โครงงาน แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชน

ในปัจจุบันปัญหาน้ำเน่าเสียมีจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อบ้านเมืองและการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่อยู่ใกล้บริเวณใกล้แม่น้ำมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากเกิดมาจากความมักง่ายและเห็นแก่ตัวของมนุษย์เราจึงนำเหตุผลหรือปัญหานี้มาศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพและหาวิธีแก้ปัญหาแหล่งน้ำโดยวิธีการต่างๆที่สอดคล้องกับปัญหานี้

          แหล่งน้ำบ้านแม่ใสซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้บ้านของ ณิชารีย์ ซึ่งในแต่ละเดือนมีขยะจำนวนมากที่อยู่ในบริเวณแหล่งน้ำและในแม่น้ำ บริเวณนั้นส่งกลิ่นเหม็นมากและทำให้ชาวบ้านบริเวณนั้นได้รับความเดือดร้อนและส่งผลต่อการปลูกพืชของชาวบ้านแถวนั้นที่ต้องการใช้น้ำและทำให้สัตว์น้ำในแหล่งน้ำบริเวณนั้นเน่าตายเป็นจำนวนมาก และอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียก็เกิดมาจากการทิ้งขยะและการใช้เคมีลงสู่แหล่งน้ำ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย

           ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นกลุ่มของกลุ่มข้าพเจ้าจึงเกิดกระบวนการคิดของสมาชิกในกลุ่มและขอคำชี้แนะของครูผู้สอนมาพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้าง Eliminate น้ำเสีย โดยการนำหลักของมหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นแบบอย่าง เพื่อเป็นการศึกษาแนวทางในการสร้าง Eliminate น้ำเสีย ซึ่งผู้จัดทำคาดว่าเรื่อง Eliminate น้ำเสีย ที่จะสร้างขึ้นนี้จะช่วยให้แม่น้ำบริเวณแม่ใสสะอาดและน่าใช้มากขึ้น ตลอดจนเป็นการนำความรู้ ทักษะวิชาชีพและอื่นๆที่ได้ศึกษาตามหลักสูตรมาบูรณาการ


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.       เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในชุมชนบ้านแม่ใส

2.       เพื่อศึกษาหาสาเหตุที่ทำให้แม่น้ำบริเวณหน้าวัดชุมชนบ้านแม่ใสเน่าเสีย

3.       เพื่อรณรงค์ให้ชาวบ้านเห็นถึงความสำคัญของแม่น้ำเน่าเสียบริเวณหน้าวัดบ้านแม่ใส

สมมุติฐาน

1.สาเหตุการที่แม่น้ำบริเวณหน้าวัดชุมชนบ้านแม่ใสเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น เพราะมีขยะอยู่ในแม่น้ำ

        2.ไม่มีถังขยะอยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำ ทำให้ชาวบ้านทิ้งขยะลงไปในแม่น้ำ

        3.พฤติกรรมของคนในชุมชนที่ทิ้งขยะลงไปในแม่น้ำโดยไม่มีการบำบัดก่อนทิ้ง

ขอบเขตการศึกษา

1.       แหล่งน้ำชุมชนบ้านแม่ใส

2.       มีบ้านเรือนที่สำรวจบริเวณนั้นประมาณ10หลัง

3.       ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์

ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

       ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ประชากรในชุมชน จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นครอบครัวที่อยู่ภายในบริเวรบ้านแม่ใส

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า

1.       ทำให้แหล่งน้ำสะอาดและน่าใช้ยิ่งขึ้น

2.       รู้วิธีการศึกษาแหล่งน้ำ

3.       ทำให้รู้ถึงสาเหตุของการเกิดแหล่งน้ำเน่าเสีย


นิยามศัพท์เฉพาะ


Eliminate คือ การกำจัดในภาษาอังกฤษแต่ภายในโครงงานนี้หมายถึงการกำจักหรือบำบัดน้ำเสีย เพื่อหาสาเหตุของน้ำเน่าเสียทำให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนบ้านแม่ใส


บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


        ในการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความคิดเห็นของคนในชุมชนบ้านแม่ใสที่มีต่อแหล่งน้ำที่ใช้ประกอบอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาน้ำเน่าเสีย โดยลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านแม่ใส

2. ความหมายของการพัฒนาแหล่งน้ำในบริเวณนั้นๆ

3. แนวคิด/ทฤษฎีในเรื่อง Eliminate น้ำเสีย

4. ความสำคัญของ Eliminate น้ำเสีย

5. องค์ประกอบของการพัฒนาน้ำเน่าเสีย

6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6.1 งานวิจัยในมหาวิทยาลัย

6.2 งานวิจัยในชุมชน

6.3 งานวิจัยในโรงเรียน


สภาพทั่วไป

         ชุมชนบ้านแม่ใสสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในแหล่งน้ำมีความสกปรก ไม่น่าใช้ และส่งกลิ่นเหม็นทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้รับความเดือดร้อน

          สรุป  แหล่งน้ำบ้านแม่ใส  มีความสกปรกและมีกลิ่นเหม็นควรได้รับการพัฒนา

ความหมายหมายของ

การพัฒนาแหล่งน้ำเน่าเสียมีผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเน่าเสียจึงได้ปรึกษาทำเรื่องบำบัดน้ำเน่าเสียแต่ไม่สามารถทำสำเร็จได้ เพราะคนในชุมชนต่างไม่รับฟังความคิดเห็นและยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อแหล่งน้ำซึ่งตรงกับทาง

โครงงาน IS ที่พวกนักเรียนได้จัดทำ จึงมีแนวทางนำหลักมหาวิทยาลัยมหิดลมา เป็นแบบอย่างในการทำโครงงานครั้งนี้

          สรุป ผู้จัดทำมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งในการทำโครงงานเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชุนและเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นตลอดจนนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


แนวคิด/ทฤษฎีในเรื่อง

          การพัฒนาแหล่งน้ำเน่าเสียเพื่อพัฒนา Eliminate น้ำเสีย ให้มีประสิทธิภาพและน่าใช้มากยิ่งขึ้นและสำรวจเพื่อนำมาทำโครงงานให้เกิดประโยชน์ต่อยอดถึงการนำมาเป็นแนวทางการประกอบอาชีพที่สามารถทำให้ชุมชนน่าอยู่ตลอดจนนำมาเป็นความรู้ให้คนในชุมชนในหมู่บ้านร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาแหล่งน้ำ

          สรุป แหล่งน้ำจะน่าใช้ยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการนำความรู้ทักษะวิชาชีพที่ได้ศึกษาตามหลักสูตรมาบูรณาการ เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นแนวในการประกอบอาชีพต่างๆ


ความสำคัญ

       Eliminate น้ำเสียเพื่อพัฒนา Eliminate น้ำเสีย ให้มีประสิทธิภาพและน่าใช้มากยิ่งขึ้นและสำรวจเพื่อนำมาทำโครงงานให้เกิดประโยชน์ต่อยอดถึงการนำมาเป็นแนวทางการประกอบอาชีพที่สามารถทำให้ชุมชนน่าอยู่ตลอดจนนำมาเป็นความรู้ให้คนในชุมชนในหมู่บ้านร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาแหล่งน้ำ

         สรุป  ผู้จัดทำมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งในการทำโครงงานเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชุนและเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นตลอดจนนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


องค์ประกอบEliminate น้ำเสีย

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.      เพื่อพัฒนา Eliminate น้ำเสีย ให้มีประสิทธิภาพและน่าใช้มากขึ้น

2.      เพื่อสำรวจและนำมาทำโครงงาน

เป้าหมาย

1.      พฤติกรรมการทิ้งขยะลงแหล่งน้ำของมนุษย์

2.      เทน้ำเสียลงแม่น้ำโดยไม่มีการบำบัดน้ำก่อนทิ้ง







ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน

1.      ตั้งวัตถุประสงค์

2.      ตั้งสมมุติฐาน

3.      ค้นหารวบรวมข้อมูล

4.      ลงสำรวจพื้นที่จริง/สอบถาม

5.      สรุปทำสถิติ

6.      แก้ไข/นำเสนอ



ผลคาดว่าที่จะได้รับ

1.      ทำให้แหล่งน้ำสะอาดและน่าใช้ยิ่งขึ้น

2.      รู้วิธีการศึกษาแหล่งน้ำ

3.      ทำให้รู้ถึงสาเหตุของการเกิดแหล่งน้ำเน่าเสีย


       

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง Eliminate น้ำเสีย

     งานวิจัยในประเทศ

          รุ่งศักดิ์ หอมศรี (2537) ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของระบบตะกอนเร่ง ในการบำบัดน้ำเสียในชุมชนที่มีความเข้มข้นของค่าบีโอดีและค่าซีอีโอต่ำ แต่มีค่าไนโตรเจนสูงภายใต้สภาวะที่มีเวลากักตะกอนต่างๆ โดยนำน้ำเสียมาเจือจางทำให้ความเข้มข้นของบีโอดีและค่าซีโอดีและไนโตรเจนประมาณ 78.6, 157.1และ33.9 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ โดยควบคุมให้มีเวลากักน้ำคงที่เท่ากับ 4 ชั่วโมงทุกการทดลอง และการควบคุมอายุตะกอนของระบบให้มีค่าอยู่ในช่วง 2-22.7 วัน ปรากฏว่าระดับของแข็งแขวนลอยในน้ำตะกอน (MLSS) มีค่าอยู่ในช่วง 586-3,402 มิลลิกรัม/ลิตร โดยปริมาตรตะกอนและดัชนีปริมาณตะกอนมีค่าสูงสุดถึง 970 และ 1,225 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ การนำถังคัดพันธุ์มาใช้ร่วมกับระบบตะกอนเร่ง สามารถช่วยป้องกันและแก้ไขได้และให้ค่าปริมาตรตะกอนและดัชนีปริมาตรมีค่าลดลง เมื่อเกิดปัญหาตะกอนไม่จมตัวลงเนื่องจากมีแบคทีเรียชนิดที่มีเส้นใยเกิดขึ้น

       

     

  งานวิจัยต่างประเทศ

         งานวิจัยนี้เป็นของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลันเพนน์ซิลวาเนียสเตท (Pennsylvania State University) สหรัฐฯ หรือ เพนน์สเตท (Penn State) โดยรายละเอียดของงานวิจัยนี้ได้เผยแพร่ลงวารสารไซน์ (Science) ซึ่งบีบีซีนิวส์ระบุว่าก่อนหน้านี้ 2-3 ปีนักวิทยาศาสตร์จากเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มพิสูจน์แนวคิดในการสร้างพลังงานหมุนเวียนจากบริเวณแนวชายฝั่งของประเทศซึ่งน้ำจืดจากแม่น้ำไหลมาบรรจบกับน้ำเค็มในทะเล
         งานวิจัยของเนเธอร์แลนด์อาศัยกระบวนการเรียกว่า รีเวิร์สอิเล็กโตรไดอะไลซิส” (reverse electrodialysis) หรือ อาร์อีดี (RED) ซึ่งน้ำจืดและน้ำเค็มจะถูกเติมเข้าไปในช่องว่างของเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีแผ่นเมมเบรนกั้นเป็นช่องๆ และทำให้เกิดประจุจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี นอกจากนี้บริษัทเอกชนของนอร์เวย์ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีคล้ายๆ กันโดยใช้น้ำเค็มและน้ำจืดมาผลิตกระแสไฟฟ้า



  บทที่ 3

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า


        วิธีการดำเนินการวิจัยเรื่อง Eliminateน้ำเสีย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยมีการดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญดังนี้

1. ประชากร

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

3.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

4.  การวิเคราะห์ข้อมูล


ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนในชุมชนบ้านแม่ใสและนักเรียนโรงเรียนบริเวณนั้นจำนวน 50 คน สุ่มอย่างง่าย

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรที่ใช้ในการศึกษาจำแนกตามสภาพ

สถานภาพของประชากร

             จำนวน (คน)

1.      เพศ

1.1  ชาย

1.2  หญิง



21

29

รวม

50

2.      อาชีพ/สถานะ

2.1  นักเรียน

2.2  รับราชการ

2.3  พ่อค้า แม่ค้า

2.4  อื่นๆ


12

10

15

13


รวม

50



เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาดังนี้

        1. เครื่องคอมพิวเตอร์จากการสืบค้นในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
        2. สมุดจดบันทึก พร้อมปากกา
        3. แผ่นซีดีเพื่อการบันทึกขั้นตอนต่าง ๆ ในการนำเสนอโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
        4. Flash Drive เพื่อการบันทึกข้อมูล




การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

           ศึกษาค้นคว้า ตำรา เอกสาร บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากขยะและรายละเอียดวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม

 ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถาม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามของตน

ศึกษาความหมาย ทฤษฎี หลักการ แนวคิด องค์ประกอบเพื่อทำเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ (นิยามศัพท์เฉพาะ) และนำนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการมาเป็นแนวทางในการสร้างข้อคำถาม

พัฒนาแบบสอบถามปลายปิดใช้ในการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของประชากรนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามแล้วนำไปจัดพิมพ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป



การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสร้างแบบสอบถามซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

          1. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีนำแบบสอบถามไปสอบถามประชาชนและเก็บรวบรวมข้อมูลกลับด้วยการกรอกข้อมูลและตอบแบบสอบถามที่ให้

          3. ได้รับแบบสอบถามกลับคืนและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแล้ว มีความสมบูรณ์จำนวน 50 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

          4. นำแบบสอบถามมาตรวจให้คะแนนดังนี้ (ในกรณีของแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า)

มีความคิดเห็น  มากที่สุด        ให้       5  คะแนน

มีความคิดเห็น  มาก             ให้       4  คะแนน

มีความคิดเห็น  ปานกลาง       ให้      3  คะแนน

 มีความคิดเห็น น้อย             ให้       2  คะแนน

มีความคิดเห็น  น้อยที่สุด        ให้       1  คะแนน

          5. นำคะแนนที่ได้จัดพิมพ์ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเตรียมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์






การวิเคราะห์ข้อมูล

          ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

          1. วิเคราะห์สภาพของประชากรจำแนกตามเพศและสถานะอาชีพใช้ความถี่และค่าร้อยละ

          2. วิเคราะห์แบบสอบถามโดยการหา ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมและรายข้อ

          3. นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติมาแปลผลแบ่งคะแนนเป็นช่วง ๆ มีความหมายดังนี้

             ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00  แปลความหมายว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

             ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49  แปลความหมายว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

   ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49  แปลความหมายว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

             ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49  แปลความหมายว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย

             ค่าเฉลี่ย 1.00-1.49  แปลความหมายว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด


 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

         แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วย

สถิติพื้นฐาน ดังนี้  บุญสม  ศรีสะอาด (2545 :105)
         1. ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) 

         2. ค่าเฉลี่ย (Mean)

         3. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) 

          4. ค่าความถี่ (Frequency)



บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล


          การนำเสนอผลการวิเคราะห์ประเมินความพึงพอใจของประชาชนในชุมชนบ้านแม่ใสที่มีต่อแม่น้ำบริเวณแม่น้ำชุมชนบ้านแม่ใสผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการการแปรผลที่ได้จากการวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบดังต่อไปนี้

                  

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตารางที่2 ตารางวิเคราะห์จำนวนและร้อยละของนักเรียนจำแนกตามเพศและห้องเรียน


สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม


จำนวน (คน)


ร้อยละ

1. เพศ

    1.1 ชาย

    1.2 หญิง





21

29





42

58

2. อาชีพ

    2.1   นักเรียน/นักศึกษา

    2.2   รับราชการ

    2.3   พ่อค้า/แม่ค้า

    2.4    อื่นๆ







12

10

15

13







24

20

30

26

รวม


50


100


            
จากตารางที่ 2 ตารางวิเคราะห์เพศหญิงของประชาชนในชุมชนบ้านแม่ใส จำนวน 29 คน คิดเป็น ร้อยละ 58 ซึ่งมากกว่าเพศชายที่มีจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ตามลำดับ และหากจะแยกตามผู้ประกอบอาชีพ จำนวนผู้ประกอบอาชีพพ่อค้า/แม่ค้า มีผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30  รองลงมา ประกอบอาชีพอื่นๆเช่น ชาวนา แม่บ้าน ฯ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26 ต่อมาเป็นนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 24 และสุดท้าย ประกอบอาชีพรับราชการ จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 20 ตามลำดับ








ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของประชาชนในชุมชนบ้านแม่ใส ที่มีต่อแม่น้ำบริเวณแม่น้ำชุมชนบ้านแม่ใส

ตารางที่ 3 ตารางวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของประชาชนในชุมชนบ้านแม่ใส ที่มีต่อแม่น้ำบริเวณแม่น้ำชุมชนบ้านแม่ใส