เงิน หมุน ไม่ทัน ทํา ไง ดี

7 วิธี ใช้หนี้ แม้หมุนเงินไม่ทัน

Jul 15, 2016 | อ่าน 260,205

หลายคนอาจจะกำลังเผชิญปัญหาเป็นหนี้ ซึ่งรายได้ที่เข้ามาก็ไม่พอใช้สักเท่าไหร่ แล้วไหนจะต้องแบ่งไปชำระหนี้อีก ยังไม่รวมถึงภาระอื่นๆอีกมากมาย หากกำลังมองหาวิธีการที่จะมาช่วยหมุนเงินให้ทันเวลาละก็ มาถูกทางแล้วครับ วันนี้เรามาดู 7 วิธี ใช้หนี้ แม้หมุนเงินไม่ทัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ

1.ลดค่าใช้จ่าย

หากสังเกตุได้ว่ารายได้เริ่มจะไม่พอใช้ได้อย่างชัดเจน เราต้องรีบหาทางแก้ไขแล้วแหละครับ โดยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้ทุกอย่างเท่าที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าของอุปโภคบริโภคต่างๆ เราไม่สามารถลดส่วนนี้ได้มาก จึงถึงเวลาที่ต้องลดค่าใช้จ่ายด้านบันเทิง อาหารหรูหรา ท่องเที่ยว ให้ด่วนที่สุดครับ

2.สร้างรายได้มากขึ้น

ในเมื่อรายได้เริ่มไม่พอใช้ขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องหาอะไรทำสักอย่างเพื่อเพิ่มพูนรายได้สักหน่อย อาจจะหางาน Part-time ทำ อาชีพเสริม หรือทำงานนอกเวลาที่ไม่ส่งผลกระทบต่องานประจำ เพื่อหารายได้เข้ามาให้มากที่สุด โดยมีหลายช่องทางมากมาย เช่น ขายของตามเทศกาลต่างๆ หากไม่สะดวกก็หาสินค้ามาขายออนไลน์ได้อีกด้วยนะครับ

3.หยุดก่อหนี้เพิ่ม

นี่คือสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเลยครับ ในเมื่อเราเป็นหนี้อยู่แล้ว ก็ต้องหยุดก่อหนี้เพิ่ม เพราะถ้าต้องจ่ายทั้งเจ้าหนี้เก่า และเจ้าหนี้ใหม่ รับรองเลยว่าแย่แน่ๆ!! บางคนอาจจะใช้วิธีการกดเงินสดจากบัตรเครดิตใบหนึ่งไปเพื่อไปจ่ายหนี้อีกใบ ซึ่ืงดอกเบี้ยสูงมากแน่ และพวกหนี้นอกระบบลืมไปได้เลย จะกลายเป็นหนี้ก้อนโตที่ยากจะชำระคืนอีกด้วย ทางที่ดีชำระหนี้เจ้าเดิมให้หมดก่อนดีที่สุดครับ

4.งดใช้บัตรเครดิต

ปกติหากเราใช้บัตรเครดิตในการจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ เพราะสะดวกสบาย ไม่ต้องพกเงินให้หนักกระเป๋า แต่ถ้าเราไม่สามารถชำระบิลเรียกเก็บเงินได้เต็มจำนวน แบบนี้ก็เท่ากับสร้างหนี้บัตรเครดิต ทำให้ตัวเองมีหนี้มากกว่าเดิม ถ้าเทียบกับการใช้เงินสด เวลาเราจ่าย จะทำให้รู้ว่าเงินในกระเป๋ามันหายไปในทันที เห็นกับตาเลยว่า เราใช้เงินไปแล้วเท่าไหร และเราจะรู้สึกว่าไม่ค่อยอยากจะจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็น ทำให้ต้องคิดเยอะกว่าเดิม แบบนี้แหละจะได้ระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น

5.รีไฟแนนซ์ช่วยได้

หากเราใช้หนี้ไม่ไหวจริงๆ มันมีมากเหลือเกิน การรีไฟแนนซ์ช่วยได้ โดยการเจรจากับผู้ให้กู้รายใหม่ หรือรายเดิม ทำการรวมยอดหนี้ทั้งหมดไว้ในก้อนเดียว จะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้กู้ แต่เราต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายและค่าเสียเวลาในการขอรีไฟแนนซ์ด้วยว่า คุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ดอกเบี้ยถูกลงหรือไม่

6.เจรจาขอผ่อนผันกับเจ้าหน้าที่

จริงๆ แล้วสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้ไหนๆ ก็อยากให้เราคืนเงินจนครบจำนวนกันทั้งนั้น ถ้าเราเข้าไปเจรจาโดยขอลดดอกเบี้ยลง ขอลดอัตราการชำระหนี้ขึ้นต่ำต่อเดือน ยืดอายุหนี้ ยังไงเขาก็ประนีประนอม อย่างน้อยๆ เราก็ได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจะชดใช้หนี้ให้เห็นจริงๆ เจ้าหนี้เองก็ไม่อยากให้หนี้เราเป็นหนี้เสีย หรือหนี้สูญ ภาระจะได้เบาลงบ้างครับ

7.วางแผนการเงิน

พอลองคิดๆ ดูแล้ว ที่เราเป็นหนี้ อาจเป็นเพราะเราไม่เคยวางแผนการเงินหรือเปล่า? ที่ต้องทำก็ไม่ได้ยากเลยนะครับ แค่เราต้องแบ่งเงินรายได้ของเราเป็นส่วนๆ โดยแบ่งเป็น
  • เงินสำหรับการใช้จ่าย
  • เงินสำหรับการออม
เงินสำหรับการใช้จ่ายก็สามารถแบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายจำเป็น กับ ค่าใช้จ่ายยืดหยุ่น ซึ่งถ้างบประมาณตรงนี้เราใช้ไม่หมด เราก็สามารถเอาไปไว้ตรงส่วนเงินออมได้อีกด้วยครับ หากใครกำลังเป็นหนี้ก็อย่าเพิ่งท้อกันนะครับ ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ รับรองปลดหนี้ได้รวดเร็วและสบายใจอย่างแน่นอนครับ ขอบคุณข้อมูล จาก : Masii.co.th


ติดตามเราผ่านทางไลน์
@TERRABKK

Discussion

Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.

เป็นคำถามยอดฮิตมากสำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อไม่ผ่าน แต่เหตุผลของการปฏิเสธสินเชื่อ อาจจะมาจากเรื่องที่เกิดขึ้นไปแล้ว จะเตรียมตัวอย่างไรให้การขอสินเชื่อครั้งถัดไป มีโอกาสสูงขึ้นที่จะได้(วง)เงิน

  1. สำหรับคนที่เคยมีประวัติไม่ดีทางการเงิน
  2. ให้ไปปรับปรุงพฤติกรรมการจ่ายคืนหนี้ในระบบ เช่น จ่ายเงินกู้ / หนี้บัตรเครดิต / หนี้อื่นๆ ให้ตรงตามกำหนดให้ดีอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 12 - 24 เดือน เพื่อให้สถาบันการเงินเห็นความตั้งใจในการผ่อนชำระที่ดี

  3. กรณีไม่หมุนเวียนบัญชีกับธนาคาร
    (เงินเข้า - ออก)
  4. ให้ปรับพฤติกรรมโดยหมุนเวียนผ่านบัญชีธนาคาร โดยให้มีการนำเงินรายได้ของธุรกิจเข้าบัญชีหรือให้ลูกค้าโอนเงินค่าสินค้าเข้าบัญชีทุกครั้งและเมื่อมีการจ่ายค่าสินค้าหรือค่าใช้จ่ายต่างๆในกิจการให้จ่ายเงินออกจากบัญชีสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือน พร้อมทั้งให้จดบันทึกรายรับรายจ่ายในสมุดทุกครั้ง

  5. คนที่เอกสารไม่ครบ / ล่าช้า
  6. เอกสารส่วนใหญ่ที่มักจะเตรียมไม่ครบ ได้แก่ เอกสารที่แสดงรายได้ (สลิปเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือน / 50 ทวิ / statement ของทุกสถาบันการเงิน) หรือ บิลการค้า (บิลซื้อ / บิลขาย) เพราะฉะนั้น ถ้าถูกปฏิเสธเนื่องจากเอกสารไม่ครบ ให้เตรียมเอกสารและยื่นเรื่องใหม่โดยเว้นระยะเวลาตามที่ธนาคารกำหนด เช่น สินเชื่อเงินด่วนเพื่อธุรกิจ Xpress Loan ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน เป็นต้น

  7. สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตหลายใบ
  8. ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้วงเงินบัตรเครดิต แต่เพื่อเพิ่มโอกาสในการอนุมัติ ขอแนะนำให้ยกเลิกบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ เพราะสถาบันการเงินจะนำวงเงินของบัตรเครดิตทั้งหมดมาคำนวณเป็นภาระหนี้

ดังนั้น การเตรียมตัวด้วยการเดินบัญชีให้สม่ำเสมอ และรักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดี ก็สามารถเพิ่มโอกาสเข้าถึงวงเงินได้จากสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยในการขอสินเชื่อ สามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคารได้โดยตรง หรือ ช่องทาง Line@KBank LiveLine@KBank Live หรือ K-Contact Center โทร. 02-888-8822