บริษัทที่ใช้ blockchain ในไทย

Blockchain คืออะไร

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่มีคนพูดถึงกันมากว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงโลกเหมือนที่อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนโลกในยุค 1990 ซึ่งมีการเปรียบเทียบว่า Blockchain ตอนนี้สภาพเหมือนกับอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น ซึ่งภาคการเงินของประเทศนั้นไม่สามารถปล่อยผ่านเรื่องนี้ไปได้จึงได้มีการนำไปศึกษาอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อเป็นการลองทำดูว่าเราจะสามารถนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับเรื่องต่างๆได้อย่างไร และแม้ว่าวันนี้อาจจะยังไม่มีการประยุกต์ใช้ในลักษณะที่เห็นเป็นรูปธรรมมากนักก็ตาม แต่ก็นับเป็นก้าวที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่อไป

Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมต่างๆ โดยการตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ออกไป ทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลงและอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่างๆอาจไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไปในอนาคต หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์

ขณะที่ Blockchain ไม่เพียงมีบทบาทอยู่แค่การทำธุรกรรมทางการเงินหรือแค่ระบบทางการเงินเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่นๆได้อีกด้วย เช่น การเก็บสถิติการเลือกตั้งให้มีความโปร่งใสมากขึ้น การให้ยืม Cloud Storage ระหว่างกัน บริการ Co-location ระบบ Peer to Peer Lending ระบบบันทึกประวัติทางการแพทย์ ระบบจัดเก็บกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่างๆ เช่น ทะเบียนรถ, โฉนดที่ดิน, หุ้น, ระบบแต้มส่งเสริมการขายอย่าง The One Card หรือ Stamp 7-11 และอื่นๆอีกมากมาย ถ้าเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี Blockchain ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบและลดต้นทุนในการขยายระบบได้อย่างมหาศาล

ปัจจุบันเหล่าธนาคารเองก็ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในการทำ Blockchain มากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดเหล่าสถาบันการเงินอย่างธนาคาร Citibank ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ รวมไปถึงบริษัท VISA ก็ได้เข้าลงทุนในบริษัท Blockchain ชั้นนำอย่าง Chain.com เพื่อแนวทางรักษาตลาดเทคโนโลยีนี้เช่นกัน

Blockchain ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักสำคัญ คือ

1.กล่องเก็บข้อมูล หรือ Block ทำหน้าที่กระจายไปให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเก็บเอาไว้ โดยข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ และทุกๆ ครั้งที่มีการทำธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นจะมีการสร้างกล่องใหม่ขึ้นมา 2.จากนั้นจึงนำกล่องมาผูกเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Chain โดยการผูกด้วยวิธี Hash Function ซึ่งเปรียบเสมือนลายนิ้วมือของไฟล์ที่ใช้ในการ Verify หรือยืนยันความถูกต้องจากข้อมูลที่แต่ละคนถือเอาไว้ ถือเป็นตัวแทนของข้อมูลต้นฉบับ ซึ่งค่าที่ได้จากการ Hash นี้มีโอกาสที่ซ้ำกันยากมาก จึงเป็นคุณสมบัติที่เชื่อมั่นได้ในการนำมาใช้ยืนยัน (Verify) ข้อมูลที่แต่ละบุคคลถือไว้ 3.การตกลงร่วมกัน หรือ Consensus เพื่อกำหนดข้อตกลงที่ต้องเห็นพ้องร่วมกันด้วยอัลกอริทึมต่างๆ แล้วแต่การตกลง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องกฎและเครื่องมือที่ใช้ในเครือข่ายของผู้ใช้ 4.ขั้นตอนการตรวจสอบ หรือ Validation เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นร่วมกัน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อมีการทำธุรกรรมใดๆเกิดขึ้นจะสร้างกล่องใหม่ขึ้น จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเชื่อมโยงกล่องนั้นเข้ากับห่วงโซ่เดิมที่ผูกรวมกัน โดยมีการยืนยันตัวเองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น ซึ่งข้อมูลธุรกรรมที่สร้างใหม่จะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ใช้คนอื่นๆในห่วงโซ่ผ่านข้อตกลงที่มีร่วมกันก่อนหน้านี้ และระบบจะทำการตรวจสอบ กระนั้นจึงทำให้เทคโนโลยี Blockchain ได้รับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและความถูกต้องสูง

บริษัทที่ใช้ blockchain ในไทย
ที่มา: https://www.g-able.com/digital-review/digital-transformation/cybersecurity/blockchain

.

ข้อดีของ Blockchain ยกตัวอย่างเช่น

1.Blockchain เปรียบเสมือนการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งสามารถแชร์ไปได้เป็นห่วงโซ่ หรือ Chain โดยที่ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของของข้อมูลนั้นๆ ดังนั้นเมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain ไม่สามารถถูกปลอมแปลงหรือถูกแก้ไขได้ และสามารถติดตามลำดับการบันทึกข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้อย่างโปร่งใส จึงทำให้ยากต่อการทุจริตเพราะข้อมูล

2.ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในกล่องที่อยู่บน Blockchain จะไม่ถูกควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่ง จะถูกกระจายไปจัดเก็บบนฮาร์ดแวร์หลายๆเครื่อง ซึ่งเราจะเรียกฮาร์ดแวร์ต่ละชุดนี้ว่า Node เมื่อจุดใดจุดหนึ่งเล็กๆในระบบเสีย จะไม่ส่งผลทำให้ระบบทั้งระบบล่ม

3.เมื่อธุรกรรมหรือสัญญาถูกจัดเก็บในรูปของข้อมูล การนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อบังคับให้ทำตามสัญญาหรือธุรกรรมต่างๆเหล่านั้นก็สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ และยังนำไปประยุกต์ใช้รูปแบบอื่น เช่น การแจ้งเตือนเมื่อสัญญากำลังจะหมดอายุได้ เป็นต้น และเมื่อการทำธุรกรรมหรือสัญญาเหล่านี้ไม่ต้องมีตัวกลาง ก็จะสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกมาก

4.รองรับการเข้ารหัสสำหรับข้อมูลแต่ละชุดได้ ดังนั้นถึงแม้ข้อมูลของเราจะถูกกระจายไปยัง Node อื่นๆ และอาจถูกบางคนมองเห็น แต่คนอื่นๆก็จะไม่สามารถถอดรหัสข้อความของเราได้ นอกจากตัวเราเองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเหล่านี้ที่เราอนุญาตให้เข้าถึงได้เท่านั้น

บริษัทที่ใช้ blockchain ในไทย

ที่มา: https://siambc.com/what-is-blockchain/

การประยุกต์ใช้ Blockchain ยกตัวอย่างเช่น

สำหรับการใช้ในองค์กรที่มีการใช้ระบบ ERP (ERP, WPS, MES, CRM) สามารถนำ Blockchainมาใช้ เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงิน การติดตามการซื้อและจัดส่งผลิตภัณฑ์ การดูแลลูกค้า ฯลฯ โปร่งใสและน่าเชื่อถือ จนลดข้อพิพาท เพิ่มความพึงพอใจขอลูกค้า และสามารถติดตามข้อมูลและใช้สำหรับการอ้างอิงได้ทุกเวลาไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้งานจริงในปัจจุบันแล้ว เช่น

งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น การเงินโดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆได้เลย ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย และในอุตสาหกรรมประกันภัย Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย

งานในธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือบุคคลต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลการบริจาคเงินตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และลดค่าใช้จ่าย

งานติดตามสินค้าต่างๆ เช่น การติดตามเส้นทางขนส่งของอาหารสด ตั้งแต่วัตถุดิบออกจากฟาร์มไปสู่ลูกค้า กำหนดวันหมดอายุ การสืบสวนปัญหาต่างๆ

งานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น โตโยต้า ได้นำBlockchain มาพัฒนาการเก็บข้อมูลที่ได้จากผู้ผลิตรถยนต์และผู้ใช้งานรถยนต์กว่าพันล้านข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงความปลอดภัยของเทคโนโลยีไร้คนขับให้มีประสิทธิภาพ

งานสำรองข้อมูลย้อนหลัง ให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกทำลายหรือไม่ถูกเปลี่ยนแปลง สามารถใช้ Blockchain ในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการสำรองเอาไว้ได้ หรือ บริการการจัดเก็บเอกสารสำหรับใช้ทำสัญญาโดยเฉพาะ

งานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น Muse Blockchain ได้สร้างแพลตฟอร์ม Streaming ชื่อว่า Peer Tracks ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังศิลปินได้ นอกจากจะช่วยเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ยังช่วยตัดคนกลางออกไป ทำให้ศิลปินได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น

งานด้านการแพทย์ ใช้ Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค แทนการเช็คแฟ้มประวัติคนไข้หรือโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วย

.

สรุป

ดังนั้นการปรับตัวขององค์กรที่มีการใช้ระบบ Blockchain จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้องค์กรพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตที่จะมีระบบ Blockchain ใช้กันอย่างแพร่หลาย ความสำเร็จของ Blockchain จะสามารถพลิกสถานะการให้บริการด้านการเงินในโลกดิจิทัลได้หรือไม่นั้น การหาพาร์ทเนอร์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับระบบความซับซ้อนและความหลากหลายในทุกระดับการใช้งานไม่ว่าเล็กหรือใหญ่นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาไอเดียทางธุรกิจเหล่านี้ต่างเคยถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง หากแต่ปัจจุบันเรื่องเช่นนี้ได้กลายเป็นตัวกำหนดผู้ชนะในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการมองว่าเทคโนโลยีดิจิทัล (ซอฟต์แวร์) คือตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่นั่นเอง

.

ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ | สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

.

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.infosys.com/Oracle/white-papers/Documents/integrating-blockchain-erp.pdf

https://www.uih.co.th/th/knowledge/blockchain-is

https://www.peerpower.co.th/blog/invest/six-industries-apply-blockchain-technology-2018/

https://siambc.com/what-is-blockchain/

https://medium.com/kiptopotamus/blockchain

https://aommoney.com/stories/tarkawin/blockchain

https://siamblockchain.com/2017/06/04/blockchain

https://www.techtalkthai.com/introduction-to-blockchain-for-everyone-in-5-minutes/

ลูกค้า Blockchain รายแรกของประเทศไทยคือบริษัทใด

เมื่อปลายปี 2017 ทางธนาคารกรุงศรีฯ ได้ลองนำนวัตกรรม Krungsri Blockchain Interledger มาให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจ ซึ่งถือเป็นลูกค้า Blockchain รายแรกของไทย ระหว่างบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กับคู่ค้าในต่างประเทศของไออาร์พีซี ซึ่งมีผลตอบรับจากกลุ่มธุรกิจค่อนข้างดี

ธุรกิจใดสามาาถนำ Blockchain มาใช้ได้

ตัวอย่างการใช้ Blockchain ในธุรกิจการแพทย์จริง เช่น Patientory สตาร์ทอัพสายสุขภาพนำ Blockchain มาใช้ในการเก็บข้อมูลสำคัญทางการแพทย์ของผู้ป่วย หรือ Farmatrust สตาร์ทอัพจากลอนดอนที่ใช้ Blockchain ในการตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลของยา และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

Blockchain ใช้กับธุรกิจอะไรบ้าง

รวม 20 ภาคธุรกิจกับการนำ Blockchain มาใช้พร้อมกรณีศึกษา.
1. การเงินการธนาคาร.
2. ระบบการชำระและโอนเงิน.
3. Cybersecurity..
4. สถาบันการศึกษา.
5. Voting..
6. ระบบการเช่าและซื้อขายรถ.
7. Networking และ IoT..
8. งานวิจัยและคาดการณ์ (Forecasting).

งานแบบไหนที่เหมาะกับ Blockchain

เราสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน เช่น Supply chain, การเงิน, อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน โดยบริษัทและบุคคลสามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายและความไม่ชัดเจนในการโต้ตอบกับบุคคลที่สามในการดำเนินธุรกิจได้โดยการนำ Smart Contract มาใช้