การบริหารจัดการลงทุนของครัวเรือน

อัตราเงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ "ค่าของเงิน" เช่น เมื่อก่อนซื้อข้าวราดแกงจานละ 15 บาท แต่ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 30 - 50 บาท ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ "เงินเฟ้อ" ทำให้เงินมีมูลค่า หรือ "อำนาจซื้อ" ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับนั้นจึงยังไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง ต้องมีการหักผลกระทบจากเงินเฟ้อออกก่อน ดังนี้​

การบริหารจัดการลงทุนของครัวเรือน
 

ทั้งนี้ สามารถดูข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ได้จาก website ของธนาคารแห่งประเทศไทย​ 

ยกตัวอย่างเช่น หากนำเงินไปฝากประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3 ต่อปี ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับร้อยละ 1 เท่านั้น และในบางครั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอาจน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เงินที่งอกเงยขึ้นไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ผู้ฝากอาจนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยสามารถศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มเติมที่ การลงทุน 

​​​​​

3. ระยะเวลาในการออม

เพราะการออมมีผลตอบแทน ดังนั้นยิ่งเริ่มต้นออมเร็วเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่งงอกเงยมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่นำเงินไปฝากแบบมีการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยที่ได้จะถูกทบเข้ากับเงินต้นเดิม และกลายเป็นเงินต้นของงวดถัดไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินงอกเงยได้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หากเรามีการตั้งเป้าหมายทางการเงินไว้ ยิ่งเราเริ่มออมเร็วเท่าไหร่ ภาระในการเก็บออมก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งเป้าหมายออมเงินให้ได้ 1 ล้านบาทเพื่อการเกษียณ โดยได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี หากเริ่มออมตั้งแต่อายุ 31 ปี จะต้องออมเพียงปีละ 15,000 บาทเท่านั้น แต่หากเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปี จะต้องออมถึงปีละ 76,000 บาท ดังตารางด้านล่าง

การบริหารจัดการลงทุนของครัวเรือน
 

และหากตั้งเป้าหมายการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัว ก็สามารถคำนวณระยะเวลาในการออมง่าย ๆ ได้ดังนี้​

การบริหารจัดการลงทุนของครัวเรือน
 

จากสมการ จะเห็นได้ว่ายิ่งอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูง ระยะเวลาการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัวก็ยิ่งสั้นลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราออมโดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4 จะต้องใช้เวลา 18 ปีเงินจึงจะงอกเงยเป็นเท่าตัว แต่ถ้าเราออมที่ดอกเบี้ยร้อยละ 6 เงินจะงอกเงยเป็นเท่าตัวในเวลาเพียง 12 ปี

​ ​​​​

4. สภาพคล่องทางการเงินของผลิตภัณฑ์

สภาพคล่องทางการเงิน คือ ความยากง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีเป็นเงินสด สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง จะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินฝากธนาคาร ส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ จะต้องใช้เวลานานในการขายหรือเปลี่ยนให้เป็นเงินสด เช่น รถ ที่ดิน หรือ สิ่งของสะสม 

ผลิตภัณฑ์เพื่อการออมแต่ละประเภทก็มีสภาพคล่องที่ต่างกัน เช่น การฝากออมทรัพย์จะมีสภาพคล่องสูง สามารถฝาก-ถอนเงินสดได้ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในขณะที่การฝากประจำแม้จะมีผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็อาจเรียกได้ว่ามีสภาพคล่องต่ำกว่า เนื่องจากหากถอนเงินออกจากบัญชีก่อนครบกำหนดเวลา ก็มักจะได้รับดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ประกาศไว้

ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรเงินออมให้สอดรับกับรูปแบบการใช้จ่ายและความจำเป็นทางการเงินของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาขาดสภาพคล่องหรือ "หมุนเงินไม่ทัน" จนต้องถอนเงินก่อนกำหนด หรือต้องกู้ยืมเงินมาใช้โดยไม่จำเป็น โดยสิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือการวางแผนการเงินและการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้ว่าเราจะต้องมีเงินที่มีสภาพคล่องสูง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำแต่ละเดือน และเงินที่สำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อฝากเงิน 2 ส่วนนี้ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ (แต่ควรแยกบัญชีกันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต่างกัน) แล้ว เรายังสามารถนำเงินส่วนที่เหลือมาออมด้วยการฝากประจำหรือนำไปลงทุนซึ่งได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อให้เงินงอกเงยมากขึ้นด้วย

​​​​​​​​

5. ​อัตราค่าธรรมเนียมและข้อกำหนดต่าง ๆ

 การออมภาคครัวเรือนของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2559

นางนวลนภา ธนศักดิ์  รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจการติดตามระดับความรู้และการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน พ.ศ.2559 ( ไตรมาส 4 ) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนตัวอย่างทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 13,000 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศส่วนใหญ่มีการออมเงินสูงถึง ร้อยละ 66.7 ซึ่งครัวเรือนที่มีการออมมีวิธีการจัดสรรการออมเงินที่ได้ไปใช้สอยก่อนถ้ามีจะเหลือเก็บออมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.3 รองลงมาร้อยละ 22.4 จะแบ่งเงินออมไว้ก่อนแล้วถึงจะนำเงินส่วนที่เหลือไปใช้ และอีกร้อยละ 14 ยังไม่แน่นอนว่าจะใช้วิธีการใดในการเก็บออม แต่ละครัวเรือนให้ความสำคัญเพื่อไว้ใช้ยามชราหรือเกษียณเป็นลำดับแรก ร้อยละ 31 รองลงมาออมไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือเมื่อป่วย ร้อยละ 22.2 บริหารรายรับรายจ่ายตามฤดูกาลร้อยละ 5 การศึกษาร้อยละ 3 จัดหาเครื่องอำนวยความสะดวก ยานพาหนะร้อยละ 2.4 และออมด้วยเหตุผลอื่นๆ ร้อยละ 3.1 สำหรับวิธีการเก็บเงินออมส่วนใหญ่เก็บเป็นเงินสด รองลงมาเป็นเก็บเงินในบัญชีเงินฝากเดียวกับบัญชีเงินเดือน/บัญชีสำหรับไว้ใช้จ่าย เก็บในบัญชีที่เปิดไว้เพื่อออมเงินโดยเฉพาะมีแหล่งที่มาของเงินออม เงินเดือน/รายได้ที่เหลือจากค่าใช้จ่าย กำไรจากทำการเกษตร กำไรจากการประกอบธุรกิจ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการออมของคนไทย ขึ้นอยู่ที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศหากเศรษฐกิจดีประชาชนมีรายได้มั่นคงแนวโน้มการออมก็จะดีขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการออมในหลายช่องทาง และมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนถึงความสำคัญของการออม พบกับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.nso.go.th  นางนวลนภาฯ กล่าว


**************************

การบริหารจัดการลงทุนของครัวเรือน

มั่นใจในสำนักงานสถิติแห่งชาติ รัฐและราษฎร์จะก้าวไปอย่างมั่นคง​

​กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักสถิติพยากรณ์  โทรศัพท์ 0 2141 7485 โทรสาร 0 21​43 8131

​ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 ​