ยุคบาโรก ดนตรีมีการพัฒนาอย่างไร

ดนตรี ในสมัยนี้จะอยู่ประมาณ ค.ศ. 1600 – 1750 ช่วงระยะเวลานี้ ทวีปยุโรปกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไปในทางที่ดีขึ้น ดนตรีในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมบูรณ์ ดนตรีศาสนา และดนตรีของชาวบ้านมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน โครงสร้างของเพลงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สีสันในบทเพลงมีมากขึ้นวงดนตรีวงใหญ่ขึ้น มีการนำเครื่องดนตรีมาใช้อย่างหลากหลาย เพลงในยุคนี้จะมีจังหวะสม่ำเสมอมาก ทางด้านการประสานเสียงมีการใช้เสียงหลัก (Tonality) ที่แน่นอน เพลงแต่ละเพลงจะต้องอยู่ในกุญแจหนึ่ง เช่น เริ่มด้วยกุญแจ C ก็ต้องจบด้วยกุญแจ C มีกฎเกณฑ์การใช้คอร์ด นักประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมทำนองสั้นๆ (Motif) มาบรรเลงซ้ำๆ กัน โดยเลียนแบบให้สูงขึ้น หรือต่ำลงเป็นลำดับ หรือไม่ก็ซ้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ในด้านจังหวะ ได้ทำให้กระชับขึ้นมาก โดยมีการใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) จุดสุดยอดแห่งการเขียนเพลงแบบนี้คือ เพลงประเภท ฟิวก์ (Fugue) ซึ้งใช้เป็นทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เป็นเพลงที่มีหลายทำนองสลับซับซ้อน มีลวดลายมาก นอกจากนี้ การเขียนเพลงแบบโฮโมโฟนี คือ การประสานเสียงที่มีทำนองหลักหนึ่งแนว และมีแนวเสียงอื่นเป็นส่วนประกอบ ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์ในยุคนี้ นักประพันธ์เพลงหลายท่าน ได้สร้างผลงานโดยใช้หลักการประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี ผู้มีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบรรเลงในยุคนี้ คือ วิวาลดี (Antonio Vivaldi ค.ศ. 1676 - 1741) เพลงที่เขาเขียนส่วนใหญ่ เป็นเพลงประเภท คอนแชร์โต (Concerto) ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวคนเดียว ส่วนเพลงที่มีเดี่ยว 2 – 4 คน เพลงประเภทหลังนี้เรียกว่า คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ยุคนี้เป็นยุคที่ริเริ่มเขียนอุปรากร (Opera) ขึ้น ผู้ที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ทางด้านอุปรากร (Opera) คือ มอนทิเวอร์ดี (Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643)

นัก ประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮนเดลนั้น ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เขาได้แต่งเพลงร้องและเพลงบรรเลงไว้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพลงร้องที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเพลงหนึ่ง คือ Messiah (ไทยออกเสียงว่า มิซซา) เป็นเพลงบรรยายถึงประวัติของพระเยซู เพลงนี้ใช้แสดงกันในฤดูคริสต์มาสทั่วทุกมุมโลก สำหรับเพลงบรรเลงนั้นได้เขียน คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ซึ่งเพลงไพเราะมาก ทั้งหมด 12 เพลง ที่วงดนตรีนิยมบรรเลงกันจนกระทั่งทุกวันนี้มี 2 เพลง คือ Water Music และ Fireworks Music

โน้ตเพลง

ฮาร์ปซิคอร์ด
เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ
และกีตาร์

วงออร์เคสตราสมัยบาโรก (Baroque Orchestra)

เป็นวงออร์เคสตราสมัยแรก ๆ ของดนตรีประเภทคลาสสิก มาตรฐานของการจัดวงไม่มี ความแน่นอนนัก ลักษณะการจัดวงโดยทั่วไปจะให้ไวโอลินหนึ่ง (First Violins) อยู่ทางซ้ายมือ ของผู้อำนวยเพลง (Conductor) และให้ไวโอลินที่สอง (Second Violins) อยู่ทางขวามือ วิโอลา และเชลโลอยู่ตรงกลางส่วนดับเบิลเบสอยู่แถวหลังสุดของวง สำหรับเครื่องเป่าลมไม้ (Woodwinds Instruments) อยู่หลังกลุ่มไวโอลินที่หนึ่ง เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments) อยู่ด้านหลังขวา เครื่องประกอบจังหวะ (Percussion) อยู่หลังสุดของวง นอกจากนี้ อาจจะมีฮาร์ปสิคอร์ดเล่นเป็นแนวเบส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการผู้ประพันธ์เพลงและสถานที่ ที่ใช้ในการแสดงโดยทั่วไปมักมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 20-30 คน

ยุคนี้กินเวลาประมาณ 150 ปี เป็นยุคของความตื่นตัวทางภูมิปัญญาและการใช้เหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นยุคของการล่าอาณานิคมและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในต่างแดน เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างอันเป็นผลมาจากการที่กาลิเลโอ (Galileo : ค.ศ. 1564 – 1642) พบทฤษฎีใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลมิใช่โลกตามที่เคยเชื่อกันมา การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทำให้วิทยาการเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีการค้นพบกฎคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ของนิวตัน ฯลฯ

ดนตรียุคนี้พัมนาเปลี่ยนแปลงไปจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นอย่างมาก
เพลงบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายเช่นเดียวกับเพลงร้อง ผู้ประพันธ์เพลงคิดค้นการประพันธ์เพลงแบบใหม่ ๆ มีการพัฒนาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและคีย์บอร์ดให้ได้มาตรฐาน สถานที่แสดงอุปรากร (opera) เกิดขึ้นในอิตาลีเป็นแห่งแรกใร ค.ศ. 1637 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน ผู้ชมเริ่มอยากชมอุปรากรที่แต่งเนื้อร้องขึ้นมาใหม่หรือสะท้อนภาพชีวิตจริงมากกว่าอุปรากร ที่นำเนื้อเรื่องมาจากเพทนิยายหรือตำนานขิงกรีกและโรมัน

การประพันธ์เพลงในยุคบาโรกนิยมประพันธ์ 2 ทำนองขึ้นไปในเวลาเดียวกัน
ลวดลายการประพันธ์ดังกล่าวเรียกว่า polyphony โดยมีการประพันธ์ในลักษณะทำนองเสียงสูง แล้วอาจเล่นซ้ำอีกครั้งด้วยเสียงต่ำ เช่นเดียวกับทำนองเสียงต่ำอาจสลับไปเล่นทำนองเดิมอีกครั้งแต่ใช้เสียงสูงลักษณะเช่นนี้เรียกว่าการสอดประสานทำนอง (contrapuntal) นอกจากนี้ยังนิยมประพันธ์ให้เกิดลูกล้อลูกขัด เรียกว่าแคนนอน ซึ่งหมายถึงการเล่นไล่กันของทำนอง 2 ทำนองที่เหมือนกันแต่บรรเลงในเวลาต่างกัน และฟิวก์ (fuque) ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีลักษณะการบรรเลงที่มีการไล่ล้อกันขนานใหญ่ทำนองหลักจะถูกขัดด้วยทำนองหนึ่งเป็นช่วงสั้นหรือยาว ในยุคบาโรกเริ่มใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (major) และไมเนอร์ (monor) แทนบันไดเสียงโบราณที่เรียกว่าโมด (mode ) และการกำหนดอัตราจังหวะความเร็วชัดเจนเช่น เร็ว (allegro) เร็วปานกลาง (moderato) หรือช้าปกติ (andante) เป็นต้น

นอกจากในแต่ละบทเพลงจะมีหลายทำนองในเวลาเดียวกันแล้ว การทำให้
เสียงต่ำหรือเสียงเบส (bass) เคลื่อนที่ตลอดเวลาเรียกว่าบาสโซกอนตินูโอ (basso continuo) เป็นลักษณะเด่น ของดนตรียุคบาโรก เครื่องดนตรีที่นิยมใช้เล่นแนวดังกล่าวคือฮาร์พซิคอร์ด (harpsichord) นอกจากนี้แสดง (improvisition) โดยอยู่บนพื้นฐานสัญลักษณ์ตัวเลข (figure base) ในการสร้างเสียงและซึ่งหมายถึง การบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยว ประชันกับวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ (orchestra) โดยให้ผู้เล่นเดี่ยวสามารถเล่นแบบด้นสด (improvisation) หรือตกแต่งทำนองในช่วงบรรเลงซ้ำทวนได้ตามความเหมาะสมของผู้เล่นแต่ละคน

ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญที่ได้รับการพัฒนารูปร่าง ขนาด ชนิดของ ไม้ และน้ำเสียงเป็นระยะเวลายาวนานจนสตราดิวารี (Stradivari) ช่างทำไวโอลินชาวอิตาลีผู้เป็นลูกศิษย์ของนิกโกโล อมาติ (Niccolo Amati) สร้างไวโอลินมาตรฐานขึ้นใน ค.ศ. 1715 เรียกว่าสตราดิวาริอุส(Stradivarius) ได้รับความนิยมตั้งแต่ยุคบาโรกมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดชิ้นสำคัญเกิดขึ้นตอนปลายยุคบาโรกคือเปียโน โดยชาวอิตาลีชื่อบาร์โตโลเมโอ คริสโตโฟรี (Bartolomeo Cristofori) ชื่อเดิมของเปียโนคือ เปียโนฟอร์เต (Pianoforte) ซึ่งหมายถึง เบา (piano) และดัง (forte) เพราะเครื่องดนตรีดังกล่าวสามารถควบคุมการเล่นให้เบาและดังได้จากน้ำหนักที่กดลงไปบนลิ่มนิ้ว (keyboard)

โยฮันน์ เซบาสเตียน บาก (Johann Sebastian Bach : ค.ศ. 1685 – 1750)

คีตกวีชาวเยอรมันคนสำคัญของยุคบาโรก ประพันธ์เพลงชุด ?The well ? Tempered Clavier? รวม 24 บท เป็นชุดเพลง Preludes and Fugue ซึ่งมีครบทุกบันไดเสียง ( 12 major และ 12 monor) สำหรับเดี่ยวคลาวิคอร์ด (clavichord) หรือฮาร์พซิเคอร์ด แต่ปัจจุบันนิยมบรรเลงด้วยเปียโน บทประพันธ์ดังกล่าวแต่งขึ้นเพื่อแสดงให้เห้นว่าการปรับความห่างของเสียงให้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดเป็นมาตรฐานเท่ากัน (tempering) จะทำให้สามารถเล่นเพลงได้ทุกบันไดเสียง นอกจากนี้บากยังประพันธ์ P-artitas และ Sonatas สำหรับเดี่ยวไวโอลิน และ 6 Suites สำหรับเดี่ยวเซลโล ผลงานดังกล่าวยังนิยมเล่นกันอยู่ในปัจจุบัน คีตกวีที่สำคัญในยุคบาโรกยังมีอีกหลายคน อาทิ เฮนเดล (Handel) วิวัลดี (Vivaldi) และกอเรลลี (Corelli)

ยุคบาโรค ดนตรีมีการพัฒนาอย่างไร

1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยวตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม 2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก เรียกว่า Figured bass. 3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น

ดนตรียุคบาโรกเป็นอย่างไร

ดนตรีในยุคบาโรกเน้นความเป็นเอกภาพยของอารมณความรู้สึก โดย อาศัยทานองหลักตอนต้นเพยลง ซึ่งมักปรากฏอีกครั้งตลอดทั้งเพยลง ในรูปแบบ ที่แตกต่างกันไปด้วยการขยายหรือคลี่คลายทานอง ตลอดจนการประดับ ประดาอย่างวิจิตร เพยื่อให้ความรู้สึกถึงความต่อเนื่อง และความแตกต่างของ จังหวะ ซึ่งมี2 ลักษณะ แต่ไม่นิยมใช้ในเวลาเดียวกัน ได้แก่จังหวะ ...

วิวัฒนาการด้านดนตรีในยุคคลาสสิกมีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคบาโรคอย่างไร

ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยม การสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน

ยุคบาโรก คือยุคอะไร

นักประวัติศาสตร์ใช้คำว่า บาโรก (Baroque) ในการเรียกยุคสมัยหนึ่งทางศิลปะที่เริ่มตั้งแต่ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และใช้เรียกลักษณะของศิลปะที่เกิดขึ้น ในช่วงนั้นด้วย “บาโรกเป็นคำที่มีความหมายทางศิลปะค่อนข้างกว้างเนื่องจากยุคบาโรกเป็นยุคมี ระยะเวลายาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางศิลปะ ...