงานวิจัยสามารถย้อนกลับมาพัฒนาประเทศได้ ซึ่งตลอด 22 ปีที่ผ่านมาของ สกว. มีการมอบทุนแก่เมธีวิจัยอาวุโสแล้วทั้งสิ้น 235 ทุนและทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นทั้งสิ้น 16 ทุน" ผอ.สกว. กล่าว

สำหรับปีนี้มีผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น 4 ท่านได้แก่ ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ สาขาประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการค้นพบระบบประสาทที่ควบคุมการสร้างเมลาโทนิน และการค้นพบบทบาทของเมลาโทนินในการยับยั้งการเสื่อมของสมอง, ศ.ดร.นทีทิพย์ กฤษณามระ สาขาสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการวิจัยองค์ความรู้ในเรื่องฮอร์โมนโพรแลคติน ในฐานะฮอร์โมนควบคุมแคลเซียมและกระดูกในแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรและการให้แคลเซียมเสริมเพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูกหลังมีบุตร, ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ จากสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้ร่วมทำการวิจัยกับองค์การอนามัยโลก เรื่องการดูแลผู้ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ และ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ สาขาเคมีอินทรีย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการสังเคราะห์สารเลียนแบบสารพันธุกรรมพีเอ็นเอ (PNA: Peptide Nucleic Acid) ที่มีความทนทานมากกว่าดีเอ็นเอที่ถูกย่อยสลายได้ และการพัฒนาวิธีการสังเคราะห์ยาต้านมาลาเรีย