E-book ค ม อการเพาะเล ยงส ตว น ำด านการประมง

IoTการเลย้ี งกงุ้ ทะเล

ดว้ ยเทคโนโลยี ผา่ นระบบ

จดั พิมพ์โดย กลุ่มวจิ ยั เทคโนโลยกี ารเพาะเล้ียงสตั ว์น้�ำชายฝง่ั กองวิจยั และพฒั นาการเพาะเล้ยี งสัตวน์ ้ำ� ชายฝ่งั กรมประมง

50 เกษตรกลาง ถนนพหลโยธนิ แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 02 562 0588 โทรสาร 02 561 0786 E-mail : [email protected] Website : https://www4.fisheries.go.th/coastalaquaculture/

ออกแบบ/พมิ พ์ท่ี หจก.วนดิ าการพิมพ์ (สาขาที่ 1) 134/73 หมู่ 4 ต�ำบลตลาดขวัญ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบรุ ี 11000 โทรศพั ท์ 08 1783 8569

2 การเล้ียงกุ้งทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผา่ นระบบ IoT

คำ�น�ำ

ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณท์ มี่ อบหมายใหห้ นว่ ยงาน ภายใตส้ งั กดั กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำ� เนนิ การโครงการยกระดบั แปลงใหญ่ ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันท่ี 15 กันยายน 2563 ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพ่ือฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเช้ือไวรัส โคโรนา 2019 เพ่ือให้เกษตรกรมีการน�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็งในการบริหาร จัดการแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ต่อยอดด้านคุณภาพ มาตรฐาน แปรรปู สรา้ งมลู คา่ เพ่มิ และเชือ่ มโยงการตลาด สร้างโอกาสในการ เพม่ิ คุณภาพผลผลติ การลดตน้ ทนุ การผลติ และมีรายไดเ้ พ่ิมขน้ึ อย่างยงั่ ยนื

กรมประมงโดยกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้�ำชายฝั่ง ไดด้ ำ� เนนิ งานโครงการยกระดบั แปลงใหญด่ ว้ ยเกษตรสมยั ใหม่ และเชอื่ มโยงตลาด จงึ ไดด้ ำ� เนนิ การถอดองคค์ วามรกู้ ารเลยี้ งกงุ้ ทะเลของ นายวกิ รม ธารธรรมวงศ์ ซง่ึ เปน็ เกษตรกรทเ่ี ขา้ รว่ มโครงการฯ มวี ธิ กี ารเลยี้ งกงุ้ โดยการตรวจวดั และตดิ ตาม การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้�ำตลอด 24 ชั่วโมง (Realtime) ด้วยการใช้ เทคโนโลยเี ซนเซอรส์ ง่ ขอ้ มลู ใหก้ บั เครอื่ งรบั ขอ้ มลู ผา่ นระบบ IoT ซงึ่ เอกสารฉบบั น้ี จะช่วยให้เกษตรกรและผู้ท่ีสนใจการเลี้ยงกุ้งด้วยระบบอัจฉริยะสามารถน�ำไป ประยกุ ตใ์ ช้ เพอ่ื บรหิ ารและจดั การฟารม์ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ และหวงั วา่ เอกสาร ฉบบั นจ้ี ะเป็นประโยชนต์ ่อหนว่ ยงานภาครฐั ภาคเอกชน และผทู้ ี่สนใจทั่วไป

กองวจิ ัยและพฒั นาการเพาะเลย้ี งสตั วน์ ำ้� ชายฝั่ง กรมประมง กันยายน 2565

การเลี้ยงก้งุ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผา่ นระบบ IoT 3

ทีป่ รกึ ษา

ดร.สทุ ธินี ล้ิมธรรมมหิศร ผอู้ �ำนวยการกองวจิ ยั และพัฒนาการเพาะเลีย้ งสตั วน์ ำ�้ ชายฝ่ัง

ดร.พุทธ ส่องแสงจินดา ผูเ้ ชย่ี วชาญด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

ผูจ้ ดั ท�ำ

นางสาวจุฑารตั น์ กติ ตวิ านิช หวั หน้ากลมุ่ วจิ ยั เทคโนโลยีการเพาะเลยี้ งสตั ว์นำ้� ชายฝัง่ กองวจิ ัยและพฒั นาการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้� ชายฝัง่

นางสาวประภาพร ดมี าก นักวิชาการประมงปฏิบตั กิ าร กองวิจยั และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตวน์ ำ�้ ชายฝั่ง

นางสาวอญั ชลี ตนั ไชยฮะ นักวชิ าการประมงปฏบิ ตั ิการ กองวจิ ัยและพัฒนาการเพาะเล้ียงสตั วน์ ำ้� ชายฝงั่

นางสาวฉัตรนลิน ยออัครกลุ นกั วชิ าการประมงปฏบิ ตั กิ าร กองวจิ ัยและพัฒนาการเพาะเลยี้ งสตั ว์น้�ำชายฝั่ง

ขอขอบคุณ

นายวิกรม ธารธรรมวงศ์ สมาชกิ วสิ าหกจิ ชุมชนแปลงใหญ่กุ้งทะเลนายายอาม จังหวดั จนั ทบุรี

4 การเลี้ยงก้งุ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT

สารบญั

ค�ำนำ� 2

สารบัญ 4

1. ประวตั คิ วามเปน็ มา 5

2. ฟาร์มกุง้ ทะเล 6

3. การจัดการเลี้ยง 7

3.1 การเตรียมบ่อเลย้ี ง 7 3.2 การเตรยี มนำ้� 7 3.3 ลกู พันธ์ ุ 8 3.4 การใหอ้ าหาร 8 3.5 สภาพแวดล้อมในการเล้ยี ง 9 3.5.1 เครือ่ งควบคมุ ระบบเติมอากาศอจั ฉริยะ 10 3.6 การแกป้ ญั หาโรคก้งุ 13 3.7 ตะกอนเลน 14

4. ภาคผนวก 15

4.1 การตรวจวดั และรายงานผลคณุ ภาพนำ้� 15 ผา่ นระบบ IoT 4.2 คุณภาพนำ้� ทีเ่ หมาะสมต่อการเล้ียงก้งุ ทะเล 16

1 การเลี้ยงกงุ้ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT 5

ประวตั ิความเป็นมา

นายวิกรม ธารธรรมวงศ์ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน

แปลงใหญ่กุ้งทะเลนายายอาม ต.ช้างข้าม อ.นายายอาม จ.จันทบุรี คือหน่ึงในเกษตรกรท่ีได้เข้าร่วมโครงการยกระดับ แปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเช่ือมโยงตลาด ปี 2564 ภูมิล�ำเนาเดิมอยู่กรุงเทพฯ ประกอบอาชีพค้าขายเกี่ยวกับ วัสดุก่อสร้าง และร้านอาหารกลางคืน เมื่อปี 2549 มีปัญหา ดา้ นสขุ ภาพ จงึ ไดย้ า้ ยมาพกั ฟน้ื รา่ งกายท่ี จ.จนั ทบรุ ี และวางแผน ช่วยคุณลุงเล้ียงกงุ้ 1 บอ่ ประมาณ 3 ปี โดยคิดวา่ เม่ือสขุ ภาพ ดขี ้นึ แล้วจะกลับบา้ นที่กรงุ เทพฯ ในปี 2552 - 2553 การเลยี้ งกุ้ง ประสบความส�ำเร็จค่อนข้างดี จึงได้เร่ิมคิดซ้ือท่ีดินแปลงน้ี เพอ่ื ประกอบอาชพี การเลยี้ งกงุ้ ทะเล (ฮมั มง่ิ เวยฟ์ ารม์ ต.ตะกาดเงา้ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี) แต่เม่ือปี 2554 ฟาร์มประสบปัญหา โรคตายดว่ น (EMS) ทำ� ใหเ้ กดิ ความเสยี หายอยา่ งมาก ผลผลติ กงุ้ ในฟาร์มลดลง เนื่องจากอัตราการตายของกุ้งสูง ส่งผลให้เกิด ภาวะขาดทุน ถึงแม้ว่าฟาร์มจะประสบปัญหาแต่คุณวิกรม ธารธรรมวงศ์ ยังคงมุ่งม่ันศึกษา หาความรเู้ รอ่ื งการเลยี้ งก้งุ เพม่ิ เติม ดว้ ยการศกึ ษาดูงานตามฟารม์ ต่าง ๆ แลกเปล่ียนเรียนรู้ กับนักวิชาการและเกษตรกรผู้เล้ียงกุ้ง การเข้าร่วมงานวันวิชาการกุ้งจันท์/งานสัมมนา วิชาการต่าง ๆ เน่ืองจากคุณวิกรม ธารธรรมวงศ์ คิดอยู่เสมอว่าตนคือผู้เลี้ยงกุ้งมือใหม่ ยังไม่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งมากนัก ปัจจุบันฮัมม่ิงเวย์ฟาร์ม ได้ปรับรูปแบบการเลี้ยง จากการเลี้ยงพร้อมกันท้ัง 3 บ่อ มาเป็นการทยอยเล้ียงคร้ังละบ่อ เมื่อกุ้งมีอายุมากกว่า 40 วัน จึงจะลงกุ้งเล้ียงบ่อใหม่ อีกทั้งมีแนวคิดเร่ิมน�ำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะมาปรับใช้ ในการเพาะเลยี้ งกงุ้ ทะเลจนเปน็ ทรี่ จู้ กั และเปน็ แหลง่ เรยี นรู้ ศกึ ษา/ดงู านของสถาบนั การศกึ ษา หนว่ ยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน ตลอดจนเกษตรกรผู้สนใจ จึงอาจกลา่ วไดว้ า่ ฮมั ม่ิงเวย์ฟาร์ม คือต้นแบบฟารม์ เล้ยี งสตั ว์นำ�้ อจั ฉริยะฟาร์มหนึง่ ใน จ.จันทบรุ ี

6 การเลีย้ งกงุ้ ทะเลด้วยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT 2

ฟาร์มกงุ้ ทะเล

2.1 พืน้ ท่ีฟารม์

ฮมั มง่ิ เวยฟ์ ารม์ มพี น้ื ทฟ่ี ารม์ ทง้ั หมดประมาณ 11 ไร่ แบง่ เปน็ บอ่ เลย้ี ง จำ� นวน 3 บอ่ ขนาดประมาณ 2 - 3 ไร่ และบ่อพกั น้ำ� จ�ำนวน 1 บอ่ ขนาดประมาณ 4 ไร่

2.2 แหลง่ น้ำ�

ฟารม์ ตง้ั อยใู่ กลแ้ หลง่ นำ�้ ธรรมชาติ นำ� นำ�้ เขา้ มาใชใ้ นฟารม์ โดยการขดุ รอ่ งนำ้� ตอ่ มาจาก ปากนำ้� แขมหนผู า่ นคลองตะกาดเงา้ มคี วามเคม็ เฉลย่ี 15 - 20 พีพีที และมีบ่อเก็บน้�ำจืด ซึ่งเปน็ น�้ำท่ีไหลมาจากร่องเขาด้านหน้าฟารม์

3 การจดั การเลี้ยง การเลย้ี งกุง้ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT 7

3.1 การเตรียมบ่อเล้ียง

เมอ่ื นำ� ดนิ เลนออกจากบอ่ แลว้ จะตากบอ่ ประมาณ 1 เดอื น เพอื่ ใหด้ นิ ไดร้ บั ออกซเิ จน และย่อยสลายสารอินทรีย์ รวมถึงฆ่าเช้ือโรคที่จะฝังอยู่ในดิน จากนั้นหว่านปูนขาว 1 ตัน และปนู มารล์ 1 ตนั สำ� หรบั บอ่ ขนาด 2 - 3 ไร่ ตามสภาพความเปน็ กรดและดา่ ง (pH) ของดนิ บริเวณพื้นบอ่

3.2 การเตรียมนำ้�

สบู นำ�้ เขา้ บอ่ พกั โดยผา่ นการกรองดว้ ยมงุ้ ไนลอนสฟี า้ เพือ่ ปอ้ งกันพาหะและศตั รกู งุ้ เชน่ ปลา หอย ตวั ออ่ น และไขข่ องสตั วน์ ำ้� อนื่ ๆ เปน็ ตน้

ใช้คลอรนี ผง 90% จำ� นวน 20 กิโลกรัม/ไร่ เพือ่ เน้น ฆ่าเชื้อโรคและก�ำจัดพาหะ

สรา้ งอาหารธรรมชาติ ดว้ ยการทำ� สนี ำ้� (แพลงกต์ อนพชื ) โดยใช้มูลไส้เดือน 20 กิโลกรัม ผสมกับกากน้�ำตาล 5 กโิ ลกรัม

ใช้สีน้�ำเทียมในการท�ำสีน้�ำ เพ่ือลดปริมาณแสงตั้งแต่เริ่มปล่อยกุ้ง ควบคุมไม่ให้ แพลงกต์ อนมีจ�ำนวนมากเกนิ ไป และท�ำให้ pH ไม่แกว่งมาก

น�้ำที่ใช้เล้ียงจะใช้ระบบน�้ำหมุนเวียน ซ่ึงปกติจะเลี้ยงกุ้งในบ่อที่ 1 และ 2 โดยเมื่อ จับกุ้งบ่อที่ 2 จะดูดน�้ำเข้าบ่อที่ 3 เพ่ือเก็บน้�ำไว้ใช้เล้ียงต่อ และเม่ือจับกุ้งบ่อท่ี 1 จะดดู น้�ำเขา้ บ่อที่ 2 เพื่อเก็บน้ำ� ไว้ใช้ตอ่ ไป

8 การเล้ียงกุง้ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผา่ นระบบ IoT

3.3 ลกู พนั ธุ์

การเลอื กลกู พนั ธก์ุ งุ้ เกษตรกรจะพจิ ารณาสายพนั ธ์ุ ทมี่ คี วามตา้ นทานตอ่ เชอ้ื โรค โดยเฉพาะโรคขขี้ าวซงึ่ จะทำ� ให้ กุ้งไมโ่ ต แตกไซซ์ และไดผ้ ลผลติ นอ้ ย

อัตราปล่อย : ปล่อยลกู ก้งุ ท่รี ะยะ PL12 ในอัตรา 100,000 - 150,000 ตัว/ไร่

3.4 การใหอ้ าหาร

ใหอ้ าหารตามตารางการใหอ้ าหาร โดยการเชก็ ขนาดกงุ้ จากยอ ทกุ ๆ 7 วนั เมอื่ ทราบ น�ำ้ หนักกุง้ จะปรับการให้อาหารตามตารางการใหอ้ าหาร

มกี ารใชเ้ ครอ่ื งคลกุ อาหารเพอื่ ชว่ ยในการผสม ยสี ต์ + กรดอะมโิ น จำ� นวน 7 กรมั กบั จลุ นิ ทรยี ์ ปม.2 จำ� นวน 100 มลิ ลลิ ติ ร ตอ่ อาหารกงุ้ 1 กโิ ลกรมั ใชเ้ วลาในการคลกุ ประมาณ 2 นาที จากนน้ั นำ� อาหารทไี่ ดไ้ ปผงึ่ ใหแ้ หง้ ในทร่ี ม่ กอ่ นนำ� ไปใชเ้ ลย้ี งกงุ้

การเลย้ี งกงุ้ ทะเลด้วยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT 9

3.5 สภาพแวดลอ้ มในการเลย้ี ง

ฟาร์มมีการควบคุมคุณภาพน�้ำให้มีความสมดุล เนื่องจากคุณภาพน�้ำมีความส�ำคัญ อยา่ งมากสำ� หรบั การเลยี้ งกงุ้ หากคณุ ภาพนำ�้ ไมด่ จี ะมผี ลตอ่ การกนิ อาหารของกงุ้ และการยอ่ ย สลายสารอนิ ทรยี ข์ องจุลินทรีย์ภายในบ่อ ท�ำให้กุ้งอ่อนแอ เจริญเติบโตช้า และเป็นสาเหตุ ของการเกดิ โรคกุ้งทะเล

โดยการตรวจวัดคุณภาพน้�ำ และรักษาปริมาณออกซิเจนละลายในน�้ำ (DO) ตลอดการเล้ียงให้ไม่ต�่ำกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร ด้วยการติดตั้งเคร่ืองตีน�้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน ให้แกบ่ อ่ เลีย้ งกุง้ เฉลี่ยบอ่ ละ 6 - 8 ตวั /บอ่ ใบพัดตีน�้ำเฉล่ีย 6 - 8 แขน/บอ่ โดยในช่วงเวลา กลางวนั เปิดเคร่อื งตนี ำ้� 4 - 6 ตัว/บอ่ (4 - 6 แขน/บ่อ) และชว่ งเวลากลางคืนเปดิ เคร่ืองตีน้�ำ 6 - 8 ตวั /บ่อ (6 - 8 แขน/บอ่ ) ตลอดระยะเวลาการเล้ียง

ชนดิ ของใบพดั ตีน้�ำ

ใบพดั ตนี ำ้� แบบ “ใบพาย” จะกนิ นำ�้ ลกึ แตเ่ พ่ิมออกซเิ จนในนำ�้ ไดน้ อ้ ยกวา่ ใบพดั แบบ “ตีนเป็ด” ดังน้ันถ้าต้องการเพม่ิ ออกซิเจนในน้�ำ ให้ใช้ใบพัดตีน�้ำแบบ “ตีนเป็ด” แต่ถ้า ต้องการหมนุ เวียนนำ�้ และขบั เคลอื่ นมวลน�้ำให้ใช้ใบพัดตีน�้ำแบบ “ใบพาย”

ใบพัดตนี ำ้� แบบใบพาย

ใบพัดตีน้ำ� แบบตีนเปด็

10 การเล้ยี งกงุ้ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT

3.5.1 เครอ่ื งควบคมุ ระบบเติมอากาศอัจฉริยะ ต้ังแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ฮัมมิ่งเวย์ฟาร์มได้ด�ำเนินการติดตั้ง เครื่องควบคุมระบบเติมอากาศอัจฉริยะ เพ่ือการตรวจวัดและติดตามการเปล่ียนของ คุณภาพน้�ำตลอด 24 ชั่วโมง (Realtime) ช่วยให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบคุณภาพน�้ำ ไดแ้ ก่ ปรมิ าณออกซเิ จนละลายในนำ้� (DO) ความเปน็ กรด-ดา่ ง (pH) และอณุ หภมู ิ ไดต้ ลอดเวลา ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ตโฟน (Smart Phone) โดยใช้ระบบ Internet of Things (IoT) นอกจากนี้ฟาร์มยังได้ติดตั้งมอเตอร์เกียร์แบบลอยน�้ำ ซึ่งเป็นมอเตอร์ ประสิทธิภาพสงู ทดแทนมอเตอรเ์ กียรแ์ บบเดิมที่ตดิ ตงั้ ไว้บริเวณคันบ่อดว้ ย

เคร่อื งควบคมุ ระบบเติมอากาศอัจฉรยิ ะ เซนเซอรว์ ดั คา pH เซนเซอรว์ ดั คา DO และอณุ หภมู ิ มอเตอร์เกยี รแ์ บบลอยน้�ำ

หลักการท�ำงานของเคร่ืองควบคุมระบบเติมอากาศอัจฉริยะ เกษตรกร กำ� หนดคา่ DO เพอ่ื ใหเ้ ครอื่ งฯ ทำ� งานไดเ้ อง เชน่ ตงั้ คา่ DO ไวท้ ี่ 5 มลิ ลกิ รมั /ลติ ร เมอ่ื ระดบั DO ลดลงตำ�่ กวา่ 5 มลิ ลกิ รมั /ลติ ร ระบบจะสง่ั การเปดิ เครอื่ งตนี ำ้� อตั โนมตั ิ และจะปดิ เครอื่ งตนี ำ้� เมอ่ื ระดบั DO เท่ากบั คา่ ท่ตี งั้ ไว้ เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถควบคุมเครือ่ งตีน�้ำ ดว้ ยตนเอง (Manual) ผ่านแอปพลเิ คชนั ในสมาร์ตโฟนไดอ้ กี ดว้ ย

การเลย้ี งกุ้งทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผา่ นระบบ IoT 11

SMART FARM

Water Quality Sensors

DO pH

Temperature

หลงั ใชเ้ ครอื่ งควบคมุ ระบบเตมิ อากาศอจั ฉรยิ ะ และมอเตอรเ์ กยี รแ์ บบลอยนำ�้ ที่มีประสิทธิภาพสูง พบว่า ฟาร์มเปิดเครื่องตีน�้ำลดลงจากเดิม คือ ในช่วงเวลากลางวัน เปิดเครื่องตีน้�ำ 1 - 2 ตัว/บ่อ (1 - 2 แขน/บ่อ) และในช่วงเวลากลางคืนเปิดเครื่องตีน�้ำ 4 - 5 ตัว/บ่อ (4 - 5 แขน/บอ่ ) ตลอดระยะเวลาการเล้ยี ง ท�ำใหช้ ่วยลดต้นทนุ พลังงานไฟฟ้า ทใ่ี ช้ในการเลี้ยงกุ้งขาวของฟาร์มไดป้ ระมาณ 20 - 30% ท้งั นขี้ นึ้ อยกู่ ับการจดั การเลีย้ งของ ฟารม์ ดว้ ย

ก่อนติดตง้ั เคร่ืองฯ ผมจ่ายค่าไฟฟ้า ประมาณ 38,000 - 40,000 บาท/เดือน แตห่ ลงั จากตดิ ตงั้ เครือ่ งฯ แลว้ คา่ ไฟฟา้ ลดลง เหลอื ประมาณ 28,000 - 29,000 บาท/เดอื น ผลผลติ ประมาณ 2,000 กโิ ลกรัม/ไร่ ต้นทุน 125 บาท/กิโลกรัม ขนาดกุ้ง 60 ตัว/กโิ ลกรัม อัตรารอดร้อยละ 80 และอตั ราแลกเนือ้ (FCR)

ประมาณ 1.4

12 การเลีย้ งก้งุ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT

จุดเด่น ของระบบการจดั การฟาร์มก้งุ อจั ฉริยะ

1. ตรวจสอบคุณภาพนำ�้ อตั โนมตั ิ วดั ค่าคณุ ภาพนำ้� แบบทันทแี ละตลอดเวลา (Realtime) แจ้งเตอื นค่า DO เม่อื คา่ ออกซิเจนต่�ำกว่าเกณฑ์ท่ีก�ำหนด 2. ควบคมุ ระบบเตมิ อากาศ ควบคุมเครื่องเตมิ อากาศอัตโนมัตติ ามค่า DO ทตี่ ง้ั ไว้ ตง้ั เวลาควบคมุ เครอ่ื งเตมิ อากาศอัตโนมัติหรอื ควบคุมดว้ ยตนเอง มไี ซเรนแจ้งเตอื น กอ่ นเคร่อื งเติมอากาศทำ� งาน 3. ควบคมุ ทุกอย่างผา่ นสมาร์ตโฟน มรี ะบบเช่ือมตอ่ อินเทอร์เน็ตในตวั ควบคุมอุปกรณต์ า่ ง ๆ ในฟารม์ ผ่านแอปพลิเคชนั หรอื ต้ังเวลาอตั โนมัติ 4. ช่วยประหยัดต้นทุนพลังงานไฟฟา้ สามารถประหยดั คา่ ไฟฟา้ ไดส้ งู สดุ 20 - 50% ขน้ึ อยกู่ บั การจดั การเลย้ี งของแตล่ ะฟารม์ 5. บรหิ ารฟาร์มอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ เปรยี บเทียบผลการเล้ยี งกบั คา่ มาตรฐานและขอ้ มูลในรอบการเลี้ยงก่อน ๆ ใชข้ อ้ มลู ชว่ ยในการตดั สนิ ใจ เชน่ เมอ่ื ไหรท่ ค่ี วรจะทำ� การจบั กงุ้ ออกบางสว่ น เปน็ ตน้ 6. วิเคราะหอ์ ตั ราการใหอ้ าหาร บนั ทึกและประมวลข้อมลู การใหอ้ าหาร เพ่ือทราบถงึ ระยะการเจรญิ เตบิ โตของกุ้ง ตดิ ตาม FCR เพอ่ื ปรบั การใหอ้ าหารแตล่ ะชว่ งใหเ้ หมาะสม สง่ ผลใหค้ งคณุ ภาพนำ้� ทด่ี ไี ว้ 7. ติดตามการเจริญเตบิ โตของกุ้ง มฟี งั ก์ชนั การบันทึกข้อมลู เพอื่ ทราบการเจริญเติบโตและเพอ่ื ประเมนิ การเลีย้ ง

ทมี่ า : https://hydroneo.net/th/

การเลยี้ งกุง้ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT 13

3.6 การแกป้ ญั หาโรคกุ้ง

เกษตรกรเช่ือว่า ปัจจัยท่ีส�ำคัญในการเล้ียงกุ้งให้ปลอดโรค คือ สายพันธุ์กุ้ง และการเตรยี มบอ่ นอกจากนตี้ ลอดระยะเวลาการเลย้ี งเกษตรกรจะมกี ารใชน้ ำ�้ หมกั จลุ นิ ทรยี ์ เพอื่ ชว่ ยยอ่ ยสลายสารอนิ ทรยี ใ์ นนำ�้ และลดปรมิ าณเชอ้ื กอ่ โรคทง้ั ในสง่ิ แวดลอ้ ม และในระบบ ทางเดนิ อาหารของกงุ้ ซงึ่ เปน็ การลดความเสยี่ งในการเกดิ โรคในกงุ้ และลดการใชย้ าปฏชิ วี นะ

สูตรการหมกั และวิธีใชน้ ้ำ� หมกั จุลนิ ทรีย์ ปม.2 (สูตรน้�ำ) 200 มิลลิลิตร + น�้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม + อาหารกุ้ง 200 กรมั + นำ้� จืด 200 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ปดิ ฝาถงั และใหอ้ ากาศ เป็นเวลา 36 - 48 ชั่วโมง เดอื นท่ี 1 ใสน่ ำ�้ หมักจลุ ินทรียใ์ นบอ่ วันละ 200 ลติ ร (ตอนเยน็ ทกุ วัน) เดือนท่ี 2 ใส่น�้ำหมักจุลินทรีย์ในบ่อ วันละ 400 ลิตร (ตอนเช้า 200 ลิตร และตอนเย็น 200 ลติ ร ทุกวัน) เดือนที่ 3 ใส่น้�ำหมักจุลินทรีย์ในบ่อ วันละ 800 ลิตร (ตอนเช้า 400 ลิตร และตอนเย็น 400 ลิตร ทุกวนั )

การแกป้ ญั หาโรคขข้ี าว เมอ่ื พบโรคข้ขี าว เกษตรกรจะหยุดการให้อาหาร 1 วัน จากน้ันจะน�ำใบฝร่ัง

มาป่นั แลว้ ค้นั น�้ำ น�ำมาคลุกกบั อาหารใหก้ ุง้ กนิ เป็นเวลา 3 วัน แลว้ สังเกตอาการ ข้ีขาว ถ้ากุ้งยังเป็นโรคขี้ขาวจะน�ำขมิ้นมาปั่นแล้วค้ันน�้ำ น�ำมาคลุกกับอาหาร ใหก้ งุ้ กนิ อกี ถา้ อาการขข้ี าวยงั ไมด่ ขี นึ้ จะใชก้ รดอนิ ทรยี ผ์ สมอาหารใหก้ งุ้ กนิ จนกวา่ อาการขี้ขาวจะหายไป

14 การเลย้ี งกงุ้ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT

3.7 ตะกอนเลน

เกษตรกรไม่ได้ดูดตะกอนเลนทิ้งระหว่างการเล้ียง แต่จะท�ำการฉีดตะกอนเลน และเก็บไว้ในคูข้างฟาร์มเมื่อจับกุ้งหมดบ่อแล้ว เนื่องจากเกษตรกรปล่อยกุ้งบาง ท�ำให้ สารอินทรีย์ท่ีเกิดขึ้นในบ่อมีน้อยจึงเกิดตะกอนเลนระหว่างการเลี้ยงไม่มากนัก ทั้งนี้ การดูดตะกอนเลนระหว่างการเล้ียง หากใช้ปั๊มดูดที่ไม่มีก�ำลังมากพอ หรือไม่มีสต๊อปวาล์ว (stop valve) ทด่ี ี ตะกอนเลนทอ่ี ยรู่ ะหวา่ งการดดู จะตยี อ้ นกลบั มาฟงุ้ กระจายในบอ่ สง่ ผลใหเ้ กดิ ปญั หาตะกอนเขา้ ไปในเหงอื กกงุ้ ได้

4 ภาคผนวก การเลยี้ งกุ้งทะเลด้วยเทคโนโลยี ผา่ นระบบ IoT 15

4.1 การตรวจวดั และรายงานผลคุณภาพน�ำ้ ผา่ นระบบ IoT

1 การตรวจวดั และติดตามการเปล่ยี นแปลงของ 2 บันทึกข้อมูลคุณภาพน�้ำ ได้แก่ DO pH และ คุณภาพน้�ำตลอด 24 ชั่วโมง (Realtime) อณุ หภูมิ ไว้ในฐานข้อมูล และสามารถเรียกดู โดยใชเ้ ซนเซอรต์ รวจวดั คณุ ภาพนำ้� และสง่ ขอ้ มลู ข้อมลู ยอ้ นหลงั ได้ ผ่านระบบ IoT

3 รายงานผลคุณภาพน�้ำและส่งข้อมูลโดยผ่าน 4 เมอ่ื เกดิ เหตุการณฉ์ กุ เฉิน เชน่ คา่ DO ตำ่� กวา่ สมาร์ตโฟน ช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตาม เกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ ระบบจะแจ้งเตือนมายัง และวเิ คราะห์ข้อมูล โดยสามารถดูแลบริหาร สมารต์ โฟน และสง่ สญั ญาณเตอื นภายในฟารม์ จัดการผ่านระบบออนไลน์ได้จากทุกท่ี ทุกเวลา เป็นตน้

5 ระบบอัตโนมัติในฟาร์ม (Farm Automation) จะเปดิ เครอ่ื งตนี ำ้� อตั โนมตั เิ มอื่ คา่ DO ตำ�่ และจะ ปดิ เครอ่ื งตนี ำ�้ เมอื่ คา่ DOอย่ใู นเกณฑท์ กี่ ำ� หนดไว้ หรอื เกษตรกรสามารถส่ังการด้วยตนเอง (Manual) ผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน ไดเ้ ชน่ เดียวกนั ลด พกลาังรงใาชนŒ

ท่ีมา : http://www.facebook.com/aquadaptthailand/

16 การเลย้ี งกงุ้ ทะเลดว้ ยเทคโนโลยี ผ่านระบบ IoT

4.2 คุณภาพน�ำ้ ทีเ่ หมาะสมตอ่ การเล้ียงกงุ้ ทะเล

ดชั นีคุณภาพน�้ำ ค่าทเ่ี หมาะสม ออกซเิ จนละลายในน้ำ� ≥ 5 mg/l ค่าความเปน็ กรด-เบส อณุ หภมู ิ 7.0 - 8.0 ความโปร่งใส สารแขวนลอย 28 - 32 °C ความเป็นดา่ ง ความกระดา้ ง 30 - 60 cm ไนไตรต์ (NO-2) แอมโมเนยี รวม (NH3) ไม่มากกว่า 100 mg/l

≥ 100 mg/l ของ CaCO3 ≥ 300 mg/l ของ CaCO3 0.2 mg/l NO-2 ≤ 0.4 mg/l

ท่ีมา : การปฏิบัติทางการเพาะเล้ียงสัตว์น้�ำที่ดีส�ำหรับฟาร์มเล้ียงกุ้งทะเล มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7401 (G)-2558, ส�ำนกั งานมาตรฐานสนิ คา้ เกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์