Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อภาพยนตร์เรื่อง Memoirs of A Geisha จากชื่อภาษาไทยที่ชวนให้สนใจใคร่รู้อย่าง ‘นางโลมโลกจารึก’ อันถ่ายทอดเรื่องราวของเกอิชาจากนวนิยายชื่อดังให้กลายเป็นภาพยนตร์ได้อย่างน่าประทับใจและเป็นที่ชื่นชมของเหล่านักวิจารณ์ ตลอดจนคว้ารางวัลหลากหลายสาขาจากเวทีออสการ์ ไม่ว่าจะกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม แต่น่าเหลือเชื่อว่าคนญี่ปุ่นกับสาวเกอิชาตัวจริงกลับไม่ชื่นชอบและค่อนข้างจะมองว่าไม่ใช่เรื่องน่าชื่นชมนัก แต่มันเป็นเพราะอะไรกันล่ะ? วันนี้แอลจะชวนคุณมาไขปริศนานี้กัน

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

เหตุผลแรกที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นไม่ประทับใจนั้นเป็นเพราะนวนิยายเรื่อง Memoirs of Geisha เขียนขึ้นจากมุมมองของคนตะวันตกที่มีต่อเกอิชาแห่งแดนอาทิตย์อุทัยแบบเปลือกนอก ตัวผู้เขียนไม่ได้ทราบเรื่องราวที่ละเอียดลึกซึ้งเนื่องจากเขารวบรวมข้อมูลจากการสอบถามพูดคุยกับคุณแม่เกอิชาและไมโกะ (เกอิชาฝึกหัด) ดังนั้นข้อมูลที่เขาได้รับมาจึงเป็นเรื่องราวผิวเผินเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นแล้วในภาพยนตร์เองก็พูดทั้งอังกฤษและญี่ปุ่นผสมปนเปกันไปจนหมด

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

อีกหนึ่งความจริงก็คือ เกอิชาไม่เชิงเป็นนางโลมเสียทีเดียว เพราะเกอิชาไม่ได้ขายบริการทางเพศ แม้ว่าในอดีตอาจมีธรรมเนียมขายความบริสุทธิ์ แต่มันก็ถูกยกเลิกไปแล้ว และเกอิชาก็เปรียบเสมือนศิลปะที่มีชีวิต พวกเธอมีทักษะรอบด้านทั้งศาสตร์และศิลป์ ทั้งยังเป็นผู้อุทิศตนในการรักษาวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตั้งแต่กริยามารยาท พิธีปฏิบัติ ทรงผม เครื่องประดับ กิโมโนอันล้ำค่า ตลอดจนศิลปินผู้ให้ความบันเทิงกับลูกค้าด้วยการเล่นดนตรี ร่ายรำ ขับร้อง อ่านบทกวี หรือแม้แต่พูดคุยกับพวกเขา ซึ่งบทสนทนาก็อาจเป็นทั้งเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน การเมือง ศิลปะ สังคม ไปจนถึงเรื่องเศรษฐกิจก็เป็นได้

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

ฉะนั้นแล้วหญิงสาวผู้เลือกที่จะเป็นเกอิชาไม่ได้มีรูปงามแค่ภายนอก แต่พวกเธอต้องมีความรอบรู้หลากหลายแขนง ไม่ว่ากลุ่มลูกค้าจะเป็นคนธรรมดาหรือบุคคลที่มีอิทธิพลในสังคม พวกเธอก็สามารถพูดคุยหรือให้ความบันเทิงได้ ดังนั้นการเป็นเกอิชาอาจต้องใช้เวลาหลายปีหรือแทบจะตลอดทั้งชีวิตในการฝึกฝนตัวเองให้เชี่ยวชาญทุกศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้าพวกเธอก็จะเป็น ‘ไมโกะ’ เด็กฝึกหัดที่เรียนรู้ประสบการณ์จากรุ่นพี่เกอิชาเพื่อพร้อมที่จะเตรียมตัวเป็นศิลปินในอนาคต

ประการต่อมาคือ Memoirs of Geisha นำเสนอภาพเครื่องแต่งกายของเกอิชาที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะได้รับรางวัลสาขาการแต่งกายยอดเยี่ยม แต่เสื้อผ้าและกิโมโนในเรื่องกลับไม่ถูกต้องตามหลักที่เกอิชาตัวจริงสวมใส่

Colleen Atwood ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเผยถึงกระบวนการสร้างสรรค์เสื้อผ้าว่า “ศิลปะในการออกแบบกิโมโนเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน โครงสร้างซิลลูเอตต์ก็มีรูปร่างที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก” โดยเธอศึกษาจากการอ่านในหนังสือ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องกิโมโนในอเมริกาและญี่ปุ่นเพื่อให้ตัวเองเข้าใจถึงแก่นของความเป็นเกอิชา อย่างไรก็ตามเธอมีเวลาตัดเย็บและจัดเตรียมเสื้อผ้าหลายร้อยชุดแค่เพียง 5 เดือนเท่านั้น ดังนั้นเธอจึงกล่าวว่าเมื่อเทียบกับสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงรู้มา สิ่งที่เธอเรียนรู้มาตลอดระยะเวลานั้นก็เป็นแค่เพียงเสี้ยวเล็กๆ เท่านั้น

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

กิโมโนทุกชุดในภาพยนตร์ทำมาจากผ้าไหมญี่ปุ่นที่มีลวดลายวาดด้วยมืออย่างประณีตและหรูหรา แต่เมื่อมีการปรับแต่งลวดลายเพื่อให้ตัดเย็บได้ง่ายมากขึ้น รายละเอียดบางส่วนก็หายตามไปด้วย อย่างไรก็ตามทางทีมคอสตูมยังคงออกแบบเสื้อผ้าให้เข้ากับลักษณะของตัวละครได้เป็นอย่างดี เช่น กิโมโนของนางเอกซายูริจะมีโทนสีสว่าง สีขาว หรือเทาอ่อน เพราะสีอ่อนคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และไร้เดียงสาของตัวละคร แต่อีกมุมหนึ่งสีขาวก็เป็นสีไว้ทุกข์ในวัฒนธรรมตะวันออกอย่างญี่ปุ่น มันจึงสะท้อนให้เห็นว่าตัวละครนี้มีความบริสุทธิ์แต่ก็มีความทุกข์ เพราะการเป็นเกอิชาไม่สามารถทำให้เธอแสดงออกทางความรักได้ดั่งใจปรารถนา

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

ส่วนตัวละครฮัตสึโมโม่ที่ดูคล้ายจะเป็นศัตรูของซายูริก็จะใส่เสื้อผ้าโทนสีเข้มอันเป็นสีตรงข้ามกับนางเอกอย่างสิ้นเชิง เพื่อให้สอดคล้องกับบุคลิกของเธอที่มีความเป็นราชินีที่เย่อหยิ่งและทะเยอทะยาน ซึ่งการที่เธอแสดงตัวตนออกมาเช่นนั้นนั่นเป็นเพราะว่าเธอเป็นเกอิชาอีกคนที่อยากจะสมหวังกับชายที่เธอรัก แต่เมื่อมันเป็นไปไม่ได้ ฮัตสึโมโม่ก็จะแสดงความรู้สึกออกมาผ่านความโกรธและความไม่พอใจ ดังนั้นเสื้อผ้าของเธอที่เป็นสีเข้มก็จะสื่อให้เห็นถึงอารมณ์ที่ขุ่นมัวและความโลภภายในใจ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็นหญิงสาวที่มีความงามแบบอันตรายแต่เย้ายวนชวนให้มอง

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

อีกหนึ่งชุดที่ควรยกมาพูดถึงคือเสื้อโค้ตขนเฟอร์สีขาวดำของฮัตสึโมโม่ ทีมดูแลเสื้อผ้านำแพทเทิร์นของผ้าวินเทจมาปักด้วยไหมและขนสัตว์ พร้อมกับเพิ่มซับในและเนื้อผ้ากำมะหยี่เพื่อให้หรูหรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหากเรามองในมุมมององค์ประกอบศิลป์ก็ถือได้ว่าเป็นไอเท็มชิ้นดีที่สื่อถึงตัวละครที่มีความเย่อหยิ่ง มีอำนาจ และทะนงตน ทว่าหากมองในมุมประวัติศาสตร์ เราจะพบว่าเกอิชาตัวจริงในอดีตจะไม่สวมใส่อะไรที่ฉูดฉาดหรือแปลกตาเช่นนี้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เหล่าผู้ชมที่รู้จักวัฒนธรรมญี่ปุ่นหรือเกอิชาจะไม่ประทับใจเรื่องนี้สักเท่าไร

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

การแต่งหน้าของตัวละครเองก็ไม่ตรงตามความเป็นจริงของเกอิชา เพราะเดิมทีแล้วสาวๆ เกอิชาจะแต่งหน้าด้วยแป้งสีขาว ปากสีแดง เขียนคิ้วเข้มอย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้ชมมองเห็นพวกเธอชัดเจนในแสงไฟอันมืดสลัวของบ้านเรือนที่มีแค่เพียงตะเกียงและโคมไฟ ส่วนทรงผมของเกอิชาก็จะซับซ้อนมากกว่าที่เห็นในหนัง เพราะเครื่องประดับจะมีทั้งลูกปัก ดอกไม้ ปิ่นปัก ตลอดจนของตกแต่งอื่นๆ และเกอิชากับไมโกะก็จะมีทรงผมที่แตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งหรือโอกาสการออกงาน แต่ในภาพยนตร์เรื่องนี้กลับไม่ให้ความสนใจกับทรงผมมากนัก จะมีแค่เพียงดอกไม้และลูกปัดธรรมดาเท่านั้น

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

ยิ่งไปกว่านั้นแล้วการคัดเลือกนักแสดงมารับบทก็ยังตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ไม่แพ้กัน เหตุเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่น แต่กลับเลือกให้จางจื่ออี๋ กงลี่ และมิเชลโหยวที่เป็นคนจีน สิงคโปร์ และมาเลเซียมารับบทนักแสดงนำ ดังนั้นคนบางกลุ่มจึงมองว่าเป็นการไม่ให้เกียรติวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ผู้สร้างกำลังเล่าเรื่องญี่ปุ่น ส่วนนักแสดงนำหญิงอย่างจางจื่ออี๋ก็ถูกโจมตีจากสำนักข่าวในจีนว่าเธอคือความอับอายของประเทศจีนที่เลือกแสดงบทบาทนี้ ทั้งนี้ฝั่งผู้สร้างให้เหตุผลในการคัดเลือกนักแสดงว่าพวกเขาคัดจากความสามารถในการแสดงและพลังของดารา ไม่ได้คัดเลือกจากแค่เรื่องสัญชาติ ซึ่งการที่พวกเธอสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องเชื้อชาติและภาษามาแสดงในบทบาทที่ท้าทายนั้นยิ่งทำให้พวกเธอเป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย

Memoirs of a geisha ภาค ไทย เต ม เร อง

แม้ภาพยนตร์จะมีประเด็นดราม่าและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงในการออกแบบเสื้อผ้า แต่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผลงานการออกแบบเสื้อผ้าสามารถถ่ายทอดลักษณะของตัวละครออกมาได้อย่างเฉียบคม ฉากและองค์ประกอบศิลป์ต่างๆ ก็สวยงามตระการตาสมกับที่คว้ารางวัลออสการ์สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วคุณรู้สึกอยากชมขึ้นมาแล้ว คุณก็สามารถรับชมที่ Netflix ได้เลย