Netflix ม ต วแทนด วยหรอคร บพ งร เห นไปโฆษณาขายเด อนละ50

เผยแพร่: 19 ธ.ค. 2561 21:39 ปรับปรุง: 19 ธ.ค. 2561 23:41 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เฟซบุ๊ก (Facebook) ยอมรับต่อสาธารณชนว่า อนุญาตให้บริษัทอื่นสามารถอ่านข้อความส่วนตัวของผู้ใช้จริง การยอมรับนี้เกิดขึ้นหลังจากการตรวจสอบของสื่อใหญ่ New York Times ด้าน Facebook อ้างทุกอย่างได้รับความยินยอมจากผู้ใช้แล้วตั้งแต่คลิก “ลงชื่อใช้งานด้วยบัญชีเฟซบุ๊ก” หรือ sign in wilth Facebook account

การยอมรับของ Facebook เกิดขึ้นหลังจากสื่อใหญ่อย่าง NYT เปิดโปงว่า Facebook ได้มอบสิทธิให้บริษัทใหญ่อย่างเน็ตฟลิกซ์ (Netflix), สปอติฟาย (Spotify) และธนาคารรอยัลแบงก์ (Royal Bank of Canada) ให้สามารถอ่าน เขียน และลบข้อความส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ได้ ซึ่งแปลว่า การรับส่งข้อความส่วนตัวบน Facebook นั้น จะไม่มีความเป็นส่วนตัวอีกต่อไป

นอกจากนี้ รายงานยังชี้ว่า Facebook อนุญาตให้รายใหญ่อย่างอะเมซอน (Amazon) ได้รับชื่อผู้ใช้ และข้อมูลการติดต่อกลุ่มเป้าหมาย ผ่านทางเพื่อน หรือโพสต์ของเพื่อนที่ถูกแชร์บนเครือข่ายของยาฮู (Yahoo) แถมยังอนุญาตให้เสิร์ชเอนจินอย่าง บิง (Bing) ของไมโครซอฟต์ สามารถเข้าดูชื่อเพื่อนของผู้ใช้งานเกือบทั้งหมด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ Netflix และ Spotify ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยทั้งคู่บอกว่า ไม่ทราบว่าระบบของ Facebook เปิดให้เข้าถึงข้อความส่วนตัวเหล่านี้ ขณะที่ Royal Bank of Canada ปฏิเสธว่า บริษัทไม่สามารถอ่านข้อความส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook อย่างที่ในรายงานกล่าวอ้าง โดยโฆษกของ Netflix ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซี (CNBC) ว่า บริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix เคยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแนะนำรายการทีวีและภาพยนตร์แก่เพื่อนใน Facebook ได้ แต่ฟีเจอร์นี้ก็ปิดตัวลงในปี 2015 ซึ่งกินระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี

Netflix ยืนยันในแถลงการณ์ว่า บริษัทไม่เคยเข้าถึงข้อความส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook และไม่เคยขอให้ Netflix เปิดระบบ เพื่ออ่านข้อความส่วนตัวของผู้ใช้ตามที่มีรายงานออกมา

Netflix never asked for, or accessed, anyone's private messages. We're not the type to slide into your DMs. — Netflix US (@netflix) December 19, 2018

ด้าน Facebook เจ้าพ่อเครือข่ายสังคมยอมรับในโพสต์เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ได้อนุญาตให้บริษัทอื่นสามารถอ่านข้อความส่วนตัว หรือ private message บนระบบ Facebook ได้ เนื่องจากผู้ใช้งานรายนั้นได้อนุญาตไว้แล้วเมื่อคลิกลงชื่อเข้าใช้ Spotify ผ่านทางบัญชี Facebook

จุดนี้ Facebook กล่าวในแถลงการณ์ว่าจะไม่มีบริษัทใดเข้าถึงข้อมูลบน Facebook ได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้ โดยทั้งหมดนี้จะต้องไม่มีการละเมิดกฎของ FTC (Federal Trade Commission) แน่นอน จุดนี้ Facebook เคยตัดสินใจปิดตัวฟีเจอร์ชื่อ “instant personalization” ซึ่งเป็นการโต้ตอบแบบทันทีที่เปิดตัวในปี 2014 เพราะกฎนี้ การปิดฟีเจอร์ดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถดูข้อมูลที่เพื่อนแชร์โดยเชื่อมโยงบัญชี Facebook กับบริการอื่นได้ อย่างไรก็ตาม Facebook ยอมรับว่า บริการ instant personalization ยังเปิดช่องให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ได้อยู่ในปีนี้

การแถลงการณ์ของ Facebook ถือว่าสั่นคลอนความมั่นใจให้ผู้บริโภคไม่กล้าคลิก “sign in with Facebook account” อีกต่อไป จุดนี้มีการหยิบคำมั่นสัญญาของ Mark Zuckerberg ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Facebook ที่ยืนยันกับฝ่ายนิติบัญญัติในเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า ผู้ใช้ 2.2 พันล้านคนมีสิทธิควบคุมทุกอย่างที่แบ่งปันบน Facebook โดยไม่พูดถึงประเด็นว่า หลายคนไม่ทราบว่า ขอบเขตการควบคุมนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง

ข่าวนี้ถือเป็นอีกวิกฤตความเชื่อมั่นที่ Facebook ต้องเผชิญ โดยที่ผ่านมา หุ้น Facebook ลดลงเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ เนื่องจากบริษัทถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเรื่องการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะกรณีอื้อฉาวของ แคมบริดจ์ อะนาไลติกา (Cambridge Analytica) รวมถึงการยอมรับของ Facebook เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พบข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่อาจอนุญาตให้แอปของบริษัทอื่น หรือ third-party เข้าถึงรูปส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ได้อย่างไม่ควรเกิดขึ้น คาดว่าจะมีผลกระทบกับผู้ใช้มากกว่า 6.8 ล้านคน.

เมื่อเป็นสมาชิกแล้ว ระบบจะเรียกเก็บค่าบริการเดือนละครั้งในวันที่ตรงกับวันลงทะเบียน จะมีการเรียกเก็บค่าบริการสมาชิก Netflix ในช่วงเริ่มต้นของรอบการเรียกเก็บ และอาจใช้เวลาหลายวันก่อนที่ข้อมูลนี้จะปรากฏในบัญชีของคุณ

  • วันที่เรียกเก็บอาจเร็วกว่าหรือช้ากว่า 1 วัน เนื่องจากความแตกต่างของเขตเวลา
  • หากวันที่เรียกเก็บไม่ใช่วันที่ที่มีอยู่ในทุกเดือน (เช่น วันที่ 31) จะมีการเรียกเก็บค่าบริการในวันสุดท้ายของเดือนดังกล่าวแทน
  • หากคุณชำระค่าบริการ Netflix ผ่านบริษัทอื่น วันที่เรียกเก็บของ Netflix อาจต่างจากวันที่เรียกเก็บของผู้ให้บริการที่คุณใช้งาน

อัปเดตข้อมูลการชำระเงิน

เข้าสู่ระบบบัญชี แล้วเลือก "จัดการข้อมูลการชำระเงิน" ตัวเลือกการชำระเงินบางรายการจะนำคุณไปที่เว็บไซต์ของตัวเลือกดังกล่าว เพื่อทำขั้นตอนการอัปเดต

หากต้องการเปลี่ยนวิธีการชำระค่าบริการ Netflix เรามีตัวเลือกการชำระเงินหลายแบบ

พิมพ์ใบแจ้งยอดค่าบริการของ Netflix

  1. ไปที่หน้ารายละเอียดการเรียกเก็บในบัญชี
  2. คลิกวันที่ของค่าบริการที่ต้องการดูข้อมูล ลิงก์จะเปิดหน้าใบแจ้งยอดค่าบริการที่พิมพ์ได้ของค่าบริการที่ต้องการดูดังกล่าว หากต้องการพิมพ์ค่าบริการทั้งหมดภายในปีที่ผ่านมา สามารถพิมพ์หน้า "รายละเอียดการเรียกเก็บ" ได้
  3. ค้นหาคำตอบของคำถามเกี่ยวกับภาษีที่แสดงอยู่ในใบแจ้งยอดค่าบริการของ Netflix

สามารถดูข้อมูลการเรียกเก็บของ Netflix ได้สูงสุดเป็นเวลาหนึ่งปี หากต้องการข้อมูลการเรียกเก็บที่มีระยะเวลามากกว่าหนึ่งปี โปรดติดต่อสถาบันการเงินของคุณ

แก้ไขปัญหาการชำระเงิน

หากมีปัญหากับวิธีการชำระเงิน สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดบางส่วนและคำแนะนำในการแก้ไขปัญหามีดังต่อไปนี้

วิธีการชำระเงินถูกปฏิเสธ

หากธนาคารหรือสถาบันการเงินปฏิเสธการหักค่าบริการ ให้ทำดังนี้

  • ตรวจสอบว่าข้อมูลการชำระเงิน เช่น รหัสไปรษณีย์ รหัสความปลอดภัย วันหมดอายุ ถูกต้อง
    • หากไม่ถูกต้อง ให้เข้าสู่ระบบบัญชี แล้วเลือก "จัดการข้อมูลการชำระเงิน" นอกจากนี้ ยังสามารถลองใช้วิธีการชำระเงินตัวเลือกอื่นได้
    • หากทุกอย่างถูกต้องแล้ว ให้ลองชำระเงินอีกครั้ง
  • หากยังมีปัญหาอยู่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการชำระเงินของคุณรองรับธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ

ระบบไม่ยอมรับวิธีการชำระเงิน

บัญชีถูกยกเลิกโดยไม่คาดคิด

หากมีการเรียกเก็บค่าบริการผ่านบุคคลที่สาม หรือแพ็คเกจที่ใช้มีบริการ Netflix รวมอยู่ด้วย บัญชีของคุณอาจถูกยกเลิกได้ด้วยเหตุผลหลายประการ

  • มีปัญหากับการชำระเงินของคุณ
    • บริษัทอื่น: เข้าสู่ระบบบัญชีดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาการชำระเงิน จากนั้นสมัครเป็นสมาชิก Netflix อีกครั้ง
      • หากไม่สามารถกลับมาเป็นสมาชิกอีกครั้งผ่านบริษัทอื่นได้ ให้สมัครสมาชิกอีกครั้งผ่าน Netflix.com แล้วเพิ่มวิธีการชำระเงินตัวเลือกอื่น
    • แพ็คเกจ: เข้าสู่ระบบบัญชีของแพ็คเกจ เพื่อแก้ไขปัญหาการชำระเงิน จากนั้นเชื่อมโยงบัญชี Netflix อีกครั้ง
  • คุณได้หยุดใช้งานชั่วคราวหรือยกเลิกแพ็คเกจที่มี Netflix รวมอยู่ด้วย และไม่มีวิธีการชำระเงินวิธีอื่นในระบบ
    • หากแพ็คเกจของคุณยังคงมีการใช้งานอยู่ ให้เชื่อมโยงบัญชี Netflix อีกครั้ง
    • หากยกเลิกแพ็คเกจแล้ว ให้เข้าสู่ระบบบัญชี Netflix ของคุณแล้วเพิ่มวิธีการชำระเงินใหม่

การค้นหาสาเหตุการเรียกเก็บที่ไม่ควรเกิดขึ้น

ค่าบริการสูงกว่าที่คาดไว้

อาจมีสาเหตุบางอย่างที่ทำให้คุณเห็นการเรียกเก็บค่าบริการมากกว่าที่คาดไว้

  • ภาษี - อาจมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากราคาค่าบริการสมาชิก โดยขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่คุณอยู่อาศัย
  • ค่าธรรมเนียม - ในบางประเทศ บริษัทบัตรเครดิตอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับธุรกรรมข้ามพรมแดน บางประเทศอาจเปลี่ยนสกุลเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐ แม้ในกรณีที่เราเรียกเก็บค่าบริการเป็นสกุลเงินท้องถิ่น
  • การเปลี่ยนแพ็คเกจ - หากคุณหรือคนในครัวเรือนอัปเกรดแพ็คเกจ Netflix ใบเรียกเก็บค่าบริการจะแสดงราคาแพ็คเกจที่สูงขึ้น

การถูกเรียกเก็บค่าบริการเร็วกว่าที่คาดไว้

หากไม่มีวันที่เรียกเก็บที่ต้องการในเดือนนั้นๆ (เช่น วันที่ 31) คุณจะถูกเรียกเก็บในวันสุดท้ายของเดือนดังกล่าวแทน

หากค่าบริการเปลี่ยนแปลงหรือคุณเปลี่ยนไปใช้แพ็คเกจที่มีค่าบริการสูงกว่า คุณอาจถูกเรียกเก็บค่าบริการเร็วกว่าที่คาดไว้

มีการเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมีการเรียกเก็บหลายครั้ง

สมาชิก Netflix จะถูกเรียกเก็บค่าบริการเดือนละครั้ง ในวันที่ใช้สมัครลงทะเบียน

หากคุณสมัครลงทะเบียน Netflix เมื่อไม่นานมานี้ หรือเป็นสมาชิกที่เปลี่ยนวิธีการชำระเงินหรือลองการชำระเงินที่ถูกปฏิเสธอีกครั้ง คุณอาจเห็นคำขอกันวงเงินซึ่งแสดงเป็นธุรกรรมที่รอดำเนินการในเอกสารแจ้งค่าใช้จ่ายของคุณ การกันวงเงินไม่ใช่การเรียกเก็บ แต่อาจส่งผลต่อยอดคงเหลือจนกว่าธนาคารของคุณจะคืนวงเงินกลับในเวลาสองสามวัน

  • หากคำขอกันวงเงินใช้เงินคงเหลือทั้งหมดในบัญชีของคุณ เราจะไม่สามารถดำเนินการเรียกเก็บค่าบริการ Netflix ได้ ในกรณีนี้ คุณต้องเพิ่มวงเงินไปยังบัญชีของคุณ หรือใช้การชำระเงินวิธีอื่น

หากพบเห็นการเรียกเก็บค่าบริการ Netflix หลายครั้งหรือมีการเรียกเก็บค่าบริการที่คุณเชื่อว่าไม่ได้ให้อนุญาต ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้