ประวัติศาสตร์ ม. 3 การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 4.1 ม.3/1 วิเคราะห์เรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผลตามวิธีการทางประวัติศาสตร์

ส 4.1 ม.3/2 ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนสนใจ

ส 4.3 ม.3/3 วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์และอิทธิพล

ส 4.3 ม.3/4 วิเคราะห์บทบาทของไทยในสมัยประชาธิปไตย

วัตถุประสงค์

1. จากกรณีศึกษา นักเรียนสามารถระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้อย่างถูกต้อง

2. จากกรณีศึกษา นักเรียนสามารถนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

3. นักเรียนสามารถอภิปรายความสำคัญของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้อย่างสมเหตุสมผล

การวัดผลและประเมินผล

  1. สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความต้องการในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            ตัวชี้วัด

                   ส 4.1 ม.3/1 วิเคราะห์เรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผลตามวิธีการทางประวัติศาสตร์

                   ส 4.1 ม.3/2 ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนสนใจ

                   ส 4.3 ม.3/3 วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์และอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย

                   ส 4.3 ม.3/4 วิเคราะห์บทบาทของไทยในสมัยประชาธิปไตย

          วัตถุประสงค์

                   1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้อง

                   2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้อย่างสมเหตุสมผล

                  3. นักเรียนสามารถนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

                   4. นักเรียนอภิปรายความสำคัญของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยได้อย่างสมเหตุสมผล

                   5. นักเรียนสามารถอธิบายบทบาทและผลงานของตัวอย่างบุคคลสำคัญที่มีส่วนอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้อย่างถูกต้อง

                   6. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ผลของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์จากกรณีศึกษาได้อย่างสมเหตุสมผล

                   7. นักเรียนสามารถอภิปรายความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้อย่างสมเหตุสมผล

การวัดผลและประเมินผล

          1. สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม

ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันมากมาย 

ดังนั้นการศึกษาถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยมีความรู้ ความเข้าใจ 

เกิดความภาคภูมิใจและช่วยกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษได้สั่งสมเเอาไว้ให้แก่

คนรุ่นหลังสืบต่อไป

                                  

ประวัติศาสตร์ ม. 3 การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

การสร้างภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ล้วนอาศัยปัจจัยพื้นฐานหลายประการ

ปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

สภาพภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม ในสมัยรัตนโกสินทร์มีแม่น้ำไหลผ่านทั่วทุกภูมิภาคของประเทศบาง

ส่วนของประเทศอยู่ติดกับทะเล บางส่วนมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นภูเขาและป่าไม้ คนไทยสามารถแก้ไข

ปัญหาของตนเองได้ด้วยสติปัญญาของตนโดยสอดคร้องกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม

ลักษณะของสังคมและวัฒนธรรม สังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยเป็นสังคม

ที่มีระบบมูลนาย-ไพร่ ต่อมาเมื่อเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ระบบมูลนาย-ไพร่ถูกยกเลิก และเปลี่ยนแปลงการ

ปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย สังคมไทยจึงเป็นสังคมเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญ

                                         

ประวัติศาสตร์ ม. 3 การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
 

การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทย หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย 

บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย 

และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ 

โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา

การทอผ้าพื้นบ้าน การทอผ้าพื้นบ้านของไทยเป็นหัตคกรรมในครัวเรือนที่ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา

ตั้งแต่บรรพบุรุษสู่คนรุ่นหลัง ซึ่งเกิดขึ้นจากการสั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้ในการทอผ้าด้วน

ตนเองในประณีต สวยงาม จนเกิดเป็นภูมิปัญญาไทยในภูมิปัญญาไทยในการทอผ้า โดยที่ลวดลายต่างๆ 

บนผืนผ้านั้นล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและจินตนาการของผู้ทอ จน

สามารถสร้างสรรค์ลวดลายที่มีความสวยงาม ดังนั้น การทอผ้าพื้นบ้านจึงกลายเป็นวัฒนธรรมไทยอัน

เป็นมรดกล้ำค่าของคนไทยในท้องถิ่นและของชาติไทย

ข้าวในวัฒนธรรมไทย ข้าวนับว่ามีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่

สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยและเป็นบ่อเกิดของความเชื่อ 

ประเพณีและพิิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีไหว้แม่โพสพ ซึ่งเป็นเทพยาดาประจำต้นข้าวเพื่อรักษาต้านข้าวให้

สมบูรณ์แข็งแรงและออกรวงในปริมาณมาก พิธีเลี้ยงผีตาแฮก ซึ่งเป็นผีประจำไร่นา คอยดูแลต้นกล้าและ

นาข้าว พิธีบูชาแม่ธรณี เมื่อแรกไถนา แรกหว่านข้าว และแรกดำนา แม้แต่พิธีไหว้พระหรือไหว้บรรพบุรุษ

ในเทศกาลต่างๆ

งานเครื่องไม้จำหลัก งานศิลปกรรมที่กระทำบนเนื้อไม้  ด้วยวิธีการสลัก  ฉลัก  หรือจำหลัก  ให้เป็นรูป

ร่าง  ลวดลาย  ด้วยเครื่องมือต่างๆ  เป็นงานประณีตศิลป์อย่างหนึ่งที่ช่างผู้ดำเนินงานต้องมีความรู้ความ

ชำนาญเฉพาะตัว  เพราะต้องใช้ความประณีตในการถ่ายทอดรูปแบบและลวดลายลงบนวัสดุที่เป็นไม้  

ด้วยการใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะในการแกะสลัก  ดังนั้น  ช่างจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในลวดลาย

ต่างๆ พอสมควร  จึงจะสามารถทำงานให้เกิดความงดงามถูกต้องได้  ในปัจจุบันมักเรียกวิธีการทำงาน

แบบนี้ว่า  การแกะสลัก  และเรียกช่างผู้ทำงานด้านนี้ว่า ช่างแกะสลัก เรียกงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับการ

แกะสลักไม้นี้ว่า  เครื่องไม้จำหลัก

                                  

ประวัติศาสตร์ ม. 3 การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์