ปิดหนี้ กรมบังคับคดี pantip

"บ้านกำลังจะถูกยึด ทำไงดี ?"

ปัญหาที่ระอุขึ้นมาหนักหน่วงและต่อเนื่องในช่วงนี้
คือการขาดสภาพคล่องของลูกหนี้
โดยเฉพาะหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องจ่ายทุกเดือน เช่น บ้าน-รถ
บางรายขาดส่งเกิน 3 เดือนไปแล้ว และกำลังจะถูกยึด !

ขอข้ามขั้นตอนการเจรจาก่อนฟ้องไปเลยนะครับ
เพราะเล่าไปหลายรอบแล้ว รวมถึงช่องทางช่วยเหลือ

วาร์ปไปขั้นที่ "บ้าน" ที่ถูกกรมบังคับคดีสั่ง "ยึดทรัพย์" กันเลย
ซึ่งน่าจะผ่านขั้นตอนหมายศาลเรียกเจรจากับเจ้าหนี้ไปแล้ว
แต่ไม่ได้ไปตามนัด หรือ ไปเจรจา แต่ก็ผิดนัดชำระอยู่ดี
ซึ่งสุดท้ายเจ้าหนี้ก็ต้องขออนุญาตกรมบังคับคดี
สั่ง "ยึดทรัพย์" และ "ขายทอดตลาด" เพื่อนำเงินมาใช้หนี้
เอาล่ะ นี่คือสิ่งที่ลูกหนี้ต้องเจอและต้องทำ


1.กรมบังคับคดีจะมีใบปิดประกาศ สั่งยึดทรัพย์-ขายทอดตลาด
เมื่อเราได้รับหมายนี้ สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากตกใจ คือ...
อ่านรายละเอียดของหมายให้ชัดเจน เช่น...
ชื่อ, โฉนดที่ดินที่จะมายึด, ราคาประเมิน และ หมายจากสำนักงานไหน
หากไม่ตรงหรือไม่ถูกต้อง ให้รีบไปยื่นเรื่องคัดค้านภายใน 7 วัน
เช่นเดียวกับราคาประเมิน หากต่ำเกินจริง ก็ยื่นคัดค้านได้ เช่น...
ซื้อบ้านมา 1 ล้านบาท ราคาประเมินในหมายแค่ 5 แสนบาท
ก็ให้รีบไปคัดค้าน เพื่อพิจารณาใหม่ (นำหลักฐานไปให้ครบ)

2.เรายังมีสิทธิเจรจากับเจ้าหนี้ได้อีกครั้ง
แม้จะยากกว่าเดิม เพราะเลยเถิดมาถึงขั้นบังคับยึดทรัพย์แล้ว
ซึ่งภาวะปกติ แทบจะเจรจาไม่ได้เลย แต่ตอนนี้ดีขึ้นหน่อย
เพราะมีแบงก์ชาติคอยช่วยอยู่ รีบติดต่อ โครงการต่าง ๆ เลย
เช่น ทางด่วนแก้หนี้, โครงการไกล่เกลี่ยหนี้ และ คลินิกแก้หนี้
อาจมีคำถามว่า "โครงการเหล่านี้ช่วยแค่เฉพาะ...
หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล-เช่าซื้อ ไม่ใช่หรอ"
แต่ลองก่อนก็ไม่เสียหายครับ เพราะมีหัวข้อหนี้อื่น ๆ ด้วย


3.ก่อนเจรจาให้สำรวจความสามารถตัวเองก่อน
หากระยะถัดไปไม่มีกำลังผ่อนต่อแล้ว
และราคาประเมินใกล้เคียงกับมูลหนี้คงค้าง
ปล่อยยึดไปก็คงจะดีกว่า ลดภาระยะยาว
ไม่ควรยึดติด ว่าอุตส่าห์ผ่อนมาตั้งนาน
ยื้อไปก็เป็นภาระ ไม่ตายก็หาใหม่ได้
บ้านคือที่อยู่อาศัย ดังนั้นเช่าอาศัย ก็อยู่ได้เหมือนกัน

หรือหากยังมีกำลังผ่อนต่อ ต้องขอเจรจาให้ถึงที่สุด
พร้อมด้วยหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือ
งวดที่ขาดส่งอาจจะต้องจ่ายทั้งหมดพร้อมเบี้ยปรับ
ก็ต้องหาเงินมาโปะให้เจ้าหนี้
เพื่อเพิ่มความรู้สึกเชิงบวกต่อเจ้าหนี้

โดยขั้นตอนเหล่านี้เรามีเวลาราว 3 เดือน
ก่อนจะประกาศขายทรัพย์ทอดตลาด

4.หากเจ้าหนี้ไม่ยอมเจรจา และ เลิกไว้ใจเราแล้ว
มี 2 กรณีมาแนะนำ คือ ...

4.1.อยากขายได้ราคาที่สูงกว่า "ทอดตลาด"
เพราะขาย "ทอดตลาด" จะขายเร็ว มากกว่าขายคุ้ม
ดังนั้นเราต้องรีบหาคนซื้อบ้าน จะวิธีไหนก็แล้วแต่
ลด แลก แจก แถม เพื่อให้เราได้ประโยชน์กว่า "ขายทอดตลาด"
เมื่อหาผู้ซื้อได้แล้ว ไปเจรจาพร้อมสัญญาจะซื้อจะขาย
บอกว่ากำลังขายบ้านแล้ว และจะปิดหนี้หลังขายเสร็จ

4.2.อยากเก็บบ้านไว้
วิธีนี้ต้องหาญาติ พี่น้อง หรือคนสนิท มาซื้อบ้านต่อ
โดยนำสัญญาจะซื้อจะขาย ไปเจรจาเช่นเคย

ซึ่งมีข้อแนะนำ 2 แบบในการจะขายต่อให้กลุ่มนี้
4.2.1.ขายแบบตรง ๆ นั่นแหล่ะ
4.2.2.ให้คนกลุ่มนี้ไปซื้อตอน "ขายทอดตลาด"
เพราะจะได้ราคาต่ำ (ราคาประเมินของกรมบังคับคดี)
โดยเข้าร่วมประมูล (มีมัดจำและค่าธรรมเนียมเข้าร่วม)
จุดนี้ดีอย่าง คือ หลังประมูลได้ สามารถขอพักชำระได้ 3 เดือน
คือ พอประมูลเสร็จ ร้องขอพักชำระ เพื่อเตรียมเงินมาซื้อได้
จะไปกู้แบงก์ หรือ ขายสินทรัพย์อื่น อะไรก็ได้
โดยนำหลักฐานไปยื่นขอหลังประมูลทรัพย์ได้
แต่...


ตอนประมูล "ขายทอดตลาด" อาจจะไม่ง่ายนัก
หากทำเลบ้านเรา เป็นที่สนใจของผู้ซื้อรายอื่น
นอกจากประมูลแข่ง ก็ต้องไปคุกเข่าขอร้อง
ผู้ประมูลรายอื่น ว่าขอเถอะ บ้านนี้เลี้ยงผีไว้ ไรก็ว่าไป ...
แต่คู่แข่งจะยอมหรือไม่ ไม่มีใครรับประกัน

ปิดหนี้ กรมบังคับคดี pantip

คำแนะนำเพิ่มเติมคือ ...
ตั้งแต่รับหมายสั่งยึดทรัพย์และขายทอดตลาด
หากต้องการยื้อเวลา และรักษาบ้านไว้
สิ่งที่ควรหาคือ ทนายความ เพื่อขอคำปรึกษาต่าง ๆ

แต่สิ่งที่ไม่แนะนำคือ การละเลย...
ปล่อยยึดไปเถอะ ไม่ผ่อนแล้ว
โดยไม่ดูสาระในหมายจากกรมบังคับคดี
เพราะบางครั้ง ราคาประเมินต่ำกว่าราคาจริง
ซึ่งหากขายแล้วได้เงินต่ำกว่ามูลหนี้คงค้าง
ท่านจะมีสิ่งที่เรียกว่า "ติ่งหนี้" ตามมาด้วย
เพราะยังมีส่วนต่างคงเหลือ
เจ้าหนี้ก็จะมาฟ้องเรียกเก็บเพิ่มจากเราอีก
มันไม่จบ...

ที่จริงตอนนี้ใครที่เริ่มสภาพคล่องขัดสน
ต้องเริ่มประเมินตนเองได้แล้ว รีบไปเจรจา
ขอพัก ขอลด ขอปรับโครงสร้าง อะไรก็ได้
เพราะตอนนี้เจรจาง่าย ก่อนที่จะเลยเถิดขั้นฟ้อง
คุยก่อนดีกว่า ยอมรับไปเลยว่าช่วงนี้ช็อต
มีวิธีช่วยเหลืออย่างไรบ้าง คุยบ่อย ๆ จนสำเร็จ

ทุกปัญหามีทางออก โดยเฉพาะเรื่องหนี้
อ้อ...หนังสือ "วิชาหนีหนี้" จำหน่ายแล้วนะ
ลองอ่านดู น่าจะปรับมุมมองการใช้เงินได้ดีเลย
เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ
หนึ่งเอง หนึ่งไง จะใครล่ะ ^^

ปิดหนี้บัตรเครดิตได้เมื่อไหร่ สบายใจแน่นอน! ข้อดีของบัตรเครดิตที่เราต่างรู้ดี คือช่วยอำนวยความสะดวกทางการเงิน เพราะไม่จำเป็นต้องพกเงินสดติดตัว ที่สำคัญคือไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่เวลาซื้อของ แต่หากใช้จ่ายเกินงบจนบานปลาย สะสมยอดค้างชำระจนเป็นยอดหนี้บัตรเครดิตที่น่าสะพรึง รวมกับดอกเบี้ยที่สูงจนสู้ไม่ไหว อาจสร้างปัญหาด้านการเงินที่คิดไม่ตก

เอาล่ะ ตั้งสติแล้วมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ทางการเงินกันเถอะ เพราะกรุงไทยมี 6 วิธีปิดหนี้บัตรเครดิตให้หมดไวและใช้ได้ผลมาแนะนำ เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น ยกความเครียดออกไปจากอกได้ทันที

1. ปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้

หากคุณถือบัตรเครดิตอยู่หลายใบ ให้เริ่มต้นจากปิดบัตรเครดิตที่มีแต่ไม่ได้ใช้เป็นอันดับแรก เพราะหากยังถือบัตรเครดิตที่สามารถรูดจ่ายได้เหมือนเดิม อาจกลายเป็นการสร้างภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ปัญหาติดหนี้บัตรเครดิตยังไม่ได้รับการแก้ไข

ทั้งนี้ธนาคารต่างๆ จะออกมาตรการเพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้อยู่แล้ว โดยลูกหนี้มีทางเลือกในการชำระหนี้มากขึ้น และจะได้รับข้อเสนอที่ผ่อนปรนลงและทำได้จริง


2. เจรจากับธนาคารเจ้าของบัตร

ตรงไปธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตเพื่อเจรจาปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ซึ่งจะเกิดผลดีในการวางแผนการจ่ายหนี้ของคุณ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ยอมชำระหนี้ เมื่อดอกเบี้ยสะสมจนกลายเป็นหนี้ที่จ่ายไม่ไหวก็อาจถูกดำเนินคดีได้

ข้อดีของการเจรจากับธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต

  • ช่วยขยายระยะเวลาผ่อนชำระ
  • ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย
  • หยุดการคิดอัตราดอกเบี้ยชั่วคราว
  • ลดหนี้ค้างชำระบางส่วน

3. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว เพื่อทยอยชำระ

กางหนี้ของบัตรเครดิตแต่ละใบให้เห็นกันชัดๆ เพื่อเช็คยอดค้างจ่ายและดอกเบี้ยของแต่ละบัตรต่อปี จากนั้นให้ประเมินว่าเราสามารถชำระหนี้ขั้นต่ำได้จำนวนเท่าไหร่ต่อเดือน

ปิดหนี้ กรมบังคับคดี pantip


แนวทางการทยอยชำระหนี้

  • พยายามปิดหนี้บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน เพราะเป็นหนี้ที่สร้างภาระมากที่สุด
  • ถ้ามีดอกเบี้ยสูงสุดเท่ากันสองรายการ ให้เลือกนําเงินไปปิดหนี้ก้อนที่เหลือน้อยกว่าก่อน เพื่อโปะหนี้ให้หมดทีละรายการ
  • อย่ากระจายเงินใช้หนี้ไปหลายก้อน เพราะจะทําให้ภาระหนี้ต่อเดือนไม่ลดลง
  • เลือกนำเงินก้อนไปโปะหนี้ที่ลดต้นลดดอกก่อน จะได้เป็นการลดภาระดอกเบี้ยต่อเดือนให้น้อยลงด้วย

4. ซื้อของด้วยเงินสดและซื้อเฉพาะของที่จำเป็น

หากคุณเป็นคนที่ใช้จ่ายด้วยการรูดบัตรเครดิตจนติดเป็นนิสัย อาจจะต้องลองเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการใช้จ่ายด้วยเงินสดมากขึ้น ข้อดีข้อแรกคือไม่เพิ่มหนี้บัตรเครดิตใหม่ให้เพิ่มขึ้น

ข้อถัดมาคือ การใช้เงินสดทำให้เห็นจำนวนเงินที่มี และทำให้กล้าใช้เงินน้อยลง นอกจากนี้ต้องใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นไปก่อน เพื่อให้เหลือเงินใช้หนี้มากขึ้น


5. วางแผนทางการเงินอย่างจริงจัง

การบันทึกรายรับและรายจ่ายอาจดูเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากในแต่ละวัน แต่สำหรับคนที่ติดหนี้บัตรเครดิตจะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะทำให้คุณรู้ว่าค่าใช้จ่ายรายเดือนของตัวเองอยู่ในส่วนไหนบ้าง

และเมื่อเราเห็นตัวเลขของรายรับและรายจ่ายทั้งหมดจะสามารถนำมาจัดลำดับความสำคัญ ตัดบางรายการที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อนำเงินมาลดภาระหนี้จากบัตรเครดิตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย และที่สำคัญควรเขียนเป้าหมายทางการเงินไว้ตัวโตๆ ว่า “เราจะปิดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดให้สำเร็จ!”

ปิดหนี้ กรมบังคับคดี pantip


6. กู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยต่ำ

หลังจากวางแผนทางการเงินอย่างจริงจังแล้ว การมีเงินก้อนมาโปะหนี้บัตรเครดิตก็เป็นอีกหนึ่งทางออกของปัญหานี้ โดยสามารถกู้เงินออนไลน์การหรือเลือกกู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยต่ำจะได้เงินก้อนที่สามารถนำมาปิดหนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าได้

กรุงไทยอยากให้คุณปิดหนี้บัตรเครดิตได้สำเร็จ จึงออกแบบ 3 สินเชื่อส่วนบุคคลดอกเบี้ยต่ำ ที่กู้ง่าย อนุมัติไว ให้คุณมีเงินก้อนไปปิดหนี้ได้

กรุงไทยหวังว่า 6 วิธีข้างต้นจะช่วยให้คุณปิดหนี้บัตรเครดิตได้ตามแผนที่วางไว้ และปิดได้หมดไวอย่างที่ตั้งใจ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้านการเงินได้อีกครั้ง