การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อมีกี่ขั้นตอน

  • หน้าแรก

  • วีดีโอการใช้งาน

  • ระบบบริหารงานขาย

  • ขั้นตอนการสร้างเอกสารขายเชื่อ (Credit Sale)

ขั้นตอนการสร้างเอกสารขายเชื่อ (Credit Sale)

ขายเชื่อ (Credit Sale)

        การขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้า โดยที่ยังไม่ได้รับชำระในทันที ซึ่งต้องมีการตั้งเป็นลูกหนี้การค้า และต้องทำรายการรับชำระหนี้เมื่อครบกำหนดชำระตามระยะเวลาเครดิตที่ให้ไว้กับลูกหนี้การค้า ซึ่งระบบจะทำการตัดสต็อกสินค้าให้อัตโนมัติ
 

คุณสมบัติ

  • สามารถอ้างอิงเลขที่ใบสั่งขาย, รายการสินค้า และยอดจำนวนเงินมาบันทึกเอกสารขายเชื่อได้
  • สามารถอ้างอิงเอกสารรับเงินมัดจำ เพื่อนำไปตัดยอดรายการขายสินค้าได้
  • สามารถตัดสต็อกสินค้าให้อัตโนมัติ หลังจากที่มีการบันทึกเอกสารขายเชื่อ
  • สามารถกำหนดรูปแบบเลขที่เอกสาร (Running No.) ตามที่ต้องการ
  • สามารถกำหนดระยะเวลาวันที่นับเครดิต, วันที่นัดชำระ และวันที่กำหนดส่งที่มีการตกลงเงื่อนไขไว้
  • สามารถคำนวณภาษีขายให้อัตโนมัติ พร้อมมีรายงานรองรับ
  • สามารถบันทึกภาษีขายยังไม่ถึงกำหนดได้ และภาษีขายจะเกิดขึ้นในรับชำระหนี้
  • สามารถบันทึกรายการรายวัน พร้อมแสดงในรายงานบัญชีแยกประเภทให้อัตโนมัติ
  • สามารถจำแนกเอกสารขายเชื่อตาม Cost Center หรือ Internal Order
  • สามารถคัดลอก (Copy) เอกสารขายเชื่อเดิมที่เคยส่งให้กับลูกค้ารายอื่นมาใช้งานได้ เพียงแก้ไขข้อมูลลูกค้า และรายละเอียดบางส่วนได้ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการสร้างเอกสารขายเชื่อใหม่ 

รูปแบบฟอร์มเอกสาร

        รูปแบบฟอร์มเอกสารขายเชื่อจะต้องแสดงรายละเอียดข้อมูลผู้ขาย, ข้อมูลผู้ซื้อ, เลขที่เอกสาร, วันที่เอกสาร, รายละเอียดรายการสินค้า, จำนวนเงินรวม, ภาษีขาย และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน

รายงานที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานขายเชื่อ คือ รายงานที่แสดงรายละเอียดเอกสารขายเชื่อที่มีการบันทึกข้อมูลทั้งหมด โดยในรายงานขายเชื่อจะแสดงวันที่เอกสาร, เลขที่เอกสาร, ชื่อลูกค้า, จำนวนเงิน, รายการสินค้า หรือภาษีขาย เป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบการแสดงรายงานทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแจกแจง และรูปแบบสรุป
  • รายงานสรุปขายเชื่อ คือ รายงานที่แสดงรายละเอียดสรุปยอดขายเชื่อทั้งหมด โดยในรายงานสรุปขายเชื่อจะแสดงวันที่เอกสาร, ชื่อลูกค้า, จำนวนเงิน และภาษีขาย เป็นต้น

แน่นอนว่าการลงทุนทำธุรกิจ ผู้ประกอบการมีเป้าหมายอย่างเดียวกันก็คือการสร้างผลกำไรจากการลงทุนนั่นเอง โดยผลกำไรของการทำธุรกิจก็มาจาก รายได้ (Revenue) และมากไปกว่านั้นคือการลดรายจ่าย (Expense) เพื่อทำให้กิจการมีกำไรสูงสุด

หลายๆ ธุรกิจ การขาย (Sales) มักมี 2 รูปแบบในการขายนั่นก็คือ การขายเงินสด และการขายเงินเชื่อ การขายโดยการที่กิจการได้รับเงินสด (Cash) ทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าและบริการนั้น ส่วนมากไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนเท่ากับการ ขายสินค้าและบริการเงินเชื่อ (Credit Sales)

Credit Sales หรือการขายเงินเชื่อ คือการที่ผู้ซื้อและผู้ขายทำการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการ และมีการส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ผู้ซื้อแล้ว แต่มีการตกลงเงื่อนไขในการรับเงินจากผู้ซื้อในอนาคต โดยอาจจะตกลงจ่ายเงินทั้งหมดก้อนเดียว หรือจ่ายเป็นงวดๆ ตามแต่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงกัน การขายสินค้าและบริการแบบเงินเชื่อจึงต้องมีการจดบันทึกเกี่ยวกับการรับเงินเชื่อดังกล่าวเมื่อถึงเวลาตามกำหนด (Credit term) และยังต้องมีขั้นตอนในการเรียกชำระเงินเมื่อถึงเวลา รวมถึงมีวิธีรองรับความเสี่ยงจากการเกิดหนี้เสียของเงินขายสินเชื่ออีกด้วย

แม้จะมีความยุ่งยากกว่าการขายเงินสด แต่ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและยอดขายในการขายแบบเงินเชื่อ ก็ดึงดูดให้ผู้ประกอบการเองขายสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขเงินเชื่อมากขึ้นด้วย สิ่งที่สำคัญก็คือ ผู้ประกอบการต้องมีความระมัดระวังในการตกลงขายเงินเชื่อให้กับผู้ซื้อแต่ละราย เพื่อลดความเสี่ยงในการไม่ชำระเงินตามกำหนดตกลง หรือเป็นสาเหตุของหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด และสภาพคล่องของธุรกิจได้นั่นเอง

การลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้สามารถทำได้โดยการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้เครดิตลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการแบบเงินเชื่อ โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึง

  • ความเสี่ยงที่รับได้ของธุรกิจ เช่น ธุรกิจที่มีสัดส่วนกำไรต่อต้นทุนต่ำ (Low Gross Profit margins) ควรมีนโยบายการคัดกรองลูกค้าเพื่อจำหน่ายสินค้าและบริการเงินเชื่ออย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีความสามารถในการรับหนี้เสียได้ต่ำกว่า ธุรกิจที่มีสัดส่วนกำไรต่อต้นทุนที่สูงกว่า
  • พนักงานขายหรือผู้เกี่ยวข้อง ควรรู้ข้อมูล เงื่อนไข และวิธีการดำเนินการต่างๆ ในการขายสินค้าและบริการแบบเงินเชื่อ รวมไปถึงการชำระเงินเมื่อครบกำหนด เพื่อที่จะสามารถตอบคำถาม และแนะแนวทางในการดำเนินการให้แก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
  • รู้จักเลือกลูกค้าในการให้เครดิต การขายสินค้าเงินเชื่อสร้างต้นทุนที่มากขึ้นให้แก่บริษัท อย่าลืมว่าการจำหน่ายสินค้าและบริการแบบเงินเชื่อ มีผลกระทบต่อบริษัท ทั้งในเรื่องของภาระหน้าที่งานที่มากขึ้น (การบันทึกตลอดจนการติดตามหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้น) บริษัทควรพิจารณาผู้ซื้อที่เหมาะสมในการให้สินเชื่อเป็นรายบุคคล
  • เลือกให้เครดิตลูกค้า โดยอ้างอิงจากประวัติพฤติกรรมการจ่ายเงินของผู้ซื้อ เช่น ผู้ซื้อที่มีความน่าเชื่อถือมากคือ มีประวัติการชำระเงินค่าสินค้าและบริการตรงตามกำหนด อาจจะได้รับเครดิตมากกว่าหรือระยะเวลาครบกำหนดชำระเงินนานกว่า ลูกค้าที่มีการจ่ายเงินช้า เป็นต้น หรือตรวจเช็คประวัติ หรือหลักฐานทางการเงินต่างๆ
  • มีการสื่อสารและสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า รวมไปถึงทราบการติดต่อไปยังลูกค้าที่จะได้รับการตอบกลับเช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล์ เป็นต้น
  • มีวิธีการและขั้นตอนชำระเงินที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยการอำนวยความสะดวกดังกล่าว อาจเป็นเหตุช่วยส่งเสริมให้ลูกค้าชำระเงินก่อนถึงกำหนดก็เป็นได้
  • มีกฎเกณฑ์และบทลงโทษที่ชัดเจนหากมีการผิดนัดชำระหนี้ เช่น การหยุดส่งสินค้า หรือการลดเครดิตที่เคยให้กับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้ เป็นต้น

การขายสินค้าและบริการเงินเชื่อ เป็นการดึงดูดผู้ซื้อได้อีกทางหนึ่ง เพราะเป็นเงื่อนไขและข้อเสนอที่ดีให้กับผู้ซื้อ แต่ถ้าหากไม่มีการจัดการและบริหารให้ดี ผู้ประกอบการอาจจะต้องปวดหัวและประสบกับปัญหาการเก็บเงินไม่ได้ตามกำหนด ส่งผลกระทบต่อบริษัท ทำให้ขาดสภาพคล่อง การดำเนินเงินสะดุดเนื่องจากเงินหมุนเวียนเกิดการติดขัด หากไม่มีแผนสำรอง หรือเงินทุนสำรองไว้ อาจสร้างความเสียหายให้กับบริษัทได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสนใจและศึกษาแนวทางการป้องกันหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขายสินค้าและบริการเงินเพื่อนำไปปรับใช้ และป้องกันปัญหาต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้น

จำนวนผู้เข้าชม 3,060