สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร

ธนาคาร เป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากประชาชนและสร้างสินเชื่อ (เครดิต) กิจกรรมการกู้ยืมสามารถทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านตลาดทุน เนื่องจากความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ในความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ธนาคารนั้นมีการควบคุมอย่างมากในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ประเทศส่วนใหญ่ได้จัดตั้งระบบการเงินที่เรียกว่า ธนาคารเก็บเงินสดสำรองบางส่วน(fractional reserve banking) ภายใต้ซึ่งการที่ธนาคารถือสินทรัพย์สภาพคล่องเท่ากับส่วนหนึ่งของหนี้สินหมุนเวียนของพวกเขา นอกเหนือจากกฏระเบียบอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองสถาพคล่อง ธนาคารโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำของเงินกองทุนตามมาตรฐานเงินทุนระหว่างประเทศที่เรียกว่า บาเซิล แอคคอร์ดส

ธนาคารในความทันสมัยของการพัฒนาในศตวรรษที่ 14 ในเมืองที่เจริญแล้วของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลี แต่ในหลายๆวิธีเป็นการสานต่อความคิดและแนวคิดเกี่ยวกับสินเชื่อหรือการปล่อยสินเชื่อที่มีรากฐานมาจากโลกยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ของธนาคาร ตระกูลนายธนาคารจำนวนมาก-ที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ เมดีชี ฟุกเกอร์ เวลเซอร์ เบเรนแบร์ก และรอธส์ไชลด์ - มีบทบาทสำคัญในหลายศตวรรษ ธนาคารการค้าปลีกที่เก่าแก่ที่มีอยู่ คือ บานคา มอนเต ดี พาสชิ ดี เซียนา ในขณะที่ธนาคารเพื่อการค้าขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดที่ดำรงอยู่คือ ธนาคารเบเรนแบร์ก

ประวัติ[แก้]

แนวคิดของธนาคารอาจจะเกิดขึ้นในอาณาจักรบาบิโลนและแซงวีเก่า โดยมีพ่อค้าได้เสนอข้าวเป็นสินเชื่อเพื่อเป็นหลักประกันในระบบแลกเปลี่ยนสินค้า การกู้ยืมเงินในยุคสมัยกรีกโบราณและในระหว่างจักรวรรดิโรมัน ได้มีการเพิ่มนวัตกรรมที่สำคัญสองประการ: พวกเขาได้ยอมรับเงินฝากและเงินที่เปลี่ยนแปลง โบราณคดีในยุตสมัยนี้ในจีนและอินเดียโบราณก็ได้แสดงหลักฐานการกู้ยืมเงิน

หน้าที่ของธนาคารแต่ละประเภท[แก้]

ธนาคารกลางทำหน้าที่ทางการเงินของประเทศ ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์โดยรวมของชาติ

  1. มีอำนาจออกธนบัตรและพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้
  2. รับฝากเงินจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ และรัฐวิสาหกิจ
  3. รับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์
  4. ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงิน
  5. เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ในการติดต่อธนาคารโลก
  6. รักษาเสถียรภาพทางการเงินของรัฐบาล
  7. ควบคุมสินเชื่อ และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการกำกับดูแลและควบคุมธนาคารพาณิชย์

ประวัติธนาคารของไทย[แก้]

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งตอนนั้นได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทรงก่อตั้ง บุคคลัภย์ (Book Club) ขึ้นที่ตึกแถวของพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ กรุงเทพฯ ที่นี่เป็นตันกำเนิดของธนาคารแห่งแรกของไทย คือ แบงก์สยามกัมมาจล หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ในปัจจุบันจะไม่มีการร่างกฎหมาย (หลังจากการเซ็นสัญญากับลูกค้า) เพื่อประโยชน์และความยุติธรรม หากมีการกระทำเช่นนั้นถือว่าไม่ใช้ระบบของธนาคารพาณิชย์

อ้างอิง[แก้]

    สถาบันการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่  ธนาคาร  และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

     1.  ธนาคาร
          1.1  ธนาคารกลาง  หมายถึง  สถาบันทางการเงินของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและเครดิตของประเทศ  ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล  ไม่ได้แสวงหาผลกำไรเป็นผลตอบแทนเหมือนกับธนาคารพาณิชย์  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย
          1.2  ธนาคารพาณิชย์  หมายถึง  ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายเงินคืนเมื่อต้องทวงถาม  หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้  รวมทั้งให้กู้ยืมหรือสินเชื่อแก่ประชาชน  ให้บริการซื้อขายตั๋วแลกเงิน  หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
          1.3  ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ  ได้แก่
               1)  ธนาคารออมสิน  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป  โดยเฉพาะผู้มีเงินออมรายย่อย  ออกพันธบัตร  สลากออมสิน  รับฝากเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษาโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ  และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น  ปล่อยเงินกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในวงเงินต่ำ  คนทั่วไปจึงเรียกว่า  ธนาคารคนจน
               2)  ธนาคารอาคารสงเคราะห์  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการกู้ยืม  เพื่อนำไปซื้อที่ดินหรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง  หรือซ่อมแซมต่อเติม  ไถ่ถอนการจำนองที่ดินและอาคาร  หรือเพื่อการลงทุนในกิจการการเคหะ  พร้อมกับรับฝากเงินของประชาชนทั่วไปด้วย
               3)  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  สังกัดกระทรวงการคลัง  ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่เกษตรกร  กลุ่มเกษตรกร  หรือสหกรณ์การเกษตร  ในรูปของการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ  เพื่อนำไปลงทุนด้านการเกษตร

     2.  สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
          2.1  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด  มีวัตถุประสงค์คล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด  คือ  ระดมาเงินออมโดยออกตราสารเครดิตหรือตั๋วแลกเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้เงินจากประชาชน
          2.2  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมเอกชน
          2.3  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมครัวเรือน
          2.4  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์  มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อที่ดิน  สร้างบ้านหรือผ่อนส่ง
          2.5  บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต  เป็นสถาบันทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้  สถาบันนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะขาดการประชาสัมพันธ์  และประชาชนไม่เห็นผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการนำเงินไปลงทุน  ทำให้หลายบริษัทล้มเหลวและในที่สุดขาดความมั่นคงให้กับผู้ประกันภัย
          2.6  สหกรณ์ออมทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่ประชาชนเริ่มเห็นคุณค่าและเห็นประโยชน์ของการร่วมมือเพื่อช่วยเหลือชุมชน  หรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดในแนวเดียวกัน  จัดทำขึ้นเพื่อออมทรัพย์และจัดทำหน่วยธุรกิจของกลุ่มตนเอง  หรือชุมชน
          2.7  โรงรับจำนำ  เป็นสถาบันการเงินขนาดย่อม  มี 3 ประเภท  คือ  โรงรับจำนำเอกชน  โรงรับจำนำของกรมประชาสงคราะห์  โรงรับจำนำของเทศบาล  ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลทั่วไป  โดยรับจำนำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

ที่มา : http://together1711.wordpress.com/ประเภทของสถาบันการเงิน/

         http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1918-00/