โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ

โดยที่  n(E)  แทน  จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดของเหตุการณ์ที่เราสนใจ

                       n(S)  แทน  จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นได้

  P(E)  แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ดังนั้น   P(E)   = 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ข้อควรจำ

  1. 0 ≤ P(E) ≤ 1
  2. ถ้า P(E) = 0  เหตุการณ์นั้นๆ จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
  3. ถ้า P(E) = 1  เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นแน่นอน

ตัวอย่างที่ 1

ตัวอย่างที่ 1 จากการโยนลูกเต๋า 2 ลูก  1 ครั้ง  จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11

2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่

3) เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก

วิธีทำ  หา S จากการทอดลูกเต๋า 2  ลูก 1 ครั้ง ได้ดังนี้

S  =  { (1,1), (1,2), (1,3), (1,4), (1,5), (1,6), (2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),

            (3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6), (4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),

                      (5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6), (6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6)}

n(S)  =  36

1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11

อธิบายเพิ่มเติม : ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11 หมายความว่า เมื่อนำแต้มของลูกเต๋า 2 ลูกมาบวกกัน แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11 และมากกว่า 11

ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11

E1           =    { (5, 6) , (6, 5 ) , ( 6, 6) }

n (E1)     =    3

P (E1)     =   

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
  =
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
=
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11 เท่ากับ

2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่

อธิบายเพิ่มเติม : ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่ จะต้องเกิดจากแต้มคี่ทั้งสองลูกและแต้มคู่ทั้งสองลูก

ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่

E2  =  { (1,1) , (1,3) , (1,5) , (2,2) , (2,4) , (2,6) , (3,1) , (3,3) , (3,5) , (4,2) , (4,4) , (4,6) ,

                         (5,1) ,(5,3) ,(5,5),(6,2) ,(6,4) ,(6,6) }

n(E2)   =  18

P(E2)   = 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
  = 
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่ เท่ากับ

3) เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก

อธิบายเพิ่มเติม : ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก หมายความว่า ขึ้นแต้ม 1 หนึ่งลูกหรือสองลูกก็ได้

ให้ E3  แทน เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก

E3           =   { (1,1) ,(1,2) ,((1,3) ,(1,4) ,(1,5) ,(1,6) ,(2,1) ,(3,1) ,(4,1) ,(5,1) ,(6,1) }

n(E3)      =   11

P(E3)      = 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1  อย่างน้อยหนึ่งลูก เท่ากับ

ตัวอย่างที่ 2

ตัวอย่างที่ 2    ครอบครัวครอบครัวหนึ่ง  มีบุตร 2 คน  จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง

2) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน

3) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน

4) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้

วิธีทำ     ให้         ช  แทน บุตรชาย

       ญ  แทน บุตรหญิง

  S =  {(ช, ช), (ช, ญ), (ญ, ช), (ญ, ญ)}

   n(S) = 4

โดยที่  สมาชิกตัวแรกของคู่อันดับแสดงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของการมีบุตรคนแรก และสมาชิกตัวที่สองของคู่อันดับแสดงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของการมีบุตรคนที่สอง

1) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง

ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง

E1 = {(ช, ญ)}

n (E1)     =    1

P (E1)     =      =

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรคนแรกเป็นชาย บุตรคนที่สองเป็นหญิง เท่ากับ

2) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน

ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน

E2  =  { (ช, ญ) , (ญ, ช)) }

n(E2)   =  2

P(E2)   = 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
  = 

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นหญิง 1 คน เท่ากับ

3) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน

เนื่องจากครอบครัวนี้มีบุตรเพียง 2 คนเท่านั้น เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน จึงเป็น 0

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรเป็นชาย 3 คน เท่ากับ 0

4) เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้

ให้ E3  แทน เหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้

E3           =  {(ช, ช), (ช, ญ), (ญ, ช), (ญ, ญ)}

n(E3)      =   4

P(E3)      = 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
= 1

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ครอบครัวนี้จะมีบุตรทั้งสองคนเป็นชายหรือหญิงก็ได้  เท่ากับ  1

ตัวอย่างที่ 3

ตัวอย่างที่ 3    โยนเหรียญ 1 เหรียญ 3 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย

2) เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน

3) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ

วิธีทำ  ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่มนี้มี 8 แบบ ดังนี้

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

  S =  {HHH, HHT, HTH, HTT, THH, THT, TTH , TTT}

  n(S) = 8

1) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย

ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย

E1 = {HHH, HHT, HTH , THH}

n (E1)     =    4

P (E1)     =      =

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวมากกว่าออกก้อย เท่ากับ

2) เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน

ให้ E2 แทน เหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน

E2  =  { HTT, TTH , TTT }

n(E2)   =  3

P(E2)   = 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยติดต่อกัน เท่ากับ 

3) เหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ

อธิบายเพิ่มเติม : เหรียญออกหัวอย่างน้อยหนึ่งเหรียญ  หมายความว่า เหรียญออกหัวหนึ่งเหรียญ สองเหรียญหรือสามเหรียญก็ได้

ให้ E3  แทน เหตุการณ์ที่ออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ

E3           =  {HHH, HHT, HTH, HTT, THH, THT , TTH}

n(E3)      =   7

P(E3)      = 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

ดังนั้น  ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 เหรียญ เท่ากับ 

ตัวอย่างที่ 4

ตัวอย่างที่ 4  สุ่มหยิบลูกบอล 1 ลูก  จากกล่องที่มีลูกบอลสีขาว 5 ลูก จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว

2) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน

วิธีทำ     กำหนดให้  ข₁, ข₂, ข₃, ข₄  และ ข₅  แทนลูกบอลสีขาวทั้ง 5 ลูก

ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่มมี 5 แบบ คือ ข₁, ข₂, ข₃, ข₄  หรือ ข₅ 

นั่นคือ จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เท่ากับ 5  หรือ  n(S) = 5

1) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว

เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว มีผลลัพธ์ คือ ข₁, ข₂, ข₃, ข₄  หรือ ข₅ 

จะได้  จำนวนผลลัพธ์ของเหตุการณ์เป็น 5   หรือ  n(E) = 5

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว เท่ากับ 

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
= 1  หรือ P(E) = 1

2) เหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน

เนื่องจากไม่มีลูกบอลสีน้ำเงินอยู่ภายในกล่อง

จะได้  จำนวนผลลัพธ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน เป็น 0

ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงิน เท่ากับ 0

จาก ตัวอย่างที่ 4 จะสังเกตเห็นว่าเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีขาวเป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน มีความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ เท่ากับ 1 และเหตุการณ์ที่หยิบได้ลูกบอลสีน้ำเงินเป็น เหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นแน่นอน มีความน่าจะเป็น เท่ากับ 0

วิดีโอ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง     คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน   ภาษาเขียน คืออะไร?  

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

การใช้ Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “การใช้  Future Simple กับการตั้งคำถามด้วย Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า Future Simple Tense     Future Simple Tense หรือ ประโยคอนาคตกาล เอาไว้พูดถึงเรื่องราวในอนาคต เช่น สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่จะทำ เป็นต้น

โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4
โจทย์ความน่าจะเป็น พร้อมเฉลย ม. 4

เมื่อฉันโดนงูรัด!: เรียนรู้การใช้ Passive Voice แบบผ่อน ‘คลายย’

น้องๆ ทราบกันมั้ยว่าในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘Voice’ ถ้ายังไม่ทราบหรือเคยได้ยินแต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออะไรวันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Voice ในภาษาอังกฤษแบบเข้าใจง่ายๆ กันครับ