โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

Show

โรคผิวหนังที่มากับหน้าฝน

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

1. ผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

  • โรคเกลื้อน มีลักษณะเป็นผื่นวงกลมหลายวง มีขุยละเอียด สีแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณลำตัว เช่น หลัง หน้าอก ท้อง ใหล่ คอ พบมากในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก และใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น
  • โรคกลาก มีลักษณะเป็นผื่นวงมีขอบเขตชัดเจน มีขุย เริ่มต้นด้วยอาการคัน ตามด้วยผื่นแดงต่อมาจะลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ และมักจะคันมากขึ้น ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีความอับชื้น เช่น หนังศีรษะ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า

2. ผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

มีลักษณะเป็นผื่นแดงแห้ง ๆ ออกน้ำตาล มักเกิดในบริเวณอับชื้นซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคเท้าเหม็นที่เกิดจากการมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดบริเวณผิวหนังชั้นนอก มีอาการเท้าแห้งลอก เท้าจะมีกลิ่นรุนแรงมากกว่าปกติ มีหลุม รูพรุนเล็ก ๆ บริเวณฝ่าเท้าและง่ามเท้า

3. โรคน้ำกัดเท้า

มีอาการระคายระคายเคืองผิวหนังจากความอับชื้น เมื่อสัมผัสสิ่งสกปรกบริเวณที่มีน้ำท่วมขังหลังฝนตก ทำให้เกิดผื่นตามเท้าและซอกนิ้วเท้า บางรายอาจมีอาการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

4. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

เป็นโรคที่พบมากขึ้นในช่วงฤดูฝน เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นของอากาศเปลี่ยนแปลงไป สังเกตจากมีผื่นแดง แห้งลอก มีอาการคันมากที่บริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา และซอกคอ

5. ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง

ในฤดูฝนจะมีการเพิ่มจำนวนของแมลงหลากหลายชนิด เช่น ยุง หมัด ไร ด้วงก้นกระดก หากสัมผัสอาจเกิดเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้หากมีอาการแพ้รุนแรงควรพบแพทย์

ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564
ที่มา : ศ. ดร. นพ.ประวิตร อัศวานนท์

โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatophytosis)

วันที่ 22 ธ.ค. 2553 | โดย Redlab User

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

โรคผิวหนังจากเชื้อรา หมายถึง การติดเชื้อของเซลผิวหนังชั้นนอก ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางชนิด (Dermatophytic fungi)
เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อรา โดยอาจจะผ่านมาทางดิน, การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ หรือผ่านทางขนของสัตว์ที่เป็นพาหะ ร่วมกับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมของผิวหนังของผู้ติดเชื้อ เช่น ผิวหนังที่มีบาดแผล หรือผิวหนังที่เปื่อยยุ่ยจากความอับชื้น

ลักษณะของโรค

  • หนังศีรษะ รอยโรคจะเกิดเป็นย่อมๆ บริเวณหนังศีรษะ มีการอักเสบของผิวหนัง และมีขุย ถ้าอักเสบมากๆอาจมีน้ำเหลือง และเส้นผมหักหรือหลุดร่วงได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  • ผิวทั่วไป เช่น ใบหน้า ลำตัว ขาหนีบ แขนขา จะมีลักษณะผื่นเป็นวง ขอบนูนแดง ตรงกลางดูค่อนข้างปกติ แต่เห็นแห้งๆ และมีขุยชัดเจน ผื่นจะลามออกช้าๆ มักมีอาการคันมากพอสมควร
  • ฝ่ามือฝ่าเท้า จะเห็นเป็นขุยหยาบชัด บางครั้งจะเป็นหนังหนาๆ ถ้ามีอาการอักเสบรุนแรงมากจะเห็นเป็นตุ่มน้ำได้ สำหรับบริเวณง่ามมือมักเกิดเป็นผิวยุ่ยๆ หรือหนังอาจหลุดจนเห็นผิวชั้นในแดงๆ และมักมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
  • เล็บ พบหลายแบบ เช่น เล็บขาวหรือเหลืองเป็นบางส่วน มีขุยใต้เล็บ หรือมีการแยกของแผ่นเล็บจากเนื้อด้านล่าง

ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค

  • สาเหตุต่างๆที่ก่อให้เกิดความอับชื้นมากขึ้น
  • พันธุกรรมจะทำให้บางคนมีความไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องต่างๆ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, ผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น
  • ถิ่นที่อยู่ ซึ่งจะทำให้ผู้แปลกถิ่นเกิดการติดเชื้อราที่พบบ่อยในท้องถิ่นนั้นได้ง่ายกว่าชาวท้องถิ่นเดิม
  • อื่นๆ เช่น เพศ, อายุ

โรคผิวหนังจากเชื้อราสามารถรักษาหายได้ ถ้าได้รับการรักษาที่นานพอ การติดเชื้อในแต่ละส่วนของร่างกายต้องการเวลาในการรักษาแตกต่างกัน เช่น

  • เชื้อราบนหนังศีรษะ ใช้เวลาในการรักษา 1-3 เดือน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
  • เชื้อราของเล็บ ใช้เวลาในการักษา 6-12 เดือน

* ดังนั้นการหยุดยาในขณะที่รู้สึกว่ารอยโรคดีขึ้น จะทำให้โรคกำเริบขึ้นอีกครั้งได้

  • ดูจากรอยโรคที่มีลักษณะค่อนข้างจำเพาะ
  • ขูดเอาขุย หรือตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคไปตรวจ
  • การตรวจด้วยหลอดไฟ Wood’s Lamp

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วควรดูแลป้องกันไม่ให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่การติดเชื้อได้อีก

  • การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนบนรอยโรคของเชื้อรา
  • การหนาตัวขึ้นของผิวหนังจากการเกาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • ผิวหนังอักเสบจากการรบกวนของยาทารักษาเอง

โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา

“เซ็บเดิร์ม“ หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน โรคผิวหนังที่ต้องทำความรู้จัก

โรคเซ็บเดิร์ม  หรือ ชื่อเต็ม โรค Seborrheic Dermatitis เป็นโรคที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันในชั้นผิวหนัง ถือเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น ระดับของฮอร์โมนที่แปรปรวน หรือจากเชื้อยีสต์ เชื้อราบางตัว รวมถึงจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และส่งผลต่อชีวิตประจำวัน โดยจะส่งผลต่อจิตใจโดยตรง ทำให้ขาดความมั่นใจจากโรคผิวหนังเรื้อรัง ทั้งนี้การทำความเข้าใจต่อตัวโรค รวมถึงการควบคุมก็มีส่วนในการรักษา

ผื่นเซ็บเดิร์มคือ

ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในสังคมไทย และยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุหลักในการเกิดโรค โดยจะมีตัวกระตุ้นที่จะทำให้เกิดได้ เช่น อากาศในหน้าร้อน ที่ทำให้ผื่นขึ้นบริเวณใบหน้าหรือลำตัว โดยโรคดังกล่าวจะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป

  • หากเกิดไม่รุนแรงจะมีลักษณะของผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยร่วมกับมีอาการคัน
  • หากเกิดในระดับที่รุนแรงจะมีผื่นขึ้นในปริมาณมาก มีลักษณะเป็นผื่นแดง ผิวหน้าเป็นขุย และนอกจากจะขึ้นบนใบหน้าแล้ว อาจเกิดขึ้นบริเวณลำตัวร่วมด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง

บริเวณที่พบบ่อยของผื่นเซ็บเดิร์ม

คือบริเวณใบหน้า โดยจะขึ้นที่หัวคิ้ว ข้างจมูก หลังหู ซึ่งเป็นบริเวณที่พบได้บ่อยที่สุด ในคนที่มีอาการรุนแรงจะพบบริเวณหน้าอกหรือแผ่นหลังด้วย ขณะที่บางรายก็อาจเกิดที่บริเวณหนังศีรษะเพียงอย่างเดียว

กลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคนี้คือ

  • เด็กแรกเกิด – 2 เดือน ส่วนมากจะเกิดผื่นที่บริเวณศีรษะหรือใบหน้า
  • ช่วงที่กำลังจะเข้าสู่วัยรุ่น ลักษณะการเกิดคือเมื่อเริ่มมีการสร้างต่อมไขมันในไขมันขึ้นมาแล้วผื่นจะกำเริบขึ้น และปรากฎที่บริเวณใบหน้าและลำตัว

ผื่นเซ็บเดิร์มสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในหน้าร้อนและหน้าหนาว

โดยหน้าร้อนต่อมไขมันบริเวณผิวหน้าจะสร้างซีบุ่มหรือไขมันออกมามาก ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นเซ็บเดิร์มเกิดได้มากขึ้น ส่วนในหน้าหนาว เมื่ออากาศแห้งเกินไปก็จะกระตุ้นให้เกิดผื่นเซ็บเดิร์มได้เช่นกัน

การเกิดผื่นเซ็บเดิร์ม

เป็นการอักเสบจากภายใน ไม่ใช่การแพ้สัมผัสจากภายนอก มักเกิดจากความผิดปกติในร่างกาย เช่น ภาวะเครียดทางจิตใจ ทำงานหนัก ใกล้สอบ อดนอน ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นเซ็บเดิร์ม หรือบางรายที่เป็นผื่นเซ็บเดิร์มในบริเวณที่กว้างมาก อาจเป็นผลมาจากโรคอื่นๆ เช่น HIV โรคพากินสัน หรือโรคระบบทางเดินประสาทบางชนิด ซึ่งต้องทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจ

อาการของเซ็บเดิร์มอาจมีลักษณะคล้ายกับโรคผิวหนังบางชนิด

เช่น สิว วิธีการสังเกตคือหากเป็นสิวอุดตัน จะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ หัวปิดหัวเปิด ตุ่มดำ ตุ่มหนอง ตุ่มอักเสบ นอกจากนี้ก็ยังมีโรค SLE หรือโรคพุ่มพวง ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้เนื่องจากโรค SLE จะมีลักษณะเป็นผื่นแดงที่ข้างแก้มเหมือนปีกผีเสื้อ และไม่ได้อยู่ชิดบริเวณข้างจมูกเหมือนกับผื่นเซ็บเดิร์ม

อีกหนึ่งโรคที่มีผื่นขึ้นเช่นกันก็คือโรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งลักษณะของผื่นคล้ายกับเซ็บเดิร์มมาก แต่เมื่อมีการซักประวัติคนไข้จะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสองโรคได้ เพราะส่วนมากผู้ที่เป็นผื่นแพ้สัมผัสมักมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใหม่ภายใน 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น ครีมยี่ห้อใหม่ โฟมล้างหน้ายี่ห้อใหม่ เป็นต้น ส่วนโรคผิวหนังอื่นๆ อาจต้องตรวจละเอียดด้วยวิธีทางการแพทย์

ในส่วนของการแทรกซ้อนปกติแล้วโรคเซ็บเดิร์มไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา แต่โรคนี้อาจเกิดจากโรคอื่นที่ผู้ป่วยเป็นอยู่แล้วได้ ในกรณีที่เป็นมากๆ จำเป็นต้องตรวจดูว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอะไรอยู่หรือไม่ เช่น โรค HIV โรคพากินสัน หรือโรคทางระบบประสาทบางชนิด หรือแม้แต่การใช้ยาบางอย่างก็กระตุ้นให้เกิดเซ็บเดิร์มได้

โรคเซ็บเดิร์มเป็นโรคผิวหนังอักเสบที่ไม่ใช่โรคติดต่อและไม่ได้เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ

นั่นหมายความว่าหากมีการสัมผัสผิวหนังคนที่เป็นโรคเซ็บเดิร์ม ก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้ โดยวิธีการป้องกันโรคดังกล่าวคือหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดเซ็บเดิร์ม เช่น หลีกเลี่ยงอากาศที่ร้อนจัด หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงสภาวะความเครียด และควรพักผ่อนให้เพียงพอ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด ที่กระตุ้นให้เกิดเซ็บเดิร์มได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรคนี้ไม่สามารถป้องกันได้ 100% เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่อาจเกิดจากพันธุรกรรมหรือสิ่งแวดล้อม หรือมีเพียงตัวกระตุ้นเท่านั้น สิ่งที่ทำได้คือการหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิด หรือถ้าหากเป็นแล้วก็ต้องป้องกันไม่ให้ผื่นกำเริบหรือลุกลาม

ข้อควรปฏิบัติหลังเกิดผื่นเซ็บเดิร์ม

ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธี โดยโรคนี้รักษาได้ไม่ยาก และมีการใช้ยาทาเพียง 1-2 ชนิดเท่านั้น ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้อง และควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางทุกชนิด กรณีที่อยากแต่งหน้าปกปิดผื่นเซ็บเดิร์ม เป็นเรื่องที่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจไปกระตุ้นให้อาการแย่ลงหรือกลายเป็นผื่นชนิดอื่น เช่น การแพ้สัมผัสครีมหรือเครื่องสำอางบางตัว และอาจทำให้เกิดสิวได้อีกด้วย

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสภาวะความเครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอ ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และดื่มน้ำเยอะๆ พยายามทำร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีมาตรฐาน เลือกค่า PH ที่บอกความเป็นกรดด่างไม่ให้มากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่มัน และมีส่วนประกอบระคายเคืองผิว เช่น AHA หรือ วิตามินA สำหรับคนที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณศีรษะ ควรใช้แชมพูสระผมที่ไม่ระคายเคืองหนังศีรษะ

การรักษาโรคเซ็บเดิร์ม

ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ หากอาการทุเลาลงเป็นเวลา 1-2 ปี เนื่องจากการดูแลรักษาที่ถูกวิธี เมื่อเริ่มมีอาการเกิดขึ้นใหม่ ในกรณีที่เครียดหรือตกอยู่ในภาวะที่ไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคขึ้นอีกครั้ง เมื่อรู้ตัวก็สามาถรรีบทายาเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดมากหรือลุกลามได้

ข้อมูลจาก
อ. พญ.สุธินี รัตนิน
สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคผื่นแพ้ต่อมไขมันหรือ”เซ็บเดิร์ม” : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่