ธุรกิจห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกันเพื่อแสวงหากำไร และแบ่งผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ บุคคลที่เป็นหุ้นส่วนสามารถลงหุ้นด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ ถ้าลงหุ้นด้วย ทรัพย์สิน หรือแรงงานต้องคิดราคาเป็นจำนวนเงิน

ธุรกิจห้างหุ้นส่วน

ธุรกิจห้างหุ้นส่วน

ธุรกิจห้างหุ้นส่วน

ธุรกิจห้างหุ้นส่วน

ธุรกิจห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคลเป็นหุ้นส่วนประเภทเดียวกัน คือ “หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด” โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น) และ อีกประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด)

ธุรกิจห้างหุ้นส่วน

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนต้องดำเนินการจดกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยข้อมูลในการจดทะเบียนประกอบด้วย จำนวนเงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ของกิจการ การแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ สถานที่ตั้งของกิจการและสาขา(ถ้ามี) เป็นต้น

เมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากรด้วย

สำหรับชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าจะนำชื่อไปใช้ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย หรือ เอกสารอย่างอื่นที่ใช้ในธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีคำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ ถ้าใช้เป็นอักษรต่างประเทศ ต้องใช้คำที่มีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ เช่น ถ้าใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาอังกฤษต้องมีคำ “Limited Partnership” ประกอบชื่อ เป็นต้น

ข้อควรพิจารณาในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องยื่นเอกสารในการจดทะเบียนกับพัฒนาธุรกิจการค้า
2. ทางกฎหมายไม่ได้กำหนัดลักษณะการแบ่งปันผลกำไรเหมือนบริษัทจำกัด ขึ้นอยู่กับหุ้นส่วนตกลงกันในการแบ่งปันผลกำไรได้โดยอิสระ
3. เจ้าของกิจการสามารถบริหารกิจการห้างหุ้นส่วนได้ด้วยตัวเอง

รายละเอียดการรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

อำนาจในการบริหารจัดการบริษัท

หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะเป็นผู้มีอำนาจในการบริหารห้างหุ้นส่วน ซึ่งเรียกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งหุ้นส่วนคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่หุ้นส่วนผู้จัดการจะเข้าไปกระทำการที่ผูกพันกับห้างหุ้นส่วน ดำเนินงาน หรือบริหารงานต่างๆไม่ได้ อย่างไรก็ดีหุ้นส่วนผู้จัดการอาจมอบหมายให้คนอื่นดูแลและตัดสินใจในงานของห้างหุ้นส่วนได้

หุ้นส่วนผู้จัดการอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยถ้ามีหลายคนแล้วไม่ได้ตกลงกันเรื่องการใช้อำนาจตั้งแต่แรก หุ้นส่วนแต่ละคนมีอำนาจตัดสินใจและดำเนินการโดยลำพัง ถ้าไม่มีหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นคัดค้าน หรือถ้ากำหนดไว้ให้ใช้เสียงส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

     อาจเป็นหนึ่งคำถามในใจของผู้ประกอบการธุรกิจว่าหลังจากวางแผนการทำธุรกิจไปเรียบร้อยแล้วเราควรจะเลือกทำธุรกิจในรูปแบบไหนระหว่างเป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือจดเป็นในรูปแบบบริษัทอันไหนจะดีกว่ากันหรือเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ต่อไปนี้ คือ ข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อดีข้อด้อยของรูปแบบแต่ละอย่าง เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจให้ง่ายขึ้นกัน

เจ้าของคนเดียว

รูปแบบ : ธุรกิจบุคคลธรรมดา

ข้อดี 

  • มีอำนาจการบริหารงานเต็มที่
  • สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
  • ผลกำไร/ขาดทุนนั้น ได้รับเต็มๆ คนเดียว ไม่ต้องแบ่งใคร

 

ข้อด้อย 

  • เงินลงทุนมีจำนวนจำกัด
  • หากต้องกู้ยืมมีเครดิตน้อยกว่าการมีหุ้นส่วนหรือเป็นบริษัทจำกัด
  • หนี้สิ้นต้องรับผิดชอบคนเดียว
  • ความน่าเชื่อถือน้อย

 

ภาษี :

  • สียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราก้าวหน้าสูงสุด 35 %

 

ห้างหุ้นส่วน

รูปแบบ : ระดมทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน), ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน) และห้างหุ้นส่วนจำกัด

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน : 1,000 บาท

ข้อดี 

  • ระดมเงินทุนได้มากขึ้น
  • ความน่าเชื่อถือปานกลาง
  • การลงทุนไม่มีขั้นต่ำ สามารถลงเป็นเงิน ทรัพย์สิน และแรงงานได้

 

ข้อด้อย :

  • การบริหารงานต้องปรึกษากับหุ้นส่วน
  • การตัดสินใจล่าช้าลง ต้องผ่านมติเป็นเอกฉันท์จากหุ้นส่วน
  • ผลกำไร/ขาดทุนหารเฉลี่ยกับหุ้นส่วน
  • ความรับผิดชอบต่อหนี้สิ้น แบ่งเป็น
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้)
    • ไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
    • เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
    • ผู้หุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้ หรือตั้งตัวแทนเป็นผู้จัดการได้
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด มี 2 รูปแบบ(มีทั้งแบบจำกัดความรับผิดชอบ และไม่จำกัดความรับผิดชอบ)
    1. แบบไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สิ้นทั้งปวงโดยไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิสามารถเข้ามาร่วมตัดสินใจและบริหารจัดการได้
    2. แบบจำกัดความรับผิดชอบ (ไม่สามารถลงทุนเป็นแรงงานได้) รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น แต่ไม่สามารถมีสิทธิตัดสินใจและเข้ามาบริหารจัดการได้
  • เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบได้

 

ภาษี 

  • กรณีไม่จดทะเบียน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้าสูงสุด 35 %
  • กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 20 %

 

บริษัทจำกัด

รูปแบบ : ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คน โดยแบ่งเงินลงทุนออกเป็นมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน หุ้นละไม่ต่ำกว่า 5 บาท

ธุรกิจหุ้นส่วน มีอะไรบ้าง

ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) คือ องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) และห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

ห้างหุ้นส่วนจำกัดหมายความว่าอย่างไร

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ได้แก่ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงโดยไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนประเภทนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างได้

ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คืออะไร

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คือ บุคคลประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายซึ่งไม่ได้เป็น บุคคลธรรมดา (ส่วนมากมักอยู่ในรูปบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) แต่กฎหมายให้ถือว่ามีสถานะเป็นเสมือนบุคคลทั่วไปและสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้เหมือนบุคคลทั่วไป เช่น ทำสัญญาซื้อขายได้ มีเจ้าของทรัพย์สินได้ แต่จะไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่าง ...

ห้างหุ้นส่วนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคืออะไร

ห้างหุ้นส่วน เป็นรูปแบบองค์กรธุรกิจอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ โดยมีห้างหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภท คือ 1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ 2) ห้างหุ้นส่วนจ ากัด