วิธี เก็บ น้ำสมุนไพรให้ นาน

ไม่น่าเชื่อว่าความพยายามที่จะรักษาสุขภาพของคนในบ้านให้สมบูรณ์ แข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ นอกจากเป็นเรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้ว ยังจะทำให้เกิดอาชีพโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย อาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม 2557 เวลา 00.00 น.

บอกต่อ : 0

0

0

0

ไม่น่าเชื่อว่าความพยายามที่จะรักษาสุขภาพของคนในบ้านให้สมบูรณ์ แข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ นอกจากเป็นเรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้ว ยังจะทำให้เกิดอาชีพโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย อย่าง “น้ำสมุนไพร” ซึ่งทีมคอลัมน์ “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมานำเสนอในวันนี้...

*************

น.อ.หญิง ขวัญแพรว เอี่ยมวิจารณ์ เจ้าของน้ำสมุนไพร “มนต์ตรา”  กล่าวว่า เธอได้ใช้เวลาว่างจากการทำงานประจำที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมกว่า 6 เดือน เพื่อทำน้ำสมุนไพรให้คนในบ้านรับประทานเพื่อรักษาโรคบางอย่างที่สรรพคุณของสมุนไพรนั้นได้ระบุไว้ นอกจากนี้ยังได้แจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน, เพื่อนที่ทำงาน และคนรู้จักได้รับประทานอีกด้วย จึงได้มีแรงเชียร์ให้ทำขายเพื่อหารายได้สำหรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นทุกวัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการวางขายน้ำสมุนไพรในบ้าน โดยใช้เวลาว่างจากการทำงานประจำมาผลิต

“น้ำสมุนไพรที่ทำ ทำจากสมุนไพรจริง ๆ ไม่ใช้แบบที่เป็นผงสำเร็จรูปมาชงผสมกับน้ำ และเคี่ยวกับน้ำตาล เพราะเราต้องการรักษาสุขภาพของคนในบ้าน ดังนั้น จึงต้องใส่ใจสุขภาพของคนอื่นด้วย ฉะนั้น น้ำสมุนไพรที่ทำจะไม่มีรสหวานมาก จะมีรสหวานเล็กน้อยเพื่อตัดรสเฝื่อนของสมุนไพรเท่านั้น นอกจากนี้ ออร์เดอร์น้ำสมุนไพรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังช่วยให้ลูกน้องมีรายได้เพิ่มจากการมารับไปขายที่ทำงานอีกด้วย”  น.อ.หญิง ขวัญแพรว กล่าว

น.อ.หญิง ขวัญแพรว กล่าวต่อไปว่า น้ำสมุนไพรที่ทำอยู่มีหลายชนิด แต่ละชนิดใส่ใบเตยทั้งหมด อาทิ น้ำตะไคร้ใบเตย, น้ำอัญชันใบเตย, น้ำมะตูมใบเตย, ฯลฯ ซึ่ง ใบเตย นี้ นอกจากจะมีกลิ่นหอมชื่นใจแล้ว ยังมีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย อาทิ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น, ดับกระหายคลายร้อน, ช่วยชูกำลัง ฯลฯ

อุปกรณ์ในการทำน้ำสมุนไพร หลัก ๆ มี เตาแก๊ส, กระทะเทฟล่อน, ทัพพีไม้, หม้อสเตนเลสปลอดสารตะกั่วขนาดต่าง ๆ, ผ้าขาวบาง, ทัพพีขนาดกลาง, กรวยกรอกน้ำ และอุปกรณ์ครัวอื่น ๆ

วิธีทำน้ำสมุนไพร เริ่มที่ น้ำตะไคร้ใบเตย ใช้ตะไคร้สด 6-7 ต้น ตัดใบออก ล้างให้สะอาด แล้วทุบด้านหัวให้พอแตก เตรียมไว้ และเตรียมใบเตย 3-4 ต้น ล้างให้สะอาด แล้วหั่นครึ่ง เตรียมไว้

ต้มน้ำสะอาดในหม้อสเตนเลสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 นิ้ว และสูง 9 นิ้ว ต้มจนน้ำเดือดจัด เมื่อน้ำเดือดจัดแล้วใส่ตะไคร้ และใบเตยลงไป ปิดฝา แต่ยังคงไฟร้อนไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นหรี่ไฟลงให้ร้อนปานกลาง ต้มทิ้งไว้อีก 15 นาที โดยปิดฝาตลอดเวลา เสร็จแล้ว ค่อย ๆ เทน้ำตาลทรายใส่ลงไปในปริมาณที่ชิมแล้วออกหวานเล็กน้อย และไม่มีรสเฝื่อน

ขั้นตอนสุดท้าย คือ กรองน้ำสมุนไพรด้วยผ้าขาวบางลงในหม้อสเตนเลส

อีกใบ แล้วพักให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวพอที่จะกรอกในขวดพลาสติกขนาด 200 

ซีซี เท่านี้ก็เสร็จแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคของการที่ทำให้น้ำสมุนไพรอยู่ได้นานถึง 7 วัน โดยไม่ต้องใส่สารกันบูด คือระหว่างที่รอให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวนั้น ให้นำหม้อน้ำสมุนไพรนี้ ใส่ลงในกะละมังที่มีน้ำเย็นอยู่ วิธีนี้จะทำให้น้ำสมุนไพรอยู่ได้นานขึ้น

น้ำอัญชันใบเตย เตรียมดอกอัญชัน ประมาณ 1 กำมือ เด็ดขั้วออก และล้างให้สะอาด เตรียมไว้ และเตรียมใบเตย 3-4 ต้น ล้างให้สะอาด แล้วหั่นครึ่ง เตรียมไว้

ต้มน้ำสะอาดในหม้อสเตนเลสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 นิ้ว และสูง 9 นิ้ว ต้มจนน้ำเดือดจัด เมื่อน้ำเดือดจัดแล้วใส่อัญชัน และใบเตยลงไป ปิดฝา แต่ยังคงไฟร้อนไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นหรี่ไฟลงให้ร้อนปานกลาง ปิดฝาไว้ตลอดเวลา ต้มทิ้งไว้อีก 15 นาที เสร็จแล้วบีบมะนาว และเกลือลงไปเล็กน้อย เพื่อให้สีจากดอกอัญชันออกมามาก ๆ แล้วค่อย ๆ เทน้ำตาลทรายใส่ลงไป ปริมาณที่ชิมแล้วออกหวานเล็กน้อย และไม่มีรสเฝื่อน

กรองน้ำด้วยผ้าขาวบางใส่น้ำอัญชันลงในหม้อสเตนเลส อีกใบ เท่านี้ก็ใช้ได้ พักให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวพอที่จะกรอกในขวดพลาสติกขนาด 200 ซีซี ได้

น้ำกระเจี๊ยบพุทราจีน นำกระเจี๊ยบแห้ง, พุทราจีนแห้ง อย่างละประมาณ 15-20 ชิ้น ล้างให้สะอาด และเตรียมใบเตย 3-4 ต้น ล้างให้สะอาด แล้วหั่นครึ่ง เตรียมไว้

ต้มน้ำสะอาดในหม้อสเตนเลสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 นิ้ว และสูง 9 นิ้ว ต้มจนน้ำเดือดจัด เมื่อน้ำเดือดจัดแล้วใส่กระเจี๊ยบแห้ง และพุทราจีนแห้ง และใบเตยลงไป ปิดฝา แต่ยังคงไฟร้อนไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นหรี่ไฟลงให้ร้อนปานกลาง ต้มทิ้งไว้อีก 15 นาที โดยปิดฝาไว้ตลอดเวลา เสร็จแล้ว ค่อย ๆ เทน้ำตาลทรายใส่ลงไป ในปริมาณที่ชิมแล้วออกหวานเล็กน้อย และไม่มีรสขื่น เท่านี้ก็ใช้ได้

กรองน้ำกระเจี๊ยบพุทราจีนด้วยผ้าขาวบางใส่ลงในหม้อสเตนเลสอีกใบ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย พักให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวพอที่จะกรอกในขวดพลาสติกขนาด 200 ซีซี ได้

โดยน้ำสมุนไพรทั้งหมดนี้จะขายราคาขวดละ 10 บาท

*************

ใครสนใจ “น้ำสมุนไพร” ต้องการติดต่อ น.อ.หญิง ขวัญแพรว เอี่ยมวิจารณ์ เจ้าของกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” รายนี้ติดต่อได้ที่ร้านในซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 และที่ตลาดน้ำคลองสวน100 ปี (ฝั่ง จ.สมุทร ปราการ) หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-1929-6162 นอกจากน้ำสมุนไพร 3 ชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมี น้ำมะตูมใบเตย, น้ำลำใย และ น้ำเก๊กฮวย ขายอีกด้วย.

          การที่จะเลือกกระบวนการแปรรูปที่เหมาะสมเพื่อทำให้อาหารมีความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคนั้น ผู้ผลิตอาหารต้องมีความเข้าใจสภาพของอาหาร ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ และต้องเข้าใจหลักการแปรรูปอาหาร รวมถึงสภาวะการเก็บรักษา เพื่อช่วยในการยืดอายุการเก็บให้เหมาะสมต่ออาหารแต่ละประเภท สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ Food Innopolis ผู้จัดการบรรยายผ่านทางระบบออนไลน์เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการอาหาร และผู้เกี่ยวข้องในสายงานด้านอาหาร ทางสาขามนุษยนิเวศศาสตร์ หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปปรับใช้เพื่อจัดการ และบริหารธุรกิจอาหารได้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ Facebook page ของสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มสธ. ได้เลยค่ะ