การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 8 ด้าน

การเลี้ยงดูเด็กในยุคหนึ่งพ่อแม่ให้ความสำคัญกับ IQ หรือความฉลาดทางสติปัญญามากเป็นพิเศษ เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป ก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ควบคู่ไปด้วย ต่อมาเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลก็ปรากฏความฉลาดอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เด็กในยุคใหม่ต้องเรียนรู้ นั่นก็คือ ความฉลาดทางดิจิทัล หรือ Digital Intelligence Quotient เรียกสั้นๆ ว่า DQ นั่นเองค่ะ

DQ คืออะไร ทำไมเด็กยุคใหม่ต้องมี

ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) คือ กลุ่มของความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายบนเส้นทางของชีวิตในยุคดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อ และการเข้าสังคมในโลกออนไลน์

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กๆ ในยุคนี้เติบโตมากับอุปกรณ์ดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต ซึ่งการรับรู้ข้อมูลผ่านโลกดิจิทัลนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับยุคที่เราเติบโตมา เด็กในยุคนี้คุ้นเคยกับการรับส่งข้อมูลโดยไม่ต้องเห็นหน้า สื่อสารผ่านตัวหนังสือ และอีโมติคอน นอกจากนี้ พวกเขายังมีโลกทั้งใบอยู่ในมือ ด้วยการใช้สมาร์ทโฟนค้นหาทุกอย่างที่อยากรู้ ทำทุกอย่างผ่านโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว แม้ว่า IQ และ EQ จะยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ DQ ก็เป็นทักษะที่จำเป็นต้องเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อให้เด็กๆ มีความสามารถอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย 

8 ทักษะต้องสร้าง สู่การพัฒนา DQ 

ข้อมูลจากหนังสือ ความฉลาดทางดิจิทัล โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ระบุว่า ความฉลาดทางอารมณ์ คือการพัฒนาตนเองให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) โดยจะต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็น 8 ประการ 

1.ทักษะการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง : อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะบุคลที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนๆ นั้น ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในโลกออนไลน์หรือในชีวิตจริง ก็ควรมีอัตลักษณ์เชิงบวก มีวิจารณญานในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น รับผิดชอบต่อการกระทำ ไม่ละเมิด คุกคามผู้ใช้งานออนไลน์คนอื่นๆ พ่อแม่ช่วยลูกสร้างอัตลักษณ์ที่ดีได้โดย

  • สร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้ลูก ให้เขาเห็นคุณค่าในตนเอง เพราะการเห็นคุณค่าในตนเองจะช่วยพัฒนาอัตลักษณ์ที่ดีและมั่นคงได้
  • สนับสนุนให้ลูกเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในชีวิตจริง เพื่อให้เขาเรียนรู้การรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตน ซึ่งจะส่งผลต่ออัตลักษณ์ที่ดีในโลกออนไลน์ได้
  • ไม่เปรียบเทียบหรือทำให้ลูกสูญเสียความมั่นใจ เด็กๆ ที่ถูกเปรียบเทียบ ไม่มั่นใจในตนเอง มีแนวโน้มที่จะสร้างอัตลักษณ์ปลอมในโลกออนไลน์ได้

2.ทักษะการคิดวิเคราะห์ : การคิดวิเคราะห์เป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเป็นพลเมืองดิจิทัล เพราะในโลกออนไลน์มีข้อมูลข่าวสารมากมายที่จำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์กลั่นกรองก่อนว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งยังต้องสามารถแยกแยะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกจากข้อมูลที่เป็นอันตราย รู้เท่าทันไม่ตกเป็นเครื่องมือของปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ พ่อแม่ช่วยให้ลูกมีทักษะการคิดวิเคราะห์ได้ ดังนี้

  • ฝึกให้ลูกหมั่นตั้งคำถาม ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แต่ควรตรวจสอบแหล่งที่มา และหาข้อมูลเพิ่มเติมจนมั่นใจก่อนปักใจเชื่อ 
  • สอนวิธีการหาข้อมูลที่ถูกต้อง เว็บไซต์แบบใดเชื่อถือได้ เว็บไซต์แบบใดไม่น่าไว้วางใจ รวมทั้งสอนลูกใช้ Search engine การคีย์คำค้นหาที่เหมาะสม

3.ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ : การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องรู้จักขอบเขตการใช้งาน และรู้วิธีป้องกันความเสียหายของข้อมูล และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ จากไวรัสและมัลแวร์ที่อาจส่งผลต่อระบบปฏิบัติการณ์ พ่อแม่สอนให้ลูกมีทักษะรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ได้ ดังนี้

  • ชวนให้เด็กๆ ศึกษาเรื่องการดูแลอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ เบื้องต้น รู้ว่าเว็บไซต์แบบใดที่ไม่ปลอดภัยอาจทำให้ระบบปฏิบัติการณ์ของเครื่องเสียหาย ควรหลีกเลี่ยง 
  • บอกให้ลูกเข้าใจว่า ข้อมูลส่วนตัวของเราสามารถถูกโจรกรรมได้ ดังนั้น นอกจากระวังไม่เผยแพร่ข้อมูลของตนเองแล้ว ก็ต้องดูแลอุปกรณ์ดิจิทัลของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน สมาร์ทวอช ฯ ควรถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัว ไม่ควรแชร์กับใคร

4.ทักษะการรักษาข้อมูลส่วนตัว : เด็กๆ ควรเข้าใจว่า โซเชียล มีเดีย ต่างๆ เป็นพื้นที่ส่วนตัว ที่อยู่บนแพลตฟอร์มสาธารณะ ถึงแม้จะตั้งค่าให้เห็นแค่เพื่อนและคนรู้จัก แต่ก็มีโอกาสที่ภาพ ข้อมูล หรือข้อความที่เราแชร์อาจหลุดออกไปสู่สาธารณะได้ การใช้โซเชียล มีเดีย จึงจำเป็นต้องระวังรักษาข้อมูลของตนเองตลอดเวลา พ่อแม่สอนเด็กๆ ให้รักษาข้อมูลส่วนตัวได้ ดังนี้

  • สอนลูกให้เข้าใจเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวของแต่ละแพลตฟอร์มออนไลน์ และชี้ให้ลูกตระหนักเรื่อง Digital footprint ว่าสิ่งใดที่หลุดเข้าสู่โลกออนไลน์แล้วจะคงอยู่ตลอดไป แม้ว่าเราจะลบออกไปแล้วก็ตาม ก่อนนำข้อมูล รูปภาพ คลิปต่างๆ เข้าสู่โลกดิจิทัล เด็กๆ จึงควรพิจารณาให้ดีถึงผลในระยะยาว
  • สอนให้ลูกรู้ว่าข้อมูลอะไรที่ไม่ควรแบ่งปันในโลกออนไลน์ เช่น ที่อยู่ หมายเลขบัตรสำคัญต่างๆ หรือกระทั่งการแชร์โลเคชั่น หรือเช็คอินแบบเรียลไทม์ ก็อาจเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัย
  • ทำให้ลูกเข้าใจว่าการตั้งรหัสผ่านต่างๆ เป็นเรื่องสำคัญ รหัสผ่านที่ดีควรคาดเดายาก และไม่ควรแบ่งปันรหัสผ่านต่างๆ กับใคร

5.ทักษะการจัดสรรเวลาหน้าจอ : แม้ทุกวันนี้เราแทบจะทำทุกอย่างได้ออนไลน์ แต่เด็กๆ ก็จำเป็นต้องเรียนรู้การจัดสรรเวลาให้สมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกภายนอก พ่อแม่ช่วยสนับสนุนให้ลูกจัดสรรเวลาอย่างเหมาะสมได้ โดย

  • จัดให้มีกิจวัตรประจำวันตามเวลา เช่น เมื่อเลิกเรียนกลับมาบ้าน ควรอาบน้ำ กินข้าว ทำการบ้าน แล้วจึงใช้สมาร์ทโฟนเพื่อผ่อนคลายได้ และจำกัดเวลาการใช้ในแต่ละวัน รวมทั้งควรมีเวลาที่ทุกคนในบ้านละจากหน้าจอ เพื่อพูดคุยและใช้เวลาร่วมกันด้วย
  • เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดสรรเวลาให้สมดุลระหว่างออนไลน์และโลกภายนอก ไม่ให้ความสำคัญกับหน้าจอมากกว่าการมองหน้าสบตาคนที่มีชีวิตจริงๆ ตรงหน้า ควรละสายตาจากหน้าจอ เมื่อลูกพูดคุยด้วยทุกครั้ง
  • ครอบครัวควรชวนกันทำกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการเฝ้าดูหน้าจอของแต่ละคน เช่น ชวนกันออกไปปั่นจักรยาน เดินเล่นในสวนสาธารณะ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ

6.ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งาน มีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน: Digital Footprints คือ ร่องรอยการกระทำต่างๆ ที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้ในโลกออนไลน์ โซเชียล มีเดีย เว็บไซต์หรือโปรแกรมสนทนา เด็กๆ ในฐานะที่เป็นพลเมืองดิจิทัล จึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าทุกครั้งที่มีการเข้าสู่โลกออนไลน์ เราจะทิ้งร่องรอยไว้เสมอ ก่อนจะโพสต์ข้อความ แชร์ข้อมูล คลิปรูปภาพ หรือลงทะเบียนออนไลน์ต่างๆ จึงต้องทำอย่างรอบคอบและพิจารณาให้ถี่ถ้วน

7.ทักษะการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ : Cyberbullying คือปัญหาที่มาพร้อมกับการใช้โซเชียล มีเดีย อย่างแพร่หลาย เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือให้เกิดการคุกคามกลั่นแกล้งกันได้ง่ายขึ้น ทั้งจากคนรู้จักหรือจากคนแปลกหน้า โดยการกลั่นแกล้งออนไลน์มีหลายรูปแบบ เช่น ใช้ข้อความว่าร้าย ดูหมิ่น ใช้ถ้อยคำหยาบคาย การคุกคามทางเพศ การหลอกลวง การแบล็กเมล์ การสร้างกลุ่มในโซเชียล มีเดีย เพื่อโจมตี ไปจนถึงการแอบอ้างตัวตน พ่อแม่สามารถสอนให้ลูกรับมือกับการกลั่นแกล้งออนไลน์ได้โดย

  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก หากลูกมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น ซึมเศร้า หวาดระแวง วิตกกังวล ควรถามหาสาเหตุ และเป็นผู้รับฟังที่ดี ให้คำแนะนำที่เหมาะสม
  • ทำให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่พร้อมที่จะรับฟังและช่วยเหลือ หากลูกมีปัญหาถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ ควรแจ้งให้ผู้ใหญ่รับรู้ และลูกควรปิดกั้นการสื่อสารจากผู้ที่กลั่นแกล้งทันที
  • หากถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ ไม่ควรตอบโต้ แต่อาจแคปข้อความเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการทางกฏหมาย

8.ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม : ถึงแม้หลายคนที่เราพบในโลกออนไลน์ อาจเป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ก็ควรปฏิบัติต่อกันด้วยการให้เกียรติ และเคารพซึ่งกันและกัน สอนลูกให้รู้จักเอาใจเขาใส่ใจเราไม่ว่าจะในสังคมภายนอกหรือสังคมออนไลน์ เพราะทุกคนต่างมีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน แม้บางครั้งเราอาจพบความคิดเห็นที่ต่างไปจากเรา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อว่าพวกเขาได้ รวมทั้ง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว ก่อนที่ลูกจะโพสอะไร เด็กๆ ควรสอนให้ใช้หลัก T.H.I.N.K ดังนี้

ทักษะด้านดิจิทัล 8 ประการ ประกอบไปด้วยด้านใดบ้าง

จับตา 8 ทักษะดิจิทัล มาแรงรับปี 2017.
1. Digital skill Leadership. ... .
2. Digital skill Transformation. ... .
3. Digital skill Governance. ... .
4. Digital skill Project Management. ... .
5. Digital skill Technology. ... .
6. Digital Services Design & Assurance. ... .
7. Digital skill Compliance. ... .
8. Digital skill Literacy..

ความฉลาดทางดิจิทัล มีกี่ด้าน

ความฉลาดทางดิจิทัลประกอบด้วยทักษะ 8 ด้าน

การรู้ทันสื่อดิจิทัลมีอะไรบ้าง

การรู้เท่าทันดิจิทัล คือ ความสามารถในการใช้งาน คอมพิวเตอร์และการสืบค้นสารสนเทศโดยเริ่มต้นจาก พื้นฐานการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ ค้นหา และ เลือกเครื่องมือดิจิทัลเช่น เบราว์เซอร์ (Browser) ไฮเปอร์ ลิงค์ (Hyperlink) เสิร์ชเอนจิน (Search engine) เป็นต้น (Backingham, 2006) รวมถึงการประมวลสารสนเทศ และค้นคืนสารสนเทศ ( ...

การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) มีกี่ด้าน

ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) เข้าใจ (Understand) สร้าง (Create) และ เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้