ตัวอย่างปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาล

          หมายถึง ประเด็นที่พยาบาลต้องพิจารณา คำนึงถึงเลือกตัดสินใจว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของปัญหาอย่างรอบคอบ

             ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม (ethical dilemmas) การต้องพิจารณาเลือกระหว่างความจำเป็นกับศีลธรรม หลักการกับผลประโยชน์ สิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำเป็นสิ่งที่พยาบาลไม่อาจ หลีกเลี่ยงและต้องเผชิญทุกขณะที่ปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับแนวคิดของไอเคนและแค ทาลาโน ที่กล่าวว่า ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมเป็นสถานการณ์ที่บุคคล ต้องเลือกระหว่างสองทางเลือกที่ไม่ชอบเท่ากัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักมีทางออกในการเลือกที่ไม่เป็นที่ พอใจเสมอ ในการที่จะบอกว่าสิ่งใดเป็นข้อขัดแย้งทางจริยธรรมนั้นจะคำนึงถึงคุณสมบัติ3 ประการ ซึ่งได้แก่

1. ปัญหานั้นไม่สามารถแก้ได้โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์

       2. ปัญหาที่ก่อให้เกิดความพิศวงหรือสับสน ยากที่จะตัดสินใจโดยใช้ความจริงหรือ ข้อมูลมาช่วยได้

      3. ผลของปัญหาจริยธรรมนั้นจะต้องกระทบมากกว่าเหตุการณ์ในขณะนั้น คือจะต้องมี ผลต่อเนื่องเกิดขึ้น ในการแก้ไขประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมใด ๆ ก็ตาม มักไม่มีความผิดหรือความถูกต้อง อย่างแท้จริง และไม่มีคำตอบตายตัวที่จะใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้

ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่พบบ่อยของพยาบาลในหอผู้ป่วย

 1. การบอกความจริง (veracity/ truth telling)เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยที่จะ ได้รับข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสินใจในการเลือกหรือไม่เลือกรับบริการสุขภาพ โดยพยาบาลต้องเผชิญกับประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมว่าใครควรจะเป็นผู้ บอกความจริงกับผู้ป่วยดีที่สุดถึงแม้ว่าการบอกความจริงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและทีมสุขภาพ ดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงผลที่เกิดขึ้นจากการบอกความจริงมักก่อให้เกิดความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานแสนสาหัสทางด้านจิตใจแก่บุคคลที่ยังปรับตัวไม่ได้อันจะก่อให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มเติมจากความเจ็บป่วยเดิมที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากความ จริงที่ผู้ป่วยหรือญาติรับทราบนั้นมักเป็นความจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคที่ร้ายแรง หมดหวังใน การรักษาหรือยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตรวมถึงการพยากรณ์ถึงระยะเวลาที่อาจจะมีชีวิตอยู่

2. การปกปิดความลับ (confidentiality)เป็นการเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของ บุคคล (privacy right) ในการรักษาพยาบาลทีเกี่ยวกับความลับหรือข้อมูลของผู้ป่วยโดยประเด็น ขัดแย้งทางจริยธรรมที่พบบ่อยคือการปกปิดความลับในเรื่องโรคของผู้ป่วยเอดส์กับอันตรายที่จะเกิด กับญาติผู้ป่วยหากไม่ทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ การปกปิดข้อเท็จจริง หรือวิธีการที่ไม่เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลอื่น ความลับของผู้ป่วยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโรค อาการ และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ถือเป็นสิทธิส่วนตัวของบุคคล (privacy right) และใน 17 กระบวนการรักษาพยาบาล ถือเป็นจรรยาบรรณวิชาชีพที่สำคัญที่แพทย์และพยาบาลไม่พึงนำไป เปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระบวนรักษาพยาบาล ทั้งนี้เพราะการเปิดเผย ความลับของผู้ป่วยอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อตัวผู้ป่วย และต่อกระบวนการรักษาพยาบาล และประเด็นสำคัญที่สุดคือเป็นการไม่เคารพต่อความเป็นมนุษย์และสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังถือเป็นความผิดทางกฎหมายอีกด้วยไม่ว่าการเปิดเผยความลับนั้นจะมีความมุ่ง หมายอันใดก็ตาม เว้นแต่จะเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อผู้ป่วย แต่อย่างไร ก็ตามนับตั้งแต่ ค.ศ.1974 ที่เริ่มมีการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อเป็นการ ปกป้องคนในสังคมให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อดังกล่าว จึงมีการกำหนดข้อยกเว้นให้มีการเปิดเผย ความลับทางการแพทย์ได้ในกรณีต่อไปนี้

1) เมื่อต้องเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมาย

2) เมื่อมีคำสั่งจากศาล

3) เมื่อมีประโยชน์ต่อสังคม

ซึ่งในประเทศไทยก็มีข้อยกเว้นในการเปิดเผยความลับไว้ดังนี้คือ

- เป็นข้อผูกพันหรือหน้าที่ของแพทย์ที่ต้องนำรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ ผู้ป่วยเข้าสู่ที่ประชุมวิชาการทางการแพทย์ เพื่อขอความคิดเห็นขอคำปรึกษาหารือเกี่ยวกับวิธีการ บำบัดรักษา การตัดสินใจ ทั้งนี้โดยมุ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตัวผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด

 - ในกรณีที่จะต้องปกป้องคุ้มครองบุคคลอื่น ๆ ในสังคม ให้ปลอดภัยจากโรค หรือเหตุการณ์รุนแรงที่อาจเกิดขึ้น แพทย์อาจต้องเปิดเผยอาการของโรคนั้นต่อสังคม

- ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเองได้จำเป็นที่ แพทย์จะต้องเปิดเผยเรื่องราวให้แก่ญาติหรือผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ป่วยทราบ

 - ในกรณีที่ที่อาจเกิดผลกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคง ปลอดภัยของประเทศชาติ

3. การยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (informed consent)หมายถึงความยินยอม ของผู้ป่วยในการให้ผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับแพทย์กระทำเพื่อการรักษาหรือวินิจฉัยโดยต้องได้รับ ข้อมูลอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ ขั้นตอน ผลดีผลเสีย โดยพบว่าพยาบาลต้องเผชิญกับ ประเด่นขัดแย้งที่ไม่สามารถให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยได้ในบางสถานการณ์ ความยินยอมของผู้ป่วยที่ยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์ กระททำต่อร่างกายของตน ตามกรรมวิธีของการผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจรักษาทั่วไป กระบวนการตรวจรักษา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยโรค การรักษาโดยการผ่าตัดหรือการทดลองในมนุษย์ โดยผู้ป่วยจะต้อง ได้รับการอธิบายหรือบอกเล่าให้เข้าใจว่าการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร รายละเอียดของการกระทำมีอะไรบ้าง และผลที่เกิดตามมาหรือภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้างตลอดจนอันตรายหรือผลร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นจาการกระทำนั้น หากมีจะมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้ ประกอบวิชาชีพมีหน้าที่ต้องอธิบายหรือบอกกล่าวให้ผู้ป่วยทราบ เพื่อน าไปสู่การตัดสินใจ และถือ เป็นสิทธิประการหนึ่งของผู้ป่วย ซึ่งการอธิบายควรหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์ทาง เทคนิค เมื่อได้ข้อสรุปอย่างไรจึงบันทึกไว้ในเวชระเบียน เมื่อได้ข้อสรุปอย่างไรจึงบันทึกไว้ในเวช ระเบียน พยาบาลเป็นบุคคลที่มีพันธะหน้าที่ทางจริยธรรมที่ต้องช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้ข้อมูลจาก แพทย์ที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย

 4. สัมพันธภาพ/ความร่วมมือกับผู้ร่วมงาน (relationship/ cooperation)หมายถึง การดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสุขภาพ ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมระหว่างแพทย์และพยาบาลถือ เป็นเรื่องสำคัญ ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นระหว่าง แพทย์และพยาบาลถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเพราะแต่ละคนต้องทำงานเพื่อ ประโยชน์ของผู้รับบริการ ความขัดแย้งย่อมเกิดได้บ่อยในการทำงาน เพราะแพทย์อยู่ในระดับสั่ง การพยาบาลคือผู้ปฏิบัติงานที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมักเกี่ยวกับ สถานการณ์ที่เกี่ยวกับอำนาจ กล่าวว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระหว่างแพทย์และพยาบาลเกิดจากมุมมองที่มีความแตกต่างกัน

5. การจัดสรรทรัพยากร (allocation of resources)หมายถึงการจัดสรรทรัพยากร ทางการแพทย์ที่สำคัญและจำเป็นให้แก่ผู้ป่วยประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมคือใครจะเป็นผู้เลือกว่า ผู้ป่วยคนใดควรได้รับการจัดสรรทรัพยากรก่อนหลังเมื่อมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ปัญหาที่เป็นประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นได้แก่ ใครจะเป็นผู้กำหนดหรือเลือกว่าผู้ป่วยคน ใดควรจะได้รับอวัยวะก่อน ใครควรจัดการเมื่อทุกคนต้องการมีชีวิตอยู่ถ้าทรัพยากรทางการแพทย์มี จำนวนจำกัด จะใช้หลักเกณฑ์อะไรมาตัดสิน อายุ ประโยชน์ที่เกิดต่อผู้ป่วย การช่วยเหลือต่อ สังคมของบุคคลนั้น

6. พันธะหน้าที่ต่อวิชาชีพกับหน้าที่ต่อตนเอง ( professional obligation an duty to self)ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในข้อนี้คือ การที่พยาบาลต้องให้การดูแลผู้ป่วยทุกคนอย่างเท่า เทียมกันแต่ผลจากการดูแลอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่พยาบาล เช่นการดูแลผู้ป่วยเอดส์ ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในเรื่องนี้เป็นประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมอีกประเด็นหนึ่งที่ เกิดขึ้นบ่อยในปัจจุบัน เนื่องจากการระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคมีอาการที่รุนแรง ยังไม่ สามารถหาวิธีป้องกันหรือรักษาให้หายได้ จึงสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนเป็นอย่างมากจน ได้รับการขนานนามว่า “มหันตภัยแห่งศตวรรษที่ 20” จากการ ที่โรคเอดส์เป็นโรคร้ายแรงที่ทุกคนหวาดกลัว บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เอดส์ย่อมต้องหวาดกลัวเช่นกัน โดยเฉพาะพยาบาลเป็นผู้ซึ่งถือว่าอยู่ใกล้ชิดคลุกคลีกับผู้ป่วย มากกว่าบุคลากรทางสุขภาพทั้งหมด ย่อมมีความกลัวการติดเชื้อโรคจากการดูแลผู้ป่วย มีรายงาน 19 ว่ามีบางครั้งที่พยาบาลหลีกเลี่ยงการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การเจาะ เลือด การแทงเข็มทางหลอดเลือดดำเพื่อให้สารน้ำแก่ผู้ป่วย

7.การยืดชีวิตผู้ป่วย (prolong life)ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกิดจาก ความก้าวหน้าเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถยืดชีวิตผู้ป่วยออกไปได้โดยผู้ป่วยตกอยู่ในสภาพ “ ฟื้นก็ไม่ได้ ตายก็ไม่ได้” เมตตามรณะจึงเป็นประเด็นจริยธรรมที่เกิดขึ้นในสิทธิของผู้ป่วยที่จะเลือก ตัดสินใจในการตายด้วยตัวเอง จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดคำถาม ว่า ผู้ป่วยหรือคนทั่วไปควรมีสิทธิที่จะตายโดยปฏิเสธการรักษาแผนปัจจุบันเพื่อให้กระบวนการตาย มีสภาพความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงได้หรือไม่ การตายอย่างสงบหรือเมตตามรณะจึงเป็นประเด็น สำคัญที่ได้รับการพิจารณากันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันประเด็นเมตตามรณะจึงเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงกันมากในสังคมปัจจุบันจากประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในเรื่อง การยืดชีวิตหรือการชะลอดความตายทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับเมตตามรณะ (euthanasia) ซึ่ง หมายถึงการปล่อยให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาเสียชีวิตโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการ ของโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งที่หมดหนทางรักษาและต้องทนทุกข์ ทรมานกับอาการของโรคการพยายามยืดชีวิตของผู้ป่วย ย่อมเท่ากับเป็นการยืดเวลาแห่งความทุกข์ ทรมานออกไป ปัญหาเกิดขึ้นว่า การยอมให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบโดยไม่พยายามยืดชีวิตเป็นการผิด ศีลธรรมหรือไม่ และการที่แพทย์หยุดวิธีการชะลอความตายด้วยวิธีใด ๆ ก็ตามเพื่อเมตตามรณะถือ เป็นการฆาตกรรมต่อผู้ป่วยหรือไม่โดยทั่วไปแล้วเมตตามรณะอาจแยกออกได้เป็นสองประเภท คือ เมตตามรณะโดยความสมัครใจ หรือvoluntraryeuthanaisaและเมตตามรณะโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่อาจตัดสินใจได้เอง เรียกว่า involuntary euthanasia

ปัญหาทางจริยธรรม มีอะไรบ้าง

ปัญหาทางจริยธรรม คือ สถานการณ์ของบุคคลในการเลือก การกระทำระหว่างสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ถูกต้อง สิ่งที่ผิดศีลธรรมหรือมีจริยธรรม สำหรับในภาคธุรกิจตัวอย่างปัญหา จริยธรรมที่มักพบคือความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผล ประโยชน์ขององค์กรหรือที่เรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน

ประเด็นทางจริยธรรม คืออะไร

ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม (ethical dilemma) หมายถึง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความอึดอัด คับข้องใจ ที่ เกี่ยวข้องกับความดี ความชั่ว ความผิด หรือความถูกต้อง ซึ่งต้องตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งระหว่างสอง ทางเลือก หรือมากกว่า ซึ่งไม่ว่าจะเลือกทางใด ก็จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียพอๆ กัน ทำให้ผู้ตัดสินใจเลือกไม่แน่ใจ ว่า ...

จริยธรรมทางการพยาบาล มีอะไรบ้าง

จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ.
พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ.
พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์.
พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงานและประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล.

หลักจริยธรรม มีอะไรบ้าง

จริยธรรม (Ethics) “จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ.
ความมีเหตุผล ... .
ความซื่อสัตย์สุจริต ... .
ความอุตสาหะ ... .
ความเมตตากรุณา ... .
ความเสียสละ ... .
ความสามัคคี ... .
ความรับผิดชอบ ... .
ความกตัญญูกตเวที.