เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

Show

บทบาทหน้าที่ จป บริหาร ตามกฎหมายใหม่ กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 มีอะไรบ้าง

จากประกาศกฎหมายใหม่กำหนดให้สถานประกอบกิจการตามบัญชีที่ 1 และบัญชีที่ 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 2 คนขึ้นไปและบัญชีที่ 3 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป จะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยผ่านการฝึกอบรม จป บริหาร หรือเคยเป็น จป หัวหน้างาน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ 2549 หรือ (3) มีคุณสมบัติตามข้อ 15 (จป เทคนิค) ข้อ 18 (จป เทคนิคขั้นสูง) หรือข้อ 21 (จป วิชาชีพ)

จป บริหาร มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
  2. เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
  3. ส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
  4. กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัยหรือหน่วยงานความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร เรียนรู้เทคนิคด้านการจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการรูปแบบใหม่พร้อมหน้าที่ จป บริหาร ตามที่กฎหมายกำหนดในรูแบบออนไลน์

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน (อบรม จป บริหาร)

หลักสูตรอบรม จป บริหาร เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อสอนให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้หน้าที่และบทบาทของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับผู้บริหาร โดยผู้ที่เข้ารับการอบรม จป บริหาร ทุกคนจะได้เรียนรู้วิธีการควบคุมและดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามสถานประกอบกิจการอย่างถูกต้อง เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง

เพื่อที่จะได้สามารถนำเสนอแผนโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานและนำเสนอต่อนายจ้าง และเพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดและอุบัติเหตุในการทำงานได้ เพราะผู้ที่ผ่านการอบรม จป บริหาร ทุกคนจะต้องสามารถควบคุมและดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามสถานประกอบกิจการทุกระดับได้

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

จป. บริหาร

รายละเอียด
หลักสูตรอบรม จป. บริหาร

อบรม จป บริหารได้อะไรบ้าง?

คุณจะได้รับการวุฒิบัตรรับรอง และสามารถสมัครงานในตำแหน่งอื่น ๆ ในสายงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือเข้ารับตำแหน่ง จป บริหาร ได้ทันที

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป บริหาร

พนักงานระดับบริหาร เช่น กรรมการผู้จัดการ, ผู้จัดการโรงงาน, ผู้จัดการ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

ประกาศกฎหมาย

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19)

รายละเอียดกฎหมาย >

อบรม จป. ออนไลน์ 2565 (บุคคลทั่วไป)

เดือน กรกฎาคม ออนไลน์

หลักสูตร

วันที่

ราคา

ลงทะเบียน

จป.หัวหน้างาน (รุ่น 8 เต็ม)

29 – 30

1,100

จป.บริหาร (รุ่น 2 เต็ม)

15 – 16

1,100

จป.เทคนิค

20 – 22

3,000

คปอ. (รุ่น 6 เต็ม)

29 – 30

1,100

เดือน สิงหาคม

หลักสูตร

วันที่

ราคา

ลงทะเบียน

จป. หัวหน้างาน (รุ่น 5 เต็ม)

1 – 2

1,100

จป. หัวหน้างาน (รุ่น 4 เต็ม )

3 – 4

1,100

จป. บริหาร (รุ่น 1 เต็ม)

4 – 5

1,100

จป. เทคนิค (เต็ม)

8 – 10

3,000

คปอ. (รุ่น 1 เต็ม)

3 – 4

1100

คปอ. (รุ่น 2 เต็ม)

8 – 9

1100

เนื่องจากมีผู้สมัครอบรมออนไลน์เป็นจำนวนมากทำให้แต่ละรุ่นที่นั่งเต็มอย่างรวดเร็ว ศูนย์ฝึกอบรมขอสงวนสิทธิ์ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่ชำระเงิน และ ยืนยันลงทะเบียนในระบบก่อน

บรรยายโดย : วิทยากรขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย (หลักสูตร จป.)
อบรมผ่านโปรแกรม : Zoom Meeting

สิ่งที่จะได้รับหลังจากการอบรม
1. คู่มือการเรียนการสอน  (ส่งทางไปรษณีย์)
2. วุฒิบัตรรับรองผ่านการอบรม (ส่งทางไปรษณีย์)

หมายเหตุ
1. ราคาดังกล่าวไม่รวม Vat 7%
2. รวมค่าคู่มือเรียบร้อยแล้ว
3. รวมค่าวุฒิบัตรเรียบร้อยแล้ว
4. การจองอบรม หลักสูตร จป.ทุกระดับต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน สำหรับหลักสูตร จป.หัวหน้างาน, จป.บริหาร และคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) สถานประกอบการสามารถนำไปลดหย่อนภาษี ได้ ร้อยละร้อย (200 %) , อบรม จป นำยื่นกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้

FAQ

อบรม อินเฮ้าส์ In house และ Public บุคคลทั่วไป ประหยัดค่าใช้จ่ายมากอีก 40% ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือได้ตามสะดวกกับระบบภาพและเสียงคมชัดสูง Full HD อีกด้วย

หลักสูตรอบรม จป บริหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในสายงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และลูกจ้างระดับบริหารทุกคนที่ทำงานในบริษัทหรือสถานประกอบกิจการทั้ง 3 บัญชี ตามที่กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 ได้กำหนด ซึ่งหากคุณทำงานอยู่ในระดับบริหาร บริษัทหรือสถานประกอบกิจการจะต้องส่งคุณเข้าอบรม จป บริหาร ภายใน 180 วันนับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่งในระดับบริหาร อีกทั้งหากคุณเป็นเจ้าของกิจการและกิจการของคุณไม่มีลูกจ้างระดับบริหารเลย คุณเจ้าของกิจการก็จะต้องเข้าอบรม จป บริหาร เองทันที

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกคนจะสามารถเข้ารับการอบรม จป บริหาร ได้ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเป็น จป บริหาร ได้ทุกคน เนื่องจากการจะเป็น จป บริหาร ได้นั้นคุณจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม โดยมี

คุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เป็นลูกจ้างระดับผู้บริหาร เช่น ตำแหน่งผู้จัดการ ผู้อำนวยการ เป็นต้น
  2. ต้องเข้ารับการอบรม จป บริหาร 12 ชั่วโมง หรือเคยเป็น จป บริหาร ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565
  3. กฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่อง อายุ ระดับการศึกษา หรือคุณสมบัติอื่น และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรม จป หัวหน้างาน มาก่อน

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (จป บริหาร)

ผู้ที่ทำงานตำแหน่งระดับผู้บริหารในสถานประกอบกิจการ ทุกคนจำเป็นต้องเข้าอบรม จป บริหาร และหากสำเร็จหลักสูตรแล้วคุณจะต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมจากตำแหน่งงานหลักระดับผู้บริหารในสถานประกอบกิจการด้วย

  • คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน (คปอ)

คปอ เป็นหนึ่งในตำแหน่งงานที่ตรงสายสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม จป บริหาร และมีประสบการณ์การทำงานเป็น จป บริหาร มาแล้ว แต่คุณจะต้องเข้าอบรม คปอ เพิ่มเติม เพื่อเรียนรู้หน้าที่และบทบาทของงาน คปอ ที่มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ซึ่งหลัก ๆ แล้วงาน คปอ หรือคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานจะมีหน้าที่พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตรวจสอบสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตามสถานประกอบกิจการ วางระบบให้ลูกจ้างได้ปฏิบัติตาม รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน

  • วิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงาน

ตามหลักแล้วลูกจ้างที่เข้ารับการอบรม จป บริหาร ต้องเป็นลูกจ้างระดับผู้บริหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่สูงในสถานประกอบการ ถือว่ามีการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานด้านการบริหาร รวมถึงเรียนรู้การทำงานในด้านเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมาพอสมควร เมื่อทำงานถึงระยะเวลาหนึ่ง ก็สามารถไปทำงานเสริมหรือสมัครงานใหม่เป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานได้เช่นกัน ซึ่งคุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่เคยพบเจอในการทำงาน มาแบ่งปันและสอนให้กับกลุ่มลูกจ้างระดับผู้บริหารรุ่นใหม่ ๆ ต่อได้

  • ทำงานในหน่วยงานและสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สสปท หรือสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ทำงานในฝันของผู้ที่ผ่านการอบรม จป บริหาร เพราะที่นี่นั้นเป็นหน่วยงานที่ใหญ่และค่อนข้างมั่นคง อีกทั้งยังมีตำแหน่งฝ่ายงานที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายงานวิชาการที่ดูแลด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ฝ่ายงานวิจัยที่ทำงานวิจัยและสนับสนุนหน่วยงานเอกชนในการให้บริการงานวิจัย ฝ่ายงานฝึกอบรมที่คอยพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็น่าสนใจสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม จป บริหาร แล้วทั้งสิ้น

หากคุณสมัครและผ่านหลักสูตรอบรม จป บริหาร ของเรา คุณจะได้รับการวุฒิบัตรรับรอง และสามารถสมัครงานในตำแหน่งอื่น ๆ ในสายงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือเข้ารับตำแหน่ง จป บริหาร ได้ทันที

บัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

บริษัท เซฟสิริ (ประเทศไทย) จำกัด หลักสูตรอบรม จป บริหาร ของเราได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขที่ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน เลขที่ใบอนุญาต จป 63 – 010 อีกทั้งบริษัทและศูนย์ฝึกอบรม จป บริหาร ของเรายังผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001

บริษัท เซฟสิริ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของคุณเป็นสำคัญ ทางเราจึงจัดมาตรการความปลอดภัย COVID-19 อย่างเคร่งครัด รวมถึงการจัดหลักสูตรอบรม จป บริหาร ออนไลน์ ซึ่งคุณสามารถสมัครผ่านการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ได้ทันที หรือสามารถติดต่อทีมงานบริการของเราผ่านระบบ LINE Official Account ได้ ในส่วนของการเข้าอบรม จป บริหาร จะเป็นการเรียนผ่านระบบซูม แอปพลิเคชัน ด้วยคุณภาพเสียงและภาพที่คมชัดระดับ Full HD มีทั้งอบรม จป บริหาร เป็น In house และ Public บุคคลทั่วไป ช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์

มาตรฐาน ISO 9001

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

ได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร