ตัวอย่าง การ สื่อสาร ไม่ ประสบ ความ สํา เร็ จ

ตัวอย่าง การ สื่อสาร ไม่ ประสบ ความ สํา เร็ จ

การติดต่อและการประสานงานทุกคนใช้กันทุกวัน ไม่ว่าจะการทำงาน การใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ก็มักจะมีปัญหาเกิดขึ้น และบางครั้งการทำงานที่พบปัญหาเกิดจากการสื่อสารของคนในองค์กร วันนี้เลยอยากให้ทราบถึงพฤติกรรมที่เราไม่ควรทำ เพราะบุคคลอื่นกำลังมองเราและเขาจะรู้สึกไม่ดีกับเราเมื่อพวกได้ทำงาน หรือติดต่อประสานกับเรา

การมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เราทำงานเร็วขึ้น สะดวกขึ้น ไม่ได้หมายความว่าการสื่อสารของเราจะไม่มีปัญหา ตรงกันข้ามถ้าใช้ไม่เหมาะสมปัญหาก็เกิด เรื่องบางเรื่องไม่ควรเขียนก็เขียนเข้ามาในกลุ่มไลน์ การใช้อีเมลในทุกกรณีจนไม่คุยกันเลย ก็เป็นเรื่องที่เกิดปัญหาได้เช่นกัน ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือใดเราควรใช้ให้เหมาะสมทั้งปัจจัยด้านเวลา สถานที่ กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมที่บุคคลอื่นมองเราว่าแย่ และการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง การ สื่อสาร ไม่ ประสบ ความ สํา เร็ จ

  1. การไม่ตอบกลับ เช่นการส่งอีเมล และผู้รับไม่ตอบกลับทำให้ผู้ส่งกังวลและบางครั้งไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อกับข้อมูลหรือข้อความที่ส่งไปให้กับผู้รับดี หรือการส่งไลน์ อ่านแต่ไม่ตอบ คนส่งก็ต้องมาคิดว่า อ่านแล้วไม่ตอบคือ อะไรกัน ก็จะทำให้ผู้ส่งหงุดหงิดใจส่งผลถึงการทำงานเช่นกัน หรือการพลาดการรับโทรศัพท์ แล้วไม่ติดต่อกลับ เราต้องเข้าใจว่า การที่มีบุคคลติดต่อเรา นั้นหมายความว่า เขาต้องการการ Action หรือให้เราช่วยเหลืองานนั้น

ตัวอย่าง การ สื่อสาร ไม่ ประสบ ความ สํา เร็ จ

2. การใช้คำพูด ภาษาเขียน ที่ไม่เหมาะสม อันที่จริงอาจพูดได้ว่าเป็นมารยาท ก็เป็นได้ มารยาทในการใช้คำพูด การเขียนสื่อสาร บางทีอ่านอีเมลแล้วอยากจะลบข้อความทิ้ง หรือการฟังจากการสนทนาทางโทรศัพท์แล้วอยากจะวางหูใส่กันเลย เราควรให้เกียรติกับทุกคนในการพูด การสื่อสาร การเขียน หลีกเลี่ยงการใช้คำสั่ง เปลี่ยนเป็นการขอความช่วยเหลือ ขอความร่วมมือ น่าจะได้งานมากกว่าการสั่งการ หรือสื่อสารด้วยอารมณ์เชิงลบ ทุกครั้งที่พูด ที่เขียนจงคิดเสมอว่า นั้นคือ ภาพลักษณ์ของตัวท่าน

ตัวอย่าง การ สื่อสาร ไม่ ประสบ ความ สํา เร็ จ

3. การไม่ชัดเจน กับข้อมูลทีสื่อสาร บางทีผู้สื่อสารยังไม่ทราบเลยว่า ต้องการอะไร พูดวกไปวนมา คนฟังก็งง บางทีมีคำพูด “สรุปพี่ต้องการอะไร” บางครั้งผู้พูด หรือผู้สื่อสารต้องชัดเจน จับประเด็นก่อนที่จะพูด บางครั้งพูดสั้น ๆ แต่ได้ใจความ อาจดีกว่าพูดยาว ๆ แต่จับใจความไม่ได้เลย งานที่ออกมาจะไม่ประสบความสำเร็จ

ตัวอย่าง การ สื่อสาร ไม่ ประสบ ความ สํา เร็ จ

4. การไม่รับฟัง ต่างฝ่ายต่างพูด ไม่ฟังกัน ก็คงไม่มีใครได้งานอย่างที่ตั้งใจ เราควรสื่อสารแบบสายกลาง มีสมาธิ สติในการเป็นผู้ฟัง

ที่ดี เห็นด้วยหรือไม่ ก็ควรฟังคู่สนทนาให้จบเสียก่อน และใช้เหตุผลในการพูดคุยกัน

ลองเริ่มทดลองในการยกเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อเราจะเป็นนักสื่อสารที่ได้ทั้งงาน ได้ทั้งเพื่อน ด้วยการสื่อสารที่ดี

ตัวอย่าง การ สื่อสาร ไม่ ประสบ ความ สํา เร็ จ

จัดการกับการสื่อสารที่ล้มเหลว

20 September 202320 September 2023

“Communication breakdown” การสื่อสารที่ล้มเหลว หมายถึง

การสื่อสารที่ไม่สำเร็จหรือไม่เป็นผล

ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากหลายสาเหตุ

โดยจะมีผลกระทบต่อ ผลงาน ความสัมพันธ์ หรือผลกระทบแบบลูกโซ่อื่น ๆ ตามมา

สาเหตุของการสื่อสารไม่สำเร็จมีดังนี้:

1. ภาษาและคำศัพท์: การใช้คำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือไม่เข้าใจเท่ากัน

2. ปัญหาทางเทคนิค: เช่น การสื่อสารผ่านเทคโนโลยีแต่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์

3. ความเข้าใจผิด: บางครั้งผู้ฟังอาจเข้าใจข้อความไม่ตรงกับที่ผู้สื่อสารต้องการสื่อไป

4. ปัจจัยทางอารมณ์: เช่น ความรู้สึก ความคิดเห็น หรือความรู้สึกต่อบุคคลอื่น

5. ความไม่ชัดเจนในการสื่อสาร: เช่น ไม่มีการระบุเป้าหมายหรือเนื้อหาที่ชัดเจน

6. ปัจจัยทางวัฒนธรรม: ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความเข้าใจในแง่นี้

แนวทางป้องกันการสื่อสารไม่สำเร็จ:

  1. รู้จักและเข้าใจผู้รับสาร: ต้องเข้าใจว่าผู้รับสาร มีความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างไร
  1. ใช้ภาษาที่เหมาะสม: คำศัพท์และการนำเสนอควรเป็นสิ่งที่ผู้รับสารสื่อสารเข้าใจได้
  1. ขอคำติชม: หลังจากสื่อสารเสร็จแล้ว ขอคำติชมเพื่อรับรู้ว่าความสื่อสารได้ผลหรือไม่
  1. ฝึกการฟัง: การฟังคือส่วนสำคัญของการสื่อสาร ฝึกในการฟังและตอบสนอง
  1. สร้างความเป็นกันเอง: การสื่อสารด้วยความเป็นกันเองสามารถลดปัญหาทางอารมณ์และความเข้าใจผิดได้

ข้อควรระวัง:

ก. หลีกเลี่ยงการมีความคิดอคติ หรือมีทัศนคติเป็นฝ่ายเดียว

ข. หากต้องการสื่อสารเรื่องสำคัญ ควรตรวจสอบว่าข้อความถูกสื่อสารและเข้าใจถูกต้อง

ค. หลีกเลี่ยงการสื่อสารในช่วงที่มีความรู้สึกเครียดหรือปกคลุมด้วยอารมณ์

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่ต้องการการฝึกฝน

และความรับผิดชอบจากทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้สื่อสารและผู้รับสารสื่อสาร