ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน

ประเภทของสภาบันการเงิน

สถาบันการเงิน
สถาบันการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่  ธนาคาร  และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

     1.  ธนาคาร
1.  ธนาคารกลาง  หมายถึง  สถาบันทางการเงินของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุม่ปริมาณเงินและเครดิตของประเทศ  ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล  ไม่ได้แสวงหาผลกำไรเป็นผลตอบแทนเหมือนกับธนาคารพาณิชย์  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย
2.  ธนาคารพาณิชย์  หมายถึง  ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายเงินคืนเมื่อต้องทวงถาม  หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้  รวมทั้งให้กู้ยืมหรือสินเชื่อแก่ประชาชน  ให้บริการซื้อขายตั๋วแลกเงิน  หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
3.  ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ  ได้แก่
 1)  ธนาคารออมสิน  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป  โดยเฉพาะผู้มีเงินออมรายย่อย  ออกพันธบัตร  สลากออมสิน  รับฝากเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษาโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ  และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น  ปล่อยเงินกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในวงเงินต่ำ  คนทั่วไปจึงเรียกว่า  ธนาคารคนจน
2)  ธนาคารอาคารสงเคราะห์  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการกู้ยืม  เพื่อนำไปซื้อที่ดินหรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง  หรือซ่อมแซมต่อเติม  ไถ่ถอนการจำนองที่ดินและอาคาร  หรือเพื่อการลงทุนในกิจการการเคหะ  พร้อมกับรับฝากเงินของประชาชนทั่วไปด้วย
3)  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  สังกัดกระทรวงการคลัง  ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่เกษตรกร  กลุ่มเกษตรกร  หรือสหกรณ์การเกษตร  ในรูปของการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ  เพื่อนำไปลงทุนด้านการเกษตร

     2.  สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
          1.  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด  มีวัตถุประสงค์คล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด  คือ  ระดมาเงินออมโดยออกตราสารเครดิตหรือตั๋วแลกเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้เงินจากประชาชน
2.  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมเอกชน
3.  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมครัวเรือน
4.  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์  มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อที่ดิน  สร้างบ้านหรือผ่อนส่ง
  5.  บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต  เป็นสถาบันทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้  สถาบันนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะขาดการประชาสัมพันธ์  และประชาชนไม่เห็นผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการนำเงินไปลงทุน  ทำให้หลายบริษัทล้มเหลวและในที่สุดขาดความมั่นคงให้กับผู้ประกันภัย
 6.  สหกรณ์ออมทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่ประชาชนเริ่มเห็นคุณค่าและเห็นประโยชน์ของการร่วมมือเพื่อช่วยเหลือชุมชน  หรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดในแนวเดียวกัน  จัดทำขึ้นเพื่อออมทรัพย์และจัดทำหน่วยธุรกิจของกลุ่มตนเอง  หรือชุมชน
 7.  โรงรับจำนำ  เป็นสถาบันการเงินขนาดย่อม  มี 3 ประเภท  คือ  โรงรับจำนำเอกชน  โรงรับจำนำของกรมประชาสงคราะห์  โรงรับจำนำของเทศบาล  ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลทั่วไป  โดยรับจำนำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

 ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1918-00/

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.6 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์

ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน
ใบ งานที่ 1.3 เรื่อง ประเภทของสถาบัน การเงิน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

      สถาบันทางการเงินแต่ละประเภทและธนาคารกลางมีความแตกต่างกัน การดูแลจัดการให้มีปริมาณเงินในระบบที่เหมาะสม ช่วยให้ประชาชนมีเงินใช้จ่าย ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบการ รัฐมีเงินลงุทนพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจของประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ออออ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 3.2 ม.1/1 วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และความแตกต่างของสถาบันทางการเงินแต่ละประเภทและธนาคารกลาง

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ 

- นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของสถาบันทางการเงินได้

ด้านทักษะและกระบวนการ

- จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของสถาบันทางการเงินได้

ด้านคุณลักษณะ 

- เห็นความสำคัญของสถาบันทางการเงินแต่ละประเภทที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ