การวางแผน บำรุง รักษา เครื่องจักร

  ประภาส   ศุภศิริสัตยากุล   28/07/2011

การวางแผนซ่อมบำรุงสามารถจำแนกแผนออกได้ เป็น 2 อย่าง คือ งานบำรุงรักษาในระหว่างการหยุดเครื่องจักรหรือกิจกรรมหยุดโรงงานซ่อมบำรุง และงานบำรุงรักษาในระหว่างการผลิต

งานบำรุงรักษาในระหว่างการหยุดเครื่องจักรหรือกิจกรรมหยุดโรงงานซ่อมบำรุง (Shutdown)

กิจกรรมต่างๆต่อไปนี้เป็นกิจกรรมซ่อมบำรุงที่ต้องทำในระหว่างการหยุดโรงงานซ่อมบำรุง

·         งานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)  เป็น งานบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่มีขึ้นในระหว่างการหยุดโรงงานซ่อมบำรุงซึ่งเป็น ไปตามข้อแนะนำของผู้ผลิตเครื่องจักร หรือผลการตรวจสอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุง ตัวอย่างงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่จัดอยู่ในงานกลุ่มนี้ก็คือ การซ่อมแซมเครื่องอัดอากาศ การซ่อมแซมปั๊ม และการปรับเทียบเครื่องมือวัด ช่วงเวลาระหว่างการหยุดโรงงานซ่อมบำรุงแต่ละครั้งอาจกำหนดไปตามข้อแนะนำของ ผู้ผลิตเครื่องจักรหรืออาจใช้ประวัติการบำรุงรักษาของโรงงานเองก็ได้ การกำหนดแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันนี้จะต้องกำหนดล่วงหน้าอย่างมากภายใต้ การกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดของหน่วยงานซ่อมบำรุง

·         งานแก้ไข เป็นงานที่เกี่ยวกับการเลิ่ยนชิ้นส่วนกลไกองค์ประกอบย่อยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่สึกหรอ หรือมีสภาพหลวมคลอน เพื่อป้องกันปัญหาขัดข้อง และทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์มีสภาพพื้นฐานที่ดีสูงสุดตามที่ออกแบบ เนื่องจากงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันนี้สามารถวางแผนล่วงหน้าก่อนที่จะมีการหยุดโรงงานซ่อมบำรุง ดังนั้นการจัดเตรียมทรัพยากรทุกอย่างสำหรับการหยุดโรงงานซ่อมบำรุงซึ่งประกอบด้วย ชิ้นส่วนกลไกองค์ประกอบย่อยที่ต้องการใช้เปลี่ยน เครื่องมือ เครื่องมือพิเศษ อุปกรณ์สนับสนุนและแรงงานที่มีทักษะเพียงพอ จะต้องมีการจัดเตรียมอย่างรอบคอบ

·         งาน ซ่อมแซมฉุกเฉิน เหตุการณ์ที่ต้องหยุดการผลิตลงอย่างฉุกเฉินประเภทนี้อาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และไม่อาจหลีกเลี่ยงการหยุดกระบวนการผลิตได้เนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง อย่างไรก็ดี การที่มีปัญหาการหยุดฉุกเฉินนี้จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้หน่วยงานซ่อมบำรุงจะ ต้องใช้หลักการด้านวิศวกรรมบำรุงรักษาเพื่อพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการบำรุง รักษาเชิงป้องกันและการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์เข้าไปในแผนบำรุงรักษาเพื่อลด ความขัดข้องของเครื่องจักรลง

งานบำรุงรักษาในระหว่างการผลิต

กิจกรรมบำรุงรักษาของหน่วยงานซ่อมบำรุงที่มีในระหว่างที่มีการดำเนินกระบวนการผลิตตามปกติ เป็นกิจกรรมซ่อมบำรุงอื่นๆที่สามารถทำได้ในช่วงที่ไม่จำเป็นต้องหยุดเครื่องจักร ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

·         การจัดเตรียมขึ้นรูปชิ้นงาน (Prefabrication: Prefab)  งานชนิดนี้เป็นงานที่มีลักษณะการเตรียมการต่างๆในโรงซ่อม (Workshop) ของหน่วยงานซ่อมบำรุง อาจประกอบด้วยงาน เช่น งานยกเครื่องจักร การจัดเตรียท่อเพื่อรอการเปลื่ยน งานปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อรอเปลี่ยนในแผนหยุดโรงงานซ่อมบำรุง

·         งานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)  เป็นกลุ่มงานทั้งหลายที่สามารถทำได้ในระหว่างเครื่องจักรถูกใช้งาน เช่น การปรับตั้ง การหล่อลื่น การตรวจทดสอบ และงานปรับเทียบเครื่องมือวัด ช่วงเวลาของงาน PM ที่เหมาะสมที่สุดจะต้องทำให้มีเวลาการใช้เครื่องจักรได่มากที่สุดก่อนขัดข้อง

·         งานบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance: PDM) เป็นกิจกรรมการทดสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive test) เพื่อ ทำให้ทราบสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ เปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่าที่กำหนดจะทำให้ทราบว่าเครื่องจักรนั้นต้อง การให้มีการซ่อมแซมหรือไม่ ค่าที่กำหนดซึ่งเป็นค่ามาตรฐานนี้จะต้องถูกกำหนดอย่างถูกต้องเพื่อให้มั่นใจ ได้ว่าจะต้องมีเวลาเหลือพอที่จะปฏิบัติการซ่อมแซมเพื่อป้องกัยกระบวนการผลิต ขัดข้องอย่างฉุกเฉินถึงขั้นหยุดโรงงานหรือหยุดกระบวนการผลิตลง

·         งานแก้ไข เป็นงานซ่อมแซมที่สามารถวางแผนแก้ไขหรือซ่อมแซมได้

·         งานบำรุงรักษาทั่วไป เป็นงานบำรุงรักษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เช่น ซ่อมแซมอาคาร สนามหญ้า ซ่อมแซมหลังคา และงานอื่นๆ

หน้าหลัก
การวางแผน บำรุง รักษา เครื่องจักร
บทความ
การวางแผน บำรุง รักษา เครื่องจักร
บริการรับชุบ
การวางแผน บำรุง รักษา เครื่องจักร
หลักการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการยืดอายุการใช้งานเครื่องตัด เจาะ?

17 พฤษภาคม 2022

หลายๆโรงงานอุตสาหกรรมมักประสบปัญหาในเรื่องของอายุการใช้งานเครื่องจักร แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะทราบว่าควรแก้ปัญหาอย่างไร วันนี้ Thaiparker จึงนำเรื่องของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventing Maintenance มาให้เรียนรู้กัน จะมีความสำคัญต่ออายุการใช้งานของเครื่องตัด เจาะ อย่างไรไปดูกันเลย

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) สำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมอย่างไร?

การวางแผน บำรุง รักษา เครื่องจักร

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventing Maintenance คือ การบำรุงรักษาตามแผน ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยลักษณะงานของ Preventing Maintenance ก็คือการวางแผนในการตรวจสอบ ทำความสะอาด ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกโรงงานอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการทั้งหลาย เพราะนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานมากยิ่งขึ้น และลดปัญหาความขัดข้องระหว่างกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังทำให้คุณสามารถคงรักษาคุณภาพกระบวนการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดได้อีกด้วย 

ความสำคัญของการทำ Preventing Maintenance

  • ยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร
    วัตถุประสงค์สำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือ การยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการรักษาชิ้นส่วนต่างๆ และสภาพของเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานที่สุด โดยการหมั่นตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอ หากพบเจอจุดชำรุดก็สามารถดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดในเบื้องต้นได้ทันที
  • ทำให้การผลิตภายในโรงงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
    การใช้งาน Preventing Maintenance คือการทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนการใช้งานในระยะยาว เพื่อคงรักษาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตภายในโรงงาน ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องและสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากยิ่งขึ้น โดยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยังคงคุณภาพและสภาพการใช้งานได้เป็นอย่างดี ไม่มีการชำรุดที่รุนแรงเกิดขึ้น
  • ลดต้นทุนและรักษาทรัพย์สินของบริษัท
    การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการและเจ้าของโรงงานประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว เพราะคุณสามารถวางแผนและดำเนินการซ่อมบำรุงเครื่องจักรเบื้องต้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ป้องกันการเสียหายชำรุดที่รุนแรงได้เป็นอย่างดี ประหยัดเงินโดยการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานขึ้น รวมถึงลดต้นทุนค่าซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมสภาพที่ไม่จำเป็นของอุปกรณ์ต่างๆ ลงได้

ประเภทของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance)

  1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะ
    การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) ตามเวลา คือแผนการบำรุงรักษาที่ดำเนินการตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกันทุกสิ้นปี รายไตรมาส รายเดือน และรายสัปดาห์ เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการและผู้จัดการโรงงานควรอ่านคู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ จากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างละเอียด เพื่อกำหนดตารางเวลาในการทำ PM
  2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน
    รูปแบบ Preventing Maintenance ประเภทนี้ คือจะกำหนดแนวทางการบำรุงรักษาหลังมีการใช้งานเครื่องจักรไปแล้วช่วงเวลาหนึ่งตามลักษณะปริมาณการใช้งาน โดยการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งานนั้นมีความแม่นยำกว่าการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะ เพราะสภาพและคุณสมบัติของเครื่องจักรและชิ้นส่วนต่างๆ ที่ผ่านการใช้งานจะบ่งชี้ได้แม่นยำมากกว่าว่าเราควรทำการบำรุงรักษาในช่วงไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด
  3. การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามการคาดการณ์
    รูปแบบ Preventing Maintenance ขั้นสูง คือมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนงานที่วางแผนและเหลือไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมไว้ นำมาพิจารณาก่อนที่จะระบุข้อกำหนดการทำ Preventing Maintenance ให้เหมาะสมที่สุด ยิ่งมีข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และพิจารณามากเท่าไรก็จะยิ่งช่วยให้เจ้าของโรงงานใช้จ่ายในการลงทุนและทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

หลักการยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร ตัด เจาะ ชิ้นงาน

  • ตรวจสอบคุณภาพและสภาพการใช้งานเครื่องจักร
    ในทุก ๆ ครั้งทั้งก่อนและหลังการใช้งานเครื่องจักร ตัด เจาะ ชิ้นงาน ควรต้องตรวจเช็กสภาพเครื่องจักรอยู่เสมอว่าพร้อมต่อการใช้งานหรือไม่ หากพบเจอจุดชำรุดให้ดำเนินการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนใหม่ทันที เช่นหากผิวชุบ PVD บน tooling เริ่มสึกหรอจำเป็นต้องเปลี่ยน tooling ตัวใหม่มาใช้งานทันที และอาจวางแผนส่ง tooling ตัวเก่าไปทำการแก้ไขและ re-coat PVD ใหม่เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
  • การใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกวิธี
    การเรียนรู้วิธีการและเลือกใช้งานเครื่องจักร ตัด เจาะ ชิ้นงานที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุของเครื่องจักรให้นานขึ้นได้ เพราะเครื่องจักรแต่ละชิ้นต่างก็มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน หากใช้งานแบบผิด ๆ ก็มีโอกาสที่จะทำให้เครื่องจักรชำรุดเสียหายได้ รวมถึงควรเลือกใช้เครื่องจักรให้เหมาะสมกับลักษณะงานและวัสดุด้วย เครื่องจักรจะได้ไม่สึกหรอก่อนเวลาอันควร รวมถึงการเลือกใช้กระบวนการปรับปรุงคุณสมบัติของชิ้นงานโลหะที่ประกอบเป็นเครื่องจักร เช่น การอบชุบทางความร้อน, การชุบฟอสเฟต, การชุบไนไตรดิ้ง หรือการเคลือบผิวแข็งแบบ PVD ให้เหมาะสมกับการใช้งานของชิ้นงานนั้นๆ ในเครื่องจักร ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้นได้เช่นกัน
  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
    เพื่อให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงต้องมีการวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือเพื่อที่พนักงานในโรงงานของคุณจะได้ทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจน รู้หน้าที่และสิ่งที่ต้องทำในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เรียนรู้วิธีตรวจสอบสภาพเครื่องจักร การตรวจจับหาจุดชำรุด การแก้ไข และการรวบรวมบันทึกข้อมูลเพื่อมองหาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องจักรชำรุด และวางแผนป้องกัน

สำหรับดอกสว่านที่ใช้ตัด-เจาะ (Cutting tools, Insert, Punch) หรือแม่พิมพ์ขึ้นรูปชิ้นงาน (Mold, Die) มักเกิดการเสียดสี หรือเกิดการสึกหรอระหว่างการใช้งานจนไม่สามารถใช้งานต่อได้ จึงต้องสั่งซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนบ่อย ทำให้เสียทั้งเวลา บุคลากร และต้นทุนการผลิตที่สูงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นด้วยกระบวนการเคลือบผิว PVD ให้ได้เนื้อฟิล์มที่บางระดับไมครอนบนผิวชิ้นงาน โดยความแข็งของเนื้อฟิล์มที่เคลือบจะมีค่าสูงกว่า Tungsten carbide ถ้าเปรียบเทียบกับการทำ Hard chrome หรือ Nitriding ฟิล์มที่ได้จากการชุบ PVD จะมีความแข็งมากกว่ามาก และสามารถลดการสึกหรอได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยความหนาฟิล์มที่บางเพียงไม่กี่ไมครอน ทั้งยังหมดกังวลเรื่องปัญหาขนาดของชิ้นงานที่เปลี่ยนไป ทำให้สามารถลดจำนวนครั้งในการบำรุงรักษาต่อปีให้น้อยลง ถือเป็นการลดต้นทุนและความขั้นตอนในการบำรุงรักษาได้อย่างดีเยี่ยม

สรุป

ถึงแม้ว่า ตอนนี้เครื่องจักรภายในโรงงานนั้นจะได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วการยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรนั้นก็ยังคงมีความสำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้สำหรับผู้ประกอบการทั้งหลาย เนื่องจากเมื่อเครื่องจักรผ่านการใช้งานเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรและชิ้นส่วนต่างๆ ก็มักเกิดการสึกหรอขึ้นได้ตามอายุและปริมาณการใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการจึงควรหมั่นทำ Preventing Maintenance โดยตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ หรือทำการป้องด้วยการทำกระบวนการต่างๆ เพื่ออายุการใช้งานของเครื่องจักร ด้วยการอบชุบทางความร้อน และทำการเคลือบผิวส่วนประกอบของเครื่องจักร เพื่อทำให้ผิวงานมีความแข็งแรงทนทานเพิ่มมากขึ้น ลื่นขึ้น ลดการเสียดสี และลดพลังงานที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนชิ้นงานนั้นๆ โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีระดับความชื้นสูง มีสารเคมี ยิ่งต้องทำการอบชุบทางความร้อนและเคลือบผิวเครื่องจักรให้แข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน ทนต่อการเกิดสนิมและป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้วย เพียงเท่านี้คุณก็สามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสมแล้ว


Thai Parker ไทยปาร์คเกอร์ไรซิ่ง ในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการเคลือบผิวแข็ง (PVD) การเตรียมผิว และชุบโลหะสำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาและทำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน หากผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจใช้บริการเราในการเคลือบผิวแข็ง เตรียมผิวและชุบโลหะ เพื่อวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) คือเพื่อลดการสึกหรอของอุปกรณ์และการเกิดสนิมในเครื่องจักร ทางเรายินดีให้บริการท่านอย่างเต็มที่

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

thaiparker thaiparker 023246600