วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
ฝ่ายบริหารและบุคลากร

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
งานแผนงานและประกันคุณภาพ

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
ภาพกิจกรรม

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
ข่าวสารงานประกันฯ

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
โรงเรียนในสังกัด

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
สถิติผู้เยี่ยมชมเปิดเว็บไซต์19/10/2012ปรับปรุง17/01/2023สถิติผู้เข้าชม1275389Page Views1564495

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
กภว.คู่มือสำหรับประชาชน

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
เครือข่ายสังคม

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
KPW.Website

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
โรงเรียนสุจริต

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
งานส่งวิชาการ รร ครูพนมนุช

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง ธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย           ศศิรินทร์  ธารพระจันทร์  โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา                               เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา       2560

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง ธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ 3) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  4) แผนการจัดการเรียนรู้ (คู่มือการใช้)  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เรื่องธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  และ 5) แบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียนด้านความพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติทดสอบที (t-test  dependent  Sample)

ผลการวิจัยพบว่า
             1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดการเรียนการสอน  พบว่า  1) ครูสอนแบบบรรยายไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  2) นักเรียนขาดทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  3) สื่อ/แหล่งเรียนรู้นำมาใช้น้อยมากและไม่ตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น  4) ผู้เรียนไม่สนใจเรียน  5) นโยบายของเทศบาลและโรงเรียนที่มุ่งพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ  6) การพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมีน้อยมาก  7) การพัฒนาผู้เรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขาดความจริงจัง  8) การประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์  ไม่มีวิธีการประเมินที่ชัดเจน  และผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบโดยครูและผู้เชี่ยวชาญ  พบว่า  1) ต้องการให้ครูผู้สอนได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการหรือสภาพปัญหาของนักเรียน 2) ครูควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดให้มาก  3) ควรมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ สู่การนำไปใช้  4) ควรนำเทคนิคการสอนวิธีต่าง ๆ โดยใช้ Active  Learning  และ 5) ให้เน้นการทำงานแบบกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์สู่ทักษะการคิด
              2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ/กำหนดเป้าหมาย 2) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 3) ขั้นเสนอความรู้ใหม่/บูรณาการ 4) ขั้นนำเสนอผลงาน  5) ขั้นประเมินผล/สรุปผล  และ 6) ขั้นนำไปประยุกต์ใช้
              3. ผลการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ก่อนและหลังใช้รูปแบบ  มีดังนี้
                 3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
                 3.2 พฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านความพอเพียง  ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 คิดเป็นร้อยละ 85.92 นั่นคือ ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 3 (ดีเยี่ยม)  และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
              4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้เชี่ยวชาญ  มีความคิดเห็นโดยรวม  อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน  และโดยครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  มีความคิดเห็นโดยรวม  อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน

โพสเมื่อวันที่ : 01 ก.พ. 2563,20:59 น.

ความเห็นที่ 1

โพสโดย
ต้น
[email protected]

สวัสดีครับ ผมได้อ่านบทความเกี่ยวกลับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระนี้ รู้สึกสนใจ ทางโรงเรียนสามารถเบิดเผยงานวิจัยชิ้นนี้แบบ full text ได้ไหมครับ พอดีจะนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำแผนบูรณาการ และอ้างอิงวิจัย ครับ 

โพสเมื่อวันที่ : 19 ก.ย. 2564,10:55 น.

วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
ความคิดเห็น :ชื่อ :อีเมล์ :เบอร์โทร :
วิจัยในชั้นเรียน เศรษฐกิจ พอ เพียง
กรอกรหัส :