เอกสารแจ้งที่พักคนต่างด้าว

����ʡ�á�зӤ����Դ
����ǡѺ�����¤�������ͧ
��ä�������� ���ʾ�Դ
�Ҫ�ҡ��������ҵ�

077 380 881 (��.�����)
077 423 440 (��.����)
077 377 947 (��.�Чѹ)
077 456 947 (��.������)

�ҡ������Ѻ�����дǡ /
�����繸����ҡ�������Ѻ��ԡ��
��سҵԴ���

[email protected]

เป็นระยะเวลานานกว่า 18 เดือนที่เกิดความสับสนและข้อสงสัยมากมายสำหรับการกรอกแบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 ตามสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทย โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเริ่มเข้มงวดมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนการแจ้ง ตม.30 นี้ คุณต้องตรวจสอบสถานะของตัวเองก่อนเสมอว่าตนเองนั้นเป็นผู้เช่าชาวต่างชาติ หรือ เป็นเจ้าของที่พักอาศัย แต่ท่ามกลางความสับสนและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการกรอกแบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 เราจะแนะนำวิธีและอธิบายขั้นตอนง่ายๆสำหรับการกรอกแบบฟอร์มนี้

 

แบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 คืออะไร ?

กฎหมายที่ว่าด้วยการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 คือ กฎหมายที่ว่าด้วย “การแจ้งที่พักของชาวต่างชาติภายใน 24 ชั่วโมง” เป็นกฎหมายข้อบังคับที่มีขึ้นมาเป็นระยะเวลานานมาหลายปี ไม่ใช่กฎหมายที่พึ่งบังคับใช้แต่อย่างใด ทั้งนี้กฎข้อระเบียบต่าง ๆที่เกี่ยวกับกับ ตม.30 นี้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรายละเอียดที่พักของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย หากคุณเป็นชาวต่างชาติและเข้าพักในโรงแรมเป็นระยะเวลาสั้นๆ คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับข้อกฎหมายนี้

กฎหมายส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อชาวต่างชาติหรือบุคคลต่อไปนี้:

  • ชาวต่างชาติที่เข้าพักในสถานที่โดยไม่มีใบอนุญาต (โรงแรมหรือวิลล่า/คอนโด/อพาร์ตเมนท์ที่ไม่มีใบอนุญาต)
  • ชาวต่างชาติเข้าพักในสถานที่ของเพื่อนชาวไทย
  • ชาวต่างชาติที่มีบ้านและอาศัยอยู่ในประเทศไทย
  • ชาวต่างชาติที่มีชื่อเป็นเจ้าของร่วม บ้านหรือคอนโดในประเทศไทย

โดยแบบฟอร์มนี้เป็นแบบฟอร์มการแจ้งที่พักของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

แบบฟอร์มการแจ้งที่พักชาวต่างชาติ ตม.30 นี้ เจ้าของสถานที่จะต้องเป็นผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการแจ้งให้แก่ชาวต่างชาติที่ได้พักอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ตนเองเป็นเจ้าของ โดยเจ้าของสถานที่จะต้องดำเนินการแจ้งนี้ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลงจากที่ผู้เข้าพักหรือผู้เช่าที่เป็นชาวต่างชาติเดินทางมาถึงสถานที่เช่าของตนเอง

ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า

การแจ้งที่พักของคนต่างชาติ ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างชาติเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างชาติเข้าพักอาศัย ตามวรรคหนึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมืองการแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด”

เจ้าของบ้านจะโดนปรับไหมหากไม่ได้แจ้ง ตม.30 ?
หน้าที่การแจ้ง ตม.30 เป็นหน้าที่ที่ทางเจ้าของบ้านจะต้องยื่นรายงาน ตม.30 ตั้งแต่ผู้เช่า(ที่เป็นชาวต่างชาติ)ได้เริ่มต้นการเช่า หากเจ้าของบ้านไม่ยื่นแจ้งรายงาน ตม.30 นี้อาจจะถูกปรับ 800 บาทไปจนถึง 2,000 บาท แม้ว่าเจ้าของบ้านบางท่านอาจจะมองว่าค่าปรับนี้เป็นจำนวนที่ไม่สูงมากจนบางท่านอาจจะละเลยการยื่นแจ้งรายงาน ตม.30 นี้และยอมที่จะจ่ายค่าปรับ แต่สิ่งที่จะส่งผลโดยตรงหากละเลยการยื่นแจ้งรายงานนี้ก็คือ สถานะการอยู่อาศัยในอนาคตของผู้เช่า ดังนั้นเพื่อผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับนี้อย่างถูกต้องจะเป็นผลดีที่สุด

 

เอกสารแจ้งที่พักคนต่างด้าว

 

จะแจ้ง ตม.30 ได้อย่างไร ?
เจ้าของบ้านที่มีผู้เช่าเป็นชาวต่างชาติอยู่นั้นมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นรายงาน ตม.30 ให้แก่ผู้เช่า ตามกฎหมายข้อบังคับของไทย โดยเจ้าของบ้านหรือตัวแทนของเจ้าของบ้านจะต้องเตรียมเอกสารตามล่างนี้

เอกสารฝ่ายเจ้าของบ้าน
1.       เจ้าของบ้านจะต้องกรอกฟอร์ม ตม.30
2.       สำเนาบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทางของเจ้าของบ้าน
3.       สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ โฉนดที่ดิน
4.       สำเนาสัญญาเช่า

 

เอกสารฝ่ายผู้เช่า
1.       สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เช่าชาวต่างชาติ
–        โดยสำเนาหนังสือเดินทางนี้จะต้องมีรูปถ่ายของผู้เช่าและข้อมูลของหนังสือเดินทาง
–        สำเนาหนังสือเดินทางหน้าวีซ่า
–        สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีตราประทับขาเข้า

 

หมายเหตุ : เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามด้านบนนี้จะต้องถูกรับรองด้วยหมึกสีน้ำเงินโดยเจ้าของเอกสาร

จะแจ้ง ตม.30 ได้ที่ไหน ?
หากคุณสงสัยว่าจะแจ้ง ตม.30 ได้อย่างไร หรือว่าสามารถแจ้ง ตม.30 นี้ได้ที่ไหน ในฐานะเจ้าของบ้านที่มีผู้เช่าต่างชาตินั้น คุณอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับ ตม.30 นี้

  • ณ ปัจจุบันการแจ้ง ตม.30 สามารถทำได้สะดวกมากขึ้นหากเทียบกับหลายๆปีที่ผ่านมา โดยวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด ง่ายที่สุด และ เร็วที่สุด คือการแจ้งออนไลน์ เพื่อความสะดวกให้แก่เจ้าของบ้านมากยิ่งขึ้น เรามีบริการการแจ้ง ตม.30 ออนไลน์นี้ให้แก่เจ้าของบ้านที่ไม่สะดวกในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยบริการนี้คือ io

เอกสารแจ้งที่พักคนต่างด้าว

เป็นบริการที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านไม่ต้องเสียเวลาไปกับการกรอกข้อมูลด้วยตัวเองเพียงแค่ถ่ายรูปหนังสือเดินทางของผู้เช่าและไปที่เว็บไซต์ TM30.io โดยตัวเว็บไซต์จะช่วยทางคุณเจ้าของบ้านกรอกข้อมูลที่เหลือเอง
1. ข้อมูลของผู้เช่าตามหนังสือเดินทาง
2. กรอก ตม.30 ฟอร์มและแจ้งต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ในนามของเจ้าของบ้าน
3. ในกรณีที่เว็บไซต์สำหรับการแจ้ง ตม.30 นั้นไม่สามารถใช้งานได้เนื่องด้วยความขัดข้องด้านการใช้งาน ทาง TM30.io จะทำการติดตามจนกว่าจะเว็บไซต์จะใช้งานได้ปกติและจะทำการแจ้ง ตม.30 ให้ทันที
4. เมื่อการแจ้ง ตม.30 เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วทางเว็บไซต์จะทำการสกรีนช็อตให้แก่ทางเจ้าของบ้านเพื่อเป็นการแจ้งยืนยันว่าการแจ้ง ตม.30 เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยสกรีนช็อตนี้สามารถใช้เป็นหลักฐานการยื่นต่อวีซ่าสำหรับผู้เช่าได้ในกรณีที่ผู้เช่าต้องใช้หลักฐานการแจ้ง ตม.30 เพื่อใช้ในการต่อวีซ่าของตนเองตามข้อบังคับของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของบ้านและไม่อยากเสียเวลาไปกับการอัพโหลดข้อมูลรูปภาพต่าง ๆมากมายในเว็บไซต์ด้วยตนเอง เรามีวิธีที่ง่ายมากกว่านั้นเพียงแค่คุณเข้าใช้บริการของ TM30.io และเข้าใช้ระบบ Chat-bot ของเว็บไซต์ ขั้นตอนยุ่งยากมากมายก็สามารถสำเร็จได้ภายในช่องแชทเดียว

เอกสารแจ้งที่พักคนต่างด้าว

  • แจ้ง ตม.30 ผ่านทางไปรษณีย์

คุณสามารถทำการแจ้ง ตม.30 นี้ผ่านทางไปรษณีย์ได้ โดยจะต้องแนบเอกสารทุกฉบับของทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าตามรายละเอียดด้านบนและฟอร์มการแจ้ง ตม.30 ส่งไปรษณีย์ไปที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้เคียงที่สุด โดยขั้นตอนการแจ้ง ตม.30 ผ่านทางไปรษณีย์ที่สำคัญคือคุณจะต้องใส่ซองสำหรับใส่เอกสารให้กับเจ้าหน้าที่ด้วยเพราะหลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารการแจ้งนี้แล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะส่งเป็นตัวใบรับการแจ้ง ตม.30 นี้คืนให้กับคุณหรือผู้เช่า(ตามที่อยู่หน้าซองที่ระบุ) โดยการแจ้งผ่านไปรษณีย์นี้อาจจะใช้เวลากว่า 2-4 อาทิตย์

 

  • แจ้ง ตม.30 ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

เป็นวิธีที่สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลการแจ้งของคุณนั้นจะถึงที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอย่างแน่นอน

 

  • มอบอำนาจให้ตัวแทนไปส่งเอกสารเพื่อแจ้ง ตม.30 ให้แทน
    หากมีความจำเป็นที่ต้องแจ้ง ตม.30 นี้อย่างเร่งด่วน ทำให้เกิดการใช้ “ตัวแทน” หรือ บุคคลที่สามในการลงทะเบียนนี้ได้ โดยตัวแทนจะเดินทางไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและทำการแจ้ง ตม.30 ให้แก่คุณ โดยปกติแล้วตัวแทนเหล่านี้จะคิดค่าบริการประมาณ 500 บาทไปจนถึง 1,000 บาท ถ้าหากคุณต้องการแจ้ง ตม.30 อย่างเร่งด่วนแต่ไม่มีเวลาที่จะจัดการด้วยตัวเอง การใช้บริการตัวแทนนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาต้องการแจ้ง ตม.30 เร่งด่วนเช่นกันแจ้ง ตม.30 ด้วยการลงทะเบียนออนไลน์

เอกสารแจ้งที่พักคนต่างด้าว

  • สามารถส่งใบสมัคร ตม.30 ของคุณผ่านแอปลงทะเบียนออนไลน์ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะเป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวกที่สุดสำหรับการแจ้ง ตม.30 นี้ และยังเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับเจ้าของบ้านที่เป็นชาวต่างชาติอีกด้วย

เอกสารแจ้งที่พักคนต่างด้าว

ขั้นตอนที่ 1:  ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ของสำนักงานการตรวจคนเข้าเมือง ได้ฟรีจาก Play Store หรือ Apple Store

ขั้นตอนที่ 2:  เพิ่มข้อมูลที่ต้องการแจ้งเกี่ยวกับเจ้าของบ้านและทรัพย์สิน

ขั้นตอนที่ 3:  เมื่อคุณทำเสร็จแล้ว คุณจะได้รับอีเมลแจ้งเตือน เพื่อสร้างบัญชีส่วนตัวด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

ขั้นตอนที่ 4:  เมื่อลงทะเบียนแล้ว คุณจะสามารถคลิกที่ปุ่ม “การแจ้งการอยู่อาศัย” เพื่อไปที่หน้าจอการลงทะเบียนหลัก

ขั้นตอนที่ 5:  กรอกรายละเอียดผู้เช่าตามที่ต้องการแจ้ง

ขั้นตอนที่ 6:  กดส่งข้อมูล

 

หากคุณกรอกรายละเอียดอย่างถูกต้อง หน้าแอพพลิเคชั่นจะโหลดหน้าจอที่มีรายละเอียดของผู้เช่า แต่ที่สำคัญที่ต้องทราบไว้คือในบางครั้งเว็บไซต์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอาจจะขัดข้อง

 

อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะแจ้ง ตม.30 ทางออนไลน์ ทางไปรษณีย์ โดยตัวแทน หรือไปแจ้งด้วยตัวเอง สิ่งที่สำคัญคือต้องปฏิบัติตามกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองประเทศไทยที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้อีกดังนั้นเราจะต้องเปลี่ยนและปฏิบัติตามกฎตรวจคนเข้าเมืองด้วยเช่นกัน

ตม.30 ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ใช้ แจ้ง ตม.30 ออนไลน์ หรือ tm30 online บัตรประชาชน พาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน ใบขาเข้า (Departure Card) หรือ ตม.6 (TM.6)

ต่างชาติมาพักที่บ้านต้องแจ้งตมไหม

การแจ้งที่พักของคนต่างด้าว ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ ...

แจ้งที่พักคนต่างด้าว ที่ไหน

1. ลงทะเบียนขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางระบบอินเตอร์เน็ตที่ www.immigration.go.th ในหน้าต่าง การแจ้งที่พักอาศัย เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว จะแจ้งรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน สำหรับเข้าใช้ระบบไปยัง e-mail ที่ลงทะเบียน 2. สามารถ Download แบบขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.immigration.go.th.

รายงานตัวคนต่างด้าวที่ไหน

คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37 ...