กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการ

แนวคิด

การจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้มีแนวทางในการปฏิบัติไปในทิศทาง เดียวกัน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายช่วยคุ้มครองงาน

ของผู้ผลิตที่คิดค้นขึ้นมา มิให้ผู้ใดนำไปเผยแพร่ หรือกระทำให้เสียหาย การจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้ประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยความร่วมมือ

จากองค์การหลายฝ่าย แบ่งภาระหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อให้ผลการดำเนินงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด

สาระการเรียนรู้

1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

2. องค์การที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นได้

2. แสดงความรู้เกี่ยวกับองค์การที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นนั้นมีหลายฉบับ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ กฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเท่านั้น

ลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองงานที่บุคคลสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ให้บุคคลอื่นมาลอกเลียนแบบหรือลอกเลียนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงช่วยให้เจ้าของงาน ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ และนอกจากนี้ยังทำให้ผู้อื่นเคารพสิทธิของงานสร้างสรรค์นั้น

คำศัพท์เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ มีดังนี้

1. ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น สิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ มีดังนี้

1.1 สิทธิในการทำซ้ำ หรือดัดแปลง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถทำซ้ำ หรือคัดลอกงานของตน ได้ด้วยวิธีต่าง ๆ การทำซ้ำนั้นอาจจะทำซ้ำเป็นบางส่วน หรือทำซ้ำทั้งหมดก็ได้ ส่วนสิทธิในการดัดแปลง เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถนำงานของตนมาทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลอง งานต้นฉบับไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน

1.2 สิทธิในการเผยแพร่ให้ปรากฏต่อสาธารณชน

1.3 สิทธิในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในลิขสิทธิ์นั้น

ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่ไม่รูปร่าง เป็นสิทธิหวงกันของเจ้าของที่รับความคุ้มครองทางกฎหมาย และ เป็นสิทธิที่ห้ามผู้อื่นนำงานของตนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตลิขสิทธิ์แตกต่างจากกรรมสิทธิ์ ลิขสิทธิ์มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนกรรมสิทธิ์จะติดตัวไป กับทรัพย์เสมอ ดังนั้นลิขสิทธิ์และกรรมสิทธิ์สามารถแยกออกจากกันได้ เช่น เจ้าของร้านขายหนังสือ นำหนังสือที่เป็นบทประพันธ์ต่าง ๆ มาขาย เจ้าของร้านมีกรรมสิทธิ์ในหนังสือเหล่านั้นแต่ไม่มีสิทธิในการ นำบทประพันธ์เหล่านั้นไปดัดแปลง ทำซ้ำ เพื่อนำไปหาผลประโยชน์ เป็นต้น

2. ผู้สร้างสรรค์ หมายถึง ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมี ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ดังนั้น ผู้สร้างสรรค์ จึงเป็นผู้ที่คิด ประดิษฐ์ หรือสร้างสรรค์งานขึ้นมาเอง โดยมิได้ทำซ้ำ ดัดแปลง จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต งานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา มีลักษณะดังนี้

2.1 เป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หรือไม่ก็ได้

2.2 เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากความวิริยะ อุตสาหะในการสร้างสรรค์ และงานดังกล่าวมีที่มา หรือต้นกำเนิดจากบุคคลผู้นั้น โดยมิได้คัดลอก หรือดัดแปลงมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

2.3 ผู้สร้างสรรค์ต้องมีการแสดงออกซึ่งความคิด เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองสิ่งที่ แสดงออกเท่านั้น ไม่คุ้มครองความคิดหรือแนวคิด

2.4 การแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ อาจแสดงออกโดยรูปแบบหรือวิธีอื่นใด ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการบันทึก

2.5 ต้องเป็นงานสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ได้แก่งานวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ และศิลปะ

งานลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง

1. วรรณกรรม ได้แก่งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด งานหนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย สุนทรพจน์ เทศนา ปาฐกถา รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

2. นาฏกรรม ได้แก่ งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็น เรื่องราว และรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย

3. ศิลปกรรม ได้แก่ งานที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ดังนี้

3.1 งานจิตรกรรม เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้น แสง สี หรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่างเดียวหรือหลายอย่าง

3.2 งานประติมากรรม เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้

3.3 งานภาพพิมพ์ เป็นงานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์ และหมายความรวมถึง แม่พิมพ์ หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย

3.4 งานสถาปัตยกรรม เป็นงานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่ง ในหรือภายนอก รวมถึงบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือการสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง

3.5 งานถ่ายภาพ เป็นงานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยให้แสง ผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำายาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น

3.6 งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ อันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์

3.7 งานศิลปะประยุกต์ ได้แก่งานที่นำงานข้างต้น ตั้งแต่ 1-6 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง รวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า

4. ดนตรีกรรม ได้แก่ งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและ คำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียง เสียงประสานแล้ว

5. งานโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมี ลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้ หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย (ถ้ามี)

6. งานภาพยนตร์ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉาย ต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)

7. สิ่งบันทึกเสียง ได้แก่งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใดโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็น สำหรับการใช้วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้มิให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศน วัสดุอย่างอื่น

งานที่กฎหมายไม่คุ้มครอง

งานบางประเภทถึงแม้ว่าผู้กระทำจะสร้างสรรค์ด้วยความวิริยอุตสาหะก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร มิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1-4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของ รัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

ที่มาของลิขสิทธิ์

งานใดจะมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายหรือไม่ให้พิจารณาจากความเป็นจริงว่าได้มีการสร้างสรรค์หรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องไปจดทะเบียน ไม่ต้องแสดงการสงวนสิทธิ์ไว้หรือทำตามแบบพิธีแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น นวลอนงค์ แต่งนิทานขึ้นเพื่อใช้เล่าประกวดการเล่านิทาน นวลอนงค์ ได้รับการคุ้มครองมีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมายทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ใครทราบ หรือยังไม่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 8 เกี่ยวกับที่มาของลิขสิทธิ์ ดังนี้

1. ผู้สร้างสรรค์งานอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

2. การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

2.1 กรณียังไม่มีการโฆษณางาน มีดังนี้

• ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมีสัญชาติไทย หากเป็นนิติบุคคลจะต้องเป็น นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย งานนั้นอาจสร้างสรรค์ในประเทศหรือนอกประเทศก็ตาม

• ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีสัญชาติอยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

• ผู้สร้างสรรค์มิได้มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย แต่อยู่ในประเทศไทยหรืออยู่ในประเทศที่เป็น ภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว ตลอดระยะเวลา หรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งาน

2.2 กรณีได้มีการโฆษณางานแล้ว ได้มีการโฆษณางานครั้งแรกราชอาณาจักร หรือในประเทศ ที่เป็นภาคีอนุสัญญาซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

ผู้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ มีดังนี้

1. ผู้สร้างสรรค์ คือ ผู้ที่ทำให้เกิดงานขึ้นจากความคิดริเริ่มของตนเอง ผู้สร้างสรรค์งานจะได้ รับความคุ้มครอง ซึ่งรวมทั้งงานที่ยังไม่ได้โฆษณา และงานที่โฆษณาแล้ว คุณสมบัติของผู้สร้างสรรค์เป็น ตามมาตรา 8 ตามที่กล่าวข้างต้น

2. ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายลิขสิทธิ์มาตรา 9 บัญญัติว่า “งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็น วัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น”

งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นขณะที่เป็นลูกจ้างของหน่วยงานแห่งหนึ่ง หากมิได้ทำหนังสือตกลง กันไว้เป็นอย่างอื่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของพนักงาน แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ได้ตามวัตถุประสงค์ของการจ้างงาน

ตัวอย่างเช่น สุนิสาเป็นนักเขียนประจำนิตยสารฉบับหนึ่ง เขียนเรื่องสั้นลงนิตยสารเป็นประจำ ทุกเดือน บทความเป็นลิขสิทธิ์ของสุนิสา แต่เจ้าของนิตยสารมีสิทธิที่จะนำลงพิมพ์ได้ตามวัตถุประสงค์ ของการจ้างงาน

3. ผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างทำของ กฎหมายลิขสิทธิ์มาตรา 10 บัญญัติว่า “งานที่ผู้สร้างสรรค์ ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และ ผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น”

ผู้สร้างสรรค์คิดงาน ตามที่ผู้ว่าจ้างสั่งให้ทำงานที่สร้างสรรค์นั้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง เว้นแต่มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งว่าจ้างให้เสือดาว นำโชค แต่งเพลงมาร์ชของบริษัท โดยให้ค่าจ้าง 20,000 บาท งานเพลงนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท

4. ผู้ดัดแปลง กฎหมายลิขสิทธิ์มาตรา 11 บัญญัติว่า “งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ ในงานที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงาน ของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง”หากผู้ดัดแปลง นำงานของผู้อื่นมาดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตงานนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ทางกฎหมาย และยังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย

5. ผู้รวบรวม การรวบรวมเป็นการนำงานหลายๆ งานมารวมเข้าด้วยกัน โดยได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ งานนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้รวบรวม เช่น การทำหนังสือรวมเพลง เป็นการนำเอาคำร้อง หลายๆ เพลง มารวมไว้ในที่เดียวกัน หรือการพิมพ์คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับอาญามารวมกันไว้ โดยสำนักพิมพ์ ผู้รวบรวม เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ เป็นต้น

6. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ ถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงสามารถโอนให้กัน โดยวิธีดังนี้

6.1 การโอนโดยมรดก เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ตาย ลิขสิทธิ์ย่อมตกทอดไปยังทายาทโดยทันที อาจเป็นทางพินัยกรรม หรือทายาทโดยธรรมก็ได้

6.2 การโอนโดยทางนิติกรรมกฎหมายกำหนดว่าการโอนลิขสิทธิ์ทางนิติกรรมต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ยกตัวอย่างเช่น นายนิติพงษ์ เขียนเพลงให้ค่ายเพลงแห่งหนึ่ง โดยค่าจ้าง 20.000 บาท นายนิติพงษ์จะโอนลิขสิทธิ์ให้แก่ค่ายเพลงจะต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน พร้อมทั้งพยานให้ถูกต้อง หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือการโอนเป็นโมฆะ เป็นต้น

การคุ้มครองลิขสิทธิ์

งานที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้มีลิขสิทธิ์ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการกระทำดังนี้

1. การทำซ้ำหรือดัดแปลง

2. การเผยแพร่ต่อสาธารณชน

3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์

4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่บุคคลอื่น เช่น การยกค่าลิขสิทธิ์ให้บุคคลอื่น เป็นต้น

5. อนุญาตให้ผู้อื่นนำงานของตนไปทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ให้เช่า โดยมีการกำหนดเงื่อนไข หรือไม่มีก็ได้

อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินประเภทที่กฎหมายไม่ได้ให้การคุ้มครองตลอดไป โดยถือว่า งานสร้างสรรค์ควรจะเป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างกว้างขวาง อายุของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แบ่งได้ดังนี้

1. งานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม และศิลปกรรม (ยกเว้นภาพถ่ายและศิลปะประยุกต์) ให้การคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ และต่ออีก 50 ปี นับจากวันที่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

2. งานโสตวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพและงานภาพถ่าย ให้อายุการคุ้มครอง 50 ปี นับจากวันที่ได้สร้างสรรค์งานขึ้นมา หากมีการโฆษณางานนั้นระหว่างระยะเวลา ดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอยู่เป็นเวลา 50 ปี นับจากวันที่มีการโฆษณาครั้งแรก

3. งานศิลปะประยุกต์ ให้อายุการคุ้มครอง 25 ปี นับจากวันที่ได้สร้างสรรค์งานขึ้นมา หากมี การโฆษณางานนั้นระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่เป็นเวลา 25 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณา ครั้งแรก

การละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์แบ่งออกเป็นหลักทั่วไป และหลักเฉพาะงาน ดังนี้

1. หลักทั่วไป ใช้บังคับกับงานทุกประเภท มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.1 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่องานอันมีลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิด หากการกระทำนั้นได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยแพร่ต่อสาธารณชน

1.2 ผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุกันควรรู้ว่างานใดได้จัดทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การนำงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาใช้เพื่อหากำไร ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่การกระทำดังนี้

• ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

• เผยแพร่ต่อสาธารณชน

• แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

• นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

2. หลักเกณฑ์เฉพาะที่ใช้กับงานลิขสิทธิ์บางงาน มีดังนี้

2.1 งานโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์หรือสิ่งบันทึกเสียง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งถ้าไม่ได้รับ อนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ว่าส่วนของเสียงหรือภาพให้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าว ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยแพร่ต่อสาธารณชน การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

2.2 งานแพร่เสียง แพร่ภาพ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน หากไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงหรือภาพ ให้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าว ได้แก่ การทำทั้งหมดหรือบางส่วน การเผยแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน การจัดให้ประชาชนฟังหรือชมโดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อ อย่างอื่นทางการค้า

2.3 งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยต่อสาธารณชน การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานนี้

การยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

การยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์แบ่งออกเป็น หลักทั่วไปและหลักเฉพาะ ดังนี้

1. หลักทั่วไป บังคับใช้แก่งานลิขสิทธิ์ทุกประเภท ดังนี้

1.1 การกระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากไม่ขัดต่อการแสวงหาผลประโยชน์ตามปกติ ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร การกระทำที่ถือว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้

• งานวิจัย หรือการศึกษางานที่มิใช่การหวังผลกำไร

• ใช้เพื่อตนเอง บุคคลในครอบครัว หรือญาติสนิท

• ติชมวิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของงานนั้น

• เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของงานนั้น

• ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

• ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ด้านการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

• ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบัน การศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำ เพื่อแสวงหากำไร

• นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถาม การตอบ ในการสอบ

1.2 การกล่าว คัด ลอกเลียน หรืออ้างอิงงานบางตอน ตามสมควรโดยมีการรับรู้ถึงความเป็น เจ้าของ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ถือว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

1.3 การกระทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดอันมีต่องานลิขสิทธิ์ หากไม่ขัดต่อการแสวงหา ผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุด หรือให้แก่ห้องสมุดอื่น หรือการทำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัย หรือศึกษา

1.4 การทำซ้ำเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ โดยเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานดังกล่าว ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าไม่ขัดต่อการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์

2. หลักเกณฑ์เฉพาะ ใช้กับงานที่มีลิขสิทธิ์ ดังนี้

2.1 งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์มิได้มุ่งหากำไร และไม่ขัดต่อ การแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการกระทำดังกล่าว

• เป็นการวิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

• ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

• ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ใน โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

• ทำสำเนางานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ใน โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น

• ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับ โปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกัน การสูญหาย

• ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของ ศาล หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานในผลการพิจารณาดังกล่าว

• นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถาม และตอบในการสอบ • ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้

• จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้า เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

2.2 งานนาฏกรรมหรือดนตรีกรรม การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรมออกแสดงเพื่อ เผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการเพื่อหากำไรในการเผยแพร่งาน ดังกล่าวมิได้มีการเก็บค่าเข้าชมทั้งทางตรงและทางอ้อมนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนการดำเนินการดังกล่าว กระทำโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์

2.3 งานศิลปกรรม

• การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการกระทำใด ๆ ทำนองเดียวกันนี้ซึ่ง ศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์

• การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

• ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วย การที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับ ศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์เภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำ ศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

2.4 งานสถาปัตยกรรม อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

2.5 งานภาพยนตร์ ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์นั้น

การคุ้มครองนักแสดง

เกี่ยวกับการคุ้มครองนักแสดง มีรายละเอียดดังนี้

นักแสดง หมายถึง ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักร และผู้ซึ่งแสดงท่าทางร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทบาทหรือในลักษณะอื่นใด

นักแสดงที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จะต้องมีสัญชาติไทย มีถิ่นอยู่ในประเทศไทย หรือ การแสดงหรือส่วนใหญ่ของการแสดงเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือประเทศภาคีฯ

สิทธิของนักแสดง นักแสดงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตน ได้แก่

1. แพร่เสียงแพร่ภาพ หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งการแสดง เว้นแต่จะเป็นการแพร่เสียง แพร่ภาพหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนจากสิ่งบันทึกการแสดงที่มีการบันทึกไว้แล้ว

2. บันทึกการแสดงที่ยังไม่มีการบันทึกไว้แล้ว

3. ทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่มีผู้บันทึกไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนักแสดงหรือสิ่งบันทึก การแสดงที่ได้รับอนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ

การได้รับค่าตอบแทน ผู้ใดนำสิ่งบันทึกเสียงการแสดงซึ่งได้นำออกเผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ ทางการค้าแล้ว หรือนำสำเนาของงานนั้นไปแพร่เสียงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยตรง ให้ผู้นั้นจ่าย ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่นักแสดง ในกรณีที่ตกลงค่าตอบแทนไม่ได้ ให้อธิบดีเป็นผู้มีคำสั่งงกำหนด ค่าตอบแทน ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงอัตราค่าตอบแทนปกติในธุรกิจประเภทนั้น

อายุการคุ้มครองนักแสดง กำหนดเวลา 50 ปี นับจากวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่มีการแสดง ในกรณี ที่มีการบันทึกการแสดงสดให้มีอายุ 50 ปี นับจากวันสิ้นปีของปีที่มีการบันทึกการแสดง

ข้อยกเว้นสำหรับสิทธิของนักแสดง มีลักษณะเช่นเดียวกับงานอันมีลิขสิทธิ์อื่น ๆ ยกเว้น การนำไปใช้เพื่อการศึกษา วิจัย หรือในการเรียนการสอน การสอบ เป็นต้น

สิทธิและลิขสิทธิ์ของนักแสดงระหว่างประเทศ งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์และสิทธิ ของนักแสดงของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการ คุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรืองานอันมีลิขสิทธิ์ขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยร่วมเป็นสมาชิกอยู่ด้วยย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้

ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศรายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงในราชกิจจานุเบกษา

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศเรื่องการกำหนด รายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วย

“การคุ้มครองลิขสิทธิ์ของนักแสดง” มีรายชื่อประเทศต่าง ๆ จำนวน 134 ประเทศ เช่น จีน แคนาดา ฝรั่งเศส มาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น

การละเมิดสิทธิ์

ผู้ละเมิดสิทธิจะต้องได้รับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ดังนี้

1. ทางแพ่ง ผู้ละเมิดจะต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์

2. ทางอาญา ผู้ละเมิดต้องรับผิดทางอาญาเมื่อมีองค์ประกอบความผิดทางอาญาครบถ้วน คือ มีเจตนาและมีการกระทำละเมิด ความผิดทางอาญาในการละเมิดลิขสิทธิ์ คือโทษปรับ หรือโทษจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นความผิดอันยอมความได้

อายุความ เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ทั้งคดีแพ่งและอาญา

• คดีแพ่ง ห้ามมิให้ฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเมื่อพ้นกำหนด 3 ปีนับแต่วันที่ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิด แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

• คดีอาญา เนื่องจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายจึงต้องฟ้อง หรือร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันกระทำผิด มิฉะนั้นคดีขาดอายุความฟ้องร้องไม่ได้

บทลงโทษ

กฎหมายลิขสิทธิ์ กำหนดบทลงโทษไว้ดังนี้

1. ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000200,000 บาท หากการกระทำความผิดเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 - 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ โดยรู้อยู่แล้วหรือควรรู้ว่าเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แล้วนำไปกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขาย เสนอขาย ให้เช่า เผยแพร่ต่อสาธารณชน นำหรือสั่งเข้ามา ในประเทศ เป็นต้น ต้องระวางโทษ ดังนี้

• หากกระทำโดยไม่แสวงหากำไร ปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท

• หากกระทำเพื่อการค้า จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน - 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 - 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษา ให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นจำนวน กึ่งหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่จะฟ้อง เรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ได้รับแล้วนั้น

สิทธิบัตร

สิทธิบัตรเป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติเป็นการส่งเสริม และรักษาผลประโยชน์แก่นักประดิษฐ์ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรประกาศใช้ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2522 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2542 นิยามศัพท์ที่ควรทราบ เกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตรมีดังนี้

1 สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกเพื่อให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้นและสามารถ ประยุกต์ทางอุตสาหกรรมได้ มีอายุ 20 ปี

รูปแบบสิทธิบัตรการให้ความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นเอกสาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

• สิทธิบัตรการประดิษฐ์

• สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

• อนุสิทธิบัตร

สิทธิบัตรก่อตั้งจากเอกสารสิทธิ ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงการรับฐานะของสิทธิในรูปของหนังสือสำคัญ การจะได้รับสิทธิบัตรหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการพิจารณาหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย

2 อนุสิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ที่เป็นการประดิษฐ์ ขึ้นใหม่สามารถประยุกต์ทางอุตสาหกรรมได้มีอายุ 6 ปี

สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของสิทธิสามารถใช้อ้างยันต่อบุคล ทั่วไปได้ตามกฎหมาย สิทธิบัตรคุ้มครองสิทธิ 2 ประเภท ได้แก่ การประดิษฐ์ และการออกแบบ ผลิตภัณฑ์

3 การประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นหรือการทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี ใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี

การประดิษฐ์เน้นเรื่องการใช้ความคิด เนื่องจากสิทธิบัตรให้ความคุ้มครองความคิด การประดิษฐ์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

3.1 ผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ซึ่งมนุษย์คิดขึ้นมา ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

3.2 กรรมวิธี คือ วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการประดิษฐ์ การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ มีดังนี้

1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนดังนี้

1.1 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ ที่มีใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับ สิทธิบัตร

1.2 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญแก่สาธารณชนแล้ว

1.3 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรแล้ว ไม่ว่าในหรือ นอกราชอาณาจักรก่อนขอวันรับสิทธิบัตร 1.4 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้ว นอกราชอาณาจักรเป็นเวลาเกิน 18 เดือน ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต

1.5 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้ว ไม่ว่า ในหรือนอกราชอาณาจักร และได้ประกาศโฆษณาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร

2. เป็นงานประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น เป็นการกระดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์ โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น

3. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำมาใช้ทางอุตสาหกรรมได้ เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ มีดังนี้

1. จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช

2. กฏเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

3. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

4. วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์

5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

4 กรรมวิธี หมายถึง วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิตหรือเก็บรักษาให้คงสภาพ หรือให้มีคุณภาพดีขึ้น หรือปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้น ๆ ด้วย

5 แบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสี ของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้

การได้รับสิทธิบัตร

การได้รับสิทธิบัตรมีรายละเอียด ดังนี้

การได้สิทธิโดยการประดิษฐ์ ผู้ประดิษฐ์เป็นผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร และมีสิทธิที่จะได้รับ การระบุชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ในสิทธิบัตร สิทธิขอรับสิทธิบัตรสามารถโอนและรับมรดกกันได้ การโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนการได้สิทธิบัตรของนายจ้าง กรณีการประดิษฐ์ตามสัญญาจ้างของนายจ้าง หรือเป็นการทำงาน ตามสัญญาจ้าง ผู้ทรงสิทธิบัตรในการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนตามสัญญาจ้างคือนายจ้าง เว้นแต่มีการตกลงกัน ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้สิทธิบัตรเป็นของลูกจ้าง ลูกจ้างให้หมายรวมถึงผู้ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ที่มิได้มีสัญญาจ้าง เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์นั้น แต่ได้ใช้วิธีการผลิต สถิติ หรือรายงานซึ่งลูกจ้างสามารถใช้ได้หรือล่วงรู้เพราะการเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง นั้น แม้ว่าสัญญาจ้างจะมิได้เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์

กรณีนายจ้างได้รับประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือนำสิ่งประดิษฐ์นั้นไปใช้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ บำเหน็จพิเศษ นอกจากค่าจ้างตามปกติได้

กรณีผู้ประดิษฐ์เป็นข้าราชการ พนักงานองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่ามีสิทธิได้รับเงิน บำเหน็จพิเศษนอกจากเงินเดือน เว้นมีระเบียบของทางราชการ องค์การของรัฐกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ผู้ขอรับสิทธิบัตร

ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีสัญชาติไทย กรณีเป็นนิติบุคคลต้องมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ ในประเทศไทย

2. มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

3. มีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยของรับสิทธิบัตรได้

4. มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย

5. อยู่ในระหว่างการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมในประเทศไทย หรือประเทศที่เป็น ภาคีอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

กรณีผู้ประดิษฐ์หลายคนในการขอรับสิทธิบัตร ผู้ประดิษฐ์ทุกคนมีสิทธิที่จะขอรับสิทธิบัตรร่วมกัน ผู้ทำการประดิษฐ์คนใดคนหนึ่งอาจขอรับสิทธิบัตรในนามของตนเอง หากผู้ประดิษฐ์ร่วมคนใดไม่ยอมร่วม ของรับสิทธิบัตร หรือติดต่อไม่ได้ หรือไม่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร เช่น ไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ใน ประเทศหรือไม่มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา เป็นต้น ผู้ประดิษฐ์คนอื่นจะขอรับสิทธิบัตร สำหรับการประดิษฐ์ที่ได้ทำร่วมกันนั้นในนามของตนเองก็ได้

ผู้ประดิษฐ์ร่วมซึ่งมิได้เข้าร่วมขอรับสิทธิบัตร จะขอเข้าเป็นผู้ร่วมขอรับสิทธิบัตรเมื่อใดก็ได้ ก่อนมีการออกสิทธิบัตร เมื่อได้รับคำขอแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งกำหนดวันสอบสวนไปยังผู้ขอรับ สิทธิบัตร

และผู้ร่วมขอรับสิทธิบัตร ในการนี้ให้ส่งสำเนาคำขอไปยังผู้ขอรับสิทธิบัตร และผู้ร่วมขอรับ สิทธิบัตรคนอื่นด้วย

ผู้มีสิทธิรับสิทธิบัตรก่อน กรณีที่บุคคลหลายคนต่างทำการประดิษฐ์อย่างเดียวกันโดยไม่ได้ ร่วมกัน การยื่นขอสิทธิบัตรมีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ที่ยื่นสิทธิบัตรก่อนย่อมมีสิทธิรับสิทธิบัตร แม้ว่าข้อเท็จจริงแล้ว ผู้ได้รับสิทธิบัตรจะได้ทำการประดิษฐ์สิ่งนั้นหลังคนอื่นก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นไป โดยบังเอิญหรือไม่ก็ตาม เพราะการออกสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ รัฐจะออกสิทธิบัตรให้ได้เพียง 1 ฉบับเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นผู้เปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์ก่อนสร้างประโยชน์แก่สังคมก่อน

กรณีมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อย่างเดียวกัน ในวันเดียวกัน ให้ผู้ขอทำความตกลงกัน หากตกลงไม่ได้ให้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นทิ้งคำขอรับสิทธิบัตร

คำขอรับสิทธิบัตร รายการในคำขอรับสิทธิบัตร ให้มีรายการดังนี้

1. ชื่อแสดงถึงการประดิษฐ์

2. ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์

3. รายละเอียดการประดิษฐ์ที่มีข้อความสมบูรณ์ รัดกุม คือต้องเปิดเผยถึงลักษณะของการประดิษฐ์ ที่คิดค้นได้ให้ครบถ้วน ดังนี้

3.1 รายละเอียดนั้นต้องชัดแจ้งพอที่จะทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญ สามารถที่จะอ่าน รายละเอียดแล้วนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้

3.2 ระบุวิธีในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุดที่ผู้ประดิษฐ์จะพึงทราบได้ กล่าวคือผู้ขอรับสิทธิบัตรจะต้อง ระบุวิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด เนื่องจากการทำสิ่งประดิษฐ์อาจทำได้หลายวิธี และแต่ละวิธีจะต้องมี ความแตกต่างกันออกไป

4. ข้อถือสิทธิ คือส่วนที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะแสดงถึงเจตนาหรือความประสงค์ ที่จะกำหนดถึง ลักษณะและขอบเขตของสิ่งที่ต้องการได้รับสิทธิบัตรแต่เพียงผู้เดียว เป็นการอธิบายถึงลักษณะของสิ่งที่ได้ คิดค้นขึ้นมาและต้องการได้รับความคุ้มครอง

ข้อถือสิทธิเป็นสิ่งที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรต้องเขียนให้ชัดแจ้งที่สุดในสิ่งที่ตนต้องการได้รับความ คุ้มครอง การเขียนข้อถือสิทธิควรแสดง แยกแยะ ให้เห็นถึงองค์ประกอบของการประดิษฐ์นั้นอย่างชัดแจ้ง

ข้อถือสิทธิถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการพิจารณาว่ามีผู้กระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของผู้ประดิษฐ์ หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิ

5. รายการตามที่กำหนดโดยกระทรวง

ผู้ขอรับสิทธิบัตรอาจขอแก้ไขเพิ่มเติม ขอรับสิทธิบัตรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด โดยกฎกระทรวง

ผู้ทรงสิทธิบัตร

ผู้ทรงสิทธิบัตร หมายถึง เจ้าของสิทธิบัตร หรือผู้ที่ได้รับจดชื่อลงในทะเบียนสิทธิบัตรได้แก่บุคคลเหล่านี้

1. ผู้ประดิษฐ์ 3. นายจ้างของผู้ประดิษฐ์

2. ผู้รับโอนสิทธิบัตร 4. ส่วนราชการสำหรับราชการ

สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิบัตร มีสิทธิดังนี้

1. กรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือ นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร

2. กรณีสิทธิบัตรกรรมวิธี ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร

3. ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรือ “สบท.” หรือตัวอักษรต่างประเทศที่มี ความหมายเดียวกันให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์หรือในการโฆษณา

4. ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิของตนตามสิทธิบัตร หรือโอนสิทธิบัตร ของตนให้ผู้อื่น

ข้อยกเว้นสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิบัตร ไม่มีสิทธิตามสิทธิบัตรในกรณี ดังนี้

1. การกระทำใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หรือทดลอง ทั้งนี้ไม่ขัดต่อประโยชน์ ของผู้ทรงสิทธิบัตร

2. การผลิตหรือการใช้ผลิตภัณฑ์โดยสุจริตก่อนวันยื่นขอสิทธิบัตร

3. การเตรียมยาเฉพาะรายตามใบสั่งแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

4. การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนยา โดยผู้ขอมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตจำหน่าย หรือนำเข้าซึ่งผลิตภัณฑ์ยา เมื่อสิทธิบัตรสิ้นอายุลง |

5. การใช้ การขาย มีไว้ขาย เสนอขาย หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หากผู้ทรงสิทธิบัตร อนุญาตหรือยินยอมให้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

การชำระค่าธรรมเนียมรายปี ผู้ทรงสิทธิบัตรต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี เริ่มตั้งแต่ปีที่ 5 ของอายุสิทธิบัตร หากไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม หรือถูกเพิกถอน สิทธิบัตรการเพิกถอนสิทธิบัตร สิทธิบัตรถูกเพิกถอนได้ กรณีดังนี้

1. สิทธิบัตรได้ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีที่มีผู้ฟ้องให้ถอน เช่น สิ่งประดิษฐ์นั้น กฎหมายไม่คุ้มครอง สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ผู้ขอ สิทธิบัตรมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เป็นต้น

2. อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อาจขอให้คณะกรรมการสิทธิบัตร สั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้ในกรณี

ดังนี้

2.1 ผู้ทรงสิทธิบัตรซึ่งขอใช้สิทธิบัตร กรณีข้อถือสิทธิบัตรของตนอาจละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่น ไม่ใช้สิทธิภายในเวลา 2 ปี นับแต่ได้รับอนุญาต

2.2 ผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรของตนโดยผิดกฎหมาย

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

แบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง รูปร่างของผลิตภัณฑ์ภายนอกหรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสี ของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับอุตสาหกรรมรวมทั้ง หัตถกรรมได้

ตัวอย่างของแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การออกแบบรูปทรง เครื่องใช้ต่าง ๆ การออกแบบสี และลวดลายบนเครื่องใช้ เป็นต้น

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และเป็นการออกแบบ ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรมเท่านั้น

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่มีอายุคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร

ผู้ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องไปขอรับสิทธิบัตรไว้ด้วย จึงจะ เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบอันจะทำให้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้การออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือ ขายผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์นั้นได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ มีดังนี้

1. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

2. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

3. แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือได้มีการเปิด สาระสำคัญแล้ว (ตามข้อ 1. และข้อ 2.) จนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ

4. ผลิตภัณฑ์ที่เคยประกาศโฆษณามาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ มีดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น เครื่องมือการโจรกรรมบ้าน เครื่องสูบ ยาบ้า เป็นต้น

2. ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดในราชกฤษฎีกา

คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ รายการในคำขอรับสิทธิบัตร มีดังนี้

1. ภาพแสดงผลิตภัณฑ์

2. ข้อความระบุผลิตภัณฑ์ที่จะใช้กับแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตร

3. ข้อถือสิทธิโดยแจ้งชัด กล่าวคือมีการระบุถึงลักษณะ ขอบเขตของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ ต้องการคุ้มครอง และการออกแบบแบ่งเป็น การออกแบบรูปร่าง ลักษณะ หรือออกแบบรูปทรง ของผลิตภัณฑ์

4. รายการอื่นตามที่กระทรวงกำหนด

อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์

อนุสิทธิบัตร เป็นหนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ปีประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ที่สามารถ ประยุกต์ทางอุตสาหกรรมได้ มีอายุ 6 ปี

กฎหมายกำหนดการขอรับอนุสิทธิบัตร ดังนี้

1. บุคคลใดจะขอรับอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันไม่ได้

2. ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตรมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลง ประเภทของสิทธิที่จะขอรับจากอนุสิทธิบัตร เป็นสิทธิบัตร หรือจากสิทธิบัตรเป็นอนุสิทธิบัตรได้ก่อนการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร

3. ภายใน 1 ปี นับจากวันโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์ และออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรมีลักษณะตามที่ได้รับอนุญาตหรือไม่

อายุของอนุสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี นับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร ในกรณีที่มีการดำเนินคดีทางศาลมิให้นับนับระยะเวลาในการดำเนินคดีดังกล่าวเป็นอายุของอนุสิทธิบัตร ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร สามารถขอต่ออนุสิทธิบัตรได้ 2 คราว มีกำหนดคราวละ 2 ปี โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ภายใน90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุแล้ว ถือว่าอนุสิทธิบัตรนั้น ยังคงจดทะเบียนอยู่จนกว่า เจ้าหน้าที่จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

บทกำหนดโทษ มีดังนี้

1. เจ้าพนักงานผู้ใดเปิดเผยรายละเอียดของการประดิษฐ์ หรือเปิดเผยรายละเอียดของการประดิษฐ์ ที่อธิบดีสั่งให้ปกปิดสาระสำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ผู้ใดซึ่งรู้อยู่ว่าการประดิษฐ์นั้นได้มีผู้ยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว เปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผู้ใดใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรือ “อนุสิทธิบัตรไทย” โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ผู้ใดละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่น ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

5. ผู้ใดยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์การที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

การดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น จะต้องมีการประสานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการค้นหาผลิตภัณฑ์และข้อมูลพื้นฐาน ตลอดจนเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของกลุ่มคนและชุมชน

หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ตามขอบเขตและอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ตามกฎหมายบัญญัติ กระทรวงมหาดไทยมีภารกิจหลักที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่

1. ด้านการเมืองการปกครอง รับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาคส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ

2. ด้านเศรษฐกิจ รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้อง ประสานกับส่วนราชการต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่ม เกษตรกร

3. ด้านสังคม รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม

4. ด้านการพัฒนาทางกายภาพ รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการ

ขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง

กรมพัฒนาชุมชน

กรมพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานสำคัญในการการดำเนินโครงการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผลักดันให้เกิดโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง และสามารถผลิตภัณฑ์ที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นก้าวสู้สากลได้

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพโดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรมการพัฒนาชุมชน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1 กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนระดับชาติ

2 จัดหาและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน

3 พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน

4 สนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการให้บริการ ข้อมูลสารสนเทศชุมชน

5 ศึกษาเคราะห์ นัย พันนา และสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน และการจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน

6. ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่าย องค์การชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทำงาน รวมทั้งให้ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ส่งเสริมการผลิต จัดหาวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

มีภารกิจหลัก ดังนี้

1. จัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน

2. ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร

3. ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม

4. อื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่หลักในการกำหนดมาตรฐาน และหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการดำเนินการตามภารกิจหลัก กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวง อุตสาหกรรม มีบทบาทสำคัญในการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำหนด มาตรฐานของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และยัง คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าที่มีมาตรฐาน

สืบเนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าอุตสาหกรรมที่นำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยจึงต้องผลิตสินค้าขึ้นเอง ดังนั้นเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้เริ่มออกหนังสือรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตภายในประเทศ โดยใช้มาตรฐานของต่างประเทศ ประกอบกับมาตรฐานของผู้ผลิตที่กรมวิทยาศาสตร์ยอมรับ เป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาให้ใบรับรอง

ผู้ผลิตที่ต้องการขอใบรับรองมาตรฐานสินค้า จะต้องติดต่อกรมวิทยาศาสตร์พร้อมผลิตภัณฑ์ และค่าธรรมเนียม จากนั้นกรมวิทยาศาสตร์จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบกรรมวิธีการผลิต วิธีการควบคุม คุณภาพของโรงงาน พร้อมทั้งขอเก็บตัวอย่างใหม่ และซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่ขายในท้องตลาด เพื่อเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ตรวจสอบ หากผลการวิเคราะห์มีคุณภาพมาตรฐาน “ใช้ได้” หรือ “ดี” ก็จะออกใบรับรอง หากผลออกมายังไม่ได้มาตรฐาน ก็จะแจ้งผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการพิจารณาเป็นมาตรฐานของต่างประเทศ จึงยังมีข้อขัดข้องบางประการ ที่ยังไม่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทย หรือเกณฑ์บางประการกำหนดไว้สูง เกินขีด ความสามารถของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2505 กรมวิทยาศาสตร์จึงได้เริ่ม ร่างข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็นครั้งแรกโดยคณะกรรมการวิเคราะห์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ รวม 3 เรื่อง ได้แก่

1. เรื่องข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพถ่านไฟฉาย

2. ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพของขวดแก้วชนิดฝาจีบสำหรับเครื่องดื่มประเภทอัดก๊าซ

3. ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพน้ำปลาพื้นเมือง

จากการที่ประเทศไทยได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้การลงทุนในประเทไทยเริ่มขยายตัว ประกอบ กับวิธีกำหนดเกณฑ์คุณภาพที่ใช้อยู่ ไม่สามารถทำให้มีเกณฑ์สำหรับเทียบหรือเป็นมาตรฐานทันกับ ความต้องการ และการขยายตัวในทางอุตสาหกรรมได้ กรมวิทยาศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำ โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 โครงการย่อย คือ โครงการมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาวัสดุก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2508

โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้รับความเห็นชอบให้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2514 ยังได้รับความช่วยเหลือ จากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นระยะเวลาติดต่อกันกว่า 7 ปี เพื่อการเร่งรัดพัฒนา งานด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทยให้สามารถสนองทันความต้องการ และสอดคล้อง กับนโยบายพัฒนากิจการอุตสาหกรรมของประเทศ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีวิสัยทัศน์ต้องการเป็นผู้นำด้านมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน มีนโยบายมุ่งมั่นดำเนินงานด้านการมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประเทศชาติ โดยรวม กิจกรรมด้านมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีดังนี้

1 กำหนดมาตรฐาน ทั้งมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล กล่าวคือในระดับประเทศ

มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก ส่วนมาตรฐาน ระดับสากล ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานองค์กรสากลที่สำคัญ คือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for standardization : ISO) คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วย มาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (International Electro technical Commission : IEC)

2 การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีการรับรอง คุณภาพผลิตภัณฑ์ ดังนี้

2.1 การรับรองตามมาตรฐานของประเทศ เป็นการให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน 2 แบบ คือ เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปและเครื่องหมาย มาตรฐานบังคับ

เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมายที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่บังคับ ผู้ผลิตสามารถ ยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานได้ด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็น มาตรฐานที่กำหนดออกมามากที่สุด

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจของประเทศ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้าและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น

2.2 การรับจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ยัง มิได้กำหนดมาตรฐาน โดยการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี

2.3 การเป็นหน่วยตรวจให้กับสถาบันมาตรฐาน เป็นหน่วยตรวจของสถาบันมาตรฐาน ต่างประเทศเพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น (JIS MARKS) ประเทศสาธารณรัฐ สังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา และประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ยังตรวจติดตามผล ให้กับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (SABS) ด้วย

2.4 การรับรองฉลากเขียว (Green Label) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดำเนินโครงการฉลากเขียวเพื่อให้การรับรองแก่ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิตมีการใช้ เทคโนโลยีที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

3 การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นการให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ของผู้ผลิตในชุมชนที่ได้รวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หรือชุมชนในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือก

4 การรับรองระบบงาน ทั้งการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ และการจดทะเบียน บุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐาน ตามรายละเอียดดังนี้

4.1 การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ เป็นการรับรองขีดความสามารถด้านวิชาการ การทดสอบของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไป

ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการการสอบเทียบ และห้องปฏิบัติการทดสอบ

4.2 การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐาน เป็นการให้การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินการจดทะเบียนหลักสูตรฝึกอบรม และองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐานในกลุ่มสาขาต่าง ๆ เช่น ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบบริหารงานคุณภาพ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร ระบบห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการรับรองผลิตภัณฑ์และระบบอื่น ๆ ตามมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่สากลยอมรับ

5 การบริการข้อสนเทศมาตรฐาน บริการข้อมูล และตอบข้อซักถามทางวิชาการ เกี่ยวกับ มาตรฐาน กฎระเบียบทางวิชาการ และการรับรองคุณภาพทั้งของไทยและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์รวม เอกสารมาตรฐานทั้งของไทยและของต่างประเทศ ตลอดจนเอกสารทางด้านการรับรองคุณภาพ กฎระเบียบ ทางวิชาการและเอกสารอื่น ๆ ที่ครบถ้วนและทันสมัยทั้งในรูปของเอกสารและไมโครฟิล์ม

6 การปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก โดยเป็นแกนกลางในการ ปฏิบัติตามพันธกรณีตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า(Agree on Technical Barriers to Trade : TBT) ยกเว้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร

7 งานด้านการมาตรฐานระหว่างประเทศและภูมิภาค ด้านกิจกรรมระหว่างประเทศ สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electrotechnical Commission : IEC) นอกจากนี้ยังได้ร่วมดำเนินงานกับ International Personal Certification Association (PC) ด้านการ รับรองหน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านตรวจประเมินรวมทั้งร่วมดำเนินการ รับรองห้องปฏิบัติการทดสอบกับ International Laboratory Accreditation Conference (ILAC)

ส่วนกิจการมาตรฐานภูมิภาค ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านงานมาตรฐาน และการรับรองใน ส่วนภูมิภาคกับ ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality (ACCSQ) และ Asia Pacific Economic Cooperation : Standards and conformance Sub-Committee (APEC CTV/ SCSC) นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม Pacific Area Standards Congress (PASC) ด้วย

8 การส่งเสริมมาตรฐานและพัฒนาด้านการมาตรฐาน ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐพัฒนาระบบการจัดการให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติมาตรฐานสากล เพื่อ ประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทาง การค้าระหว่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจแก่ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพ และการมาตรฐาน และนำไปใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

9 การพัฒนาบุคลากร ดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านการมาตรฐานทั้งภาครัฐ และเอกชนให้มี ขีดความสามารถที่จะดำเนินการด้านมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับสากล และเป็นที่ยอมรับ

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุข ด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่เช่นเดียวกับกระทรวงอุตสาหกรรม คือกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการดำเนินการตามหน้าที่ กระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1. การสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย

2. การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน

3. อื่น ๆ ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการ ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงพาณิชย์

กระทรวงพาณิชย์ ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น มีหน้าที่ในการดูแลเกี่ยวกับ การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ในส่วนของการดำเนินงานตามหน้าที่ กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจหลักดังนี้

1. ภารกิจในประเทศ มีหน้าที่ดูแลราคาสินค้าเกษตร และรายได้เกษตรกร ดูแลผู้บริโภคภายใต้ กรอบกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งการค้าสินค้าและธุรกิจบริการ รวมทั้งธุรกิจประกันภัย และคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา

2. ภารกิจต่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเจรจาภายใต้ กรอบWTOFTA อนุภูมิภาคภูมิภาคฯลฯ จัดระเบียบและบริหารการนำเข้าส่งออกรวมทั้งการขายข้าวรัฐต่อรัฐ การค้ามันสำปะหลัง สินค้าข้อตกลงต่าง ๆ แก้ไขปัญหา และรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เช่น การดูแล เรื่องระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ส่งเสริมและ การเร่งรัดการส่งออก

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และอื่น ๆ ที่ต้องการเผยแพร่ ส่วนของการดำเนินงานตามหน้าที่หลักเกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีพันธกิจดังนี้

1. เสนอแนะนโยบาย จัดทำยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม

2. ริเริ่ม เร่งรัด ผลักดันและดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ และสร้างผลกระทบ เชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

3. ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ สร้างคนดีและเก่งในทุกระดับ รวมทั้งสร้างความตระหนักด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับ

4. สร้างระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างปัญญา เข้าถึงความรู้ใหม่ๆ และนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ผสมผสานกันได้

5. สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมให้แก่ภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งบริการสังคมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

มีหน้าที่หลักในการติดตามและประเมินผล ส่วนการการดำเนินงานตามหน้าที่หลักมีอำนาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษาและจัดทำ ข้อเสนอนโยบายและมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับ ความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติและพันธสัญญา ที่เป็นไปตามข้อเสนอตกลงระหว่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์ หลักเกณฑ์ และแนวทางการสนับสนุน ทรัพยากร จัดตั้ง จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชนตามหลักเกณฑ์และ แนวทางที่กำหนด ตลอดจนเสนอแนะการจัดตั้ง ยุบรวม ปรับปรุงและยกเลิกสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัย ชุมชน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังมีหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพนักศึกษา รวมทั้งผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ในระบบอุดมศึกษา และการประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบและดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอุดมศึกษา และการรวบรวมข้อมูล จัดทำสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา และดำเนินงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ การอุดมศึกษาและคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักนายกรัฐมนตรี ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น มีหน้าที่หลัก ในการวิเทศสัมพันธ์ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและเงินทุนจากต่างประเทศ ในส่วนของการดำเนินงาน ตามหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและการวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การปฏิบัติภารกิจพิเศษและ ราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการ ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ