จริยธรรมทางธุรกิจบริษัท ปตท

คณะกรรมการ ปตท.สผ. กำหนดให้มี “การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของกลุ่ม ปตท.สผ.” เพื่อให้ทุกคนในองค์กรยึดถือปฏิบัติ เป็นวิถีชี้นำในการดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐาน โปร่งใส มีประสิทธิภาพ จริยธรรม และสามารถตรวจสอบได้ โดยดูแลสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายให้ได้รับประโยชน์ตามส่วนด้วยความเป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับโดยทั่วไป

การจัดการความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม สังคม Net Zero การปรับตัวทางธุรกิจ รายงาน การดำเนินการด้านความยั่งยืน รางวัลและเกียรติประวัติ

จรรยาบรรณทางธุรกิจและการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยงและวิกฤตการณ์ การสนับสนุนต่อภาคส่วนต่างๆ กลยุทธ์ด้านภาษี การบริหารจัดการนวัตกรรม การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์ การประเมินมูลค่าความยั่งยืน

แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมทางธุรกิจ

จรรยาบรรณทางธุรกิจและการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การรับเรื่องร้องเรียน และข้อร้องเรียน

แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมทางธุรกิจ

เลื่อนลง

(Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC)

จริยธรรมทางธุรกิจบริษัท ปตท

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามมาตรการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชันของภาครัฐและภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการและรับการต่ออายุสมาชิกของโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC) เป็นคร้ังที่ 3 ซึ่งได้ประกาศผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และจะครบกำหนดอายุสมาชิก 3 ปี (3-Year Renewal no. 4) ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ทั้งนี้ มีบริษัทในกลุ่มจำนวน 5 บริษัท ได้รับการรับรองจาก CAC เรียบร้อยแล้ว โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้สนับสนุนให้บริษัทในกลุ่ม ได้แก่ บริษัท จีซี-เอ็ม พีทีเอ จำกัด บริษัท เอ็นพีซีเซฟตี้แอนด์เอ็นไวรอนเมนทอลเซอร์วิส จำกัด และบริษัท ไทย เพ็ท เรซิน จำกัด ให้ยื่นคำประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ CAC

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเข้าร่วมกิจกรรมการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันที่จัดขึ้นโดยรัฐบาล สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

บริษัทฯ พัฒนาระบบ ฮูก E-Learning เพื่อให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มใช้เป็นช่องทางในการศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และจรรยาบรรณธุรกิจขององค์กร อีกทั้งยังใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประเมินความรู้ความเข้าใจ พร้อมทั้งให้ผู้อบรมลงนามรับทราบใบพันธสัญญา เพื่อนำนโยบายและหลัก CG และจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ไปใช้เป็นหลักปฏิบัติในการทำงาน ซึ่งบริษัทฯ จะนำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในปีต่อไป โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้ทำการปรับปรุงระบบ ฮูก Acknowledge & Learning ให้มีหลากหลายภาษา อาทิ ภาษาอังกฤษ เพื่อให้พนักงานต่างชาติสามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน