Powerpoint โครงงาน สิ่งประดิษฐ์

งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการจัดทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการจัดทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
เครื่องเขย่าถุงเลือด อุดม สุวรรณา

2 ชื่อนวัตกรรม เครื่องเขย่าถุงเลือด
ชื่อนวัตกรรม เครื่องเขย่าถุงเลือด ชื่อผู้ประดิษฐ์ นายอุดม สุวรรณา งานการพยาบาลวิสัญญีวิทยา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ประดิษฐ์สำเร็จใช้งาน 5 ตุลาคม 2549 ระยะเวลาการใช้งาน 5 ตุลาคม 2549 ถึงปัจจุบันใช้กับผู้ป่วยเฉลี่ย 30รายต่อเดือน สถานที่ดำเนินการ หน่วยการพยาบาลวิสัญญีผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด งานการพยาบาลวิสัญญีวิทยา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3 หลักการและเหตุผล การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ( Open heart surgery ) มีการเก็บเลือดผู้ป่วยไว้ก่อนผ่าตัด( acute hemodilution ) และนำกลับมาให้หลังผ่าตัดเสร็จ เพื่อลดการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือด จำเป็นต้องใช้บุคลากร 1 คน มาเขย่าถุงเลือดขณะเก็บเลือดเพื่อให้เลือดผสมกับยากันการแข็งตัวของเลือดได้ดี จากข้อมูลดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาดังนี้ 1. เสียเวลาบุคลากรในการทำงานดูแลผู้ป่วยด้านอื่น 1 คน 2. การเขย่าเลือดไม่สม่ำเสมอบางครั้งทำให้เกิดก้อนเลือด ( clot blood ) 3. วิสัญญีแพทย์และพยาบาลทำงานไม่สะดวกเนื่องจากสายยางที่ต่อจากถุงเลือดเข้าผู้ป่วยมีความยาวจำกัดจึง จำเป็นที่ผู้เขย่าเลือดต้องทำงานใกล้กับผู้ป่วย ส่งผลให้กีดขวางการทำงานของบุคลากรท่านอื่น

4 หลักการและเหตุผล(ต่อ)
ผู้ประดิษฐ์จึงได้คิดค้นวิธีประดิษฐ์เครื่องเขย่าถุงเลือด โดยนำหลักการทำงานของ มอเตอร์ปัดน้ำฝนมาประยุกต์ประกอบกับข้อเหวี่ยง มีการทำงานจากการกระดกของข้อเหวี่ยง แล้วประกอบกล่องสี่เหลี่ยมบรรจุ ส่วนประกอบทั้งหมดไว้ภายใน ทำสวิทซ์เปิด – ปิดไว้ภายนอก ต่อสายไฟ ออกมาเป็นปลั๊กไฟภายนอก เมื่อต้องการใช้งานให้เสียบปลั๊กไฟแล้วกดสวิทซ์ เปิด เครื่องจะทำงานโดยการกระดกขึ้นลงของข้อเหวี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

5 ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงนุชนารถ บุญจึงมงคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงนุชนารถ บุญจึงมงคล คุณบงกช ธิติบดินทร์

6 รูปภาพการเขย่าเลือดก่อนทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

7 วัตถุประสงค์ 1. ประดิษฐ์เครื่องเข่าเลือดใช้งานได้ดี ใช้ง่าย สะดวก ราคาถูก 2. ลดการทำงานของบุคลากร 3.ไม่พบปัญหาการเกิดก้อนเลือด 4. บุคลากรมีความพึงพอใจ 5.การทำงานของวิสัญญีแพทย์ และพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

8 อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ 1.มอเตอร์ปัดน้ำฝนรถยนต์
2.ตลับลูกปืนทำเป็นข้อเหวี่ยง 3.สวิทซ์ 4.สายไฟ + ปลั๊กไฟ 5.แผ่นไม้ขนาด 6 * 8 นิ้ว จำนวน 5 แผ่น 6.แกนเหล็ก 7.แผ่นไม้ขนาด 5.5 * 7.5 นิ้ว จำนวน 1 แผ่น

9 วิธีทำ ร่างรูปแบบการทำงานของเครื่องเขย่าเลือด
นำรูปแบบที่ได้ไปปรึกษาช่างอีเลคโทรนิคส์ ต่อเชื่อมโครงร่าง ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าชุดกัน ประกอบกล่องสี่เหลี่ยม นำอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นชุดวางภายในกล่องสี่เหลียม นำแผ่นไม้ เจาะรูตรงกลางด้านยาวใส่แกนเหล็กทำเป็นคานวางบนแผ่นไม้ ต่อสายไฟและปลั๊กไฟ

10 วิธีการใช้งาน 1.เสียบปลั๊กไฟ
2.กดสวิทซ์เครื่องจะทำงานโดยข้อเหวี่ยงขยับขึ้นลง ทำให้ไปชนกับคานไม้ ทำให้ คานไม้กระดกขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ 3.นำถุงเลือดที่ต่อจากผู้ป่วยไปวางไว้ตรงแผ่นไม้ที่ทำเป็นคาน ก็จะทำให้ถุงเลือดถูกเขย่าตลอดเวลา

11 ผลที่ได้รับ 1.ลดการทำงานของบุคลากร
2.การทำงานของวิสัญญีแพทย์ และพยาบาลเป็นไปด้วยความสะดวก 3.ได้เครื่องเข่าถุงเลือดที่มีประสิทธิภาพสามารถเก็บเลือดของผู้ป่วยไว้ใช้หลังผ่าตัด โดยไม่พบการเกิดก้อนเลือดที่แข็งตัว และไม่พบการแตกของเม็ดเลือดแดง ซึ่งได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด เรื่องการสังเกตการแตกของของเม็ดเลือดแดงทำได้โดยการตั้งทิ้งไว้จนน้ำเลือดกับเม็ดเลือดแยกชั้นกัน ให้สังเกตน้ำเลือดถ้าเป็นสีเหลืองอ่อนก็แสดงว่าไม่มีเม็ดเลือดแดงแตกแต่ถ้า น้ำเลือดเป็นสีแดง ก็แสดงว่ามีเม็ดเลือดแดงแตก ซึ่งตั้งแต่ใช้งานมาไม่มีปัญหาเหล่านี้เลย 4. มีเครื่องเขย่าเลือดที่ราคาถูก (2,000 บาท) ใช้ง่าย สะดวก 5. บุคลากรมีความพึงพอใจ

12 รูปภาพหลังทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

13 ขณะใช้งานจริง

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.