ขอใบ กำกับ ภาษี ตั๋ว เครื่องบิน

รบกวนถามเรื่องใบกำกับภาษีตั๋วเครื่องบิน

กระทู้คำถาม

สายการบิน นกแอร์ Thai Lion Air THAI Smile (สายการบิน) สนามบิน

คือจองตั๋วของนกแอร์ออนไลน์ค่ะ ละจ่ายเงิน ที่ 7/11 ถ้าเราต้องการใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ เราไปขอที่เคาท์เตอร์วันที่เราไปขึ้นเครื่องเลยได้มั้ยคะ อีกอย่าง ซื้อพร้อมกันกับเพื่อน ถ้าอยากแยกใบกำกับภาษีคนละใบ จะได้มั้ยคะ ละถ้าสายการบินอื่น จะเหมือนกันหมดมั้ยคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

0

0

ขอใบ กำกับ ภาษี ตั๋ว เครื่องบิน

สมาชิกหมายเลข 2022149

คุณ Udomvorakulchai Sara ได้โพสต์ไปในไทม์ไลน์ "สุเทพ พงษ์พิทักษฺ์" แฟนเพจ เมื่อ 30 มกราคม 2557 เวลา 15:24 น. จากบริเวณ Bangkok ว่า


"เรียน อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ขอเรียนปแรึกษาเกี่ยวกับปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณ๊ค่าบริการอัตรา 0% ค่ะ


ลักษณะกิจการ บริษัท E Holidays (Thailand) เป็นนิติบุคคล จดทะเบียนในประเทศไทย สัดส่วนการถือหุ้น ไทย 51 ออสเตรเลีย 49 ได้รับรายได้ค่าบริการจากบริษัทแม่ที่ออสเตรเลีย อยากทราบว่าVAT จะจัดอยู่ในประเภท 0% หรือ 7% ช่วยแนะนำด้วยคะ


1. ประกอบกิจการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่าง ตัวแทนบริษัทท่องเที่ยว (Travel Agent ) ต่างประเทศกับ Travel Agent ต่างประเทศ ออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ นิวซีแลนด์มีบ้างเล็กน้อย หรือระหว่าง Travel Agent ต่างประเทศ กับ Travel Agent ในประเทศ (แต่เป็นส่วนน้อย)


2. โดยมี website ชื่อ E holidays.com ให้บริการเฉพาะสมาชิกที่เป็น Traveling Agents เท่านั้น


3. website E holidays.com จะมีบริการจองห้องพัก, จองรถรับส่งสนามบิน-โรงแรม-สนามบิน และ บริการจัดแพคเกจทัวร์ตามความต้องการของลูกค้า โดยผ่านการจองของ Travel Agent


4. website E holidays.com จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานที่ Australia คอยดูแลทางด้าน Operation การรับโทรศัพท์จาก Agents


5. E Holidays Thailand จะมีเจ้าหน้าที่คอยประสานงานเป็นตัวกลางติดต่อ เช็คข้อมูลในระบบการจองของ Agents จัดทำ email ยืนยัน หรือกรณีมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลา ให้กับ Travel Agents


6. บริษัท E holidays ที่ออสเตรเลีย จะส่งรายชื่อ travel Agents มาให้เพื่อให้ทางบริษัทที่เมืองไทยติดต่อ


7. บริษัทที่ประเทศไทย ไม่มีการติดต่อโดยตรงกับโรงแรม หรือลูกค้าบุคคล แต่เป็นการติดต่อแบบ B to B (business to business)


8. การออก Inv เรียกเก็บค่าบริการ จะต้องระบุราบละเอียดหรือไม่ว่า ติดต่อ Traveling Agent บริษัทใดกับบริษัทใด ในประเทศ ออสเตรเลีย

เรียน คุณซาร่า "Udomvorakulchai Sara"


ให้ข้อเท็จจริงไปครบถ้วนตามกติกา มีคำถามเพียงข้อเดียว คือ ข้อ 8 เกี่ยวกับรายละเอียดใน Invoice ที่เรียกเก็บค่าบริการ นั้น


ขอเรียนว่า
1. การให้บริการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ซึ่งได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่ กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตาม มาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2543


2. ตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) กำหนดว่า
"ข้อ 3 การประกอบกิจการตามข้อ 2 ต้องมีหลักฐานแสดงการชำระราคา ค่าบริการตามใบแจ้งหนี้ (Invoice) ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น หลักฐาน การเปิด L/C (Letter of Credit) หลักฐานการจัดทำ T/T (Telex Transfer) หรือ T/P (Term of Payment) เอกสารใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการรับชำระเงิน ตาม L/C (Letter of Credit) หรือ Bank Statement เอกสารที่ระบุว่านำเงิน เข้าบัญชีธนาคารโดยใช้สมุดคู่ฝาก เอกสารการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยไม่มีสมุดคู่ฝาก หลักฐานการรับชำระเงินตามบัตรเครดิต การใช้ E-money หรือ E-cash เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ไม่จำต้องมีหลักฐานแสดงการชำระราคาค่าบริการ"


3. เนื่องจากการให้บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทส ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21) เรื่อง กำหนดรายการในใบกำกับภาษีของสินค้าหรือบริการบางกรณี ตามมาตรา 86/5 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 กำหนดว่า


“ข้อ 4 กำหนดให้ใบกำกับภาษีของการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการ เช่น เดียวกันกับใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ให้บริการได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ"

สรุป การออก Invoice เรียนเก็บค่าบริการอัตรา 0 ขึ้นอยู่กับการออกอินวอยซ์ตามประเพณีทางการค้าระหว่าวประเทศ ซึ่งจะระบุราบละเอียดว่า ติดต่อ Traveling Agent บริษัทใดกับบริษัทใด ในประเทศออสเตรเลีย ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นทางธุรกิจครับ

ข้อหารือ
          1. กรณีเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก เมื่อตัวแทนขายตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก จะได้รับค่านายหน้าจากสายการบินตามอัตราของสายการบิน และผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้
               1.1 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินอย่างเดียว
               1.2 รายได้จากการขายตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พัก
                   (ก) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาจากลูกค้าในราคาปกติที่ลูกค้าซื้อจากผู้ประกอบการ ส่วนที่พักคิดเป็นราคาต่อหัว
                   (ข) แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือน (ก) ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้า ค่าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก
                   (ค) ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการออกจากกัน
          2. กรณีจัดนำเที่ยว ผู้ประกอบการมีรายได้ ดังนี้
               2.1 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน และบริการนำเที่ยวออกจากกัน ตั๋วโดยสารเครื่องบินคิดราคาในราคาปกติ ที่ลูกค้าซื้อเอง และบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน
               2.2 แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกันตั๋วโดยสารเครื่องบินเหมือนข้อ 2.1 ที่พักจองในนามลูกค้า และได้รับใบเสร็จรับเงินจากโรงแรมในนามลูกค้าบริการนำเที่ยวคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่รวมตั๋วโดยสารเครื่องบินและที่พัก ผู้ประกอบการจองและซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน และที่พักให้แก่ลูกค้า และเรียกเก็บเงินตามราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน และราคาที่พัก ใบเสร็จรับเงินออกในนามลูกค้า
               2.3 ค่านำเที่ยวเป็นรายหัว ไม่แยกตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบริการนำเที่ยวออกจากกัน
          3. กรณีประกาศในสื่อโฆษณา หรือในรายการทัวร์ เกี่ยวกับราคาทัวร์หรือเดินทางเป็นการเหมา โดยไม่ได้แยกชัดแจ้งค่าเดินทาง เป็นค่าตั๋วโดยสาร ค่าทัวร์ และค่าบริการเป็นเท่าไรแต่จะแยกในช่วงชำระเงิน เป็น 3 กรณี ดังนี้
               3.1 แยกตั๋วโดยสาร
               3.2 แยกค่าทัวร์ และบริการนำเที่ยว
               3.3 (ก) แยกตั๋วโดยสาร
                   (ข) แยกค่าทัวร์ ได้แก่ โรงแรม รถ ขนส่ง อาหาร ในต่างประทศ และต่างประเทศออกใบเสร็จรับเงินให้โดยตรง
                   (ค) แยกค่าบริการนำเที่ยวบวกกำไร
แนววินิจฉัย
          ภาระภาษีสำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ในกรณีผู้ประกอบการคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา แยกพิจารณาได้ ดังนี้
          1. ตามข้อ 1 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นตัวแทนให้บริการธุรกิจนำเที่ยว กรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
          2. ตามข้อ 2 และข้อ 3 การประกอบกิจการนำเที่ยวเป็นการเหมา และมิได้คิดค่าบริการเป็นการเหมา โดยรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวยังต่างประเทศ หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้น จะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศการจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็น การให้บริการในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการนำเที่ยวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมาหรือไม่ ให้พิจารณาสัญญาเป็นสาระสำคัญ กรณีผู้ประกอบการคิดค่าตอบแทนจากการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทั้งส่วนที่แจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบ และส่วนที่คิดค่าบริการเป็นการเหมาหากผู้ประกอบการมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ค่าตอบแทนส่วนใดที่ผู้ประกอบการมีการแจกแจงค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าทราบ โดยแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายชัดแจ้ง ซึ่งผู้ประกอบการอาจเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจากลูกค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนเฉพาะเท่ากับที่จะต้องจ่ายจริง หรืออาจทดรองจ่ายเงินค่าใช้จ่ายนั้นไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเป็นจำนวนเท่ากับที่ต้องจ่ายไปจริง เช่น ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินที่เรียกเก็บจากลูกค้าเท่ากับที่ต้องจ่ายจริง โดยให้ผู้ประกอบการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินออกหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีเป็นชื่อของลูกค้า และผู้ประกอบการได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ซึ่งผู้ประกอบการเรียกเก็บล่วงหน้า หรือเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเท่ากับจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
          สำหรับค่าบริการส่วนอื่นที่มีลักษณะเป็นการเหมา ซึ่งไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบได้ว่า เป็นค่าอะไร จำนวนเท่าใด และไม่มีหลักฐานการจ่ายมาแสดงค่าบริการส่วนอื่นดังกล่าวที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจาก ลูกค้าต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร