ถาม ตอบ ค่า ใช้ จ่ายในการเดินทางไปราชการ

ถาม ตอบ ค่า ใช้ จ่ายในการเดินทางไปราชการ

สรุปการให้คำปรึกษากับหน่วยงาน KKU

สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563สรุปการให้คำปรึกษา ด้านการเดินทางไปราชการ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2559การสรุปให้คำปรึกษาข้างล่าง คือ การให้คำปรึกษาก่อนปีงบประมาณ พ.ศ.25591) พนักงานขับรถพานักศึกษาเดินทางไปราชการ กทม. และถึง กทม. เวลา 03.00 - 04.00 น. (ตี3-4)
จะเบิกค่าที่พักได้ไหม เนื่องจาก พนักงานขับรถ ต้องขับรถกลับตอน 15.00 น. (บ่าย 3)ตอบ ความจำเป็นที่ พนักงานขับรถ ต้องพัก เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ให้สามารถเบิกค่าที่พัก
จากงบประมาณเงินรายได้เป็นกรณีพิเศษ ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินสิทธิ์ตามระเบียบเงินรายได้มหาวิทยาลัยขอนแก่นระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ.25542) การเบิกค่าเดินทางให้ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน และนักศึกษาตอบ ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน ต้องขออนุมัติเดินทางไปราชการจึงสามารถเบิกเบี้ยเลี้ยงได้
แต่นักศึกษาออกท้องที่ฝึกงานให้ทำโครงการ และคำสั่ง
เพื่อเบิกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตามโครงการที่อนุมัติ เช่น ค่าตอบแทนที่พักชาวบ้านเหมาจ่ายได้เฉลี่ยไม่เกินสิทธิ์
และถ้าเจ้าหน้าที่พักรวมด้วยตามโครงการที่เหมาจ่ายแล้ว จะเบิกค่าที่พักอีกไม่ได้3) การขอเบิกจ่ายเงินซื้อตั๋วเครื่องบินจ่ายให้กับตัวแทนที่ขายตั๋ว กองคลังแจ้งให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
แต่ทางตัวแทนผู้จำหน่ายแจ้งว่า เป็นตัวแทนขายไม่ใช่รายได้จริง จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ได้ตอบ
3.1) ถ้าจ่ายให้บุคคลรับเงินรายได้เกิน 10,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
3.2) ได้ปรึกษาสรรพากรแล้ว ตัวแทนอาจถูกหักภาษีสูงกว่าความเป็นจริง
3.3) ข้อเท็จจริงเป็นการเบิกค่าพาหนะของอาจารย์พิเศษเป็นรายคน ซึ่งถ้าเบิกจ่ายเป็นรายคนแล้วจ่ายคืนคณะ
คณะจะต้องเขียนเช็คจ่ายให้กับผู้มีสิทธิ คือ ผู้เดินทางเท่านั้น
3.4) ให้คณะติดต่อซื้อกับการบินไทยโดยตรง หากไม่สามารถดำเนินการได้จะใช้วิธีให้ผู้รับผิดชอบ
ในการเชิญอาจารย์พิเศษเป็นผู้ยืมเงินไปชำระแล้วนำหลักฐานมาเบิกเป็นค่าพาหนะเดินทางเพื่อหักล้างเงินยืมต่อไป
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2554ระเบียบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการ4) การเดินทางไปฝึกอบรม ต่างคนต่างไป จะต่างคนต่างพัก ต่างเบิกจ่ายได้หรือไม่ตอบ การเดินทางไปราชการถ้าคำสั่งเดียวกันเนื้องานเดียวกันการเดินทางพร้อมกันจะต้องเบิกจ่ายตามระเบียบว่าด้วยการเดินทางไปราชการ
แต่ถ้าเป็นการเดินทางไปเพื่ออบรมสัมมนาโดยที่ต้นสังกัด และผู้จัดไม่ได้ประสานเรื่องการเดินทาง และที่พักให้
และผู้เดินทางต่างคนต่างได้รับคำสั่งอนุมัติ ไม่ถือว่าเป็นการเดินทางเป็นหมู่คณะ จะไม่เดินทางพร้อมกัน และไม่พักรวมกันได้5) อัตราค่าที่พัก กรณีเดินทางเป็นหมู่คณะ แต่พักจริงไม่พักคู่ จะเบิกได้ในอัตราใดตอบ ให้เบิกโดยให้ใช้ใบเสร็จรับเงินจริง ประกอบการเบิกโดยให้โรงแรมระบุว่าอัตราค่าที่พักเดี่ยวเป็นเท่าใด พักคู่เป็นเท่าใด
แล้วพิจารณาว่าครึ่งหนึ่งของห้องพักคู่จ่ายจริงเท่าใด ให้เบิกได้ไม่เกินครึ่งหนึ่ง และเบิกได้ไม่เกิน 850 บาทต่อคน
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 2)
บัญชีหมายเลข 3 ค่าเช่าที่พักในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร (1) กรณีเลือกเบิกในลักษณะจ่ายจริง6) การเบิกค่าทางด่วนพิเศษ สามารถทำได้หรือไม่ หากใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางไปราชการตอบ ไม่ได้ การเบิกค่าทางด่วนพิเศษ ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ กค 0409.6/ว24 เฉพาะรถยนต์ของส่วนทางราชการโดยขึ้นทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของส่วนราชการนั้น
ซึ่งจำเป็นต้องเดินทางโดยผ่านทางด่วนพิเศษ และนำใบเสร็จรับเงินมาเบิกจ่ายจากทางราชการกค0409.6/ว24 ลว20กพ47 การเบิกจ่ายเงินค่าผ่านทางด่วนพิเศษ7) ค่า VISA สามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้หรือไม่ตอบ ค่า VISA ที่ชำระให้สถานทูต สามารถนำมาเบิกเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ต้องเป็นใบเสร็จรับเงินที่ระบุรายการ
และชื่อ-สกุล ของผู้ที่ขอ VISA ใช้ระเบียบ กค0526.5/ว71 ลว11มิย39 การเบิกค่าธรรมเนียมเข้าประเทศ (วีซ่า)8) การเบิกค่าเดินทางไปราชการสำหรับวิทยากร เป็น "ตั๋วเครื่องบิน" จาก กทม-ขอนแก่น และ ขอนแก่น-กทม แต่ในกรณีนี้วิทยากรไม่สามารถขึ้นเครื่องบินได้ตรงตามกำหนดเวลา จึงต้องซื้อตั๋วเครื่องบินใหม่ กรณีดังกล่าวสามารถเบิกจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินได้หรือไม่ตอบ สามารถเบิกจ่ายได้ แต่ต้องให้บริษัทการบินไทย ทำหนังสือรับรองว่าบุคคลดังกล่าวไม่สามารถขึ้นเครื่องบินได้ตามกำหนดเวลาที่ปรากฏในตั๋วรอบแรกที่ซื้อ ซึ่งวิธีการปฏิบัติดังกล่าวถือปฏิบัติรวมถึงการเบิกจ่ายด้วยเงินรายได้มหาวิทยาลัย และเงินงบประมาณแผ่นดิน9) การเดินทางไปราชการเพื่อเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการบ่มเพาะเชื้อ ระหว่างวันที่ 27-28 ก.พ.55 และ 2, 7, 9 มี.ค.55 จะสามารถเบิกจ่ายค่าที่พักได้วันใดบ้างตอบ สามารถเบิกจ่ายค่าที่พักได้วันที่ 27-28 ก.พ.55 สำหรับการเบิกจ่ายวันที่ 2, 7, 9 มี.ค.55 ต้องพิจารณาความเหมาะสม หากมีการตรวจสอบการบ่มเพาะเชื้อตลอดเวลาสามารถเบิกจ่ายค่าที่พักได้ แต่ถ้าไม่มีเหตุต้องตรวจสอบเชื้อทดลองดังกล่าว ไม่สมควรเบิกจ่าย
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2550
กค0405.4/ว5 ลว31มค54 หลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการและฝึกอบรมภายในประเทศ
ประกาศ มข 1144/2552 หลักเกณฑ์และวิธีการเบิกจ่ายเงินรายได้มหาวิทยาลัยในการเดินทางไปราชการชั่วคราว10) การเดินทางไปราชการ หรือศึกษาดูงาน ถ้าจ้างเหมารถตู้ ต้องทำตามระเบียบฯ พัสดุ หรือไม่ตอบ
(1) กรณีจ้างเหมารถตู้ โดยไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องดำเนินการตามระเบียบฯ พัสดุ สำหรับการจ้างเหมา (ทำรายงานขอจ้าง)
(2) สำหรับค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
(2.1) ให้ใช้ใบเสร็จรับเงิน ต้องระบุหมายเลขทะเบียนรถที่เช่า
(2.2) แนบเบิกจ่ายในใบขออนุมัติเดินทางไปราชการ โดยผู้เป็นหัวหน้าทีมในการเดินทางฯ เป็นผู้เบิก
(2.3) แนบสำเนาใบขออนุมัติจ้างเหมารถประกอบ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม11) กรณีจ้างเหมารถบัสตอบ
(1) จ้างเหมารถบัส ซึ่งจะเป็นการจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง ทำรายงานขอจ้าง ราคาที่ต้องเป็นราคาตามท้องตลาด
(2) หลักฐานการเบิกจ่าย ใช้ใบเสร็จรับเงิน ต้องระบุหมายเลขทะเบียนรถ
(3) การจ้างทุกกรณี ต้องจ้างจากผู้ประกอบการที่มีอาชีพรับจ้างสาธารณะ ผู้ขับรถต้องมีใบขับขี่สาธารณะ12) การจ้างเหมารถตู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนรถรับจ้าง ต้องทำอย่างไรตอบ
(1) ตามระเบียบพัสดุฯ ต้องจ้างจากผู้มีอาชีพ และจดทะเบียนรับจ้างเป็นรถรับจ้างสาธารณะ
(2) ผู้ขับรถ ต้องมีใบขับขี่สาธารณะ
(3) หลักฐานการจ่าย ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน ที่มีรายละเอียดครบถ้วนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด คือ 1.ชื่อ สถานที่อยู่ ผู้รับเงิน 2.วัน เดือน ปี ที่รับเงิน 3.รายการที่รับเงิน ค่าอะไร 4.จำนวนเงินตัวเลขและตัวอักษร 5.ลายมือชื่อผู้รับเงิน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงการคลัง การเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551 ข้อ4113) การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง กรณีเดินทางไปประชุมเพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการต่างประเทศ ซึ่งมีการจ่ายค่าลงทะเบียนด้วยตอบ
การเบิกค่าเดินทางไปราชการ กรณีมีการจ่ายค่าลงทะเบียนด้วย ให้สอบถามผู้เดินทางว่า 1 มีโครงการ หลักสูตร  และ กำหนดการในการประชุมหรือไม่  การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร  ค่าลงทะเบียนครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รวมค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าเดินทางหรือไม่ การเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ถ้ามีการเลี้ยงอาหารให้สอบถามว่ามีการเลี้ยงอาหารมื้อใดบ้าง  ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแปลเอกสารเป็นภาษาไทยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับในการเบิกจ่ายค่า เบี้ยเลี้ยง  ที่พัก และค่าพาหนะ  หากมีการเลี้ยงอาหาร  มีการจ่ายที่พักให้ หรือจัดยานพาหนะให้ ผู้เดินทางไม่มีสิทธิเบิก หากมีการเลี้ยงอาหารบางมื้อผู้เดินทางมีสิทธิเบิกได้ตามส่วน  กรณีเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาไม่ระบุชัดเจนหรือไม่มี ให้ผู้เดินทางรับรองตนเอง เมื่อมีการเบิกค่าเดินทาง
พรก.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2553ระเบียบ กค. คชจ.ฝึกอบรม จัดงาน ประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.2552 ฉบับที่ 2ระเบียบ กค. คชจ.ฝึกอบรม จัดงาน ประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.2555 ฉบับที่ 314) การเดินทางไปจัดอบรม ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแต่ละหลักสูตร ที่มีการจัดอบรมหลายครั้งในระยะเวลาติดต่อกัน (โดยแต่ละครั้งระยะเวลาห่างกันประมาณ 2 วัน) สามารถเดินทาง ไปและกลับครั้งเดียวจัดอบรมหลายครั้งต่อเนื่องกันได้หรือไม่ตอบ
สามารถเดินทางไปครั้งเดียวเพื่อจัดอบรมต่อเนื่องได้ โดยต้องขออนุมัติผู้อำนวยการและชี้แจงเหตุผลอันควรในการหยุดพักรอ และแสดงให้เห็นว่ามีข้อดี ด้านการประหยัดงบประมาณจำนวนเท่าใด บุคลากรมีความพร้อมกว่าการให้เดินทางหลายรอบอย่างไรประกอบการขออนุมัติระเบียบ กค. การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2554กรณีหยุดพักและชี้แจงเหตุผลอันควรเพื่อพิจารณา15) กรณีเดินทางไปร่วมงานศพ ให้ถือปฏิบัติอย่างไร ต้องขออนุมัติเดินทางไปราชการ(ใบสีชมพู) หรือไม่ และพนักงานขับรถที่ได้รับคำสั่งให้ขับรถนำบุคลากรไปร่วมงานดังกล่าวมีสิทธิเบิกค่าเดินทางหรือไม่ตอบ
ตามหนังสือ กค0502/5607 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2537 กระทรวงการคลัง เรื่อง ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการเดินทางไปราชการ ระบุว่าการเดินทางในลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเดินทางไปราชการ เนื่องจากเป็นการแสดงจิตศรัทธา จึงไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ส่วนพนักงานที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือมหาวิทยาลัย ถือเป็นการเดินทางราชการมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางราชการได้16) การขึ้นเครื่องบินได้ต้องเป็นระดับไหน ถ้าเป็นพนักงานต้องเงินเดือนเท่าไร และถ้าจำเป็นขอเป็นกรณีพิเศษได้หรือไม่ตอบ
ตามหนังสือ ศธ0514.1.4/2506 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 เรื่องการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยเครื่องบินของพนักงาน
- ตำแหน่งวิชาการ  ผศ, รศ., ศ.
- ตำแหน่งประเภททั่วไป ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ
ทั้งนี้ให้คณบดีพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสม หากมีกรณีจำเป็น เร่งด่วน เช่น มีการเดินทางเป็นหมู่คณะ แต่มีพนักงาน 2 คนที่ไม่มีสิทธิ์ขึ้นเครื่องบิน สามารถทำบันทึกขอเป็นกรณีพิเศษได้ ถ้าหากเป็นพนักงาน
มหาวิทยาลัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ก็ใช้งบประมาณแผ่นดิน หากเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ การใช้เงินรายได้ โดยให้คณบดีเป็นผู้พิจารณา อนุมัติ17) การซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางไปต่างประเทศตอบ
ตามหนังสือ กระทรวงการคลัง ที่ กค 0408.2/ว 112 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2546 มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวธีปฏิบัติในการจัดซื้อบัตรโดยสารเครืองบินในการเดินทางไปราชการต่างประเทศดังนี้
1. ให้ซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินจาก บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
2. หากส่วนราชการมีความต้องการซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินอื่นนอกจากสายการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้เปรียบเทียบราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินที่ซื้อจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กับราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินอื่นนั้น หากราคาบัตรโดยสารของสายการบินอื่นดังกล่าวมีราคาต่ำกว่าราคาค่าบัตรโดยสารที่ซื้อจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ก็ให้สามารถซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินของสายการบินอื่นดังกล่าวได้18) การเดินทางไปราชการ เป็นหมู่คณะ จะสามารถเลือกที่พักต่างกันได้หรือไม่ตอบ
ไม่ได้ การเดินทางไปราชการ เป็นหมู่คณะต้องพักในลักษณะเดียวกัน คือ เดินทางไปต่างจังหวัด ผ่านหลายจังหวัด ในแต่ละคืนสามารถนอนที่พักแตกต่างกันได้ โดยทุกคนต้องนอนในที่พักเดียวกัน และเบิกค่าใช้จ่ายที่พักลักษณะเดียวกัน19) สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินก่อนวันได้รับอนุมัติให้เดินทางได้หรือไม่ตอบ
สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินก่อนได้แต่ต้องระบุวันที่ตามวันที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ20) กรณีที่อาจารย์ไปราชการ กทม.วันที่ 23-25 ต.ค.56  โดยใช้รถโดยสารประจำทาง (รถปรับอากาศ) เดินทางวันที่ 23 ต.ค. 56 ออกเดินทางเวลา 22.00 น. ถึงโรงแรมที่พักตอนเช้าในวันที่ 24 ต.ค. (เพื่ออาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า) ก่อนเข้าอบรม การอบรมสิ้นสุดในวันที่ 25 ต.ค. เวลา 12.00  น. และวันที่ 25 (วันกลับ) จองรถปรับอากาศได้เวลา 20.00 น. ทำให้ต้องคืนห้องพักเวลา 18.30 น. จากกรณีการเข้าพักดังกล่าว ทำให้ทางโรงแรมคิดค่าที่พักเป็น 3 วันเพราะวันที่ 25 ต.ค. คืนห้องพักหลัง 12.00 น. ทางโรงแรมคิดค่าเช่าห้องพักเพิ่ม 1 วัน ในกรณีนี้จะเบิกค่าที่พักได้กี่วัน เพราะปกติถ้าเดินทางไปถึงเช้า ผู้ไปราชการจะปฏิบัติราชการก่อนแล้วจึงเข้าพักหลังเวลา 12.00 น. และวันกลับก็จะคืนห้องพักก่อน 12.00 น.ตอบ
การเดินทางไปเข้ารับการอบรม ต้องเบิกค่าที่พักแบบจ่ายจริง กรณีเข้าพักเช้าวันที่ 24 ต.ค. ก่อน 12.00 น. ผู้เข้าพักควรติดต่อโรงแรมโดยเจรจาเพื่อไม่ขอจ่ายค่าที่พักช่วงเช้าถึงเที่ยงของวันก่อนเข้าพัก (เช้า 24 ต.ค.) หรืออย่างมากขอจ่ายเพียงครึ่งวัน เพราะเราเป็นแขกของโรงแรมในคืนที่เข้าพักอยู่แล้ว ส่วนในวันสุดท้าย (วันที่ 25 ต.ค.) หากการอบรมสิ้นสุดเวลา 12.00 น.ผู้เข้าพัก ต้อง Check out ก่อน 12.00 น. หรืออาจเจรจาขอออกล่าช้าโดยแล้วแต่โรงแรมจะพิจารณาหากไม่ให้อยู่ต่อ ต้อง Check out ตามเกณฑ์ที่โรงแรมกำหนด ดังนั้น กรณีดังกล่าวสามารถเบิกค่าที่พักได้เพียง 2 วัน ในวันสุดท้ายเบิกคือคืนวันที่ 25 ต.ค. ไม่สามารถเบิกจ่ายได้21) กรณีนั่งรถ Limousine จากโรงแรมไปสนามบิน ใบเสร็จตามจ่ายจริง 1,700 บาท
สามารถเบิกได้เท่าไร (ผู้เดินทางเป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ)ตอบ
การเบิกค่ารถรับจ้างขึ้นกับดุลยพินิจแต่ต้องประหยัด ต้องระบุเหตุผลที่ต้องนั่งลีมูซีนซึ่งโดยปกติจะมีบริการรถแท็กซี่จากสนามบินซึ่งมีราคาถูกกว่า22) ในการไปราชการสมมติว่าเข้าพัก 3 คืน สามารถเบิกจ่ายโดยเลือกแบบเหมาจ่าย 1 คืน และตามใบเสร็จโรงแรมได้ด้วยหรือไม่ หรือต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งตอบ
ต้องดูสถานที่ไปถ้าพานักศึกษาไปในอำเภอที่ไม่มีโรงแรม จำเป็นต้องพักกับชาวบ้านและต้องจ่ายเงินแก่ผู้ให้พักสามารถใช้ลักษณะเหมาจ่ายได้ และในคืนถัดมาเข้ามาที่ตัวจังหวัดนอนโรงแรมเบิกตามจริงได้ไม่เกินอัตราระเบียบกำหนด23) กรณีที่บุคลากรในหน่วยงานเดินทางไปงานประชุมวิชาการในต่างประเทศพร้อมกันหลายคน (เรื่องเดียวกัน) แต่การเดินทางกลับไม่พร้อมกัน ควรทำเรื่องเดินทางราชการ (แบบ มข.-กง.-16) รวมกันหรือแยกกันอย่างไรตอบ
สามารถทำแบบ มข-กง.16 รวมได้ แต่การเบิกจ่ายเงินสามารถเบิกรวมกันหรือแยกได้ ถ้ารวมเบิกต้องหมายเหตุ การเดินทางกลับของแต่ละคน หรือสามารถแยกแบบ 8708-1,8708-2 ได้ แต่ใช้แบบ มข-กง.16 ฉบับเดียวกัน24) จากกรณีข้อ 23 มีการขอลาพักผ่อนต่อด้วย จะระบุวันในแบบ มข.-กง.-16 อย่างไร ควรจะครอบคลุมจนถึงวันเดินทางกลับจริงด้วยหรือไม่ตอบ
ระบุวันที่เดินทางไปราชการครอบคลุมได้ แต่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติราชการเท่านั้น เช่น ประชุมวันที่ 26/3/56 เสร็จ 16.00 แล้ว วัน 27/3/56 ลาพักผ่อน ก็สามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้ถึง 26/3/5625) การเดินทางไปราชการ กรณีได้รับอนุมัติเดินทางไปราชการวันที่ 16-18 ม.ค.56 (แบบ มข.-กง.-16) และเดินทางกลับในวันที่ 20 ม.ค. 56 ซึ่งติดภารกิจ ต้องขออนุมัติเดินทางไปราชการเพิ่มเติมในวันที่ 19-20 ม.ค. 56 ด้วยหรือไม่ เพราะในรายงานการเดินทาง แบบ8708 รายงานว่าเดินทางถึงสำนักงานในวันที่ 20 ม.ค. 56 (เบิกเบี้ยเลี้ยงวันที่ 16-18 ม.ค. 56และตั๋วเครื่องบินขาไป 16 ม.ค.56 ขากลับ 20 ม.ค. 56)ตอบ
เบี้ยเลี้ยง เบิกถูกต้องแล้ว กรณีไม่ได้ลาพักผ่อนต่อ เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว และต้องทำแบบ มข.-กง.-16 เดินทางตั้งแต่วันที่ 16-20 มค. 56 และ ต้องขอให้ครอบคลุม โดยไม่เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงและที่พัก หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการแล้ว เนื่องจากเป็นเหตุส่วนตัว26) การเดินทางไปราชการ กรณีเดินทางไปราชการโดยเครื่องบินแต่ขอเบิกจ่ายในอัตราค่าโดยสารรถประจำทาง เอกสารที่แนบการเบิกจ่ายจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้างตอบ
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน แบบ บก.111

ถาม ตอบ ค่า ใช้ จ่ายในการเดินทางไปราชการ

HOME