แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร

การใช้โวลต์มิเตอร์ก็เช่นเดียวกับแอมมิเตอร์ ซึ่งมี 2 แบบคือ ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อต้องการใช้โวลต์มิเตอร์วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง จุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จะต้องคำนึงถึงขั้วบวกและขั้วลบด้วย โดยต่อขั้วบวกของโวลต์มิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของวงจร และต่อขั้วลบของโวลต์มิเตอร์เข้ากับขั้วลบของวงจร การที่กระแสไฟฟ้าไหลอันเนื่องมาจากความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่ขั้วของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแต่ละชนิดก็จะไม่เท่ากัน เช่น ถ่านไฟฉายมีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 1.5 โวลต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีความต่างศักย์ไฟฟ้า 12 โวลต์ ส่วนสายไฟภายในบ้านมีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 220 โวลต์ทั้งนี้ถ้าความต่างศักย์ไฟฟ้ามีค่ามากขึ้นระดับพลังงานไฟฟ้าก็จะมากขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลและเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์มากขึ้นด้วยเช่นกัน

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร

    https://sites.google.com/site/sattapolparsawai62/home/wolt-mitexr

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร
  • 2020-09-16 16:33:28

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร

กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     แอมมิเตอร์ (Ammeter) มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) เป็นเครื่องวัดไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current) ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าได้หลายย่านการวัด เช่น วัดกระแสไฟฟ้าเป็นไมโครแอมแปร์ (Microampere) เรียกว่า ไมโครแอมมิเตอร์ (Microammeter), ใช้วัดกระแสไฟฟ้าเป็นมิลลิแอมแปร์ (Milliampere) เรียกว่า มิลลิแอมมิเตอร์ (Milliammeter), ใช้วัดกระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์ (Ampere) เรียกว่า แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นต้น ซึ่งมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรงมีทั้งแบบเข็ม (Analog Ammeter) และมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรงแบบดิจิตอล (Digital Ammeter) ดังรูป
 

ไมโครแอมมิเตอร์ (Microammeter)มิลลิแอมปมิเตอร์ (Milliammeter)ดิจิตอลแอมมิเตอร์ (Digital Ammeter)

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร
แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร
แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร


     แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นเครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้า แบ่งออกได้ 2 ชนิดตามลักษณะของกระแสไฟฟ้า คือ แอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Ammeter) และแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Ammeter) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดจะดัดแปลงจากชุดขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวาล (D’Arsonval Moving Coil) ใช้สําหรับวัดปริมาณกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) เนื่องจากภายในพันลวดตัวนําขนาดเล็กจึงเกิดค่าความต้านทานขึ้น เรียกว่า ความต้านทานขดลวด (Moving Coil Resistance) และค่ากระแสไฟฟ้าที่ทําให้เข็มของมิเตอร์บ่ายเบนไปจนเต็มสเกล เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเต็มสเกล (Full Scale Current) ซึ่งค่ากระแสไฟฟ้านี้จะมีปริมาณน้อยมากจึงไม่สามารถวัดกระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณสูงได้  ทำให้ต้องมีการดัดแปลงเครื่องมือวัดนี้ เรียกว่า การขยายย่านวัด โดยหลักการขยายย่านวัดนั้น ใช้หลักการของวงจรขนาน (Parallel Circuit) โดยการนําตัวต้านทานชั้นท์ (Shunt Resistor) มาต่อขนานกับขดลวดเคลื่อนที่ เพื่อแบ่งปริมาณกระแสไฟฟ้าออกเป็น 2 ส่วน คือ กระแสไฟฟ้าเต็มสเกลของขดลวดเคลื่อนที่ (Im) และกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลผ่านตัวต้านทานชั้นท์ (R Shunt) ซึ่งจะแบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าเต็มสเกลของขดลวดเคลื่อนที่ออกไป ทําให้กระแสไฟฟ้าทั้งสองเป็นสัดส่วนกันอย่างพอดี ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงการวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ว่าทำไมต้องใช้ตัวต้านทานชันต์ (Shunt Resistor) หรือ R Shunt กัน

     โครงสร้างของแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก ๆ 2 ส่วน คือ ขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร และตัวต้านทานชันต์ (R Shunt) ดังนี้

          1. ขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร โครงสร้างของมิเตอร์เบื้องต้นจะใช้รูปแบบของดาร์สันวาลมิเตอร์ อาศัยการทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าจ่ายเข้ามิเตอร์ แต่เนื่องจากโครงสร้างมีขนาดเล็กขดลวดเคลื่อนที่จึงรับกระแสไฟฟ้าได้จำกัดซึ่งมีค่าน้อยมาก แต่มีความคล่องตัวของการทำงานในขณะบ่ายเบนไปของอาร์เมเจอร์ (Armature) จะเกิดแรงเสียดทานน้อย ทำให้การวัดค่าเกิดความเที่ยงตรงมากขึ้น ด้วยข้อจำกัดของโครงสร้างจึงทำให้ดาร์สันวาลมิเตอร์ถูกจำกัดการใช้งานในวงแคบ ๆ ถ้าต้องการวัดกระแสไฟฟ้าปริมาณสูงเกินค่าจำกัดของกระแสไฟฟ้า จึงต้องหาตัวต้านทานมาต่อขนานเพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนที่เกินค่าจำกัดมาต่อ โครงสร้างของดาร์สันวาลมิเตอร์จะเป็นขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร (PMMC : Permanent Magnet Moving Coil) ดังรูป 1.1

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร

รูป 1.1 แสดงโครงสร้างของแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Ammeter)

 

          2. ตัวต้านทานชันต์ (R Shunt) มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Current Ammeter) แต่ละชนิดมีข้อจำกัด คือ ขดลวดของเครื่องวัดเล็กมากจึงรับกระแสไฟฟ้าได้เพียงค่าค่าหนึ่งที่จำกัดซึ่งน้อยมาก และเมื่อต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณสูงเกินค่าจำกัดของกระแสไฟฟ้า จึงต้องหาตัวต้านทานมาต่อขนาน ที่เรียกว่า ตัวต้านทานชันต์ (Shunt Resistor) หรือ R Shunt มาต่อขนานเข้ากับดาร์สันวาลมิเตอร์ โดย R Shunt เมื่อต่อขนานจะทำหน้าที่แบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่ดาร์สันวาลมิเตอร์รับไม่ได้ให้ผ่านตัวต้านทานขนานนั้นไป ซึ่งลักษณะของ R Shunt ที่ใช้ต่อขนานกับดาร์สันวาลมิเตอร์ มี Spec ที่แตกต่างกันในของแต่ละรุ่น เช่น 100A/60mVdc, 50A/75mVdc, 50/60mVdc เป็นต้น (ดังรูป 2.1) สามารถนำมาต่อเพิ่มเข้าไปได้จากภายนอกมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current Ammeter)ได้ เพื่อช่วยเพิ่มให้ Ammeter วัดกระแสไฟฟ้าได้สูงมากขึ้น
 

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร

รูป 2.1 แสดงลักษณะของตัวต้านทานชันต์ (Shunt Resistor) หรือ R Shunt)

 

     วิธีการต่อแอมมิเตอร์ DC สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) Model : TCM-94N-2 (DC Current 0-75 mVDC, 0-150 mVDC จาก R Shunt (ดังรูป)

แอมมิเตอร์ ใช้วัดกระแสไฟฟ้า และ ต่อแบบขนานกับวงจร

รูปแสดงวิธีการต่อแอมมิเตอร์สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) รุ่น : TCM-94N-2 (DC Current 0-75 mVDC, 0-150 mVDC) ร่วมกับ R Shunt