เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

1. พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง

        ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเวลาของการป้องกันประเทศและฟื้นฟูบ้านเมือง ทั้งนี้เนื่องจากไทยยังต้องเผชิญกับสงครามครั้งใหญ่ เช่นสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 และการฟื้นฟูบ้านเมืองให้เป็นระเบียบ   การปกครองในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงรูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาไว้เป็นส่วนใหญ่ การจัดระเบียบการปกครองคล้ายกับกรุงศรีอยุธยาและธนบุรี กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะสมมุติเทพ แต่ทรงใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรมเป็นแนวทาง  ในการปกครอง

พัฒนาด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีดังนี้

        การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ      การปกครองส่วนกลาง การปกครองหัวเมืองและการปกครองประเทศราช

        1.1 การปกครองส่วนกลาง

        การปกครองส่วนกลางมีกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักร พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีพระราชอำนาจสูงสุด มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่งและตำแหน่งจตุสดมภ์ 4 ตำแหน่งประกอบด้วย

- กรมกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมหรือสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้ามีหน้าที่บังคับบัญชาฝ่ายทหารและบังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้

- กรมมหาดไทย มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก เป็นหัวหน้ามีหน้าที่บังคับบัญชาพลเรือนและบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งหมด

- กรมเวียง (นครบาล) มีเสนาบดีตำแหน่ง เจ้าพระยายมราช เป็นหัวหน้า   ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในเมืองปราบปรามโจรผู้ร้าย

- กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีเสนาบดีตำแหน่ง เจ้าพระยาธะรมาธิกรณ์      เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่รักษาพระราชสำนัก รับผิดชอบการพระราชพิธีต่างๆ และการพิจารณาคดีความที่มีฎีกาขึ้นสู่องค์พระมหากษัตริย์

- กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีเสนาบดีตำแหน่ง เจ้าพระยาโกษาธิบดี          เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับดูแลรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน การเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่างๆ และดูแลเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศและควบคุมดูแลหัวเมืองชายทะเล

- กรมนา (เกษตราธิการ) มีเสนาบดีตำแหน่ง เจ้าพระยาพลเทพ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรื่องสวนไร่นาของหลวงและเก็บภาษีเป็นข้าวจากการทำไร่นาของราษฎร

1.2 การปกครองหัวเมือง

        การปกครองหัวเมือง คือ การปกครองที่อยู่รอบๆ เมืองหลวงและเมืองที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง แบ่งออกเป็น2 ประเภทได้แก่

        - หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่รอบๆ เมืองหลวง ตำแหน่งผู้ปกครองเรียกว่า เจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ส่วนมากพระมหากษัตริย์จะส่งพระบรมวงศานุวงศ์หรือขุนนางที่ใกล้ชิดไปดูแล

        - หัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง จัดแบ่งตามลำดับความสำคัญ โดยแบ่งย่อยออกเป็นหัวเมืองเอก โทร ตรีและจัตวา สำหรับเมืองจัตวาเป็นเมืองบริวารทั้งหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก

1.3 การปกครองประเทศราช

        ประเทศราชเป็นหัวเมืองชายแดน พระมหากษัตริย์ทรงโปรดให้เจ้าประเทศราชปกครองบ้านเมืองของตนเอง   แต่มีหน้าที่คือ ต้องดูแลความมั่นคงไม่ให้ข้าศึกล่วงล้ำเข้ามาในเขตแดน ช่วยราชการทหารยามเมืองหลวงมีศึกสงครามนอกจากนี้ประเทศราชจะต้องส่งเครื่องบรรณาการและส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาถวายตามประเพณี

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

การชำระแก้ไขและปรับปรุงกฎหมาย

        เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 กฎหมายไทยได้สูญหายและถูกเผาทำลายไป รัชกาลที่ 1 ทรงโปรด ให้รวบรวมและชำระกฎหมาย เมื่อแล้วเสร็จทรงโปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้ 3 ฉบับทุกฉบับได้ประทับตราคชสีห์    ตราราชสีห์และตราแก้ว ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม สมุหนายกและเจ้าพระยาพระคลัง ตามลำดับ กฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อว่ากฎหมายตราสามดวง หรือเรียกว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 ซึ่งใช้เป็นกฎหมายปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5

2. พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ

   เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้พัฒนาจากเศรษฐกิจเกษตรกรรมแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบเงินตราดังนี้

    2.1 ด้านการเกษตร ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยต้องเตรียมเสบียงอาหารไว้เมื่อเกิดสงครามและส่งขายเป็นสินค้าส่งออก ดังนั้นรัฐบาลจึงส่งเสริมให้เพาะปลูกพืชโดยเฉพาะการปลูกข้าวและสนับสนุนให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยออกกฎหมายระบุว่าผู้ปลุกเบิกที่ดินเพื่อทำกินใหม่ในระยะ1 - 2   ปีแรก จะได้รับยกเว้นอากรค่านา ค่าสวน พร้อมทั้งให้ความคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำประโยชน์ อีกทั้งสร้างขวัญและกำลังใจโดยทำพิธีขอฝนเมื่อเกิดฝนแล้งหรือพิธีไล่น้ำเมื่อน้ำท่วม

    2.2 ด้านอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

   - อุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็นผลผลิตของชาวบ้านเมื่อว่างจากการทำนา เช่น การตีมีด ทำจอบ เสียมหรือการจักสานตะกร้า กระบุง กะดุ้ง รวมไปถึงอุปกรณ์ในการหาอาหาร เช่น ลอบ แห อวน สวิง หน้าไม้ ธนู การผลิตเครื่องใช้ซอยของชาวบ้านเป็นการผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนและเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ทำให้ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้

   - อูตสาหกรรมโรงงาน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการทำอุตสาหกรรมที่ต้องจ้างแรงงานที่เจ้าของกิจการส่วนใหญ่เป็นชาวจีน เช่น โรงงานน้ำตาล โรงต้มกลั่นสุรา โรงผลิตเกลือ เป็นต้น การผลิตลักษณะเช่นนี้จัดว่าเป็น        การผลิตเพื่อการค้าที่เริ่มมีมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

    2.3 การค้า การค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นแบ่งได้ดังนี้

   - การค้าภายใน ส่วนมากเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า ผู้ทำการค้าส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ซึ่งจะนำสินค้าจากกรุงเทพมหานครเข้าไปขายตามหัวเมือง โดยอาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคม การค้าของพ่อค้าแม่ค้าบางครั้งไม่ได้ใช้เงินตรา แต่จะนำเอาสินค้าที่ชาวบ้านผลิตจากชุมชนหนึ่งไปแลกกับอีกชุมชนหนึ่ง

   - การค้าภายนอก คือ การค้ากับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราชการจะเป็นผู้ดำเนินการค้า สินค้าต้องห้าม โดยกำหนดให้กรมพระครั้งสินค้าเป็นผู้ดูแลกิจการ ดังนั้นชาวต่างชาติและราษฎรจึงไม่สามารถติดต่อซื้อขายสินค้าต้องห้ามได้โดยตรงแต่ซื้อขายได้เฉพาะกับพระครั้งสินค้าเท่านั้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ จีน

     ต่อมาเมื่อมีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาค้าขายมากขึ้นพ่อค้าเหล่านี้พยายามเจรจาเพื่อขอให้ไทยเลิกทำการค้าแบบผูกขาด ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2369 ไทยจึงได้ทำสัญญา เรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์ เพื่อลดการคุกคามจากอังกฤษ ผลของสัญญานี้ทำให้ไทยต้องยินยอมให้พ่อค้าอังกฤษค้าขายกับพ่อค้าไทยโดยตรง แต่ยังมีสินค้าต้องห้ามบางชนิด เช่น ข้าว ฝิ่นและอาวุธที่จะต้องซื้อขายกับพระคลังสินค้า ส่วนการเก็บภาษีนั้นมีการยกเลิกการเก็บภาษีซ้ำซ้อนจะเรียกเก็บได้เฉพาะภาษีปากเรือเท่านั้น ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เจรจาขอทำสัญญาเช่นเดียวกับอังกฤษนับเป็นการเริ่มพัฒนาการค้าเข้าสู่ความเป็นสากล

3. พัฒนาการทางด้านสังคม

        สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงใช้ระบบศักดินาในการ    จัดระเบียบทางสังคม เพื่อกำหนดหน้าที่และสิทธิของคนในสังคมคล้ายกับสมัยอยุธยาและธนบุรีโดยแบ่งคนออกเป็น 2 ชนชั้นคือ

          1. ชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วยพระมหากษัตริย์พระราชวงศ์      ขุนางและข้าราชการระดับต่างๆ

             2. ชนชั้นผู้ถูกปกครองประกอบด้วยไพร่และทาส

    ***นอกจากนี้สังคมไทยยังมีกลุ่มคนอื่นๆ ได้แก่ นักบวชหรือพระสงฆ์ และชาวต่างชาติ


     ยุคปฏิรูปประเทศให้เป็นแบบสมัยใหม่

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

1. พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง

   การปฏิรูปการปกครองในยุคนี้เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกที่กำลังขยายอำนาจและอิทธิพลเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย                  ประเทศจึงไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกและเป็นชาติเดียวในภูมิภาค      ที่ดำรงเอกราชไว้ได้

        พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงคำนึงถึงสิทธิของพลเมืองดังจะเห็นได้จากการออกกฎหมายห้ามบิดา มารดาหรือสามีขายบุตรและภรรยาไปเป็นทาส โดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัยให้เป็นแบบตะวันตก

        การปฏิรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่เกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทรงรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและปรับปรุงการปกครองดังนี้

        - การตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ประกอบด้วยเสนาบดีจากกระทรวงต่างๆ 12 กระทรวง ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่างๆ พิจารณาพระราชบัญญัติออกกฎหมายและตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ประกอบด้วยพระบรมมาวงศานุวงศ์และเสนาบดี ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษา  ข้อราชการและข้อคิดเห็นที่จะส่งนำเข้าที่ประชุมสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

        - การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง สาเหตุของการปฏิรูปเนื่องจากการปกครองแบบจตุสดมภ์นั้นมีบางหน่วยงานทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน เกิดการก้าวก่ายหน้าที่และไม่ประสานงานกัน ทรงโปรดให้ยกเลิกการปกครองแบบเดิมแล้วแบ่งหน่วยราชการออกเป็นกระทรวงต่างๆ 12 กระทรวง

        - การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เปลี่ยนแปลงการแบ่งหัวเมืองเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและส่งข้าหลวงจากส่วนกลางไปปกครองหัวเมืองต่างๆ แล้วแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นระดับตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอเมืองและมณฑล โดยมีผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้าน กำนันปกครองตำบล นายอำเภอปกครองอำเภอ เจ้าเมืองปกครองเมืองและข้าหลวงเทศาภิบาลปกครองมณฑล การปกครองลักษณะนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการปกครองของส่วนกลาง

        การปฏิรูปการปกครองส่งผลให้อาณาจักรไทยมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกและรักษาเอกราชของชาติมาได้จนถึงปัจจุบัน

       การปฏิรูปการปกครองประเทศในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมการพัฒนาประชาธิปไตย ทั้งนี้จะเห็นได้จากการสร้างเมืองจำลองดุสิตธานีขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. 2461 เพื่อทดลองให้เมืองนี้มีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย คือ มีการนำรัฐธรรมนูญมาใช้ในการปกครอง มีการเลือกตั้งผู้บริหารบางตำแหน่งและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน แต่ดุสิตธานีได้ถูกยกเลิกไปภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเก้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต

2. พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ

        การปฏิรูปเศรษฐกิจในยุคนี้เกิดจากแรงผลักดันจากภายนอกที่ต้องการให้ไทยเปลี่ยนแปลงการค้าในลักษณะผูกขาดเป็นการค้าโดยเสรี

     ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 การทำสนธิสัญญานี้มีผลให้ไทยต้องยกเลิกระบบผูกขาดทางการค้าและเปลี่ยนมาเป็นการค้าเสรี โดยชาวต่างชาติสามารถติดต่อค้าขายสินค้ากับราษฎรได้โดยตรงไม่ต้องผ่านพระครั้งสินค้า ส่งผลให้ชาติต่างๆ เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น

        การค้าภายในประเทศโดยเฉพาะการค้าข้าวของชาวนาทำให้ชาวนา    มีรายได้เป็นตัวเงินและนำเงินไปซื้อสินค้าชนิดอื่นมาใช้ การค้าภายในประเทศจึงเริ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา โดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า

        ระบบเงินตรา

        เงินตราเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งโรงกษาปณ์สิทธิการขึ้นใน พ.ศ. 2403        เพื่อผลิตเงินเหรียญออกใช้แทนเงินพดด้วง

        ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการครั้งดังนี้

        - จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมเงินภาษีอากรทั่วประเทศเพื่อนำรายได้ไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ต่อมาทรงยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

        - ปรับปรุงระบบภาษีอากร โดยทรงแต่งตั้งข้าหลวงคลังไปประจำ      ทุกมณฑล เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ทรงวางพิกัดอัตราภาษีเสมอภาคกันทุกมณฑล

        - จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกและแยกเงินส่วนแผ่นดิน        ออกจากเงินส่วนพระองค์

        - เปลี่ยนมาตรฐานของเงิน โดยมีการสร้างหน่วยเงินเรียกว่า สตางค์ ประกาศยกเลิกเงินพดด้วงและใน พ.ศ. 2445 ทรงตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.121 ตั้งกรมธนบัตรขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทำหน้าที่ออกธนบัตร

        - พระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งธนาคารขึ้นในรูปของการสะสมทรัพย์ มีชื่อว่า แบงค์สยามกัมมาจล ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยพาณิชย์จำกัดและเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย

        ในยุคปฏิรูปประเทศการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างถนนเจริญกรุง        เป็นถนนสายแรกและสร้างถนนเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมืองถนนเฟื่องนคร ทำให้ในเวลาต่อมาได้มีการนำรถยนต์เข้ามาใช้อย่างแพร่หลายและทำให้การคมนาคมขนส่งสะดวกยิ่งขึ้น

        นอกจากนี้ยังมีการนำรถไฟมาใช้โดยเริ่มสร้างทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ 5 จากกรุงเทพมหานครไปยังหัวเมืองต่างๆ เส้นทางรถไฟสายแรก คือ เส้นทางกรุงเทพมหานครไปยังนครราชสีมา เหตุผลของการสร้างทางรถไฟก็เพื่อการคมนาคมขนส่งและการควบคุมดูแลหัวเมืองต่างๆ โดยทั่วถึงรวมทั้งมี            การเดินรถรางในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยบริษัทของชาวต่างชาติ

     ในด้านการโทรคมนาคมรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขและได้เริ่มวางสายโทรศัพท์ขึ้นใช้ในพระนครเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อธุรกิจและการสื่อสาร

3. พัฒนาการทางด้านสังคม

        สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตกโดยเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เช่น

           - ยกเลิกธรรมเนียมหมอบคลานเข้าเฝ้า

           - อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนินและให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า

           -ให้สิทธิและเสรีภาพแก่สามัญชนมากขึ้น เช่น ให้สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถเลือกสามีได้  โดยสมัครใจห้ามบิดามารดาบังคับ   ห้ามสามีขายภรรยาและบุตรเป็นทาส

           - ทรงรับฎีการ้องทุกข์ของราษฎรมาพิจารณาคดีความ

        ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการเลิกทาสและเปลี่ยนแปลงสถานะของไพร่เป็นคนสามัญ ทรงดำเนินตามนโยบายการยกเลิกไพร่และทาสตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ถึงพ.ศ. 2448 โดยดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในสังคม การยกเลิกไพร่และทาสทำให้คนไทยมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ อีกทั้งเปลี่ยนสถานภาพมา        เป็นพลเมืองไทยซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

วิดีโอ YouTube

        เปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทยให้เป็นแบบสากลโดยให้ผู้ชาย    ในราชสำนักเลิกไว้ทรงผมมหาดไทยเปลี่ยนมาเป็นตัดยาวทั้งศรีษะแบบชาติตะวันตก

     นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาจึงโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงในพระบรมมหาราชวัง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดคนเข้ารับราชการและตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็กหรือโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเพื่อฝึกวิชาทหารแบบชาติตะวันตก

        ในพ.ศ. 2427 โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกสำหรับราษฎรทั่วไปคือโรงเรียนมหรรณพาราม ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อได้ผลจึงขยายไปทั่วพระนครแล้วจึงจัดตั้งโรงเรียนตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อให้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายได้รับการศึกษา

        นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้นักเรียนได้มีโอกาสไปศึกษายังต่างประเทศเพื่อจะได้นำความรู้มาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

        สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยหลายประการ เช่น

           - ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 เป็นครั้งแรก

           - ประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุลตามอย่างตะวันตก เพื่อให้คนไทยเกิดความรู้สึกผูกพันระหว่างกลุ่มบุคคลที่ใช้นามสกุลเดียวกัน ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้คนไทยรักและภูมิใจในความเป็นไทย รักศักดิ์ศรีวงศ์ตระกูลของตนเอง

           - การเพิ่มคำนำหน้านามสตรีและเด็ก โดยสตรีที่ยังไม่แต่งงานให้ใช้คำว่า นางสาว สตรีที่แต่งงานแล้วให้ใช้คำว่า นาง ส่วนเด็กให้ใช้คำว่า เด็กชายและเด็กหญิง

           - การเปลี่ยนธงชาติจากธงแดงที่มีช้างเผือกตรงกลางมาเป็นธงไตรรงค์แบบที่ใช้ในปัจจุบัน

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3


        การปรับปรุงด้านสังคมในยุคปฏิรูปประเทศก็เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ

ยุคปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

1. พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง 

        การเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อพ.ศ. 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ      และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

        สถานการณ์ของประเทศก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475 เป็นเวลาที่ประเทศกำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ รัชกาลที่ 7 ทรงพยายามแก้ไขปัญหาทางด้านการเมืองการปกครองโดยโปรดให้ตั้งอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์และสภากรรมการองคมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังโปรดให้ปรับปรุงการบริหารส่วนกลางโดยยุบกระทรวงจาก 12 กระทรวงเหลือเพียง 10 กระทรวงและทรงเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ชาวไทย แต่ได้เกิดการปฏิวัติโดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์สิ้นสุดลง

        การปฏิวัติพ.ศ. 2475

        คณะราษฎร์ประกอบด้วยสมาชิกฝ่ายทหารและพลเรือน ผู้นำฝ่ายทหาร คือ พันตรีหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลแปลกหรือป. พิบูลสงคราม) ผู้นำฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) สมาชิกคณะราษฎรส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาจากชาติตะวันตกที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบบประชาธิปไตยเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้ว

        โดยคณะราษฎร์ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิวัติว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

            ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

        1. การสละราชสมบัติในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนการสละราชสมบัติรัชกาลที่ทรงมีพระราชจะบันทึกถึงรัฐบาลให้ดำเนินการปกครองในลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่สมาชิกในคณะราษฎร์บางคนยังคงใช้อำนาจแบบเผด็จการ จึงมีความขัดแย้งในคณะรัฐบาล ดังนั้นในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงสละราชสมบัติ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้กลับบังคมทูลเชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานัน ทมหิดล

        2. นโยบายชาตินิยมของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ระหว่างพ.ศ. 2481 ถึงพ.ศ. 2487 ขณะที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย (ยศขณะนั้นคือพันเอกหลวงพิบูลสงคราม) มีนโยบายสำคัญประการหนึ่งคือนโยบายชาตินิยม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศมหาอำนาจในยุโรปตะวันตก ได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศสเกิดความขัดแย้งกับประเทศมหาอำนาจอีกกลุ่มหนึ่งคือเยอรมันนี อิตาลีและญี่ปุ่นต่างใช้นโยบายชาตินิยมแข่งขันกันแสวงหาผลประโยชน์จากการล่าอาณานิคมและผลประโยชน์ทางการค้า

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

        สำหรับประเทศไทยจอมพลแปลกพิบูลสงครามเห็นว่าธุรกิจของประเทศตกอยู่ในกำมือของต่างชาติ จึงได้ปลุกจิตสำนึก ชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทยด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

           - ตั้งกรมโฆษณา เพื่อทำหน้าที่ปลุกใจประชาชนให้รักชาติและเชื่อผู้นำโดยใช้คำขวัญว่า เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย

           - แต่งเพลงปลุกใจชาวไทยให้รักชาติและเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นประเทศไทย

        3. การบริหารราชการโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระหว่างพ.ศ. 2501 ถึงพ.ศ. 2506

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

        จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นมามีอำนาจโดยการก่อรัฐประหาร เมื่อพ.ศ. 2501 และรวบรวมอำนาจจากการบริหารประเทศไว้ได้ทั้งหมด เนื่องจาก   จอมพลสฤษดิ์มีแนวคิดว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นควรมีระบบการปกครองในลักษณะประชาธิปไตยแบบไทย คือ รัฐบาลต้องมีอำนาจมากกว่าสภาผู้แทนราษฎร  ดังนั้นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่จำเป็นต่อระบบการเมืองไทย

        ประเทศไทยภายใต้ผู้นำที่มีความเด็ดขาด เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้รัฐบาลสามารถใช้อำนาจริบฝิ่นไปเผาทิ้งในที่สาธารณะ ปราบปรามอันธพาล ลงโทษผู้วางเพลิงและปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างจริงจัง   นอกจากนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังได้วางโครงสร้างการพัฒนาขั้นพื้นฐานของประเทศ โดยตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อพ.ศ. 2504 และจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นครั้งแรกจนเป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาจนถึงปัจจุบัน

        จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อพ.ศ. 2506 จอมพลถนอม กิตติขจรได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมา

        4. การเรียกร้องประชาธิปไตยโดยนักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชน

        เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจรเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในพ.ศ. 2511 และจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยฝ่ายรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ชนะการเลือกตั้งแต่ 2 ปี หลังจากนั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศยึดอำนาจตนเอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญและสภาผู้แทนราษฎรพร้อมทั้งจัดตั้งรัฐบาลทหารขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการนำประเทศเข้าสู่การปกครองแบบเผด็จการอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้นักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อพ.ศ. 2516 ซึ่งเหตุการณ์ได้บานปลาย ทำให้นักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า             เหตุการณ์ 14 ตุลา ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงระงับเหตุการณ์โดยโปรดให้ทุกฝ่ายยุติการต่อสู้ซึ่งนำไปสู่ความสงบเรียบร้อย

        เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นับเป็นครั้งแรกที่ชาวไทยทั่วประเทศได้ผนึกกำลังเพื่อเรียกร้องอำนาจการปกครองแบบประชาธิปไตย

2. พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ

        สมัยรัชกาลที่ 7 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศกำลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ เช่น เกิดปัญหารายได้และรายจ่ายของรัฐไม่สมดุลกัน    รัชกาลที่ 7 ทรงเร่งแก้ปัญหาทางการเงินของประเทศ โดยทรงตัดงบประมาณรายจ่ายในราชสำนัก  ลดงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ เพิ่มภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยและทรงสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อพยุงฐานะเศรษฐกิจของประเทศ แต่ฐานะการเงินของประเทศยังขาดดุล อีกทั้งประชาชนได้รับความเดือดร้อนอันเกิดจากการขาดแคนอาหารและการว่างงาน ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร์ ในเวลาต่อมา ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพ.ศ. 2475 เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเป็นระบบทุนนิยมมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย              ของรัฐบาล เช่น

           - นโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม รัฐบาลส่งเสริมการใช้สินค้าไทยในการอุปโภคบริโภค ออกกฎหมายอาชีพสวนไว้สำหรับคนไทย

           - นโยบายเศรษฐกิจทุนนิยมโดยรัฐสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุน โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนในกิจการเอง ส่งผลให้เกิดรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจและประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2504 และได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

3. พัฒนาการทางด้านสังคม

        ในยุคปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญและมีการรับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเพิ่มขึ้น เช่น การแต่งกายอาหารและการรับประทานอาหารการสร้างที่อยู่อาศัย การรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3

เฉลย ใบ งาน ที่ 2.5 พัฒนาการ ด้าน เศรษฐกิจ และ ด้าน สังคม สมัย รัตนโกสินทร์ ตอน ต้น ม. 3