วิเคราะห์ โคลงนิราศนรินทร์

        นิราศนรินทร์คำโคลงเป็นตัวอย่างของโคลงนิราศชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์เหมาะสำหรับเยาวชนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธ์โคลงที่มีเนื้อหาเป็นการพรรณนาอารมณ์ ความรัก และธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบทางฉันทลักษ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี
นิราศนรินทร์คำโคลงทุกบทเปรียบเสมือนเพชรน้ำเอกที่ได้รับการเจียระไนอย่างงดงามมีความโดดเด่นทั้งถ้อยคำ ถ้อยความ และโวหารเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งกินใจ เปี่ยมด้วยศิลปะการประพันธ์หลายประการ ดังนี้

Ø ด้านกลวิธีการแต่ง

๑. การใช้คำ  กวีเลือกใช้คำที่งดงามทั้งรูป ความหมาย และเสียงที่ไพเราะ โดยเฉพาะร่านสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจ เพราะเป็นบทสดุดีที่ไม่มีลักษณะขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์จนเกินไป แต่งามสง่าและไพเราะยิ่ง ไม่เรียบราบง่ายดาดๆ เหมือนร่ายสุภาพที่แต่งกันทั่วๆไป ทั้งนี้เกิดจากการเลือกใช้คำและโวหารของกวีที่งามเด่นทั้งรูป เสียง และความหมายได้อย่างกลมกลืนกัน อาทิตย์       

                ๑.๑ การเลือกสรรคำเหมาะสมกับเรื่อง

·       ในร่ายวรรค “เลอหล้าลบล่มสวรรค์” นั้น จะเห็นว่านอกจากกวีตั้งใจเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะให้ไพเราะแล้ว ยังให้ความหมายที่ดีเยี่ยม ซึ่งหมายถึง ความงามเด่นของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ทำให้ความงามของสวรรค์ถูกทำลายให้สูญสิ้นจมหายไป

·       “แย้มฟ้า” เป็นตัวอย่างของการเลือกใช้คำที่มีรูปคำงาม เสียงไพเราะและมีความหมายดี ให้ภาพที่ชัดเจนว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้นเผยโฉมเด่นอยู่ในท้องฟ้า

·       วลีว่า “เหลี้ยนล่งหล้า” นั้นนอกจากกวีจะเน้นความโดยใช้คำทั้ง เหลี้ยน (เลี่ยน) และ ล่ง (โล่ง) ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเกลี้ยงว่างโดยตลอดแล้ว เสียงของคำยังสื่อย้ำถึงความกว้างไกลอย่างสุดลูกหูลุกตาของแผ่นดิน มองดูปลอดโปร่งสบายตา ไม่รู้สึกอึดอัด เพราะปราศจากสิ่งขัดขวางใดๆ อนึ่งกวีได้เน้นย้ำความเกลี้ยงว่างหรือความราบเรียบจริงๆ อีกชั้นหนึ่ง โดยการใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์เปรียบให้เห็นภาพ เหมือนกับพื้นผิวของกลอง

๑.๒ การเลือกสรรคำคำที่มีเสียงเสนาะ

·            สัมผัส กวีเล่นเรียงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรภายในวรรคและระหว่างวรรค เพื่อเพิ่มความไพเราะ เช่น

“ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ                    สงสาร  อรเอย

จรศึกโศกมานาน                                         เนิ่นช้า

เดินดงท่งทางละหาน                                 หิมเวศ

สารสั่งทุกหย่อมหญ้า                                 ย่านน้ำลานาง”

ü สัมผัสสระ                    หน่ำ-ซ้ำ    ดง-ท่ง

ü สัมผัสอักษร                  ตระนาว-ตระหน่ำ   สง-สาร   อร-เอย   ศึก-โศก

เดิน-ดง     ท่ง-ทาง  สาร-สั่ง  หย่อม-หญ้า

ü สัมผัสระหว่างวรรค  ซ้ำ-สง (สาร)    นาน-เนิ่น    หาน-หิม(เวศ)   หญ้า-ย่าน

·       การเล่นคำ  กวีใช้คำเดียวซ้ำหลายแห่งในบทประพันธ์หนึ่งบท  แต่คำที่ซ้ำกันนั้นมีความหมายต่างกัน เช่น

    “เห็นจากจากแจกก้าน                   แกมระกำ

ถนัดระกำกรรมจำ                               จากช้า

ปาบใดที่โททำ                                      แทนเท่า  ราแม่

จากแต่คาบนี้หน้า                                พี่น้องคงถนอม”

ü  กวีเล่นคำที่ออกเสียงว่า “จาก” ซึ่งหมายถึง ต้นจาก  และการจากน้องมา  กับคำที่ออกเสียงพ้องกันว่า  “กำ” ซึ่งหมายถึง ต้นระกำ  ความระกำช้ำใจ และเวรกรรม

๒. ภาพพจน์

             ๒.๑ การเปรียบเทียบเกินจริง (อติพจน์) คือการกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คุณค่าทางด้านอารมณ์เป็นสำคัญ เช่นในโคลงบทที่ ๑๓๙ ที่ว่า

“เอียงอกเทออกอ้าง                             อวดองค์  อรเอย

เมรุชุบสมุทรดินลง                                             เลขแต้ม

อากาศจักจารผจง                                 จารึก  พอฤา

โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                                          อยู่ร้อนฤาเห็น”

ü กวีใช้คำ เอียงอกเท แทนสิ่งที่อยู่ในใจ ใช้เขาพระสุเมรุชุบน้ำและดินแทนปากกาเขียนข้อความในอากาศ ซึ่งล้วนเป็นลักษณะที่เกินความเป็นจริง

ü ส่วนบทที่แสดงการคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก ไม่มีบทใดหนักแน่นเท่ากับโคลงบทที่ ๑๔๐ ที่ว่า

“ตราบขุนคิริข้น                   ขาดสลาย  แลแม่

รักบ่หายตราบหาย                               หกฟ้า

สุริยาจันทรขจาย                                  จากโลก  ไปฤา

ไฟแล่นล้างสี่หล้า                                ห่อนล้างอาลัย”

                                ๒.๒ การใช้บุคคลวัต กวีใช้การสมมุติสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์

                                                                “จากมามาลิ่วล้ำ                   ลำบาง

บางยี่เรือราพลาง                                 พี่พร้อง

เรือแผงช่วยพานาง                             เมียงม่าน  มานา

บางบ่รับคำคล้อง                                 คล่าวน้ำตาคลอ”

ü จะเห็นได้ว่า กวีใช้บางยี่เรือและเรือแผงให้มีกิริยาเหมือนมนุษย์ คือให้บางยี่เรือช่วยเอาเรือแผงไปรับนางมา แต่บางยี่เรือก็ไม่รับคำ


Ø ด้านสังคม

๑. นิราศนรินทร์คำโคลงมีเนื้อหาสาระที่จรรโลงวัฒนธรรมและจริยธรรมของสังคมโดยเนื้อหากล่าวถึงบ้านเมืองที่งดงามด้วยวัดและปราสาทราชวัง พระพุทธศาสนารุ่งเรือง ประชาชนก็ซาบซึ้งในพระธรรมคำสอน ซึ่งความเจริญและความสงบสุขทั้งปวงนี้เกิดจากพระบารมีของพระมหากษัตริย์