คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คณิตศาสตร์ 2560

การพัฒนาผู้เรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Posted on ตุลาคม 2, 2019ตุลาคม 2, 2019 by ครูอิ๋ง


การพัฒนาผู้เรียน (Student Development)ต้องพัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งด้านความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และด้านการปรับตัวเข้ากับสังคม รวมทั้งการพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ความหมายของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณภาพของผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากสภาพของสังคม และการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งทำให้มีความจำเป็นต้องเน้นและปลูกฝังลักษณะดังกล่าวให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนทุกคนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา และคุณธรรม อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงสงบสุขในสังคม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ

แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Share this:

  • Twitter
  • Facebook
  • Print

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ผู้เขียน: ครูอิ๋ง

สุภัทรา บุญยิ่ง ครู โรงเรียนเลิงนกทา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร View All Posts

3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์

3.1 ทำงานอย่างเป็นระบบ

3.2 มีระเบียบวินัย

3.3 มีความรอบคอบ

3.4 มีความรับผิดชอบ

3.5 มีวิจารณญาณ

3.6 มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3.7 ตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

3.1.1 มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเรียงลำดับความสำคัญอย่างเหมาะสม

3.1.2 ปฏิบัติงานครบทุกขั้นตอน

3.2.1 ปฏิบัติตนอยู่ในข้อตกลงที่กำหนดไว้

3.2.2 ผลงานมีความสะอาดเรียบร้อย

3.3.1 ปฏิบัติงานทุกขั้นตอนด้วยความรอบคอบ

3.4.1 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติเป็นนิสัย

3.4.2 ส่งงานก่อนหรือตรงกำหนดเวลานัดหมาย

3.5.1 ปฏิบัติงานครบทุกขั้นตอนที่จำเป็น โดยสามารถตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก

3.5.2 เลือกใช้วิธีดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม

3.6.1 มีหลักฐานแสดงถึงความเชื่อมั่นในตนเองขณะดำเนินงานและนำเสนอผลงาน

3.7.1 มีหลักฐานแสดงถึงความชื่นชมในคณิตศาสตร์

3.7.2 มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

3.7.3 มีความสนใจในการค้นคว้าหาความรู้ทางคณิตศาสตร์รายการประเมิน พฤติกรรม / การแสดงออก