กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

กรณีที่สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกันตามที่กฎหมายกำหนด ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสจะเรียกว่า สินสมรส ส่วนกรณีที่สามีภริยาอยู่กินกันฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันจะเรียกว่า กรรมสิทธิ์ร่วม

ดังนั้น แม้ว่าทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะใส่ชื่อสามีหรือภริยาแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ตาม อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็สามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลได้ เพื่อบังคับให้อีกฝ่ายแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ตนได้กึ่งหนึ่ง

มีกรณีศึกษาที่เคยมีข้อพิพาทกัน จนต้องนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกามาแล้ว เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 4355 / 2551 สามีภรรยาอยู่กินกัน โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภรรยาดังกล่าว โดยใส่ชื่อสามีหรือภรรยาแต่เพียงฝ่ายเดียว

ต่อมาสามีหรือภรรยาที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น ได้ถึงแก่ความตาย อีกฝ่ายหนึ่งจึงยื่นคำร้องขอจัดการมรดก โดยอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของเจ้ามรดก ปรากฏว่าบิดาหรือมารดาของเจ้ามรดกได้ยื่นคำร้องคัดค้านการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกดังกล่าว

ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ร้อง และยกคำค้านของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ตั้งผู้คัดค้าน เป็นผู้จัดการมรดก โดยให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ศาลฎีกาวินิจว่า ตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในรถยนต์พิพาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า แม้ข้อที่ผู้ร้องเบิกความอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนร่วมกับผู้ตายออกเงินซื้อรถยนต์พิพาทจะรับฟังไม่ได้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยาผู้ตายเมื่อปี 2535 และมีบุตรด้วยกัน 2 คน ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันผู้ร้องทำงานอยู่ที่บริษัท เจ.วี.ซี. จำกัด ส่วนผู้ตายมีอาชีพทำเครื่องไฟ

กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องและผู้ตายร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่หามาได้ระหว่างที่อยู่กินด้วยกัน เมื่อผู้ตายได้รถยนต์พิพาทมาในระหว่างที่อยู่กินกับผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทด้วยในฐานะเจ้าของร่วม ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าว ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายและมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

จากกรณีศึกษานี้ จะเห็นได้ว่า การที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตายนั้น จะสร้างปัญหาให้กับสามีหรือภรรยาหรือบิดามารดาของท่านเอง รวมไปถึงเป็นการสร้างความบาดหมางให้กับครอบครัวของท่านด้วย โดยเฉพาะกรณีที่อยู่กินฉันสามีภรรยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและไม่มีบุตร จะทำให้พี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตายมีสิทธิ์ในทรัพย์มรดกด้วย ยิ่งจะสร้างปัญหาให้กับสามีหรือภริยา ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ดังเช่นกรณีตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นการจดทะเบียนสมรสหรือการทำพินัยกรรมไว้จะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์เองจะเป็นธรรมที่สุด และสามารถป้องกันความยุ่งยากในอนาคตได้ระดับหนึ่งครับ

สำหรับผู้ที่มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายและต้องการความช่วยเหลือ หรือมีเรื่องราวดีๆ อยากแบ่งปันประสบการณ์ เมลมาหาผมได้ที่ “คุยกับคนดัง” [email protected] หรือ Facebook: ทนายเจมส์ LK ได้เลย

จากกรณีข่าวของ “ไมค์ พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล” และ “ซาร่า คาซิงกินี” ที่เป็นข่าวในกระแสตอนนี้ เรียกว่าใครหลาย ๆ คนกำลังเถียงกันหนักมากกก ร้อนแรงกระทู้เดือสุด ๆ ประเด็นนี้เกิดจาก “ไมค์” ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขออำนาจปกครองบุตรร่วมกับ “ซาร่า” เพราะช่วงหลังมานี้ลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเมื่ออยู่กับพ่อ บวกกับที่มีข่าวหลุดว่าฝ่ายหญิงนั้นอาจะมีชายคนใหม่ และเริ่มกันไม่ให้ “น้องแม็กซ์เวลล์” มาพบไมค์ ในที่นี้หลายคนน่าจะมีคำถามเรื่องนี้กันพสมควร ว่าทำไมลูกถึงอยู่กับแม่ แล้วพ่อล่ะ? วันนี้ปันโปรขอแชร์กฎหมายสิทธิการเลี้ยงดูบุตรที่เราควรรู้ค่ะ

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส


พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ลูกจะอยู่กับใคร


กรณีที่พ่อแม่แยกทางกัน สิทธิการเลี้ยงดูบุตรจะอยู่ที่ใครกัน? มันจะแบ่งเป็น 2 กรณีค่ะ คือ พ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรส กับพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

พ่อแม่ที่จดทะเบียนสมรส

ในกรณีที่พ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน หากพ่อแม่จะแยกทางกัน ก็ให้ตกลงกันเอง เช่น จ-ศ อยู่กับแม่ ส-อา อยู่กับพ่อ หรือถ้ามีลูก 2 คน ก็แบ่งกันเลี้ยงไปเลย แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องไปฟ้องให้ศาลตัดสิน ถ้าอยากชนะ ก็ให้หาทนายเก่ง ๆ ไปสู้คดีโล้ดดด

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

พ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลูกเป็นของใคร?

กฎหมายที่นำมาบังคับใช้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิในการดูแลบุตรได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งในกรณีนี้ สิทธิของมารดา กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนใน มาตรา 1546 ว่า

“เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น หมายความว่า ในกรณีที่หญิงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายแต่เกิดตั้งครรภ์และคลอดบุตรออกมา เด็กที่เกิดนี้ถือว่า เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ถือเป็นหลักที่ว่าบุตรเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม”

สรุป : คู่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อแยกทางกัน ลูกจะตกเป็นสิทธิแก่ฝ่ายแม่เพียงคนเดียว

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

การจะทำให้เด็กที่เกิดนอกสมรส กลายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของพ่อนั้น ตามมาตรา 1547 กำหนดว่า

“เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้สมรสกันในภายหลัง หรือผู้เป็นพ่อได้จดทะเบียนว่าเป็นลูก หรือศาลพิพากษาว่าเป็นลูกของตน หมายความว่า เด็กที่เกิดจากแม่ที่ไม่ได้สมรสกับพ่อนั้นให้ถือว่า เป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นแม่แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แม้พ่อจะมาอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับแม่โดยเปิดเผยก็ไม่ถือว่าเป็นพ่อโดยชอบด้วยกฎหมาย”

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

สรุป : พ่อจะมีสิทธิเลี้ยงดูลูกได้ มี 3 กรณี คือ

กรณีที่ 1 ไปจดทะเบียนรับรองบุตร (การที่บิดาไปแจ้งเกิดมีชื่อเป็นพ่อในใบเกิด อันนั้นไม่ใช่การจดทะเบียนรับรองบุตร) การจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ โดยความยินยอมของแม่ และลูก แต่ถ้าลูกยังเล็กเกินจะตัดสินใจได้ ศาลจะเป็นคนตัดสิน โดยดูว่าลูกจะได้รับประโยชน์สูงสุดหรือเปล่าค่ะ

กรณีที่ 2 พ่อแม่สมรสกันในภายหลัง เช่น ลูกเกิดมาก่อนแล้วค่อยก็ไปจดทะเบียนสมรสกัน แบบนี้พ่อจะมีสิทธิเลี้ยงดูลูก

กรณีที่ 3 เมื่อมีคำพิพากษาของศาลในทำนองที่ให้มีสิทธิเลี้ยงดูลูก ซึ่งพ่อก็อาจจะไปฟ้องศาลเพื่อขอให้ตนมีสิทธิเลี้ยงดูบุตรได้

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

จากกรณีข่าวดัง “ไมค์” กับ “ซาร่า” ไม่ได้จดทะเบียนกัน และซาร่าได้ชี้แจงกับสื่อว่า “ไมค์ไม่สมควรเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย” แต่ไมค์ยังก็จ่ายค่าเลี้ยงดูต่าง ๆ ลูกมากว่า 6 ปี ดังนั้นตามข่าว ไมค์จะอยู่ในกรณีที่ 3 คือ “ไปฟ้องศาลเพื่อขอให้ตนมีสิทธิเลี้ยงดูบุตรได้” นั่นเองค่ะ


เมื่อแม่อยากฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากพ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส


ทำยังไงดี เลี้ยงลูกคนเดียว สามีไม่ช่วยส่งเสียอะไรเลย ภาระตกที่ผู้หญิงเต็ม ๆ

แต่! ปัญหาคือเราไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฟ้องได้ไหม?

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ในกรณีที่แม่เป็น แม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นแม่ที่ได้สิทธิในเลี้ยงดูบุตรโดยชอบธรรม ถ้าต้องการฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากผู้เป็นพ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้นจะสามารถทำได้หรือไม่ ในกรณีนี้ ฝั่งพ่อจะต้องเป็น “บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย” คือ ต้องมีการจดทะเบียนสมรส หรือมีการเซ็นรับรองบุตรก่อน ซึ่งถ้าบิดาหรือมารดาไม่อนุญาติให้จดทะเบียน ก็ต้องไปฟ้องร้องต่อศาลค่ะ และเมื่อเซ็นรับรองบุตรกันเสร็จเรียบร้อย แม่สามารถเรียกค่าอุปการะบุตรได้ทันที ถ้าฝั่งพ่อไม่ยอมจ่าย ก็ให้ไปขอคำบังคับคดีจากศาล ให้มาอายัดเงินเดือนหรือทรัพย์สินของพ่อมาจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรได้เลย


ค่าเลี้ยงดูบุตร คิดยังไง?


พ่อแม่บางท่านที่หย่ากันแล้ว อาจจะคิดเรื่องค่าเลี้ยงดูอยู่ว่า เดือน ๆ หนึ่งเราเรียกเงินจากอีกฝ่ายได้มากเท่าไรกันแน่? ตรงนี้ตามกฎหมายมาตรา 1522 ได้เขียนว่า

  "ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด

  ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด"

สรุป : เมื่อหย่ากัน พ่อแม่ตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายลูกเองได้เลย แต่ถ้าตอนหย่าไม่ได้เขียนในบันทึกเรื่องค่าเลี้ยงดูลูก หรือถ้าตกลงกันไม่ได้ ศาลจะกำหนดให้ โดยดูพิจารณาจากความสามรถทางการเงินของทั้งสองฝ่ายค่ะ (อิงข้อมูลจาก lawphin)

ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฟ้องได้ไหม

1. หากฝ่ายสามีหรือภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อฝ่ายสามีหรือภริยามีคนอื่นหรือมีชู้ จะไม่มีสิทธิในการฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้ และไม่สามารถเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายสามีหรือภริยาได้

ไม่จดทะเบียนสมรสมีสิทธิ์อะไรบ้าง

2. ข้อดีของการไม่จดทะเบียนสมรส.
ทรัพย์สินเงินทองของสามีและภรรยาจะแยกออกจากกันโดย ไม่มีสินสมรส.
ทรัพย์สินที่ทั้งสองหาร่วมกัน จากการทำงาน ทำธุรกิจระหว่างที่ใช้ชีวิตคู่ ให้ถือว่าทรัพย์สินที่ทำมาหาได้เป็น "กรรมสิทธิ์ร่วม" ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง.
การทำนิติกรรมต่าง ๆ ไม่ยุ่งยาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง.

แต่งงานไม่จดทะเบียน เรียกว่าอะไร

เมียน้อย ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรส เพราะเมียหลวงจดไปแล้ว ก็แปลว่าโสด . เมียหลวง ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะมีสถานะ โสด ถ้าเมียน้อยดันไปจดทะเบียนสมรสเมื่อไร เมียหลวงจะกลายเป็นเมียน้อยทันที

ฟ้องชู้ต้องจดทะเบียนสมรสไหม

สรุปโดยรวมแล้ว หากอยากฟ้องชู้เพื่อเรีกยร้องค่าเสียหาย คุณจำเป็นจะต้องจดทะเบียนสมรสกับคู่ของคุณเสียก่อน และการฟ้องร้องนี้ สามารถทำได้ แม้สามีกับภรรยาจะไม่หย่ากันก็ตาม ซึ่งค่าทดแทน ค่าเสียหาย ศาลจะเป็นผู้ประเมินให้ตามชื่อเสียงของผู้เสียหาย แต่ถ้าหากฟ้องหย่า ก็สามารถเรียกค่าทดแทนจากทั้งฝั่งชู้ และคู่สมรสได้อีก