มี เงิน 10 ล้าน ลงทุน อะไร ดี

ถ้าถามผมว่าการเก็บเงิน 1 ล้านบาทและเก็บเงิน 10 ล้านบาทต่างกันยังไง ถ้าเราดูเผินๆจะพบว่าการสร้างเงิน 1 ล้าน และเงิน 10 ล้านนั้นมีวิธีที่เหมือน ๆ กันคือการตั้งหน้าตั้งตาทำงานเก็บเงินไปเรื่อยๆจนครบ 10 ล้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ววิธีเก็บเงิน 1 ล้าน กับวิธีเก็บเงิน 10 ล้านนั้นไม่ได้มีแค่การทำงานวิธีเดียว ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว

ข้อแตกต่างของคนที่เก็บเงิน 1 ล้าน และเก็บเงิน 10 ล้าน

คนเก็บเงินล้านแรกมักจะใช้วิธีเก็บคือการเอาเงินจากเงินเดือนหรือการทำงานมาเก็บไปเรื่อยๆจนครบ 1 ล้านบาทซะเป็นส่วนใหญ่ ในทางกลับกันคนที่ต้องการเก็บเงิน 10 ล้านมักจะมีเงิน 1 หรือ 2 ล้านแรกไว้กับตัวอยู่แล้ว ซึ่งการมีเงินหลักล้านอยู่แล้วเนี่ยคือข้อได้เปรียบสำคัญเลยครับ เพราะอะไร?

เพราะเมื่อคุณมีเงินก้อนใหญ่หลักล้านบาทไว้กับตัวแล้ว นั่นหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้แรงทำเงินอย่างเดียว แต่คุณสามารถที่จะใช้เงินช่วยทำงานอีกแรง ที่คนเขาชอบเรียกว่า “เงินต่อเงิน” เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายใหญ่นั่นก็คือเงิน 10 ล้านให้เร็วขึ้นได้อีกด้วย

การให้เงินทำงานก็มีอยู่หลากหลายแบบ บางคนอาจจะเอาเงินไปลงทุนทำธุรกิจ แต่การจะไปทำธุรกิจนั้นก็มีความเสี่ยงมากพอสมควร 95% ของธุรกิจต้องปิดตัวลงภายใน 5 ปี และการเริ่มต้นออกไปทำธุรกิจก็ไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าคุณยังคงต้องใช้เวลากับการทำงานประจำอยู่ 

เมื่อไม่มีเวลา และไม่อยากเสี่ยงมากๆ การลงทุนในกองทุนหรือหุ้นนั้นจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ ในบทความนี้ผมจะเอาเรื่องหุ้นออกไปก่อนนะครับ เพราะหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการเลือกซื้อ ต่างกับกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนคอยเลือกสินทรัพย์และติดตามสภาวะตลาดให้ทำให้การลงทุนในกองทุนเป็นการลงทุนที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า

มี เงิน 10 ล้าน ลงทุน อะไร ดี

กรณีศึกษาของเงินต้นในการลงทุน 1 ล้านบาท, เงินเก็บเดือนละ 30,000 บาท และผลตอบแทนปีละ 7%

เชื่อหรือไม่ว่าด้วยสมมติฐานขั้นต้นคนที่ลงทุนจะมีเงิน 10 ล้านได้ภายใน 14 ปี ส่วนคนที่ไม่ลงทุนต้องใช้เวลาสูงถึง 25 ปี มีส่วนต่างมากกว่า 10 ปีเลยทีเดียว

ความจริงที่น่าสนใจอีกอย่างคือที่ระยะเวลา 25 ปี ถ้าคุณไม่ลงทุนคุณจะมีเงิน 10 ล้านบาท แต่ถ้าคุณลงทุนไปจนถึงตอนนั้นคุณจะมีเงินมากถึง 29.7 ล้านบาท มากกว่าเงิน 10 ล้านถึงเกือบๆ 2 เท่าตัว

คนมีเงินเท่ากัน แต่มองเงินในมุมมองที่แตกต่างกัน คนหนึ่งมองเงินเป็นแค่เงินอีกคนมองเงินเป็น “เครื่องมือ” ในการหาเงินเพิ่มหรือการใช้ “เงินต่อเงิน” นั่นเอง มุมมองและการกระทำแตกต่างกันนิดเดียว แต่ผลกระทบระยะยาวกลับแตกต่างกันใหญ่หลวง ความแตกต่างนั้นเป็นตัวเลข 8 หลักเลยทีเดียว

ถ้าอยากลงทุนแล้ว การเริ่มต้นลงทุนให้ถูกต้องก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าเราเริ่มต้นถูกก็จะถึงจุดหมายเร็วขึ้น กระดุมเม็ดแรกถ้าติดได้ถูกต้องแล้วที่เหลือก็ไม่มีปัญหาอีก ใครที่พร้อมแล้ว สามารถลองสร้างแผนลงทุนด้วยแอป LINE ได้ง่ายๆ ผ่านมือถือ คลิกเลย! https://www.finnomena.com/line/intro

ใครอยากหาความรู้เพิ่มเติม ยังมีมหกรรมการลงทุนสำหรับคนรุ่นใหม่วัยทำงาน “รวมพลคน (อยาก) ลงทุน”

31 สิงหาคม 2562 เวลา 12.30 น. กดติดตาม Get Reminder ชมถ่ายทอดสดได้ในลิงก์ด้านล่างนี้

แอด LINE @FINNOMENA เพื่อรับ Notification แจ้งการ LIVE – http://line.me/ti/p/%40FINNOMENA

ชมผ่าน Facebook LIVE – https://www.facebook.com/finnomena/posts/1009596292719341

รับชมผ่าน Youtube LIVE – https://youtu.be/meriAL6CXao

แล้วคุณจะเข้าใจว่าเงิน 10 ล้านนั้นไม่ได้สร้างยากอย่างที่คุณคิด

Buffettcode


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

การเกษียณด้วยเงิน 10 ล้านนั้นน่าจะเป็นหมุดหมายของใครหลายๆ คน พวกเราทำงานอย่างหนัก เก็บเงินลงทุนให้เงินงอกเงย ก็เพื่อจะเกษียณอย่างสุขสบาย แต่เมื่อเกษียณจริงๆ ด้วยเงิน 10 ล้านบาทตามเป้าหมายแล้ว ขั้นต่อไปจะทำอะไรกับเงินก้อนนี้ดีล่ะ? วันนี้เราเลยจะมานำเสนอ 2 ทางเลือกสุดฮิตที่หลาย ๆ คนมักถกเถียงกัน ว่าจะไปทางไหนดี?

1) นำเงิน 10 ล้านเก็บไว้ใช้ มอบความสุขให้กับชีวิต

“ทำงานมาทั้งชีวิตแล้ว พอเกษียณแล้วก็ต้องพัก!!”

“ลงทุนมันเสี่ยง ไม่เหมาะกับคนเกษียณแล้ว เอาเงินไว้กับตัวดีกว่า”

หลายๆ คนมีความคิดว่า พอเกษียณแล้วก็ควรใช้ชีวิตให้เต็มที่ เอาเงินที่ได้มา ซื้อความสุขให้ตัวเอง ขณะเดียวกันก็มองว่าการลงทุนซึ่งมีความเสี่ยงนั้นไม่เหมาะกับคนเกษียณแล้วที่ไม่มีรายได้เหมือนแต่ก่อน ถ้าอย่างนั้นแบบนี้เราก็ควรนำเงิน 10 ล้านบาทไว้กับตัวเพื่อใช้จ่าย ใช่หรือไม่?

จากบทความ ลงทุนต่อเดือนเท่าไรดี ให้มีเงินใช้หลังเกษียณ? นั้นได้คำนวณไว้ว่า การมีเงิน 10 ล้านบาทจะทำให้เราสามารถใช้เงินได้วันละ 1,000 บาทอย่างสบาย ๆ ไปหลายปี หากตั้งสมมติฐานแบบนี้ ในปีหนึ่งเราจะใช้เงินเป็นจำนวน 365,000 บาท และต่อให้เราไม่ได้นำเงินก้อนนี้ไปต่อยอดให้เติบโต เราก็ยังใช้เงินวันละ 1,000 บาทแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ได้อีก 27 ปี หรือตีกลม ๆ ก็เกือบ 30 ปี !! หากเราเกษียณอายุตอน 60 ปี เราก็ใช้เงินก้อนนี้ไปได้ถึงอายุเกือบ ๆ 90 ปีเลยทีเดียว

แต่ ๆ ๆ ข้อเสียของตัวเลือกนี้คือ เมื่อไม่มีการทำให้เงินงอกเงยต่อ เงินเราก็จะหมดไปเรื่อย ๆ และหากโชคร้าย เราดันอายุยืนยาวเกิน 90 ปีแล้วละก็!! จะเข้าอีหรอบ “ที่สุดของความเสียดายคือตายไปแล้วใช้เงินไม่หมด ที่สุดแห่งความสลดคือใช้เงินหมดแต่ยังไม่ตาย” ของจริง

ทางเลือกนี้อาจจะเหมาะกว่าสำหรับคนโสด ไม่มีครอบครัว ไม่มีมรดกต้องส่งต่อ สามารถใช้เงินกับตัวเองได้อย่างอิสระ แต่การใช้เงินอย่างเดียวโดยที่ไม่เก็บออมหรือนำบางส่วนไปลงทุนเลย ก็มีความเสี่ยงที่จะ “เงินหมด” เช่นกัน ฉะนั้น ลองจัดสรรเงินดูดีๆ นะ

2) นำเงิน 10 ล้านไปลงทุนต่อยอด

“10 ล้านนี่เยอะนะ ถ้าเอาไปลงทุนทำอะไรสักอย่างก็น่าจะงอกเงยได้เยอะ”

“เก็บเงินไว้กับตัว ก็เจอเงินเฟ้อกัดกินหมด เอาไปลงทุนสร้างกระแสเงินสดดีกว่า”

หากใครที่ทั้งชีวิตเก็บเงินลงทุนเป็นกิจนิสัยอยู่แล้ว ตอนเกษียณก็อาจจะค้นพบว่า เราไม่จำเป็นต้องเลิกลงทุนเลย ตรงกันข้าม เงินก้อนที่เรามีอยู่นี่แหละจะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราสามารถนำเงินก้อน 10 ล้านนี้ไปลงทุนสร้างกระแสเงินสดแทนที่เงินเดือนได้

จากบทความ ลงทุนต่อเดือนเท่าไรดี ให้มีเงินใช้หลังเกษียณ? สมัยที่เราทำงานนั้นเราอาจจะลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงหน่อยเพื่อโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ผลตอบแทนนั้นอาจจะอยู่ที่เฉลี่ย 8-10% ต่อปี แต่เมื่อเราเกษียณแล้ว ไม่มีเงินเดือนเข้ามาเหมือนเมื่อก่อน เราอาจจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยลงมาหน่อยเพื่อความมั่นคงที่มากขึ้น ผลตอบแทนก็อาจจะไม่ได้มากเหมือนเมื่อก่อน แต่ด้วยเงินก้อนใหญ่ที่เรามี ก็จะสามารถสร้างกระแสเงินสดให้เราอยู่ได้อย่างพอเพียง โดยส่วนใหญ่แล้วสินทรัพย์ที่เน้นจ่ายกระแสเงินสดนั้นเราก็จะสามารถคาดหวังกระแสเงินสดได้ประมาณ 4-5% โดยเฉลี่ยต่อปี (ตัวอย่างก็เช่น หุ้นปันผล กองทุนอสังหาฯ & REITs เป็นต้น) นั่นหมายความว่าเงินก้อน 10 ล้านนั้นอาจจะสร้างกระแสเงินสดให้เราประมาณ 400,000-500,000 บาทต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 33,000 – 42,000 บาทต่อเดือน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การลงทุนในสินทรัพย์อะไรสักอย่างก็ไม่ใช่การการันตีผลตอบแทน ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้กระแสเงินสด 4-5% ทุกปี หรือมีเงินเข้าทุกเดือน เพราะสินทรัพย์แต่ละรายการก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป เราต้องทำความเข้าใจสิ่งที่เราจะลงทุนก่อน เพราะถ้าลงทุนด้วยความไม่รู้ ความเสี่ยงก็จะสูงยิ่งขึ้น อาจทำให้เราขาดทุนมากกว่าที่ควรจะเป็น

แล้วเลือกทั้งข้อ 1 กับ 2 ได้ไหม?

ชีวิตเราไม่เห็นจะต้องเลือกแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเลยนี่ เลือกทำทั้ง 2 เลยดีกว่า! แน่นอนว่าทำได้

เราไม่จำเป็นต้องเอาเงิน 10 ล้านทั้งก้อนไปลงทุน ขณะเดียวกัน เงินก้อน 10 ล้านบาทนั้นเราอาจจะไม่ได้เห็นว่ามันจำเป็นสำหรับการใช้จ่ายทั้งหมด ว่าง่าย ๆ คือ เราสามารถแบ่งสัดส่วนเงินก้อนนี้ให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือไลฟ์สไตล์ที่เราต้องการได้ เราอาจจะแบ่งส่วนหนึ่งไปลงทุนต่อ และอีกส่วนหนึ่งก็เก็บไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็ได้ ส่วนที่ลงทุนก็อาจจะแบ่งเป็นเสี่ยงน้อยเสี่ยงมาก จัดพอร์ตตามเป้าหมายที่เราต้องการ ส่วนที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็อาจจะแบ่งเป็นใช้จ่ายประจำวัน ใช้จ่ายระยะสั้น ระยะยาว ก็ว่ากันไป

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด จึงเป็นการค้นหาว่าเป้าหมายของตัวเองคืออะไร เพื่อที่เราจะได้จัดสรรเงินให้ทำงานได้อย่างถูกต้องตามที่เราคาดหวังครับ