ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

              การทำกิจกรรมโครงงานเป็นการทำกิจกรรมที่เกิดจากคำถามหรือความอยา กรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนั้น การทำโครงงานจึงมีขั้นตอน ดังนี้
                 1. ขั้นสำรวจหรือตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำ
                       การตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานควรพิจารณาถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่นแหล่งความรู้เพียงพอที่จะศึกษาหรือขอคำปรึกษา มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา มีผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นที่ปรึกษา มีเวลา และงบประมาณเพียงพอ
               2. ขั้นศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจทำ
                     การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจทำ จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่จะกำหนดขอบข่ายเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและยังได้ความรู้ เรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจนสามารถออกแบบการศึกษา ทดลอง และวางแผนดำเนินการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม
               3. ขั้นวางแผนดำเนินการ
                   การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเรื่องใดจะต้องมีการวางแผนอย่างละเอียด รอบคอบ และมีการกำหนดขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างรัดกุม ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประเด็นที่ต้องร่วมกันคิดวางแผนในการทำโครงงานมีดังนี้ คือ ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทาง และวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้ การออกแบบการศึกษาทดลองโดยกำหนดและควบคุมตัวแปร วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี เวลา และสถานที่จะปฏิบัติงาน
             4. ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์
                  การเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์มีรายละเอียด ดังนี้
                  4.1 ชื่อโครงงาน เป็นข้อความสั้น ๆ กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายตรง และมีความเฉพาะเจาะจงว่าจะศึกษาเรื่องใด
                  4.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน เป็นผู้รับผิดชอบโครงงาน ซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้
                  4.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ซึ่งเป็นอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้
                  4.4 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เป็นการอธิบายเหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ ความสำคัญของโครงงาน แนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับโครงงาน
                  4.5 วัตถุประสงค์โครงงาน เป็นการบอกจุดมุ่งหมายของงานที่จะทำ ซึ่งควรมีความเฉพาะเจาะจงและเป็นสิ่งที่สามารถวัดและประเมินผลได้
                  4.6 สมมติฐานของโครงงาน (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะผิดหรือถูกก็ได้ สมมติฐานที่ดีควรมีเหตุผลรองรับ และสามารถทดสอบได้
                  4.7 วัสดุอุปกรณ์และสิ่งที่ต้องใช้ เป็นการระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ในการดำเนินงานว่ามีอะไรบ้าง ได้มาจากไหน
                  4.8 วิธีดำเนินการ เป็นการอธิบายขั้นตอนการดำเนินงานอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
                  4.9 แผนปฏิบัติการ เป็นการกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาเสร็จงานในแต่ละขั้นตอน
                 4.10 ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการคาดการณ์ผลที่จะได้รับจากการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า
ซึ่งอาจได้ผลตามที่คาดไว้หรือไม่ก็ได้
                4.11 เอกสารอ้างอิง เป็นการบอกแหล่งข้อมูลหรือเอกสารที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

           5. ขั้นลงมือปฏิบัติ
                การลงมือปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่สำคัญตอนหนึ่งในการทำโครงงานเนื่องจากเป็นการลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่ได้กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงงาน อย่างไรก็ตามการทำโครงงานจะสำเร็จได้ด้วยดี ผู้เรียนจะต้องคำนึงถึงเรื่องความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอื่น ๆ เช่นสมุดบันทึกกิจกรรมประจำวัน ความละเอียดรอบคอบและความเป็นระเบียบในการปฏิบัติงาน
ความประหยัดและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงาน การเรียงลำดับก่อนหลังของงานส่วนย่อย ๆ ซึ่งต้องทำแต่ละส่วนให้เสร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไปในขั้นลงมือปฏิบัติจะต้องมีการบันทึกผล การประเมินผล การวิเคราะห์ และสรุปผลการปฏิบัติ
          6. ขั้นเขียนรายงานโครงงาน
              การเขียนรายงานการดำเนินงานของโครงงาน ผู้เรียนจะต้องเขียนรายงานให้ชัดเจนใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้อง ใช้ภาษากะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย และต้องครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ทั้งหมดของโครงงานได้แก่ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา บทคัดย่อ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน จุดมุ่งหมาย สมมติฐาน วิธีดำเนินงาน ผลการศึกษาค้นคว้า ผลสรุป
ของโครงงาน ข้อเสนอแนะ คำขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานและเอกสารอ้างอิง
        7. ขั้นเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงาน
              หลังจากทำโครงงานวิทยาศาสตร์เสร็จแล้วจะต้องนำผลงานที่ได้มาเสนอและจัดแสดง ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การประชุมทางวิชาการ เป็นต้น ในการเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ทั้งหมดของโครงงาน

ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน อะไรบ้าง

การท าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการด าเนินงานหลายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้น สุดท้าย ดังนี้ 1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะท าโครงงาน 2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. การจัดท าเค้าโครงของโครงงาน 4. การลงมือท าโครงงาน 5. การเขียนรายงาน 6. การแสดงผลงาน

โครงงาน5ขั้นตอนมีอะไรบ้าง

วิธีดำเนินการทำโครงงาน มีขั้นตอนดังนี้ 1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ ... .
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ... .
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ มีรายละเอียดดังนี้ ... .
4. การลงมือทำโครงงาน ... .
5. การเขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้.

การจัดทำโครงงานมีขั้นตอนอะไรบ้าง

เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์.
ขั้นสำรวจหรือตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำ ... .
ขั้นศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจทำ ... .
ขั้นวางแผนดำเนินการ ... .
ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ ... .
ขั้นลงมือปฏิบัติ ... .
ขั้นเขียนรายงานโครงงาน ... .
ขั้นเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงาน.

โครงงานวิทยาศาสตร์มีกี่ขั้นตอน

1. โครงงานประเภทการทดลอง 2. โครงงานประเภทการสำรวจรวบรวมข้อมูล 3. โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์ 4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีและหลักการ