ภพ 20 กับ ภพ 30 ต่างกันอย่างไร

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

เจ้าของธุรกิจจะต้องรวบรวมกิจกรรมซื้อขายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เพราะหากนำส่งหลังวันที่ 15 ก็จะทำให้ถูกเสียค่าปรับ หรือที่เรียกว่า เบี้ยปรับเงินเพิ่ม



แต่ถ้าบังเอิญวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ล่ะทำยังไง ก็ให้มายื่นแบบในวันทำงานถัดไป ก็จะไม่ถูกเสียค่าปรับ



คนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ ก็สามารถทำภ.พ.30 ด้วยตัวเองได้ โดยเริ่มต้นจากการเก็บเอกสารใบกำกับภาษีซื้อต่างๆ (บิลซื้อตัวจริง) และสำเนาใบกำกับภาษีขาย (สำเนาบิลขาย) ในแต่ละเดือน แล้วมาทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย (อ่านวิธีการทำรายงานที่นี่)


เวลาจะส่งกรมสรรพากร กิจการทำเอกสาร ภ.พ.30 เพียงใบเดียว เพื่อรายงานภาษีซื้อและภาษีขายตามที่คำนวณได้เลย แต่หากกิจการใดที่มีสาขาจะต้องทำเอกสารเพิ่มอีก 1 ใบ คือ ใบแนบภ.พ.30 ที่เป็นรายละเอียดภาษีซื้อและภาษีขายของแต่ละสาขา

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ภพ 20 กับ ภพ 30 ต่างกันอย่างไร

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • About me

สารบัญ

ภพ 20 คืออะไร?

ใบ ภพ 20 เป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าบริษัทนั้นได้จด Vat หรือเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีหน้าที่เพิ่มเติมดังนี้

  1. ยอดขายทุกๆรายการที่เกิดขึ้นจะต้องคิด Vat 7% และนำส่งภาษีขายให้แก่กรมสรรพากร
  2. ภาษีซื้อที่เกิดจากยอดซื้อต่างๆ บริษัทต้องเก็บใบกำกับภาษีเอาไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการเครดิตภาษี (คือการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย)
  3. จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ ภพ.30 เป็นประจำทุกเดือน

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจเพิ่มเติมนะครับ สมมติว่าบริษัท XYZ จำกัด มียอดขายทั้งเดือนที่ 500 บาท มีภาษีขาย 7% คือ 35 บาท และบริษัทมียอดซื้อทั้งเดือนที่ 400 บาท มีภาษีซื้อที่ 7% ที่ 28 บาท ดังนั้นยอดที่ทางบริษัทต้องนำส่ง ภพ 30 ให้แก่กรมสรรพากรคือ 35 – 28 = 7 บาท นั่นเอง

ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งครับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น สมมติว่าบริษัท DEF จำกัด มียอดขายทั้งเดือนที่ 100 บาท มีภาษีขาย 7% คือ 7 บาท และบริษัทมียอดซื้อทั้งเดือนที่ 200 บาท มีภาษีซื้อที่ 7% ที่ 14 บาท ดังนั้นยอดที่ทางบริษัทต้องนำส่ง ภพ 30 ให้แก่กรมสรรพากรคือ 7 – 14 = -7 บาท ยอดที่ติดลบอันนี้หมายความว่าบริษัทไม่ต้องจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแก่สรรพากร แต่สามารถนำยอด 7 บาท ที่ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย มาเครดิตภาษีในเดือนถัดไปได้ (คำว่าเครดิตภาษีนั้นหมายถึงหากเดือนถัดไปคุณมียอดที่ต้องจ่ายภาษี คุณมีสิทธินำยอด 7 บาทนี้มาหักออกก่อนได้)

ก่อนที่ผู้ประกอบการจะได้ ภพ 20 ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาผู้ประกอบการจะต้องไปยื่นแบบ ภพ 01 ที่กรมสรรพากรก่อนเพื่อเป็นการสมัครเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยเขียนบทความเอาไว้แล้วครับ ลองอ่านในบทความนี้ได้ : ภพ 01 คืออะไร 

เป็นเจ้าของกิจการห้างหุ้นส่วนจะต้องรู้เรื่องบัญชีและภาษีด้วย จะรู้แค่กำไรขาดทุนไม่ได้ อีกหนึ่งเอกสารที่ควรรู้จักและทำความเข้าใจคือ ภ.พ. 30 เป็นเอกสารทางภาษีอย่างหนึ่งที่จะต้องยื่นแก่ทางกรมสรรพากรทุกเดือน แต่ว่าก็ไม่ใช่ทุกร้านที่จะต้องยื่น ในกรณีที่เป็นบริษัทมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอกสารตัวนี้ถึงจะได้ใช้งาน ชวนมาทำความเข้าใจกับเอกสารนี้ให้มากขึ้น หากคุณกำลังสงสัยว่ากิจการของคุณจะต้องยื่นไหม หากต้องยื่นแล้วต้องทำอย่างไรมาติดตามอ่านกันได้เลย

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

ภ.พ. 30 คืออะไรใครที่ต้องใช้เอกสารนี้ ?

ธุรกิจไหนที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีการยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 เสมอ ซึ่งเป็นเอกสารทางธุรกิจที่บริษัทจะต้องยื่นแก่ทางกรมสรรพากร ที่ไหนจด VAT แล้วก็ต้องยื่นนั่นเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญต้องยื่นหลังการจด VAT เรียกแบบง่าย ๆ ก็เป็นแบบแสดงภาษีซื้อและภาษีขายที่ทางบริษัทจะต้องแจ้งตลอด ซึ่งผู้ที่จะต้องจัดทำเอกสารนี้จะเป็น “เจ้าของธุรกิจ” 

ซึ่งมีเงื่อนไขอยู่ว่าธุรกิจนั้นจะต้องมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี และจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องส่งเอกสาร ภ.พ. 30 ในทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไปจะไปยื่นด้วยตัวเองที่กรมสรรพากรหรือยื่นผ่านออนไลน์ก็ได้ตามแต่สะดวกเลย ฉะนั้นหากบริษัทเพิ่งเปิดได้ไม่นานและรายได้ยังไม่ถึงตามเกณฑ์ก็ยังไม่ต้องยื่นเอกสารตัวนี้

สำหรับท่านใดที่มีกิจการหลายที่แล้วอยากจะยื่นแบบ ภ.พ. 30 รวมกันและเสียภาษีมูลเพิ่มรวมกันก็ทำได้ แต่ว่าจะต้องขออนุมัติกับทางกรมสรรพากรก่อน พอได้รับการอนุมัติแล้วก็สามารถยื่นแบบและเสียภาษีรวมกันได้เลย ซึ่งก็จะได้ยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพียงแค่ 1 ฉบับเท่านั้นยื่นไปพร้อมกับใบแนบที่ทางกรมสรรพากรกำหนดให้

ภาษีซื้อภาษีขายที่แสดงใน ภ.พ. 30 คืออะไร ?

1. ภาษีซื้อ (Input Tax) 

เป็นภาษีที่เจ้าของธุรกิจจะต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อมาทำเป็นสินค้าหรือบริการ หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพอจ่ายไปแล้วจะต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ซึ่งก็ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ขายสินค้าให้เรา ที่เป็นบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว 

ทุกการซื้อของ การใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนมากเราก็จะต้องได้เสียภาษีไปด้วยอยู่แล้ว บางอย่างก็บวกเข้าไปในราคาสินค้าเรียบร้อย เพราะทางคนขายก็อาจต้องทำบัญชียื่นภาษีและยื่น ภ.พ. 30 เหมือนกัน หากเราไม่เรียกเก็บจากลูกค้าแล้วใครจะจ่าย 7% ตรงนั้น ปกติก็เป็นภาษีโดยอ้อมที่ลูกค้าต้องจ่ายเป็นปกติ

2. ภาษีขาย (Output Tax)

สำหรับส่วนนี้จะเป็นการเรียกเก็บภาษี 7% จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการของเรา ซึ่งเราก็จะต้องนำ 7 % ที่ได้มานี้ส่งรัฐนั่นเอง ซึ่งก็รวมไปถึงการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดก้ตาม ยกเว้นการเอาไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองหรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

ภาษีตรงนี้เองที่เราต้องยื่นโดยใช้ ภ.พ. 30 เพื่อเป็นการแสดงแบบภาษีซื้อและขายแก่ทางกรมสรรพกร ซึ่งจะต้องทำกฎหมายบังคับไว้แล้วแต่ว่าบริษัทของคุณก็ต้องเข้าเงื่อนไขว่า มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปีด้วยนะ มองแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ 7% นี้หากสังเกตเวลาเราซื้อของตามห้างร้านต่าง ๆ จะมีการรวมและเรียกเก็บไปพร้อมกับค่าสินค้าและบริการด้วยเสมอ หากเราเป็นเจ้าของธุรกิจเราเองก็ต้องมีการเสียและเรียกเก็บ VAT 7% ตรงนี้ด้วยเหมือนกัน

VAT คืออะไร?

เมื่อการยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 เป็นการแสดง VAT เผื่อมีท่านใดยังสงสัยว่าแล้ว VAT คืออะไร อธิบายเพิ่มเติมให้ตรงนี้เลย ซึ่ง VAT คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เวลาซื้อของเราจะโดนเรียกเก็บ VAT 7% ก็แปลว่าเราต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นั่นเอง ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของกิจการบ้างตอนขายสินค้าเราจะต้องเรียกเก็บภาษีตรงนี้กับลูกค้า 7% มาเช่นกัน ซึ่ง VAT นั้นย่อมาจาก Value Added Tax ก็คือ “ภาษี” นั่นเอง

ต้องยื่นเอกสาร ภ.พ.30 เมื่อใด ?

หากบริษัทหรือกิจการของคุณมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี รวมไปถึงมีการใช้จ่ายในการจัดตั้งธุรกิจใหม่ก็จะต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่กรมสรรพากรในพื้นที่ แล้วจากนั้นก็ยื่นแบบ ภ.พ.30 ด้วย และเป็นเอกสารสำคัญที่เจ้าของกิจการต้องยื่นทุกเดือน โดยต้องยื่นก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

เวลาจะไปยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ที่สรรพากรหรือยื่นผ่านระบบออนไลน์ก็ตามจะต้องมีใบกำกับภาษีใช้ในการอ้างอิงด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกสารที่จะต้องมีและทำให้ถูกต้อง ชัดเจน ฉะนั้นแล้วทุกขั้นตอนจะต้องใส่ใจในการทำโดยละเอียด คนที่ไม่เก่งการทำบัญชีและภาษีอาจจะต้องหาผู้ช่วยดีกว่าทำเองแบบงง ๆ เพราะหากไม่ถูกต้องจะเสียเวลามากในการแก้ไข

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจำเป็นไหม ?

อย่างที่ทราบกันว่าผู้ที่จะต้องยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 นั้นจะต้องเป็นกิจการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี หากคุณไม่แน่ใจว่ากิจการของตนเองจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไหมก็ลองดูว่าเข้าเงื่อนไขนี้หรือไม่

1. เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษี

กรณีที่จะได้รับการยกเว้นภาษีนั้นก็จะต้องเป็นกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ซึ่งคิดจากยอดขายสินค้าหรือบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรภายในประเทศ (คำสั่งกรมสรรพากร ป.28/2535 ฯ) ค้าขายสัตว์ทั้งมีและไม่มีชีวิตในประเทศ (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535 ฯ) โรคพืชและสัตว์ การให้บริการห้องสมุน พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ และการให้บริการรักษาพยาบาลทั้งแบบรัฐบาลและเอกชน แต่เพื่อความแน่ใจให้ตรวจสอบกับทางสรรพากรอีกครั้ง

2. รายได้ของกิจการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

ง่าย ๆ เลยหากเกินแล้วก็คงต้องไปจด เฉลี่ยออกมาแต่ละเดือนก็จะอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งรายได้นี้มาจาดยอดขายที่เกิดขึ้นจริงที่ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งพอรายได้เกินแล้วจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันและยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ด้วย

3. ธุรกิจของคุณนั้นมี VAT เป็นต้นทุนหรือเปล่า ?

ธุรกิจของคุณนั้นเป็นพ่อค้าคนกลางไหม ? แบบซื้อมาขายไปหรือเป็นธุรกิจที่มีสินค้าต้นทางมีการคิด VAT ก็จำเป็นที่จะต้องมี VAT ด้วยเหมือนกัน เป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะทำให้ลดต้นทุนของธุรกิจเราไปได้เยอะเลย

4. ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการธุรกิจเราเข้าระบบ VAT ไหม ?

ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะต้องเช็คเหมือนกัน ก็ต้องดูหน่อยว่าลูกค้าที่มาใช้บริการและซื้อสินค้านั้นอยู่ในระบบ VAT ไหม หากคำตอบคือ “ใช่” ก็ควรจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่ารายได้จะไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็จดได้ 

เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ลูกค้า หากลูกค้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่เขาจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก หากธุรกิจคุณไม่ได้จดทะเบียน ลูกค้าก็จะไม่มาใช้บริการและไม่มาซื้อสินค้ากับคุณเลยก็ได้ 

เพราะทางฝั่งลูกค้าเขาก็เป็นบริษัท มีการยื่นภาษี มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและอาจจะต้องมีการยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ด้วย เวลาซื้อของก็ต้องซื้อกับร้านที่ออกใบกำกับภาษีให้ได้ ถ้าไม่มีก็นำไปทำบัญชีและภาษีต่อไม่ได้นั่นเอง ฉะนั้นถ้าคุณไม่อยากเสียลูกค้าก็จดไว้ก็ไม่เสียหายอะไร

การยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นสามารถยื่นคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการได้เลยหรือจะยื่นออนไลน์ก็ได้ ซึ่งการจดทะเบียนนั้นก็ได้ทั้งแบบบุคคลธรรมดาคือ เจ้าของมีคนเดียวหรือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และการจดแบบนิติบุคคลก็จะเป็นแบบบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดนั่นเอง พอจดแล้วหากรายได้ของกิจการถึง 1.8 ล้านต่อไปก็อย่าลืมยื่น ภ.พ. 30 ตามที่กรมสรรพากรกำหนดด้วย

บทสรุป

สรุปแบบให้เข้าใจง่ายที่สุดคือเอกสาร ภ.พ. 30 นั้นคนที่จะต้องยื่นคือเจ้าของกิจการหรือเจ้าของบริษัท ซึ่งกิจการนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และมีรายได้ต่อปีของกิจการเกิน 1.8 ล้านบาท หากไม่เกินก็ยื่นภาษีอย่างเดียวไม่ต้องมีใบ ภ.พ. 30 หากจะต้องยื่นเอกสารนี้ต่อสรรพากรจะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปและยื่นทุกเดือนเป็นการแสดงแบบภาษีซื้อและภาษีขายของกิจการที่ชัดเจนซื่อตรง

แบบ ภพ.30 คืออะไร

เขียนโดย: purich.v | 27 ธันวาคม 2021. ภ.พ.30 คือเอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน โดยต้องทำก่อนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยเจ้าของธุกกิจมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปีและขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

แบบ ภพ.20 คืออะไร

👉ภ.พ.20 เป็นเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ที่เข้าระบบแล้วจะต้องมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ ภ.พ.30.

ภพ 20 ใช้อะไรแทนได้

กรมสรรพากรรับรองให้ใช้แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.90) เสมือนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ผู้มีหน้ายื่นแบบ ภพ.30 คือข้อใด

แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้