การอ่านงานประพันธ์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

�س��Ңͧ�ҹ��оѹ��
�ҹ��оѹ�� ���¶֧ �ҹ��¹������������ҧ��ä����������ҷ�������������� ��гյ��è� ������ͧ��ǵԴ��͡ѹ� �ҹ��оѹ���� � ������ ���
� . ������� ��� �ҹ��¹�������¤ӻ�гյ���������������§����� �Ҩ�Դ���§������㹺ҧ��ä�ҧ������ҿѧ���
�. ���¡�ͧ ��� �ӻ�оѹ�����觢������гյ������繾���������������§��������� ��ѭ��� �����§�٧��� ��� ��� ����ѹ��ѡɳ�ͧ�ӻ�оѹ�����Ъ�Դ �� �ӻ�оѹ������� �ŧ ��͹ �Ҿ�� ���� �ѹ��

�س��Ңͧ�ҹ��оѹ��
- �س��Ҵ�ҹ��ó��Ż� ���ٻẺ�����������Ѻ������ ���͡����¤ӷ��������� ��� ������ �������ö�������㨼����ҹ �����ҡзѴ�Ѵ��㨤������Ѵਹ
- �س��Ҵ�ҹ�ѧ�� �ҹ��оѹ��������ó��յ�ҧ�ͧ���ʹյ��ǹ�դس��� �ʴ��֧�Ѳ������ͧ�ѧ�� ����餹�����ѧ���Һ�֧���Ե���������� ��ҹ��� ������Իѭ�Ңͧ�ѧ�����¹�鹡������Դ�����ѡ �����ǧ�˹���͹��ѡ�����觷���դس��ҹ�����

�ѡɳ�˹ѧ��ͷ������ó���
- ����¤�����������������ͧ
- ���ӹǹ����� ������� ����� �դ������º��º��
- �դ����������� �����Դ�����
- ������Դ������������Ҿ
- �����Ẻ���ҧ��


�� : �ҧ ��Թ ����, �Ѵ��һ�д��, �ѹ��� 15 ���Ҥ� 2545

การอ่านคำประพันธ์

การอ่านคำประพันธ์

การอ่านบทร้อยกรอง การอ่านทำนองเสนาะ
                บทร้อยกรอง หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงให้เกิดความไพเราะตามระเบียบบัญญัติ แห่งฉันทลักษณ์หรือระเบียบ ที่ว่าด้วยการประพันธ์   บทร้อยกรองแต่ละชนิด จะมีลักษณะ สัมผัสบังคับแตกต่างกันตามชนิดของคำประพันธ์
การอ่านกลอนสุภาพ
ลักษณะของกลอนสุภาพ คือ บทหนึ่งมีสี่วรรค วรรคละ ๘ พยางค์ การอ่านกลอนสุภาพ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
กลอนสุภาพแต่ละวรรค โดยปกติให้อ่านเว้นจังหวะเป็น ๓ / ๒ / ๓ แต่ถ้าวรรคนั้นมี
๙ พยางค์ ให้อ่านเว้นจังหวะ ๓ / ๓ / ๓ และถ้าวรรคนั้นมี ๗ พยางค์ ให้อ่าน ๒ / ๒ / ๓ เป็นต้น

   หมายเหตุ   มีบทร้อยกรองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพและมีวิธีออกเสียง สูงต่ำเช่นเดียวกัน ได้แก่ กลอนสักวาและกลอนดอกสร้อย

การอ่านโคลงสี่สุภาพ
บทประพันธ์ที่มีลักษณะเป็นโคลงสี่สุภาพมีน้อย เพราะแต่งยาก ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ ชนิดนี้ นอกจากบังคับสัมผัสแล้ว ยังมีบังคับเอกโทด้วย คือ บังคับว่าในโคลง ๑ บท ต้องมีวรรณยุกต์เอกหรือเสียงเอก ๗ ตัว และวรรณยุกต์โท หรือเสียงโท ๔ ตัว และบังคับว่า วรรณยุกต์นั้นต้องอยู่ในที่ที่กำหนดอีกด้วย
ลักษณะของโคลงสี่สุภาพใน ๑ บท ต้องมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคหน้าทุกวรรค
มี ๕ พยางค์ ส่วนวรรคหลังกำหนด ดังนี้
วรรคหลังบาทที่ ๑ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
วรรคหลังบาทที่ ๒ มี ๒ พยางค์
วรรคหลังบาทที่ ๓ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
วรรคหลังบาทที่ ๔ มี ๔ พยางค์
ถ้านับจำนวนคำแล้ว โคลงบทหนึ่งจะมี ๓๐ คำ หรือ ๓ พยางค์ (ไม่นับคำสร้อย ในบาท
ที่ ๑ และบาทที่ ๓ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้)

     สำหรับการใช้วรรณยุกต์เอก บางครั้งอาจใช้คำตายแทนเสียงเอกได้ เมื่อเวลาอ่าน โคลงสี่สุภาพเป็นทำนองเสนาะ จะทอดเสียงยาวระหว่างวรรคต่อวรรค หรือเอื้อนเสียงให้
ต่อเนื่องกันระหว่างวรรค

การอ่านกาพย์
กาพย์ที่นิยมแต่งกันแพร่หลายมีอยู่ ๓ ชนิด
คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ตัวเลขหลังชื่อกาพย์ แสดง
จำนวน คำหรือพยางค์ตามลักษณะบังคับของกาพย์แต่ละชนิด

     การอ่านกาพย์ยานี
กาพย์ยานี ๑ บท มี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท ในแต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ (พยางค์) วรรคหลังมี ๖ คำ (พยางค์) ใน ๑ บาท
จึงมี ๑๑ คำ (พยางค์) เรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ หรือ “ยานี ๑๑” หรือ “๑๑” ก็เรียก
๑. การอ่านกาพย์ยานีนิยมแบ่งวรรคเป็น ๒ / ๓ และ ๓ / ๓ ดังนี้

00 / 000

000 / 000

00 / 000

000 / 000

     ๒. ในการอ่านทำนองเสนาะ บาทโท นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติ เช่น

     การอ่านกาพย์สุรางคนางค์
กาพย์สุรางคนางค์ ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ พยางค์ รวมบทหนึ่งมี ๒๘ พยางค์ จึงมักเรียกชื่อว่า “สุรางคนางค์ ๒๘” หรือบางทีก็เรียกว่า “๒๘”
แผนผังบังคับของกาพย์สุรางคนางค์มีดังนี้

     ในการส่งสัมผัส มีหลักดังนี้
พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๒
พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๓ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๕ และ ๖
จังหวะในการอ่าน ให้อ่านวรรคละ ๒ จังหวะ ๒ พยางค์

     การอ่านกาพย์สุรางคนางค์ มีวิธีอ่าน ๓ วิธี คือ
๑. อ่านทำนองสามัญ
๒. อ่านทำนองเสนาะ
๓. อ่านทำนองสวด เช่น ทำนองที่ใช้อ่านหนังสือพระมาลัย

     การอ่านทำนองเสนาะและทำนองสวด ต้องฝึกหัดอ่านกับผู้รู้ หรือฟังจากต้นฉบับ
แล้วอ่านตาม จึงจะอ่านได้ถูกต้อง

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

 

การอ่านงานประพันธ์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

งานประพันธ์
         งานประพันธ์ คือ งานที่มนุษย์ใช้ภาษาที่สละสลวยสร้างสรรค์ขึ้นเป็นเรื่องราว ถ่ายทอดเป็นเรื่องราว อาจเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง และจะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ งานประพันธ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีหลักฐานมาถึงปัจจุบัน ชิ้นแรกคือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง งานประพันธ์ที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเรียกว่า " มุขปาฐะ " เช่น กลอนสด กลอนพื้นเมือง

องค์ประกอบของงานประพันธ์
        ๑. เนื้อหา บางทีเรียกว่าสาร หมายถึง เรื่องราวต่าง ๆ รวมไปถึงประสบการณ์และข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ผู้แต่งถ่ายทอดให้ผู้อ่านผู้ฟังรับรู้ เรื่องราวนี้ผู้แต่งอาจจะผูกขึ้นจากความรู้ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ประสบการณ์ จินตนาการ ชีวทรรศน์ หรือโลกทรรศน์ ก็ได้ เนื้อหายังรวมถึง " สาร " ที่ผู้แต่งต้องการสื่อถึงผู้อ่านผู้ฟังด้วย
        ๒. รูปแบบ หมายถึง ลักษณะรวมประเภทงานประพันธ์ที่ผู้แต่งใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาไปสู่ผู้อ่าน เช่น นิราศ นิทานคำกลอน กาพย์เห่เรือ คำฉันท์ ลิลิต บทความ บันทึก จดหมายเหตุ เรื่องสั้น นวนิยาย รูปแบบงานประพันธ์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ร้อยแก้วและร้อยกรอง งานประพันธ์ทุกชนิดรวมเรียกว่า วรรณกรรม แต่งานประพันธ์ที่แต่งได้ดีมีรูปแบบกลมกลืนกับเนื้อหา มีศิลปะงดงามเป็นที่ยอมรับ เรียกว่า วรรณคดี

การพิจารณาคุณค่าของงานประพันธ์
          ๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ เป็นคุณค่าทางด้านศิลปะการแต่ง การใช้โวหารภาพพจน์ ความไพเราะสละสลวยของภาษาที่ใช้ คุณค่าด้านวรรณศิลป์จะเกี่ยวกับความงามในภาษา และคุณค่าทางด้านนี้จะให้พัฒนาการทางด้านอารมณ์
          ในการพิจารณาคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ที่เป็น " ร้อยกรอง " จะพิจารณาว่างานนั้นมีรูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหาหรือไม่ กลวิธีการแต่งน่าสนใจหรือไม่ ใช้ถ้อยคำไพเราะสละสลวยและให้อารมณ์สะเทือนใจหรือไม่ นอกจากนี้ให้พิจารณาด้วยว่างานนั้นเสนอ " สาร " ที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์หรือไม่
           การพิจารณา " ร้อยแก้วประเภทสารคดี " จะพิจารณาว่ารูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหาหรือไม่ วิธีเสนอเรื่องน่าสนใจหรือไม่ ให้ความรู้ถูกต้องหรือไม่ สำนวนภาษาสละสลวย และสื่อความหมายได้ชัดเจนหรือไม่
          สำหรับ " ร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี " จะพิจารณาตามเกณฑ์ของรูปแบบ เช่น ถ้าเป็นเรื่องสั้น จะพิจารณาว่ามีแก่นเรื่องสัมพันธ์กับโครงเรื่องและตัวละครหรือไม่ มีกลวิธีการประพันธ์ที่แปลกใหม่ น่าสนใจหรือไม่ มีจุดขัดแย้งที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจหรือไม่ ใช้ภาษาสละสลวยก่อให้เกิดจินตภาพหรือไม่ คำพูดเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวละคร และเสนอสารที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์หรือไม่ เป็นต้น
         ๑.๑ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
                  - รูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหา
                  - กลวิธีการแต่งน่าสนใจ
                  - การใช้ถ้อยคำไพเราะสละสลวยความหมายลึกซึ้ง ทำให้เกิดภาพพจน์
                  - ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีการใช้จินตนาการของกวี
                  - ใช้สารที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์
                  - มีการเล่นสัมผัส เล่นคำ การใช้โวหารภาพพจน์ต่าง ๆ
         ๑.๒ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ประเภทร้อยแก้วที่เป็นสารคดี
                  - กลวิธีนำเสนอเรื่องน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม
                  - รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
                  - ใช้ความรู้ที่ถูกต้อง
                  - สำนวนภาษากะทัดรัด สละสลวย สื่อความหมายได้ชัดเจน
                  - การใช้คำ ประโยคสื่อความหมายได้ชัดเจน
                  - มีสารที่แสดงความคิดสร้างสรรค์
         ๑.๓ การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของงานประพันธ์ประเภทร้อยแก้วที่เป็นบันเทิงคดี
                  - มีแก่นเรื่องที่สัมพันธ์กับโครงเรื่องและตัวละคร
                  - มีแนวคิดสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
                  - มีกลวิธีการประพันธ์ที่แปลกใหม่น่าสนใจ
                  - มีจุดขัดแย้งที่น่าติดตามและสร้างความสะเทือนอารมณ์
                  - ใช้ภาษาสละสลวยทำให้เกิดจินตภาพ
                  - บทสนทนาเหมาะสมเหมาะกับบุคลิกภาพของตัวละคร
                  - เสนอสารที่มีความคิดสร้างสรรค์
         ๒. คุณค่าด้านสังคม เป็นคุณค่าที่สะท้อนชีวิตของคนในสังคม ความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยมของคนสังคม ทำให้ผู้อ่านเข้าใจชีวิตของผู้อื่น เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คุณค่าทางด้านนี้ช่วยพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้อ่าน
           ในการพิจารณาคุณค่าทางด้านสังคม จะพิจารณาว่างานประพันธ์นั้นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัฒนธรรม จริยธรรมของสังคมหรือไม่ มีส่วนช่วยจรรโลงหรือพัฒนาสังคม เช่น ช่วยประเทืองปัญญาของคนในสังคม ช่วยอนุรักษ์สิ่งมีค่าของสังคม และสนับสนุนค่านิยมอันดีงามของสังคมหรือไม่
          เนื่องจากวรรณคดีมีคุณค่าทั้งทางวรรณศิลป์และทางสังคม วรรณคดีจึงให้ประโยชน์ทั้งทางประเทืองปัญญาและความสำเริงอารมณ์ การให้นักเรียนเรียนวรรณคดีเพื่อจะให้เกิดความเข้าใจชีวิต เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น และทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ด้วย

การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม
             งานเขียนทั้งประเภทร้อยแก้วและ ร้อยกรองมีหลักเกณฑ์การพิจารณาแบบเดียวกัน ดังนี้
             - เนื้อหาสาระเกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือจริยธรรมของสังคม
             - มีส่วนช่วยจรรโลงหรือพัฒนาสังคม เช่น ยกระดับจิตใจ เพิ่มพูนสติปัญญา สนับสนุนค่านิยมอันดีงามของสังคม ส่งเสริมให้อนุรักษ์สิ่งมีค่าของบ้านเมือง ช่วยประเทืองปัญญาของคนในสังคม เป็นต้น

แนวคิดและค่านิยมในงานประพันธ์
             ๑. แนวคิดสำคัญ บางทีเรียกว่า " แก่นเรื่อง " หรือ " สาระสำคัญของเรื่อง " หมายถึง ความคิดสำคัญที่ผู้แต่งใช้เป็นแนวทางในการผูกโครงเรื่อง เช่น อัวรานางสิงห์ ผู้แต่งมีแนวคิดในการผูกเรื่องว่า " สัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า ถ้ามันฝ่าฝืนกฎข้อนี้ มันจะต้องทุกข์ทรมาน " แนวคิดเรื่องความดี ความชั่ว ในเรื่องกฤษณาคำฉันท์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ให้เห็นแนวคิดว่า สัตว์ต่าง ๆ เมื่อตายไปแล้ว ยังทิ้งเขา งา ไว้เป็นประโยชน์ แต่มนุษย์นั้นคงทิ้งไว้ได้แต่ความดีความชั่วไว้ในโลก
             ๒. แนวคิดอื่น ๆ คือ ความคิด หรือข้อคิด หรือ " สาร " ที่ผู้แต่งแทรกไว้ในเรื่อง เช่น เรื่องอัวรานางสิงห์ ผู้แต่งได้แทรกข้อคิดหรือแนวคิดต่าง ๆ ไว้ เช่น คนที่นำสัตว์มาเลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะสัตว์ก็มีจิตใจ ต้องการความรัก ความเอาใจใส่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเช่นกัน หรือจากนิทานเรื่องปลาบู่ทอง แนวคิดคือ ความอิจฉาริษยาของแม่เลี้ยงเป็นสาเหตุให้ลูกเลี้ยงถูกทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส เป็นต้น

ค่านิยม
        ค่านิยมในงานประพันธ์มี ๒ ลักษณะ คือ
        ๑. ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อ ความคิด หรือความรู้สึกของคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสิ่งนั้นมีค่า มีความหมาย หรือมีความสำคัญต่อตน หรือกลุ่มของตน ความเชื่อ ความคิด หรือความรู้สึกนี้จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้คนนั้นหรือกลุ่มนั้นเลือกทำหรือไม่ทำสิ่งใด
        ๒. ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อมั่น การยึดถือปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ค่านิยมจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมหมายถึงแบบแผนชีวิต คนไทยมีค่านิยมบางประการที่แสดงแบบแผนของชีวิต เช่น การนิยมทำบุญ เห็นความสำคัญในการเป็นไทแก่ตัว และชอบความสนุกสนาน
        เราอาจพิจารณาค่านิยมของบุคคลหนึ่งบุคคลใดจากสิ่งที่เขาสนใจ สิ่งที่เขาอยากจะได้ อยากจะเป็น หรือสิ่งที่เขาถือว่าจำเป็นต้องปฏิบัติ ค่านิยมอาจถ่ายทอดได้ด้วยการปลูกฝังและให้เห็นแบบอย่าง นอกจากนี้ค่านิยมยังเปลี่ยนแปลงได้เมื่อวัย ความรู้ ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

ตัวอย่างค่านิยม
        จามรีขนข้องอยู่ หยุดปลด ค่านิยม คือ เกียรติเป็นสิ่งที่ควรรักษาไว้ยิ่งชีวิต ความรู้ดูล้ำค่า สินทรัพย์ ค่านิยม คือ ความรู้และการศึกษาเล่าเรียน เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ ค่านิยม คือ ความสัตย์ ความเข้าใจ เรื่องขุนช้างขุนแผน ค่านิยม คือ ความซื่อสัตย์ที่มีต่อพระมหากษัตริย์และกฎหมายของบ้านเมืองอยู่เหนือสิ่งอื่นใด เทศน์มหาชาติ ค่านิยม คือ ชาวบ้านมีศรัทธาในการทำบุญฟังเทศน์

คุณค่าของวรรณคดี
         วรรณคดีเป็นศิลปะชั้นสูง มีถ้อยคำภาษาที่ไพเราะงดงาม ผู้อ่านจะได้รับรสแห่งความไพเราะ โดยไม่ปรากฏอย่างรูปปั้นหรือภาพเขียน ไม่ปรากฏเสียงไพเราะอย่างดนตรี ความงดงามทางภาษาถือว่าวรรณคดีเป็นศิลปะชั้นสูง ผู้ที่มีประสบการณ์จะอ่านวรรณคดีอย่างเข้าใจความรู้สึก คติชีวิต คำสอน ปรัชญา ความรู้ต่าง ๆ ได้มากกว่าผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ วรรณคดีมีคุณค่าแก่ผู้อ่าน ๒ ประการ
         ๑. คุณค่าทางสุนทรียภาพทางภาษา สุนทรียภาพหรือความงามทางภาษาเป็นหัวใจของวรรณคดี ได้แก่ ศิลปะของ การแต่ง การบรรยายเปรียบเทียบ การเลือกสรรถ้อยคำให้มีความหมาย มีสัมผัสให้เกิดเสียงไพเราะเพราะพริ้ง
         ๒. คุณค่าด้านสารประโยชน์ เป็นคุณค่าทางสติปัญญาและสังคม กวีจะให้ข้อคิด คติสอนใจแก่ผู้อ่าน และยังนำสภาพของสังคมในสมัยที่เขียนสอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ของตน รวมถึงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม และค่านิยมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญของชาติ ทำให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์กว้างขึ้น

ความงดงามของวรรณคดี
       วรรณคดี เป็นงานประพันธ์อันประกอบด้วยศิลปะแห่งการนิพนธ์ และมีเนื้อเรื่องอันมีอำนาจดลใจให้เกิดความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ต่าง ๆ มิใช่เรื่องที่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียว วรรณคดีเป็นงานที่กวีสร้างขึ้นอย่างมีศิลปะ โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำมุ่งให้เกิดความไพเราะ ความงดงาม ซึ่งหมายถึงรสวรรณคดี อันเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เร้าให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ในแง่ต่าง ๆ

การอ่านงานประพันธ์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

         https://sites.google.com/site/maroothai/home/kar-suksa-ngan-praphanth

การอ่านงานประพันธ์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง