ธุรกิจดิจิทัลโมบายมีกี่ขั้นตอน คืออะไรบ้าง

ปัจจุบันสมาร์ทโฟน และ แทปเล็ต มีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น และ โมบายแอปพลิเคชัน คือ ส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน และ แทปเล็ต เข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ผู้ที่ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กได้ให้ความสนใจในการที่จะพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงติดต่อกลุ่มลูกค้าของตน อาทิเช่น

  • กลุ่มธุรกิจการการท่องเที่ยวและการเดินทาง มีการจัดโมบายแอปฯ ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แนะนำโรงแรมและการจองโรงแรมที่พัก มีระบบการจองตั๋วรถทัวร์ จองตั๋วเครื่องบิน รวมไปถึงการเช็คอินได้ด้วย
  • กลุ่มธุรกิจเพื่อการศึกษา มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การซื้อขายสื่อการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ กลุ่มธุรกิจการค้าและแฟชั่น มีระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นต้น

ทั้งนี้ก็เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ให้บริการและผู้บริโภคดังต่อไปนี้

กลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ ธุรกิจของตนเอง ทำให้เป็นที่รู้จักในสังคมมากยิ่งขึ้น

1. ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์

2. เพิ่มภาพพจน์ร้านให้ดูดี มีจุดเด่น มีจุดขายที่ชัดเจน ส่งผลให้ ธุรกิจมียอดขายที่เพิ่มขึ้น

3. มีการบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

4. ลดขั้นตอนการทำงาน ทำให้การติดต่องานต่างๆสะดวกมากยิ่งขึ้น

1. ลดขั้นตอน และประหยัดเวลา ในการติดต่อธุรกรรมต่าง ๆ เช่น ต้องการโอนเงินค่าสินค้า ก็สามารถใช้โมบายแอปฯ ทำธุรกรรมทางการเงินได้เลย เป็นต้น

2. มีตัวเลือกที่หลากหลาย สามารถเปรียบเทียบ คุณภาพ และราคาได้ โดยที่ไม่ต้องออกไปสำรวจราคาสินค้าที่เราต้องการให้เสียเวลา

องค์กรของคุณมีกลยุทธ์เพื่อปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลหรือยัง เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลอย่าง Airbnb กำลังปรับเปลี่ยนระบบการทำงานแบบเก่า เช่น การขนส่งและการให้บริการ ผู้รับผิดชอบขององค์กรในทุกวงการ กำลังถูกท้าทายจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ที่ดิจิทัลมีให้ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจดิจิทัลโมบายมีกี่ขั้นตอน คืออะไรบ้าง
Credit: ShutterStock.com

 

ในปี 2560 การปฎิรูปธุรกิจสู่ดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังจากลูกค้าและพนักงาน ไปจนถึงสภาพการแข่งขันที่สูงและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

จากผลศึกษาของ Harvard Business Review ที่ได้รับการสนับสนุนโดยเรดแฮท พบว่าผู้นำด้านระบบดิจิทัลต้องการมีรายได้เติบโตมากกว่า 10% และต้องการผลกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม องค์กรที่ผู้นำทุกระดับมีความสามารถทางดิจิทัล จะนำพาองค์กรด้วยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลที่ชัดเจน

ต่อไปนี้คือ 7 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเป็นธุรกิจแบบดิจิทัล
ขั้นตอนที่ 1: กำหนดกลยุทธ์ด้านดิจิทัล
ขั้นตอนที่ 2: ให้ความสำคัญต่อบุคลากรเทียบเท่ากับเทคโนโลยี
ขั้นตอนที่ 3: เปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมแบบเดิมๆ
ขั้นตอนที่ 4: ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานและทัศนคติให้ทันสมัย
ขั้นตอนที่ 5: ใช้การสื่อสารไร้พรมแดนเป็นตัวกระตุ้น
ขั้นตอนที่ 6: ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เฟซการเขียนโปรแกรมผ่านแอปพลิเคชั่น (APIs)
ขั้นตอนที่ 7: คงไว้ซึ่งความปลอดภัยของข้อมูล

เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด องค์กรของท่านจำเป็นต้องคิดใหม่ทั้งในส่วนของสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ เทคโนโลยี วิธีการพัฒนา กระบวนการทางธุรกิจ และบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ต้องคิดอยู่เสมอว่าดิจิทัลเป็นกลยุทธ์ ไม่ใช่แค่ยุทธวิธี และควรเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่ถาวร

การปฎิรูปสู่ดิจิทัลไม่จำเป็นต้องทำการปฎิวัติหรือการพลิกโฉมเลยทีเดียว แต่อาจอยู่ในรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไป การปรับขยาย และกระบวนการทำซ้ำก็ได้เช่นกัน เรดแฮทได้พัฒนาคู่มือเพื่อช่วยให้ท่านปรับแต่งกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วให้กับท่าน ไม่ว่าท่านจะอยู่จุดใดบนเส้นทางการเปลี่ยนผ่านนี้ก็ตาม ท่านสามารถเร่งเครื่องได้จากคู่มือนี้

การใช้งาน Internet Banking (อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง) และ Mobile Banking (โมบายแบงก์กิ้ง) เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกของคนในยุคปัจจุบันอย่างมาก เพราะทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินไม่ยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หรือสมาร์ทโฟนที่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้

ซึ่งการใช้งานก็เพียงเข้าเว็บไซต์ที่เป็น Internet Banking หรือโหลดแอพพลิเคชั่นที่เป็น Mobile Banking ของธนาคารที่เราเปิดบัญชีเงินฝากไว้ เท่านี้ก็จะไม่ต้องเสียเวลารอคิวที่ธนาคาร สามารถทำรายการต่างๆ ไม่ว่าจะ โอนเงิน จ่ายบิล เช็คยอดเงิน ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ และไม่ทำให้เปลืองทรัพยากรกระดาษอีกด้วย

Internet Banking (อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง) คืออะไร?

Internet Banking (Online Banking หรือ i-Banking) หรือในภาษาไทยคือคำว่า “ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ “ธนาคารออนไลน์” นั่นเอง เพราะลูกค้าสามารถทำธุรกรรม เช่น โอนเงิน สอบถามยอด ผ่านทางเว็บไซต์ของธนาคารได้เลย โดยมีความปลอดภัยสูง อำนวยความสะดวกรวดเร็วกับลูกค้ามากขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้ประหยัดทรัพยากรกระดาษด้วย

โดยแต่ละธนาคารจะมีชื่อเรียก Internet Banking ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกสิกรไทยเรียกว่า K-Cyber Banking ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์เรียก SCB Easy Net

การสมัครใช้งาน Internet Banking

  1. นำสมุดบัญชีของเราไปยังสาขาใดก็ได้ของธนาคารแล้วแจ้งขอเปิด Internet Banking
  2. รับชื่อและรหัสผ่านการใช้งาน ซึ่งในการเข้าสู่ระบบทุกครั้งต้องกรอกข้อมูลนี้
  3. มีการเพิ่มระดับความปลอดภัยด้วยระบบ OTP หรือ One Time Password ซึ่งใช้ยืนยันตัวอีกครั้ง โดยธนาคารจะส่งรหัส OTP มายังหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ผ่าน SMS

แนวทางการใช้งาน Internet Banking ให้ปลอดภัย

  1. หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่เสมอ
  2. หลีกเลี่ยงการใช้งานผ่าน Wi-Fi สาธารณะ เพราะมีโอกาสข้อมูลรั่วไหลมากกว่า
  3. หมั่นตรวจสอบยอดเงินในบัญชี
  4. Log out ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

Mobile Banking (โมบายแบงก์กิ้ง) คืออะไร?

Mobile Banking คล้าย Internet Banking เพียงแต่เป็นการใช้บริการผ่านแอพลิเคชั่นของธนาคาร ทำให้สามารถโอนเงิน สอบถามยอดในบัญชี ซื้อสินค้าและบริการ จ่ายบิลต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนได้เลย

ซึ่งแต่ละธนาคารมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Mobile Banking ให้อำนวยความสะดวกในการซื้อขายของออนไลน์มากขึ้นเพื่อเข้ากับพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคในปัจจุบัน เช่น K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย

การสมัครใช้งาน Mobile Banking

การจะใช้งาน Mobile Banking ได้จำเป็นต้องมีบัตรเดบิตของธนาคารที่เราต้องการใช้งานก่อน ซึ่งสามารถสมัครทำบัตรได้ที่สาขาของธนาคาร ส่วนขั้นตอนการสมัครใช้งาน Mobile Banking ของแต่ละธนาคารอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วมีขั้นตอนดังนี้

  1. ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น Mobile Banking
  2. กรอกหมายเลขบัตรเดบิต รหัสบัตร หมายเลขบัตรประชาชน
  3. กำหนดรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานบนแอพลิเคชั่นในครั้งต่อไป

หรือสมัครผ่านตู้ ATM ก็ได้ โดยเลือกรายการสมัคร Mobile Banking โดยอาจมีการยืนยันการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร

แนวทางการใช้งาน Mobile Banking ให้ปลอดภัย

  1. ใช้บนอุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อความปลอดภัย
  2. ตั้งค่าแจ้งเตือนผ่าน SMS หรือ e-mail เมื่อมีการทำธุรกรรม เพื่อให้ทราบทันทีเมื่อมีการใช้งานผิดปกติ
  3. Log out ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

สำหรับบางคนอาจรู้สึกว่าการทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ด้วย Internet Banking หรือ Mobile Banking นั้นไม่ปลอดภัย ซึ่งทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นของธนาคารนั้นมีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยอยู่แล้ว ดังนั้นที่ควรระมัดระวังคือการรักษารหัสผ่าน การใช้งานผ่าน Wi-Fi หรืออุปกรณ์สาธารณะ รวมถึงไม่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวให้ใครรู้ได้ง่ายๆ เพื่อป้องกันผู้อื่นนำรหัสไปงานได้