ประเทศที่เวลาเร็วกว่าไทย 7 ชั่วโมง

ประเทศที่อยู่ในเขตภาคเวลาเดียวกันกับประเทศไทยจะใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน เช่น ประเืทศลาว กัมพูชา ส่วนประเทศที่อยู่ต่างเขตภาคเวลากับประเทศไทยจะใช้เวลามาตรฐานต่างกัน เช่น ประเทศอินเดีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ทั้งนี้ประ้เทศที่อยู่ด้านตะวันตกของประเทศไทยจะมีเวลาช้ากว่าประเทศไทย ส่วนประเทศที่อยู่ทางด้านตะัวันออกของประ้เทศไทยจะมีเวลาเร็วกว่าประเทศไทย

ตารางเทียบเวลาประเทศไทยกับต่างประเทศ

ประเทศเร็วกว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง)ช้ากว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง)ประเทศเร็วกว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง)ช้ากว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง)Afghanistan2 ชั่วโมงครึ่งItaly6 ชั่วโมงAlgeria6 ชั่วโมงJamaica 12 ชั่วโมงAngola6 ชั่วโมงJapan2 ชั่วโมงAustraliaJordan5 ชั่วโมง  เมือง Adilade2 ชั่วโมงครึ่งKenya4 ชั่วโมง เมือง Canberra,
Melbourne3 ชั่วโมงKuwait4 ชั่วโมง  เมือง Perth 1 ชั่วโมงLebanon 5 ชั่วโมง  เมือง Sydney 3 ชั่วโมงMalaysia1 ชั่วโมงAustria6 ชั่วโมงMexico13 ชั่วโมงBarrain4 ชั่วโมงNetherlands 6 ชั่วโมงBangladesh1 ชั่วโมงNew Zealand5 ชั่วโมงBelgium 6 ชั่วโมงNigeria6 ชั่วโมงBelize13 ชั่วโมงNorway6 ชั่วโมงBrazilPakistan2 ชั่วโมง   เมือง  Brasilia10 ชั่วโมงPhilipines 1 ชั่วโมง   เมือง Rio de    Janeiro,Sao Paolo10 ชั่วโมงPoland6 ชั่วโมงCanadaPortugal7 ชั่วโมง   เมือง Montreal ,Toronto12 ชั่วโมงSaudi Arabia4 ชั่วโมง   เมือง Vancouver15 ชั่วโมงSingapore1 ชั่วโมง เกาะ Cayman12 ชั่วโมงSouth Africa5 ชั่วโมง

ที่มา : http://khulekthawara-2.blogspot.com/2012/01/blog-post_02.html เขียนโดย Wimon Rodsuka ที่ 20:04

เริ่มจากประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่ปี ค.ศ.2017 คือ “หมู่เกาะซามัว” มีพื้นที่ 3,030 ตารางกิโลเมตร โดยหมู่เกาะซามัวตั้งอยู่ห่างจากฟิจิประมาณ 800 กิโลเมตร จากตองกา 530 กิโลเมตร จากนิวซีแลนด์ 2,900 กิโลเมตร และ 4,000 กิโลเมตรจากรัฐฮาวาย ประชากรหมู่เกาะซามัวมีประมาณ 250,000 คน

ส่วนประเทศนิวซีแลนด์ เป็นเมืองใหญ่เมืองแรกของโลก ที่ก้าวสู่ปีใหม่ เพราะนิวซีแลนด์เวลาเร็วกว่าไทย 6 ชั่วโมง ตามมาด้วยออสเตรเลียเวลาห่างจากไทย 4 ชั่วโมง และเป็น 2 ประเทศที่จัดงานเฉลิมฉลองปีใหม่สุดยิ่งใหญ่

ขณะที่ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก อย่าง ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีเวลาเร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมงก็จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ก่อนไทย ต่อด้วยประเทศที่มีเวลาเร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง ได้แก่ ประเทศจีน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

สำหรับประเทศที่เฉลิมฉลองปีใหม่พร้อมกับไทย คือ ประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา และลาว

ส่วนประเทศที่ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ช้ากว่าไทย คือ ประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น บังกลาเทศ และศรีลังกา ซึ่งมีเวลาช้ากว่าไทย 1 ชั่วโมง หมายความว่า ประเทศไทยเป็นเวลา 01.00 น. (1 ม.ค.) จะตรงกับประเทศดังกล่าวเวลา 24.00 น. ถัดมาอีก 1 ชั่วโมงจะเป็นการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน มอริเชียส และโอมาน ต่อด้วยประเทศอิหร่าน รัสเซีย อิรัก คูเวต ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ ที่จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ไปพร้อมๆ กับหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น เคนยา ซูดาน เอธิโอเปีย แทนซาเนีย

ประเทศที่เวลาเร็วกว่าไทย 7 ชั่วโมง

หลังไทยก้าวเข้าสู่ปีใหม่ได้ 5 ชั่วโมงแล้ว ประเทศอียิปต์ ตุรกี แอฟริกาใต้ และประเทศในยุโรปตะวันออกอีกหลายประเทศ เช่น กรีซ โรมาเนีย เบลารุส เอสโตเนีย และฟินแลนด์ ซึ่งมีเวลาช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมงก็จะเข้าสู่ปีใหม่

ขณะที่ประเทศอังกฤษ คนลอนดอนจะเข้าสู่ปีใหม่ในเวลา 7 โมงเช้าของวันที่ 1 ม.ค.ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเที่ยงตรง หรือ 12.00 น.ไทมส์ สแควร์ นิวยอร์ก ของสหรัฐฯ จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่ และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่มาก 2 ฝั่งประเทศมีเวลาต่างกัน ถึง 4 ช่วงเวลา ซึ่ง 2 รัฐสุดท้ายที่ได้ฉลองปีใหม่ คือ รัฐอลาสกา และฮาวาย

ประเทศที่เวลาเร็วกว่าไทย 7 ชั่วโมง

ที่ไล่เรียงการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ให้ทราบกันพอสังเขป เพื่อจะบอกว่าแต่ละประเทศที่ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ไม่พร้อมกัน มีสาเหตุมาจากโลกหมุนรอบตัวเอง ซีกหนึ่งของโลกจึงเป็นกลางคืนในขณะที่อีกซีกหนึ่งเป็นกลางวัน ดังนั้นความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งหมด 25 ประเทศในปี ค.ศ.1884  จึงได้มีการกำหนดเขตแบ่งเวลากันขึ้น หากลากเส้นแบ่งที่กึ่งกลางโลกไปบรรจบกันเป็นวงกลม เส้นนี้จะเรียกว่า อีเควเตอร์ (Equator) ที่ประชุมได้แบ่งจากเส้นนี้ ออกไปอีก 24 เส้นจากทั้งหมด 360 องศารอบโลก นั่นหมายความว่า แต่ละเส้นจะห่างจากเส้นที่อยู่ติดกัน 15 องศา (360หาร24 = 15) โดยเริ่มนับเส้นแรกจากเส้นเวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษแต่ละเส้นจากทั้งหมด 24 เส้น จะเป็นการแสดงความแตกต่างของเวลาหนึ่งชั่วโมง

ประเทศไทย จะอยู่ในราวเส้นที่ 105 องศาตะวันออก หากหารด้วย 15 ก็จะได้เส้นแบ่งเวลาออกมาเป็นเส้นที่ 7 หมายความว่า เวลาในประเทศไทย จะล้ำหน้าเวลาในอังกฤษอยู่ 7 ชั่วโมง ส่วนสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหญ่จะมีการแบ่งเขตเวลาภายในประเทศออกเป็น 4 เขตด้วยกัน คือ ตะวันออก ภาคกลาง เทือกเขา และ แปซิฟิก เช่น เวลา 19.00 น. (7 p.m.) เวลาตะวันออก จะเป็น 18.00 น. (6 p.m.) เวลาภาคกลาง เป็น 17.00 น. (5 p.m.) เวลาเทือกเขา และเป็นเวลา 16.00 น. (4 p.m.)  เวลาแปซิฟิก

วันและเวลาของโลกปฏิสัมพันธ์กับเส้นลองจิจูด  โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เป็นมุม 360 องศา นำ 24 ไปหาร 360 จะได้ว่าโลกหมุนไปได้ชั่วโมงละ 15 องศา / นาทีละ 15 ลิปดา / วินาทีละ 15 ฟิลิปดา ดังนั้นค่าลองจิจูด หรือเส้นเมอริเดียนจะทำให้เราคำนวณเวลาทั้ง  24 เขตของโลก  การแบ่งเวลาของโลกโดยแบ่งออกเป็น 24 เขต แต่ละเขตมีความกว้าง 15 องศาลองจิจูด หรือ เวลา 1 ชั่วโมง โดยเขตแรกมีเส้นเมอริเดียนแรก หรือเมอริเดียน 0 องศา ผ่านเมืองกรีนิชเป็นแกนกลาง เขตเวลาของโลกจะนับตามลองจิจูดใดก็ตาม ถ้านับไปทางตะวันออก จะเร็วกว่าทางตะวันตก และถ้านับไปทางตะวันตกจะช้ากว่าเวลาทางตะวันออก

ประเภทของเวลา

1.เวลามาตรฐานสากล(Greennich Mean Time) เวลาที่ลองจิจูด 0 องศา / เวลามาตรฐานกรีนิช

2.เวลามาตรฐาน(Standard time)โดยแต่ละประเทศจะกำหนดเวลาประเทศของตน ยึดหลักตามลองจิจูดหลักของเขตเวลาของโลกที่ผ่านประเทศของตน เช่น ประเทศไทยกำหนดเวลามาตรฐานตามเวลาที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากล 7 ชั่วโมงการนับเวลามาตรฐานของประเทศจะเท่ากันทั่วประเทศ แต่สำหรับประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ก็มีเวลาหลายเวลาตามแต่ละเขตพื้นที่ เช่น อเมริกา และรัสเซีย เป็นต้น

3.เวลาท้องถิ่น (Local time) เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านบริเวณนั้นจริงๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ที่ 105 องศาตะวันออก ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 7 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ลองจิจูดที่ 100 องศาตะวันออกจึงมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 6 ชั่วโมง 40 นาที เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านจริงนี้ เรียกว่า เวลาท้องถิ่นเส้นที่เกี่ยวข้องกับเวลาที่สำคัญเส้นแบ่งเขตวันสากล ( International Date Time) โดยกำหนดประมาณที่เส้นลองจิจูดที่ 180 เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากลแต่มีการเลี่ยงให้เส้นเขตวันนี้ผ่านเฉพาะพื้นน้ำ เพื่อขจัดปัญหาการมี 2 วันบนเกาะเดียวกัน ดังนั้นเส้นเขตวันนี้จึงไม่เป็นเส้นตรงตามเส้นเมอริเดียน 180 ตลอดทั้งเส้น อีกทั้งถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันตกต้องนับวันลดลง 1 วัน และถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันออกจะต้องนับวันเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน

ประเทศอะไรช้ากว่าไทย 7 ชั่วโมง

เมื่อถึงเวลา 6 โมงเช้าของบ้านเรา ก็ถึงคิวประเทศในยุโรปตะวันตก ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี (ช้ากว่าไทย 6 ชั่วโมง) ตามด้วย อังกฤษ (ช้ากว่าไทย 7 ชั่วโมง)

ประเทศไหนเร็วกว่าไทย

เวียดนาม กัมพูชา ลาว ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเรา ก็มีเวลาที่เท่ากับประเทศไทยเลยค่ะ.
ฮ่องกง มาเก๊า จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ บาหลี มีเวลาที่เร็วกว่าประเทศ 1ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ.
ญี่ปุ่น เกาหลี มีเวลาที่เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมงค่ะ.

ประเทศอะไรเวลาเร็วกว่าไทย6ชม

เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ (ในคืนวันอาทิตย์สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน) นิวซีแลนด์ทั้งประเทศจะพร้อมใจกันหมุนนาฬิกาไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง (Spring = forward) ทำให้จาก GMT+12 กลายเป็น GMT +13 ทำให้เวลาในนิวซีแลนด์เร็วกว่าเวลาในประเทศไทย 6 ชั่วโมง ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคมของปีถัดไป