จงยกตัวอย่างการปฏิบัติด้วยหลัก 7r ในชีวิตประจำวัน

ถ้าจำกันได้ ช่วงต้นปี 2563 ประเทศไทยได้ประกาศงดแจกถุงพลาสติกทั่วไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ซึ่งนับว่าปลุกกระแสความตื่นตัวเรื่องการลดขยะพลาสติกในหมู่ประชาชนชาวไทยได้อย่างมาก จนกระทั่งช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ขึ้น พวกเราต้องอยู่ภายใต้มาตรการ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ โดยพร้อมหน้ากัน และจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เมื่อออกจากบ้านไม่ได้ คนส่วนใหญ่ก็พึ่งพาการสั่งอาหารกล่อง หรืออาหารดิลิเวอรี่ ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ปริมาณ ขยะช่วงวิกฤตโควิด ซึ่งเป็นขยะพลาสติก หรือ ขยะจากบริการส่งอาหาร เพิ่มมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง
จากผลการสำรวจล่าสุดระบุว่า ขยะช่วงวิกฤตโควิด ส่วนใหญ่เป็น ขยะจากบริการส่งอาหาร ประกอบด้วยถุงพลาสติก กล่องพลาสติก และพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ช้อน ส้อม ไม้จิ้ม เพิ่มขึ้นในอัตราสูงถึง 15% จาก 1,500 ตันต่อวัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน
นอกจากนั้น ปริมาณขยะพลาสติกซึ่งเดิมอยู่ในราว 2 ล้านตันต่อปี ได้เพิ่มขึ้นอีก 30% และเมื่อขยะส่วนใหญ่ปนเปื้อนเศษอาหารและไม่มีการแยกขยะที่เหมาะสม ในที่สุดวัสดุเหลือใช้ทั้งหลายก็จะถูกนำไปสู่หลุมฝังกลบ 
ได้รู้อย่างนี้แล้ว อยากชวนให้ร่วมมาหาคำตอบให้คำถามที่ว่า “แล้วเราทุกคนจะทำอะไร เพื่อมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะเหล่านี้ได้บ้าง”

อย่าให้วิกฤตโควิด-19 ก่อให้เกิด “วิกฤตแห่งความสะดวกสบาย” ทำ ขยะจากบริการส่งอาหาร & สั่งสินค้าออนไลน์ ล้นประเทศ

บทความ เรื่อง “จัดการปัญหาขยะก่อนลงถังด้วยหลัก 7R ทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษพลาสติกหลังวิกฤตโควิด-19” โดย พิชา รักรอด (เว็บไซต์ Greenpeace 2 มิถุนายน 2020) ได้ยืนยันถึงประเด็นที่เกริ่นมาข้างต้นว่า ก่อนสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอย่างมาก และกำลังขยายออกไปสู่ผู้คนในวงกว้าง หลังจากมี Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ออกมา
ตลอดจนในตอนนั้น ยังมีแนวโน้มว่าปัญหาขยะพลาสติกในไทยกำลังมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต ทว่า การที่ประชาชนต้องกักตัวในบ้านหรือที่พักของตน ส่งผลให้เกิดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากขึ้น
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในแอปพลิเคชันหนึ่งในบางหมวดหมู่เพิ่มขึ้นถึง 12 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว พฤติกรรมผู้บริโภคพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง กำลังจะนำไปสู่ วิกฤตแห่งความสะดวกสบาย ที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับวิกฤตโรคระบาดและวิถีนิวนอร์มอลเสียแล้ว
ในช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 700 คน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร พบว่าร้อยละ 62 มองว่าพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่ อีกร้อยละ 54 ตอบว่าได้สั่งอาหารจากบริการฟู้ดเดลิเวอรี่และซื้ออาหารกลับบ้านมากขึ้นกว่าเดิม และอีกร้อยละ 47 สั่งสินค้าออนไลน์มากขึ้น

จงยกตัวอย่างการปฏิบัติด้วยหลัก 7r ในชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมที่กล่าวมาเหล่านี้ ล้วนเป็นต้นทางที่ทำให้ปริมาณขยะจากบริการส่งอาหาร และการสั่งสินค้าออนไลน์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สิ่งที่ผู้เขียนบทความนี้ชี้ให้เห็น จึงเป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลต้องทบทวน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ที่มุ่งไปสู่การลดปริมาณขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งให้เหลือศูนย์ให้ได้

แนะ ‘หลัก 7R จัดการ ขยะช่วงวิกฤตโควิด ฉบับทำง่าย ได้ผลจริง

นอกเหนือจากการพึ่งพากลไกจากภาครัฐแล้ว คนไทยทุกคน ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นครัวเรือนไปจนถึง ร้านค้า องค์กรธุรกิจต่างๆ ล้วนต้องมาร่วมมือกัน เพื่อตระหนักรู้เท่าทันว่าการจับจ่ายซื้อสินค้าของตนเองในช่วงวิกฤตโควิดนี้นั้น สร้างปัญหาขยะให้สังคมมากน้อยแค่ไหน และจะมีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง
โดย หลัก 7R ยังคงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างได้ผล ซึ่งผู้เขียนบทความได้เรียงตามลำดับความสำคัญคือ Reduce, Reuse, Refill, Return, Repair/Repurpose, Replace และ Recycle
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดมลพิษพลาสติกให้อยู่ภายใต้หลักการ 7R ยังเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดจนมีขยะไปสู่หลุมฝังกลบน้อยที่สุดนั่นเอง

จงยกตัวอย่างการปฏิบัติด้วยหลัก 7r ในชีวิตประจำวัน

  • Reduce ลดการใช้พลาสติกลง
เป็นที่รู้กันว่า การลด คือกลไกที่ช่วยลดมลพิษพลาสติกได้มากที่สุด ซึ่งอาจทำโดยการลองคำนวณก่อนซื้อสินค้าว่าในสินค้านี้มีพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งกี่ชิ้นและเราสามารถลดใช้พลาสติกตรงส่วนไหนได้บ้าง
“เคี้ยวเขียว” คือ ตัวอย่างผู้ประกอบการที่ยังคงมุ่งมั่นลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในช่วงสถานการณ์ไวรัสระบาด โดยหันมาใช้ภาชนะใช้ซ้ำสำหรับบริการจัดส่งอาหาร และธุรกิจนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า การทำธุรกิจกับการรักษ์โลกทำร่วมกันได้ในยุคนี้
เมื่อลูกค้าสั่งอาหารแล้ว ทางร้านจะจัดส่งด้วยกล่องถนอมอาหาร มีฝาล็อค ใช้ซ้ำได้ ไม่เกิดขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ ให้แก่ผู้ที่ต้องกักตัวอยู่บ้านและต้องการสั่งอาหารมารับประทานโดยไม่สร้างขยะเพิ่ม
  • Reuse ใช้ซ้ำ
การใช้ซ้ำเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า โดยมีหลักการง่ายๆ คือ การนำสิ่งที่มีมาใช้ซ้ำอยู่เสมอจนมันหมดอายุการใช้งาน เช่น ขวดแก้วที่เคยเป็นขวดเครื่องดื่มนำไปเป็นกระถางต้นไม้ หรือจะใช้วิธีการ upcycling ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ของใช้ที่เรามี เช่น นำเสื้อยืดตัวเก่ามาปักเป็นลายให้สวยงาม นำกระดาษหน้าเดียวมาเย็บเป็นสมุดจดงาน เป็นต้น

จงยกตัวอย่างการปฏิบัติด้วยหลัก 7r ในชีวิตประจำวัน

  • Refill พกภาชนะไปเอง
การรีฟิลก็เป็นอีกไอเดียหนึ่งที่ช่วยลดพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี ในแต่ละวันเราจับจ่ายซื้อสินค้ากันโดยอาจลืมไปว่า นอกเหนือจากสินค้าที่เราได้รับแล้ว เรายังได้ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกด้วย ซึ่งจากการสำรวจแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติกของกรีนพีซเมื่อปีที่แล้วพบบรรจุภัณฑ์อาหารตกค้างในสิ่งแวดล้อมกว่าร้อยละ 90 ดังนั้น การนำภาชนะใช้ซ้ำที่เรามีอยู่ไป “เติม” จึงดีกว่าการ “ซื้อใหม่” ที่จะได้ขยะพลาสติกกลับมาด้วย 
ยกตัวอย่างผู้ประกอบการรายย่อยที่เริ่มขายของอุปโภคบริโภคที่ไม่มีบรรจุภัณฑ์แล้ว อย่าง Better Moon x Refill Station ที่เจ้าของร้านมีความตั้งใจอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงและมีส่วนร่วมลดขยะพลาสติกอย่างจริงจัง
ธุรกิจสีเขียวนี้จึงจำหน่ายแต่อุปกรณ์ใช้ซ้ำ เช่น หลอดสแตนเลส อุปกรณ์แก้วใช้ซ้ำ พร้อมทั้งมีจุดเติมน้ำสำหรับลูกค้าที่เอากระบอกน้ำมา คาเฟ่ยังมีจุดบริจาคขวดพลาสติกเพื่อนำไปรีไซเคิล และมีจุดยืมภาชนะให้ลูกค้าซื้อขนมจากนอกร้านมาทานด้วย รวมถึงการตกแต่งในร้านจะเป็นการนำเฟอร์นิเจอร์เก่ามาใช้ด้วย
  • Return ส่งคืนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
หมายถึงการนำบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิต โดยที่ผู้ผลิตเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วแทนขวดพลาสติก เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถคืนขวดให้แก่ผู้ผลิตเพื่อนำไปผ่านกระบวนการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และนำกลับมาใช้ใหม่
เพื่อให้แนวทางนี้เกิดขึ้นได้จริง ในขั้นตอนการทิ้งขยะจึงควรมีการแยกขยะ โดยเฉพาะขวดแก้วไว้ต่างหากเพื่อที่ขวดจะไม่ไปปะปนกับขยะประเภทอื่นจนยากแก่การรีไซเคิล
และสิ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราทำได้คือ ซื้อเครื่องดื่มหรือสินค้าจากผู้ผลิตที่รับคืนขวด ภาชนะ เพื่อนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วหมุนเวียนมาใช้ต่อได้
ธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่าแนวทางนี้สามารถช่วยลดปริมาณขยะได้จริง คือ ร้านปลูกปั่น แบรนด์น้ำปั่นผักผลไม้ห้าสีเพื่อสุขภาพจากสวนเกษตรอินทรีย์ ที่ใช้ขวดแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์และนำไปส่งให้ลูกค้าทุกเช้า พร้อมไปรับกลับมาทำความสะอาดเพื่อใช้ใหม่ โดยร้านปลูกปั่นสามารถลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งไปได้กว่า 70,000 – 80,000 ใบ ทีเดียว

จงยกตัวอย่างการปฏิบัติด้วยหลัก 7r ในชีวิตประจำวัน

  • Repair ซ่อมแซมแทนการซื้อใหม่
เพราะในปัจจุบันสินค้าหลายประเภทมีราคาถูกลงและมีโปรโมชั่นลดราคาสินค้าอยู่ตลอดทั้งปี ทำให้ผู้บริโภคมองว่าการซื้อใหม่นั้นง่ายกว่าการซ่อม ทั้งๆ ที่การซ่อมอาจจะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาได้มาก
อย่างเสื้อผ้า เราขอแนะนำให้ทุกคนมีทักษะเย็บปักถักร้อยไว้ เพราะการปักผ้าในปัจจุบันสามารถซ่อมเสื้อที่ขาดอาจดูสวยงามกว่าซื้อใหม่อีก หรือการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า บางครั้งอาจแค่ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งหมดก็ได้
ใครไม่เชื่อ อยากให้ไปลองเข้าไปศึกษาดูที่เว็บไซต์ ifixit.com ที่แนะนำวิธีการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างละเอียดพร้อมภาพประกอบด้วย การซ่อมถือเป็นการยืดอายุการใช้งานของที่เรามีแทนการปล่อยทิ้งกลายเป็นขยะทั้งๆ ที่มันยังมีอายุการใช้งานที่ดีอยู่
  • Replace ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนที่พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
เช่น การใช้แปรงสีฟันด้ามไม้ไผ่แทนแปรงสีฟันด้ามพลาสติก ไหมขัดฟันจากไหมธรรมชาติแทนไหมขัดฟันแบบพลาสติก สบู่ก้อนแบบไม่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์แทนสบู่ในขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
นอกจากนี้ ในช่วงไวรัสโควิดระบาด เรายังได้เห็นผู้ประกอบการร้านอาหาร อย่างร้านขนมหวานหลายรายนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้แทนบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ใบบัวห่ออาหาร เข่งปลาทูมาใช้แทนภาชนะ การ “แทนที่” อาจจะยังก่อให้เกิดขยะอยู่บ้าง แต่ก็ดีกว่าการใช้พลาสติกแล้วทิ้ง เพราะเป็นการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่มั่นใจว่าย่อยสลายได้ตามธรรมชาติแทนการใช้วัสดุพลาสติก

จงยกตัวอย่างการปฏิบัติด้วยหลัก 7r ในชีวิตประจำวัน

  • Recycle การหมุนเวียนมาใช้ใหม่
เป็นแนวทางที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นหูกันดีอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีสถิติการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์น้อยมาก ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเผยว่า ในปี 2561 มีขยะพลาสติกเพียง 500,000 ตัน เท่านั้นที่เข้าสู่ระบบรีไซเคิล จากขยะทั้งหมด 27.8 ล้านตัน และมีขยะนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้องถึง 7.15 ล้านต้น ซึ่งทำโดยการเทกองและเผากลางแจ้ง ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้มากว่าขยะเหล่านั้นกำลังตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม
เราไม่อาจทราบว่า ขยะที่เราทิ้งไปจะถูกนำไปรีไซเคิลหรือไม่ เพราะการรีไซเคิลมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเก็บรวบรวมขยะชนิดนั้นๆ เครื่องจักร และกฏหมายร่วมด้วย ดังนั้น ถ้าลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใต้ 6R ข้างต้นแล้ว ก็สามารถมั่นใจได้ว่าเรามีส่วนช่วยลดมลพิษพลาสติกได้อย่างมาก และอาจมีขยะเพียงจำนวนเล็กน้อยมากๆ ที่ต้องไปอยู่ในหลุมฝังกลบและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนตามคำนิยามของสหประชาชาติ

ที่มา บทความ เรื่อง “จัดการปัญหาขยะก่อนลงถังด้วยหลัก 7R ทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษพลาสติกหลังวิกฤตโควิด-19 โดย พิชา รักรอด (เว็บไซต์ Greenpeace 2 มิถุนายน 2020)


เรียนรู้เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตโควิดอย่างได้ผล

เรียนรู้จาก GC องค์กรธุรกิจต้นแบบ เสนอไอเดียโมเดลจัดการปัญหา “ขยะพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง” รับวิถีชีวิตใหม่อย่างยั่งยืน

‘โควิด-19 ช่วยลดภาวะโลกร้อน ได้จริงหรือ?’ ฟังคำตอบพร้อมแนะทางออก ลดขยะพลาสติก ที่เพิ่มขึ้นจากวิถีนิวนอร์มอลอย่างไรให้ได้ผล

ถอดรหัสการจัดการ ขยะอุตสาหกรรม & ขยะพลาสติก ด้วยงานวิจัยและโมเดล Zero Plastic Waste ครบวงจร

Post Views: 4,896

  • TAGS
  • Covid-19
  • Recycle
  • reduce
  • Reuse
  • ขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • ลดขยะ
  • วิกฤตโควิด-19

Previous articleกลุ่มชายขอบ…SME ที่หายไป

Next articleสาลิกาคาบข่าว Vol.184

จงยกตัวอย่างการปฏิบัติด้วยหลัก 7r ในชีวิตประจำวัน

Praornpit Katchwattana

https://www.salika.co

เริ่มต้นขีดเขียนในฐานะ สื่อมวลชน กับงานผู้สื่อข่าวประจำกองประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี 2546 ก่อนไปหาประสบการณ์ชีวิตที่เมลเบิร์น ออสเตรเลียมา 1 ปี และกลับมายึดอาชีพ “นักเขียน” จริงจัง กับการเป็น กองบรรณาธิการนิตยสารชีวจิต 3 ปี หลังจากนั้นคิดว่าน่าจะเปลี่ยนสายไปทำงานในบริษัท PR agancy ได้ 6 เดือน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกจริต เลยออกมาเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารฟีลกู้ดอย่าง Happy+ อยู่ 1 ปี สัมภาษณ์ทั้งดาราและคนบันดาลใจ ก่อนเข้าสู่ระบบงานประจำอีกครั้งกับนิตยสาร MBA กับการเป็นนักเขียนที่รับผิดชอบในเซคชั่นหลักสูตร MBA ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สั่งสมประสบการณ์อยู่ 3 ปี ก็ได้เวลา Upskill สู่งาน Online content writer ที่ใช้ความชอบและความหลงใหลในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ความรู้ใหม่ๆ ในยุค Education 4.0 อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

7R มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

1.Reduce การลดใช้ ... .
2.Reuse การใช้ซ้ำ ... .
3.Refill นำภาชนะไปเติม ... .
4.Return การส่งคืน ... .
5.Repair การซ่อมแซม ... .
6.Replace การแทนที่ ... .
7.Recycle..

วิธีการลดโลกร้อนด้วยตัวเอง 7 วิธี (7R) มีอะไรบ้าง อธิบายรายละเอียด

Greenery Challenge จัดหนักหลัก 7R: วิธีลดขยะที่ทำให้โลกน่าอยู่....
1. Refuse (ปฏิเสธถุงพลาสติกและโฟม) ... .
2. Recycle (แยกขยะให้เป็นนิสัย) ... .
3. Reuse (ใช้อย่างคุ้มค่า) ... .
4. Refill (เลือกซื้ออะไรที่เติมได้ ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์) ... .
5. Repair (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้) ... .
6. Reduce (ลดการใช้สิ่งต่างๆ).

7R มีอะไรบ้าง reject

6. Reject หรือการปฏิเสธ หมายถึงการไม่ใช้งานสินค้า หรือวัสดุที่อาจเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือกลายเป็นขยะที่ยากต่อการกำจัด เช่นกล่องโฟม ถุงพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้งานได้สะดวกดี แต่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ด้วย ดังนั้น เราจึงควรที่จะปฏิเสธ ไม่ใช้งานของพวกนี้ครับ

ลดการใช้ มีอะไรบ้าง

Reduce การลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้น เช่น งดการใช้พลาสติกแบบ Single use ที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ ค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการใช้สิ่งต่างๆ ที่แทนการถูกโยนทิ้งไป Recycle การเปลี่ยนสิ่งที่เก่าและไร้ประโยชน์ ให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์