ต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ เกิน 5 ปี

“ขนส่ง” เปิดให้รถเก่า 7 ปี-มอเตอร์ไซค์เก่า 5 ปี ต่อภาษีออนไลน์ได้แล้ว แนะรีบจ่ายก่อนหมดอายุ 90 วัน ส่วนรถแก๊ส-รถค้างภาษีเกิน 3 ปียังจ่ายออนไลน์ไม่ได้

วันที่ 22 มิ.ย. 2564 นางพรรณี พุ่มพันธ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า กรมมุ่งมั่นพัฒนาบริการชำระภาษีรถประจำปี ตามพ.ร.บ.รถยนต์ 2522 เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าของรถสามารถชำระภาษีรถประจำปีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีหลากหลายช่องทางในการให้บริการ โดยหนึ่งในช่องทางที่เป็นที่นิยมของเจ้าของรถในปัจจุบัน คือ การชำระภาษีรถประจำปีออนไลน์ ซึ่งเดิมระบบออนไลน์จะรองรับเฉพาะรถที่ไม่ต้องผ่านการตรวจสภาพเท่านั้น ส่งผลให้ที่ผ่านมาเจ้าของรถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ต้องเลือกใช้บริการผ่านช่องทางอื่นแทน 

  • ดร.นิเวศน์ กางสัญญาณหุ้น วัน Corner แตก หายนะนักลงทุน
  • เปิด 5 อันดับแบงก์ไทยอู้ฟู่ กวาดกำไรปี’65 รวมกันกว่า 1.9 แสนล้าน
  • อั้ม พัชราภา เปิดใจครั้งแรก สาเหตุเลิก ไฮโซพก จบไม่สวย ยุติติดต่อ

ต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ เกิน 5 ปี

รถเก่าจ่ายภาษีผ่านออนไลน์ได้แล้ว

ปัจจุบันกรมได้พัฒนาช่องทางชำระภาษีรถประจำปีออนไลน์ให้รองรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 ทุกอายุการใช้งานแล้ว เป็นการยกระดับการให้บริการประชาชนได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น 

โดยเจ้าของรถสามารถชำระภาษีรถออนไลน์ ได้ที่ เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax กรณีรถที่ค้างชำระภาษีเกินกว่า 1 ปี หรือรถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ให้นำรถเข้าตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการ ส่วนรถที่ไม่มีเงื่อนไขต้องตรวจสภาพรถก่อนชำระภาษีสามารถดำเนินการได้ทันที 

จ่ายก่อนวันภาษีหมดอายุได้ 90 วัน

“บริการออนไลน์ดังกล่าวอำนวยความสะดวกสามารถชำระภาษีรถประจำปีล่วงหน้าได้ภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ภาษีรถสิ้นอายุ โดยเลือกชำระเงินผ่าน e-Banking บัตรเครดิต บัตรเดบิต เคาน์เตอร์ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้ไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานขนส่ง อยู่ที่ไหนก็สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน” 

รถค้างภาษี 3 ปี/รถแก๊ส ยังจ่ายออนไลน์ไม่ได้

อย่างไรก็ตาม บริการชำระภาษีรถออนไลน์ยังมีข้อจำกัดสำหรับรถบางประเภท เช่น รถติดตั้งแก๊ส และรถที่ค้างชำระภาษีรถเกิน 3 ปี ยังไม่สามารถชำระภาษีผ่านระบบออนไลน์ได้  

เข้าเว็บขนส่งหาข้อมูลเสียภาษีออนไลน์ได้

รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า วันครบกำหนดชำระภาษีรถประจำปีของรถแต่ละคันจะขึ้นอยู่กับวันจดทะเบียนของรถคันนั้น ๆ โดยสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือรถ หรือวันที่ปรากฏบนเครื่องหมายการเสียภาษี หรือเว็บไซต์ชำระภาษีรถออนไลน์ของกรมการขนส่งทางบก ที่เมนู สอบถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปี ตรวจสอบได้ทั้งวันครบอายุภาษีรถ อัตราค่าภาษีที่ต้องชำระ และหากเป็นรถที่เข้าข่ายต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนจะปรากฏข้อมูลแจ้งให้เจ้าของทราบ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการเพื่อให้เจ้าของรถได้วางแผนชำระภาษีรถประจำปีได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากการชำระภาษีรถประจำปีล่าช้าจะมีค่าปรับร้อยละหนึ่งต่อเดือน 

เตือนอย่าค้างภาษีเกิน 3 ปี

และหากไม่ดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถถูกระงับทำให้ไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนรถได้ ทั้งการโอนเปลี่ยนชื่อ แจ้งเปลี่ยนสี แก้ไขรายการคู่มือรถ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในภายหลัง  จึงขอให้เจ้าของรถดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน 

Advertisement

รถที่เลิกใช้งานต้องแจ้งขนส่ง

ส่วนเจ้าของรถที่หยุดใช้รถ เลิกใช้รถ หรือรถชำรุดสูญหาย เป็นเหตุให้รถใช้งานไม่ได้ทุกกรณี ให้แจ้งการไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ เพื่อไม่ให้มีภาระต้องชำระภาษีประจำปี

เปิดปี 2565 สำหรับชาว 2 ล้อสิ่งที่ต้องจัดการทุกปีสำหรับรถของเรา คงต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษี ทะเบียน พ.ร.บ. และการจัดการเรื่องประกัน สำหรับปี 2565 นี้มีอะไรอัพเดตเกี่ยวกับการเตรียมเอกสาร ช่องทางการจัดการ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมไว้ทั้งหมด มาเริ่มไปทีละเรื่องๆ กันเลยดีกว่า

เอกสารประกอบการต่อภาษี

  • เล่มทะเบียน หรือสำเนาเล่มทะเบียน
  • ใบตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 5 ปี)
  • ใบพ.ร.บ.

ช่องทางการจัดการเรื่องภาษี และการต่อทะเบียนรถ

มีทั้งช่องทางการไปจัดการที่ขนส่งใกล้บ้านท่าน ทั้งการเลื่อนล้อต่อภาษี การตรวจสภาพรถ ต่อ พ.ร.บ. และจุดต่างๆ ดังนี้

การต่อภาษีรถจักรยานยนต์ที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว สามารถต่อภาษีในช่องทางอื่นๆ ได้เหมือนรถยนต์ ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ (ได้ทุกจังหวัด ไม่ว่ารถของคุณจะจดทะเบียนอยู่ที่ไหนก็ตาม)
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30-15.30 น.
  • ห้างสรรพสินค้า โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"
  • ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เปิดให้บริการ เวลา 09.00-17.00 น. จำนวน 14 สาขา ได้แก่ ลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่ และบางนา
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
  • ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. 
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00-18.00 น.
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม ณ เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น.

แม้ปัจจุบันจะมีการจัดระบบและอำนวยความสะดวกได้อย่างรวดเร็วขึ้นมาก แต่ช่องทางที่ช่วยให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกทั้งยังปลอดภัยไม่ต้องไปเสี่ยงโรค คือการต่อภาษีรถออนไลน์ที่สามารถดำเนินการให้กับผู้ใช้รถทุกประเภท สามารถทำได้ทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ โดยกรมการขนส่งทางบก ได้เปิดให้บริการชำระภาษีรถประจำปี ผ่านเว็บไซต์ eservice.dlt.go.th ซึ่งรวมเอาการต่อ พ.ร.บ. และภาษีรถให้ครบจบในทีเดียว

ประเภทรถที่สามารถยื่นชำระภาษีผ่าน e-Service ได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถบรรทุกส่วนบุคคล อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถจักรยานยนต์ อายุไม่เกิน 5 ปี

     ทั้งนี้ รถที่สามารถต่อภาษีออนไลน์ผ่านระบบ e-Service จะต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี และมีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม (หากค้างเกิน 1 ปี และมีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) และยื่นชำระภาษีที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น) โดยสามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน

เงื่อนไขรถที่สามารถต่อภาษีรถออนไลน์ได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน, รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์
  • อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้ารถเกิน 7 ปี ต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน)
  • รถจักรยานยนต์ อายุรถไม่เกิน 5 ปี
  • รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี
  • รถยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด
  • รถทุกจังหวัดที่มีสถานะทะเบียนปกติ หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  • รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี/ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
  • รถที่ไม่ถูกอายัด
  • สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน

ขั้นตอนการต่อภาษีรถออนไลน์

1. ไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

2. Log-in เข้าสู่ระบบโดยใช้เลขบัตรประชาชน พร้อมใส่รหัสผ่าน หากใครที่เพิ่งเข้ามาใช้งานครั้งแรกให้ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ก่อน

3. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้วไปที่หัวข้อ บริการ เลือก ชำระภาษีรถประจำปี และ ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

4. ลงทะเบียนรถที่จะชำระภาษีรถประจำปี กรอกข้อมูลประเภทรถ จังหวัดตามป้ายทะเบียน เลขตามทะเบียนรถ และชื่อผู้ครอบครอง หากเคยใช้งานแล้วสามารถเลือกรายชื่อรถที่ต้องการชำระภาษีรถประจำปีด้านล่างได้เลย

5. กรอกข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน หากยังไม่มี พ.ร.บ. สามารถซื้อในขั้นตอนนี้ได้เลย

6. กรอกที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร

7. เลือกรูปแบบวิธีการชำระเงิน โดยจะมีให้เลือก 3 รูปแบบได้แก่ 

  • ชำระเงินโดยหักจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ปัจจุบันมีธนาคารที่รองรับ 3 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ ธนาคารยูโอบี
  • ชำระเงินโดยบัตรเครดิต 
  • ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์บริการต่าง ๆ ตู้ ATM มีที่ร่วมโครงการ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารธนชาต, ธนาคาร ธ.ก.ส, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารไทยพาณิชย์, เคาน์เตอร์เซอร์วิ, ทรู มันนี่ เซอร์วิส และเทสโก้ โลตัส

8. ตรวจสอบการชำระเงินและสถานะการจัดส่งได้ที่หัวข้อ ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน

โดยปัจจุบันทางกรมขนส่งทางบกได้อนุญาตให้รถที่อายุเกิน 5 ปี สามารถทำการยื่นต่อภาษีทางออน์ไลน์ได้แต่ต้องทำการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (อตร.) ก่อนทุกครั้ง


อัตราค่าบริการในการต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์

  • ค่าตรวจสภาพรถประมาณ 60 บาท (ที่ต.ร.อ.) / 15 บาท (อาคารตรวจภาพรถภายในขนส่ง) สำหรับรถที่อายุการจดทะเบียนเกิน 5 ปีขึ้นไป
  • ค่าต่อภาษี 100 บาท/คัน

ค่า พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ (ส่วนบุคคล) เงื่อนไข พ.ร.บ. ประกอบการยื่นภาษี

กรมการขนส่งได้ทำการยกเลิกการให้บริการซื้อกรมธรรม์ พ.ร.บ.สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ (รย.12) ผ่านระบบ e-Service ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นมา ผู้ยื่นจำเป็นต้องซื้อ พ.ร.บ.จากภายนอกและนำมากรอกในระบบให้ถูกต้องเท่านั้น โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
  • เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 323.14 บาท
  • เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 430.14 บาท
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท
  • รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 323.14 บาท

ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับ ช่องทาง Online 

  • ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของยอดเงินทั้งหมด

     ขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินภาษีสำเร็จจนถึงวันที่ได้รับเอกสารทางไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

ขอแนะนำเพิ่มเติม

หากไม่ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ หรือต่อทะเบียนช้าเกินกว่าวันที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน หากขาดการต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียน และต้องเสียเวลาดำเนินการขอเล่มและขอทะเบียนใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบซึ่งเสียค่าใช้ต่ายและเสียเวลามาก นอกจากนี้ในระหว่างที่ภาษีขาด เรายังทำธุรกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับรถไม่ได้อีกด้วย

ต่อภาษี รถจักรยานยนต์ เกิน 5 ปี กี่ บาท

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ปีละ 161.57 บาท เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. ปีละ 323.14 บาท เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. ปีละ 430.14 บาท เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ปีละ 645.21 บาท

รถมอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปีต้องตรวจสภาพทุกปีไหม

ตามกฎหมายรถทุกคันที่อายุถึงปีที่กำหนด ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีประจำปีทุกครั้ง หากไม่ได้ตรวจสภาพรถ ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ โดยรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป, รถจักรยานยนต์ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป (รถมอเตอร์ไซค์) ต้องตรวจสภาพรถด้วยทุกปี และรถทุกชนิดที่ภาษีขาดเกิน 1 ปี ก็ต้องตรวจสภาพด้วย โดยไม่สนใจอายุรถ

ทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ขาดได้ไม่เกินกี่ปี

ขาดไม่เกิน 1 ปี : สามารถต่อภาษีได้โดยไม่เสียค่าปรับด้านพ.ร.บ.เพิ่มเติม แต่อาจโดนปรับในแง่ของภาษีรถ ขาดเกิน 2 ปี : ต้องมีการนำรถไปตรวจสภาพและเดินเรื่องด้วยตนเองที่ขนส่ง โดยดำเนินการต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับ โดยเตรียมเอกสารไปให้พร้อม ซึ่งจะมีรายการดังนี้ ​​ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ สมุดทะเบียนรถ

รถ5ปีต้องตรวจสภาพไหม

รถที่ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) คือ รถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (รถยนต์) หรือ 5 ปี (รถมอเตอร์ไซค์) โดยนับตั้งเเต่วันที่จดทะเบียนรถครั้งแรก และสามารถเข้ารับการตรวจสภาพได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนก่อนถึงวันครบกำหนดวันเสียภาษีประจำปี หรือวันสุดท้ายของงวดภาษี